การเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอลวิกฤตหนัก ยอดคูปองและกล่อง Set Top Box ต่ำกว่าเป้า แถม กสทช.ค้างจ่ายเงินผู้ประกอบการกว่า 3 เดือน วงเงินกว่า 2 พันล้าน หลายรายเจ๊งขาดเงินหมุนเวียน ไม่สั่งสินค้าใหม่ ขณะที่ร้านรับแลกอย่าง 7-11 และห้างใหญ่หลายแห่งพร้อมใจกันแจ้งของหมดไม่มีกล่องให้แลก แถมค้างจ่ายไปรษณีย์อีก 135 ล้านบาท คนวงในชี้ กสทช.มองไม่ทะลุ Must Carry ทำเอาคนไม่อยากแลกและหลายอย่างไม่พร้อม กระทบชิ่งไปยังผู้ประมูลทีวีดิจิตอล คนเข้าถึงน้อย เรตติ้งไม่ดี มีปัญหาเรื่องโฆษณา
คูปองเพื่อสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล มูลค่า 690 บาท ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ส่งทางไปรษณีย์ล็อตแรก 4.65 ล้านใบ หมดเขตเมื่อ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา และมีมติขยายอายุคูปองดังกล่าวออกไปอีก 2 เดือน
ที่ผ่านมา กสทช.ได้แจกคูปองดังกล่าวไปแล้วรวมทั้งสิ้น 8.3 ล้านใบ และเพิ่งแจกล็อตสุดท้ายอีก 5.8 ล้านใบเมื่อ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้ครบ 14.1 ล้านครัวเรือนตามข้อมูลทะเบียนราษฎรที่เป็นเจ้าบ้าน
การขยายเวลาคูปองล็อตแรกออกไปนั้น ทาง กสทช.ยังได้ขยายเงื่อนไขสิทธิ์ในการใช้คูปองให้เป็นทั้งส่วนลดในการซื้อทีวีใหม่ที่มีระบบถอดรหัสทีวีดิจิตอลในตัว หรือแลกกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน(DVB-T2) ที่เรียกกันติดปากว่า Set Top Box และขยายสิทธิ์ไปถึงกล่องไฮบริดที่รับสัญญาณแบบภาคพื้นดินและทีวีดาวเทียมได้พร้อมกัน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งว่า ที่ผ่านมามีประชาชนนำคูปองไปแลกแล้วกว่า 4.5 ล้านครัวเรือน โดยธนาคารกรุงไทยได้รับคูปองจากผู้ประกอบการแล้ว 3.8 ล้านฉบับ และอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่ออนุมัติเงิน โดยธนาคารส่งมาให้ กสทช. ตรวจสอบแล้ว 2.6 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 1,700 ล้านบาท จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการไปแล้ว 1.2 ล้านฉบับ หรือประมาณ 800 ล้านบาท
รับแลกกล่องเจ๊ง-กสทช.ไม่จ่ายเงิน
“คุณฐากรแจ้งว่ามีการนำคูปองไปแลกกล่องแล้ว 4.5 ล้านราย จ่ายเงินแล้ว 1.2 ล้านราย หรือ 828 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 3.3 ล้านรายที่ยื่นขอรับชำระเงินอีกกว่า 2 พันล้านบาทนั้นยังไม่มีการจ่ายออกมา” ผู้ประกอบการรายหนึ่งกล่าว
เมื่อประชาชนใช้สิทธิ์กล่อง Set Top Box ไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการขอขึ้นเงินกับทาง กสทช. ก่อนที่จะเกิดปัญหานี้ภายใต้เงื่อนไขเดิม ภายใน 7 วันหลังการยื่นเอกสาร ผู้ประกอบการจะได้รับเงิน แต่นี่เกินกว่า 3 เดือนที่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้เงินจาก กสทช.
สิ่งที่ตามมาคือความเสียหายของผู้ประกอบธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการขายกล่อง 52 ราย แต่มีผู้ประกอบการทำจริงประมาณ 35 ราย โดยเฉพาะรายเล็กๆ ตอนนี้เจ๊งเป็นที่เรียบร้อย เนื่องจากไม่มีเงินทุนหมุนเวียน แถมยังถูกปรับจากธนาคารที่ขอเปิด L/C ใบสั่งสินค้าจากต่างประเทศ และยังมีภาระต้นทุนต่างๆ อีกตามเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด รายใหญ่แม้จะพอสู้กับสภาพเช่นนี้ไหว แต่เครดิตในต่างประเทศของบริษัทตอนนี้ก็ไม่เหลือเช่นกัน
ความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจาก กสทช.เกรงเรื่องทุจริตที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินกำชับมา ทำให้ต้องมีการตรวจเอกสารอย่างละเอียดจากลูกค้าที่มาใช้สิทธิ์แลก แต่ในทางธุรกิจแล้วทำให้เกิดความเสียหาย ไม่ได้เงินหลังจากยื่นเอกสาร 7 วันเหมือนข้อตกลงเดิม ตอนนี้ผู้ประกอบการทุกรายไม่มีใครสั่งสินค้าใหม่เข้ามาแล้ว รอให้สต๊อกที่มีอยู่หมดและคงไม่รับแลกอีก
ดังนั้นเราจึงได้เห็นตัวแทนชมรมผู้ประกอบการกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีภาคพื้นดิน ยื่นหนังสือต่อเลขาธิการ กสทช. เพื่อขอให้แก้ปัญหาและตั้งคณะทำงานร่วม หลังจากประสบปัญหาจากการเข้าร่วมโครงการขายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล เพื่อสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านการรับชมสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบอนาล็อกไปสู่ดิจิตอล รวมถึงขอให้ กสทช. เร่งรัดการจ่ายเงินที่ยังไม่สามารถขึ้นเงินได้ทั้งหมด
ล่าสุดทาง กสทช.ยังไม่ได้จ่ายเงินให้กับบริษัทไปรษณีย์ไทย ที่จัดส่งคูปองไปแล้ว 13.57 ล้านฉบับ เป็นเงิน 135.7 ล้านบาท
ธุรกิจเสียหาย-ไม่รับแลกไฮบริด
ขณะเดียวกันการที่ กสทช.เพิ่มสิทธิ์ให้ผู้ถือคูปองสามารถแลกกล่องไฮบริดเพื่อรับชมได้ทั้งทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินและในระบบดาวเทียมนั้น กล่องรับสัญญาณดังกล่าวที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช.ตัวแรกคือ IPM HD Combo ของค่ายจานส้ม IPM ที่ต้องเพิ่มเงินอีก 1,760 บาท ปัจจุบันไม่สามารถแลกกล่องดังกล่าวได้โดยร้านส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าสินค้าหมด บริษัทไม่มีสินค้าแล้ว
“ร้านผมรับแลกกล่องตัวนี้หลายเดือนมาแล้ว ยื่นเอกสารไปยังบริษัทแล้วยังไม่ได้รับเงินเลย ตอนนี้เลยไม่เปิดให้แลกอีก” ตัวแทนร้านค้าย่านถนนรัตนาธิเบศร์กล่าว
นายมานพ โตการค้า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอพีเอ็ม และประธานชมรมผู้ประกอบการโครงข่ายโทรทัศน์ดาวเทียมให้เหตุผลว่า ทั้งหมดเป็นเพราะ กสทช.ไม่จ่ายเงิน 690 บาทออกมา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่มีใครอยากรับแลก ตอนนี้เราหยุดนำเข้ากล่องรับสัญญาณดังกล่าวแล้ว จากที่นำเข้ามาแสนกว่ากล่อง
นายสมชาย เปรื่องวิริยะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟมิลี่ คอร์ปอเรชั่น และประธานชมรมผู้ประกอบการกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีภาคพื้นดิน กล่าวว่า “ไม่ต้องห่วงว่ากล่อง Set Top Box จะขาดตลาด ตอนนี้ของในสต๊อกมีจนล้น ทั้งระบบมีเหลือกว่า 10 ล้านกล่อง เฉพาะที่บริษัทมีสต๊อกราว 2 ล้านกล่อง เราต้องจ่ายมัดจำผู้ผลิต 20% ทุกอย่างมีต้นทุน แต่เบิกเงินไมได้ ขณะนี้ตลาดกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลพังทั้งระบบ เครดิตของบริษัทเสียหายทั้งในประเทศและต่างประเทศ”
โครงการนี้เปิดรับแลกมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 คนที่เข้ามาแลกประมาณ 5 ล้านรายจากคูปอง 14 ล้านใบ เงินที่จ่ายออกมามีน้อยมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ถือว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอลของประเทศไทยล้มเหลว และยังส่งผลกระทบไปยังจำนวนผู้ชมที่เข้าถึงทีวีดิจิตอลน้อยกว่าที่ กสทช.คาด ทุกอย่างจึงเป็นปัญหาตามมา
กระทบลามถึงผู้ประมูลทีวีดิจิตอล
นอกเหนือจากผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการกับ กสทช.ในการรับแลกกล่องรับชมทีวีดิจิตอลจะได้รับผลกระทบจากปัญหาในเรื่องการชำระเงินแล้ว ปัญหาดังกล่าวยังลามไปสู่ผู้ที่ประมูลทีวีดิจิตอลอีกด้วย เห็นได้จากบริษัทไทยทีวี แจ้งขอยกเลิกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ประกอบกิจการทีวีดิจิตอล 2 ช่อง คือ ไทยทีวี และโลก้า ของ นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยทีวี
โดยสำนักงาน กสทช. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ที่ค้ำประกันให้บริษัท ไทยทีวี คือธนาคารกรุงเทพ รวมอัตราดอกเบี้ย 7.5% นับจากวันที่ 28 พฤษภาคม 2558 โดยทั้ง 2 ช่องยังค้างชำระ 5 งวด รวมเป็นเงิน 1,634.4 ล้านบาท เรียกได้ว่างานนี้ผู้ที่ประมูลทีวีดิจิตอลไปแล้วห้ามตาย แม้จะตายก็ต้องจ่ายเงินส่วนที่เหลือ
“เปรียบเสมือนรัฐบาลสร้างสนามฟุตบอลให้ แต่ไม่มีรถโดยสารหรือรถไฟฟ้าที่จะพาผู้ชมไปถึงสนามฟุตบอลดังกล่าว” นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ NBC หนึ่งในผู้ประมูลทีวีดิจิตอลกล่าว
แน่นอนว่าเมื่อต้นทางอย่างผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการแลกกล่องรับชมสัญญาณทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินสะดุดลง ย่อมส่งผลต่อการเข้าถึงทีวีดิจิตอลทันที ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่
ปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้คือความเข้าใจของประชาชน งบประมาณด้านประชาสัมพันธ์ของ กสทช. 63 ล้านบาทตอนนี้ยังไม่สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้ ดังนั้นการต่ออายุคูปองล็อตแรกออกไปอีก 2 เดือนคงไม่มีประโยชน์หากไม่มีการกระตุ้นจากภาครัฐ
ตอนนี้ทางเราก็ต้องช่วยเหลือตัวเองในการสร้างความเข้าใจกับประชาชนไปตามพื้นที่ต่างๆ เช่น ร่วมมือกับสมาคมโรงแรมเข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ในการรับชมหรือบางทีเพียงแค่การปรับจูนใหม่ก็รับชมได้ เพื่อให้การเข้าถึงทีวีดิจิตอลมีมากขึ้น หรือการจับมือร่วมกับผู้ประกอบการกล่อง Set Top Box ไปสร้างความเข้าใจในจุดอื่นๆ ก็เป็นสิ่งที่น่าจะทำ
ขอย้ำว่าทุกครัวเรือนต้องรับชมได้จากภาคพื้นดิน 22.8 ล้านครอบครัวต้องได้รับทั้งหมด ต้องทำให้ทีวีดิจิตอลเป็นโครงข่ายหลัก ดาวเทียมเป็นทางเลือก แต่ตอนนี้ กสทช.กำลังทำให้ทีวีดิจิตอลกับดาวเทียมเป็นสัดส่วน 50:50 หากเป็นเช่นนี้จะกระทบกับแผนของทีวีชุมชนอีก 12 ช่อง เพราะจะไม่สามารถรับชมได้จากระบบดาวเทียม
กสทช.ต้องทำให้คนทราบถึงความแตกต่างระหว่างทีวีดิจิตอลกับดาวเทียม ไม่เช่นนั้นการเปลี่ยนผ่านจะทำได้ลำบาก เพราะตอนนี้อย่างในกรุงเทพฯ มีคนรับชมทีวีดิจิตอลเพียงแค่ 40% เท่านั้น และทุกอย่างต้องชัดว่าระบบอนาล็อกจะยกเลิกเมื่อไหร่
สาเหตุที่ไปไม่ถึงฝั่ง
แหล่งข่าวจากตัวแทนรับแลกกล่องรับชมทีวีดิจิตอลรายหนึ่งกล่าวว่า ปัญหาทั้งหมดเกิดจากการตั้งราคากล่อง Set Top Box ไว้ที่ 690 บาท ถามว่าราคานี้ทำได้หรือไม่ ตอบว่าทำได้ แต่ต้องแลกกับการลดชิ้นส่วนและลดคุณภาพของตัวอุปกรณ์ลง เนื่องจากในทางธุรกิจต้องมีค่าใช้จ่ายอื่่นๆ เข้ามาบวกรวมทั้งหมดทั้งค่าสติกเกอร์จาก กสทช. ค่ามัดจำในการสั่งซื้อสินค้า เงินที่ต้องวางไว้กับ กสทช. ภาษีนำเข้า 20% ค่าธรรมเนียมอื่นๆ รวมทั้งต้นทุนจากจุดรับแลกต่างๆ ดังนั้นคุณภาพของกล่องรับสัญญาณที่ได้ไปจึงอยู่ในสภาพสินค้าเกรดต่ำ
เมื่อมาเจอกับความกังวลในเรื่องการทุจริต มีการตรวจเอกสารอย่างละเอียดทำให้การจ่ายเงินให้กับผู้ร่วมโครงการรับแลกกล่องต้องช้าออกไป รายเล็กเจ๊งและเลิกกันไปแล้ว รายใหญ่ไม่สั่งของใหม่เข้ามา
นอกจากผู้ประกอบการกล่องไฮบริดจะไม่รับแลกคูปองมูลค่า 690 บาทแล้ว กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินที่เคยสามารถแลกได้จากร้าน 7-11 ขณะนี้หลายสาขาของ 7-11 ไม่มีกล่อง Set Top Box ให้แลก เช่นเดียวกับห้าง IT City และ Tesco Lotus บางสาขาที่ไม่มีกลอ่งให้แลกเช่นเดียวกัน โดยให้เหตุผลว่าตอนนี้ของหมด
แถมยังมาเจอข้อกำหนดที่พยายามทำให้การเบิกจ่ายช้าลงไปอีก เช่น ต้องรวมคูปองให้ครบ 100 ใบก่อนยื่น รายที่ไม่ครบก็ต้องรอ เมื่อครบแล้วยื่นไปก็ไม่รู้ว่าจะได้เงินเมื่อไหร่ จึงทำให้ทุกอย่างช้าลง สุดท้ายรายใหญ่ที่ทนไหวก็จะได้ประโยชน์ไป
สาเหตุที่ทำให้การแลกคูปองเพื่อการรับชมทีวีดิจิตอลช้านั้นมีหลายสาเหตุ เริ่มจาก กสทช.ไม่เคยออกมาทำความเข้าใจเรื่องทีวีดิจิตอลทั้งในแง่ของข้อดีจากระบบอนาล็อก รวมไปถึงวิธีการในการรับชมให้ประชาชนทั้งประเทศเข้าใจได้ทั้งหมด
ประการต่อมาโครงสร้างการรับชมทีวีบ้านเรา ส่วนใหญ่รับชมจากจานดาวเทียมที่มีช่องรายการมากกว่า รับชมได้ตามจุดอับสัญญาณต่างๆ อีกทั้งทีวีดิจิตอลถูกกฎ Must Carry ที่ต้องแบกทีวีดิจิตอลขึ้นไปด้วย ผู้รับชมก็เห็นว่าการชมจากจานดาวเทียมก็รับชมทีวีดิจิตอลได้แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องแลกกล่อง Set Top Box
บางรายที่รับชมจากจานดาวเทียม เมื่อได้คูปองมาและนำไปแลกกล่องรับสัญญาณ ก็นำไปขายต่อ ตอนนี้ที่คลองถมหรือบ้านหม้อมีกล่อง Set Top Box ขายกันในราคา 300-400 บาทเท่านั้น หรือผู้ประกอบการบางรายก็ตั้งโต๊ะรับคูปองจ่ายเงิน 500 บาทให้เจ้าของคูปอง แต่ไม่ได้รับสินค้าไป แล้วนำเอาคูปองไปสวมกับกล่องของบริษัทตัวเองก็มี
อีกทั้งในบางพื้นที่ไม่สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ เนื่องจากโครงข่ายยังไปไม่ถึงหรือบางพื้นที่เป็นจุดอับสัญญาณ กล่องที่แลกมาก็นำไปขายต่อ ในจำนวนนี้บางรายก็ต่ออุปกรณ์ไม่เป็น
ดังนั้นคนจึงไม่เห็นความแตกต่างระหว่างทีวีดิจิตอลในภาคพื้นดินกับการรับชมผ่านจานดาวเทียม ว่าความคมชัดระดับ HD นั้นเป็นอย่างไร เพราะการรับชมผ่านจานดาวเทียมช่องที่เป็น HD นั้นคุณภาพของการรับชมจะเหลือเพียงแค่ SD เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ประมูลช่องดังกล่าวไปที่ต้องจ่ายแพงกว่าช่อง SD
“ถ้ายังไม่ลืมก่อนหน้านี้มีคำแนะนำว่า อย่าเพิ่งรีบแลกกล่องทีวีดิจิตอล รอให้ใกล้ครบอายุก่อน รอให้บริษัทแถมเสาอากาศ ถ้าไม่แถมก็ยังไม่แลก นี่จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเข้าถึงทีวีดิจิตอลทำได้ล่าช้า แม้ว่าจะมีรายที่แถมเสาอากาศบ้าง แต่สุดท้ายภายใต้ราคา 690 บาท รายที่ทำก็เจ๊ง”
แม้ส่วนที่เหลืออีกราว 8 ล้านครัวเรือน ทาง กสทช.จะมีแนวคิดเรื่อง e-coupon เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ถือว่าช้าเกินไป ซึ่งวิธีนี้ควรทำตั้งแต่แรกจะได้ไม่ต้องเปลืองเรื่องค่าจัดพิมพ์คูปอง
กสทช.ไม่เข้าใจระบบ
สอดคล้องกับผู้ประกอบการเคเบิลทีวีที่ระบุว่า เมื่อ Must Carry กำหนดให้ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีต้องนำสัญญาณทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่องออกอากาศด้วย ทำให้ผู้ชมเดิมไม่คิดจะเปลี่ยนไปรับชมทีวีดิจิตอลในระบบภาคพื้นดิน หลายคนยังไม่แลก
กฎเกณฑ์ดังกล่าวทำให้เป็นภาระของผู้ประกอบการอย่างจานดาวเทียมและเคเบิลทีวี เดิม 6 ช่อง ตอนนี้ต้องส่ง 24 ช่อง ถือว่าเป็นต้นทุนของประกอบการ นอกจากนี้ยังทำให้ฐานผู้ชมของทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีไม่เติบโต
“เรียนตามตรงเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม ถือเป็นทางเลือกสำหรับผู้ชมที่ต้องการรับชมรายการต่างๆ ที่นอกเหนือจากฟรีทีวี เมื่อต้องแบกฟรีทีวีเข้ามาด้วย ทำให้ผู้ชมไม่เห็นความแตกต่าง ติดครั้งเดียวคุ้ม ดูได้หมด จึงไม่สามารถพัฒนารายการบนเครือข่ายของดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีได้มากขึ้น หากยกเลิกกฎดังกล่าวจะทำให้ประชาชนต้องขวนขวายเพื่อรับชมทีวีดิจิตอล เคเบิลและดาวเทียมก็ทำตลาดของตัวเองต่อไปได้”
ทั้งเป็นเพราะ กสทช.ไม่มีคนที่มีความรู้ในด้านนี้อย่างจริงจังเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว ทำให้เมื่อผลักดันโครงการนี้ออกมาจึงประสบปัญหาในแทบทุกจุด และหาก กสทช.ไม่เร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว สุดท้ายผู้ประมูลทีวีดิจิตอลทั้งหมดก็จะมีปัญหาในเรื่องเรตติ้งการรับชม ตามมาด้วยรายได้จากการขายโฆษณาจนไม่สามารถบริหารสถานีให้มีกำไรเพียงพอ เราก็จะเห็นช่องอื่นๆ ที่อาจจะประสบปัญหาเช่นเดียวกับรายของไทยทีวีและ Loca ของเจ๊ติ๋มทีวีพูล
คูปองเพื่อสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล มูลค่า 690 บาท ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ส่งทางไปรษณีย์ล็อตแรก 4.65 ล้านใบ หมดเขตเมื่อ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา และมีมติขยายอายุคูปองดังกล่าวออกไปอีก 2 เดือน
ที่ผ่านมา กสทช.ได้แจกคูปองดังกล่าวไปแล้วรวมทั้งสิ้น 8.3 ล้านใบ และเพิ่งแจกล็อตสุดท้ายอีก 5.8 ล้านใบเมื่อ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้ครบ 14.1 ล้านครัวเรือนตามข้อมูลทะเบียนราษฎรที่เป็นเจ้าบ้าน
การขยายเวลาคูปองล็อตแรกออกไปนั้น ทาง กสทช.ยังได้ขยายเงื่อนไขสิทธิ์ในการใช้คูปองให้เป็นทั้งส่วนลดในการซื้อทีวีใหม่ที่มีระบบถอดรหัสทีวีดิจิตอลในตัว หรือแลกกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน(DVB-T2) ที่เรียกกันติดปากว่า Set Top Box และขยายสิทธิ์ไปถึงกล่องไฮบริดที่รับสัญญาณแบบภาคพื้นดินและทีวีดาวเทียมได้พร้อมกัน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งว่า ที่ผ่านมามีประชาชนนำคูปองไปแลกแล้วกว่า 4.5 ล้านครัวเรือน โดยธนาคารกรุงไทยได้รับคูปองจากผู้ประกอบการแล้ว 3.8 ล้านฉบับ และอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่ออนุมัติเงิน โดยธนาคารส่งมาให้ กสทช. ตรวจสอบแล้ว 2.6 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 1,700 ล้านบาท จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการไปแล้ว 1.2 ล้านฉบับ หรือประมาณ 800 ล้านบาท
รับแลกกล่องเจ๊ง-กสทช.ไม่จ่ายเงิน
“คุณฐากรแจ้งว่ามีการนำคูปองไปแลกกล่องแล้ว 4.5 ล้านราย จ่ายเงินแล้ว 1.2 ล้านราย หรือ 828 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 3.3 ล้านรายที่ยื่นขอรับชำระเงินอีกกว่า 2 พันล้านบาทนั้นยังไม่มีการจ่ายออกมา” ผู้ประกอบการรายหนึ่งกล่าว
เมื่อประชาชนใช้สิทธิ์กล่อง Set Top Box ไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการขอขึ้นเงินกับทาง กสทช. ก่อนที่จะเกิดปัญหานี้ภายใต้เงื่อนไขเดิม ภายใน 7 วันหลังการยื่นเอกสาร ผู้ประกอบการจะได้รับเงิน แต่นี่เกินกว่า 3 เดือนที่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้เงินจาก กสทช.
สิ่งที่ตามมาคือความเสียหายของผู้ประกอบธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการขายกล่อง 52 ราย แต่มีผู้ประกอบการทำจริงประมาณ 35 ราย โดยเฉพาะรายเล็กๆ ตอนนี้เจ๊งเป็นที่เรียบร้อย เนื่องจากไม่มีเงินทุนหมุนเวียน แถมยังถูกปรับจากธนาคารที่ขอเปิด L/C ใบสั่งสินค้าจากต่างประเทศ และยังมีภาระต้นทุนต่างๆ อีกตามเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด รายใหญ่แม้จะพอสู้กับสภาพเช่นนี้ไหว แต่เครดิตในต่างประเทศของบริษัทตอนนี้ก็ไม่เหลือเช่นกัน
ความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจาก กสทช.เกรงเรื่องทุจริตที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินกำชับมา ทำให้ต้องมีการตรวจเอกสารอย่างละเอียดจากลูกค้าที่มาใช้สิทธิ์แลก แต่ในทางธุรกิจแล้วทำให้เกิดความเสียหาย ไม่ได้เงินหลังจากยื่นเอกสาร 7 วันเหมือนข้อตกลงเดิม ตอนนี้ผู้ประกอบการทุกรายไม่มีใครสั่งสินค้าใหม่เข้ามาแล้ว รอให้สต๊อกที่มีอยู่หมดและคงไม่รับแลกอีก
ดังนั้นเราจึงได้เห็นตัวแทนชมรมผู้ประกอบการกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีภาคพื้นดิน ยื่นหนังสือต่อเลขาธิการ กสทช. เพื่อขอให้แก้ปัญหาและตั้งคณะทำงานร่วม หลังจากประสบปัญหาจากการเข้าร่วมโครงการขายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล เพื่อสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านการรับชมสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบอนาล็อกไปสู่ดิจิตอล รวมถึงขอให้ กสทช. เร่งรัดการจ่ายเงินที่ยังไม่สามารถขึ้นเงินได้ทั้งหมด
ล่าสุดทาง กสทช.ยังไม่ได้จ่ายเงินให้กับบริษัทไปรษณีย์ไทย ที่จัดส่งคูปองไปแล้ว 13.57 ล้านฉบับ เป็นเงิน 135.7 ล้านบาท
ธุรกิจเสียหาย-ไม่รับแลกไฮบริด
ขณะเดียวกันการที่ กสทช.เพิ่มสิทธิ์ให้ผู้ถือคูปองสามารถแลกกล่องไฮบริดเพื่อรับชมได้ทั้งทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินและในระบบดาวเทียมนั้น กล่องรับสัญญาณดังกล่าวที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช.ตัวแรกคือ IPM HD Combo ของค่ายจานส้ม IPM ที่ต้องเพิ่มเงินอีก 1,760 บาท ปัจจุบันไม่สามารถแลกกล่องดังกล่าวได้โดยร้านส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าสินค้าหมด บริษัทไม่มีสินค้าแล้ว
“ร้านผมรับแลกกล่องตัวนี้หลายเดือนมาแล้ว ยื่นเอกสารไปยังบริษัทแล้วยังไม่ได้รับเงินเลย ตอนนี้เลยไม่เปิดให้แลกอีก” ตัวแทนร้านค้าย่านถนนรัตนาธิเบศร์กล่าว
นายมานพ โตการค้า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอพีเอ็ม และประธานชมรมผู้ประกอบการโครงข่ายโทรทัศน์ดาวเทียมให้เหตุผลว่า ทั้งหมดเป็นเพราะ กสทช.ไม่จ่ายเงิน 690 บาทออกมา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่มีใครอยากรับแลก ตอนนี้เราหยุดนำเข้ากล่องรับสัญญาณดังกล่าวแล้ว จากที่นำเข้ามาแสนกว่ากล่อง
นายสมชาย เปรื่องวิริยะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟมิลี่ คอร์ปอเรชั่น และประธานชมรมผู้ประกอบการกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีภาคพื้นดิน กล่าวว่า “ไม่ต้องห่วงว่ากล่อง Set Top Box จะขาดตลาด ตอนนี้ของในสต๊อกมีจนล้น ทั้งระบบมีเหลือกว่า 10 ล้านกล่อง เฉพาะที่บริษัทมีสต๊อกราว 2 ล้านกล่อง เราต้องจ่ายมัดจำผู้ผลิต 20% ทุกอย่างมีต้นทุน แต่เบิกเงินไมได้ ขณะนี้ตลาดกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลพังทั้งระบบ เครดิตของบริษัทเสียหายทั้งในประเทศและต่างประเทศ”
โครงการนี้เปิดรับแลกมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 คนที่เข้ามาแลกประมาณ 5 ล้านรายจากคูปอง 14 ล้านใบ เงินที่จ่ายออกมามีน้อยมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ถือว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอลของประเทศไทยล้มเหลว และยังส่งผลกระทบไปยังจำนวนผู้ชมที่เข้าถึงทีวีดิจิตอลน้อยกว่าที่ กสทช.คาด ทุกอย่างจึงเป็นปัญหาตามมา
กระทบลามถึงผู้ประมูลทีวีดิจิตอล
นอกเหนือจากผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการกับ กสทช.ในการรับแลกกล่องรับชมทีวีดิจิตอลจะได้รับผลกระทบจากปัญหาในเรื่องการชำระเงินแล้ว ปัญหาดังกล่าวยังลามไปสู่ผู้ที่ประมูลทีวีดิจิตอลอีกด้วย เห็นได้จากบริษัทไทยทีวี แจ้งขอยกเลิกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ประกอบกิจการทีวีดิจิตอล 2 ช่อง คือ ไทยทีวี และโลก้า ของ นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยทีวี
โดยสำนักงาน กสทช. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ที่ค้ำประกันให้บริษัท ไทยทีวี คือธนาคารกรุงเทพ รวมอัตราดอกเบี้ย 7.5% นับจากวันที่ 28 พฤษภาคม 2558 โดยทั้ง 2 ช่องยังค้างชำระ 5 งวด รวมเป็นเงิน 1,634.4 ล้านบาท เรียกได้ว่างานนี้ผู้ที่ประมูลทีวีดิจิตอลไปแล้วห้ามตาย แม้จะตายก็ต้องจ่ายเงินส่วนที่เหลือ
“เปรียบเสมือนรัฐบาลสร้างสนามฟุตบอลให้ แต่ไม่มีรถโดยสารหรือรถไฟฟ้าที่จะพาผู้ชมไปถึงสนามฟุตบอลดังกล่าว” นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ NBC หนึ่งในผู้ประมูลทีวีดิจิตอลกล่าว
แน่นอนว่าเมื่อต้นทางอย่างผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการแลกกล่องรับชมสัญญาณทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินสะดุดลง ย่อมส่งผลต่อการเข้าถึงทีวีดิจิตอลทันที ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่
ปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้คือความเข้าใจของประชาชน งบประมาณด้านประชาสัมพันธ์ของ กสทช. 63 ล้านบาทตอนนี้ยังไม่สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้ ดังนั้นการต่ออายุคูปองล็อตแรกออกไปอีก 2 เดือนคงไม่มีประโยชน์หากไม่มีการกระตุ้นจากภาครัฐ
ตอนนี้ทางเราก็ต้องช่วยเหลือตัวเองในการสร้างความเข้าใจกับประชาชนไปตามพื้นที่ต่างๆ เช่น ร่วมมือกับสมาคมโรงแรมเข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ในการรับชมหรือบางทีเพียงแค่การปรับจูนใหม่ก็รับชมได้ เพื่อให้การเข้าถึงทีวีดิจิตอลมีมากขึ้น หรือการจับมือร่วมกับผู้ประกอบการกล่อง Set Top Box ไปสร้างความเข้าใจในจุดอื่นๆ ก็เป็นสิ่งที่น่าจะทำ
ขอย้ำว่าทุกครัวเรือนต้องรับชมได้จากภาคพื้นดิน 22.8 ล้านครอบครัวต้องได้รับทั้งหมด ต้องทำให้ทีวีดิจิตอลเป็นโครงข่ายหลัก ดาวเทียมเป็นทางเลือก แต่ตอนนี้ กสทช.กำลังทำให้ทีวีดิจิตอลกับดาวเทียมเป็นสัดส่วน 50:50 หากเป็นเช่นนี้จะกระทบกับแผนของทีวีชุมชนอีก 12 ช่อง เพราะจะไม่สามารถรับชมได้จากระบบดาวเทียม
กสทช.ต้องทำให้คนทราบถึงความแตกต่างระหว่างทีวีดิจิตอลกับดาวเทียม ไม่เช่นนั้นการเปลี่ยนผ่านจะทำได้ลำบาก เพราะตอนนี้อย่างในกรุงเทพฯ มีคนรับชมทีวีดิจิตอลเพียงแค่ 40% เท่านั้น และทุกอย่างต้องชัดว่าระบบอนาล็อกจะยกเลิกเมื่อไหร่
สาเหตุที่ไปไม่ถึงฝั่ง
แหล่งข่าวจากตัวแทนรับแลกกล่องรับชมทีวีดิจิตอลรายหนึ่งกล่าวว่า ปัญหาทั้งหมดเกิดจากการตั้งราคากล่อง Set Top Box ไว้ที่ 690 บาท ถามว่าราคานี้ทำได้หรือไม่ ตอบว่าทำได้ แต่ต้องแลกกับการลดชิ้นส่วนและลดคุณภาพของตัวอุปกรณ์ลง เนื่องจากในทางธุรกิจต้องมีค่าใช้จ่ายอื่่นๆ เข้ามาบวกรวมทั้งหมดทั้งค่าสติกเกอร์จาก กสทช. ค่ามัดจำในการสั่งซื้อสินค้า เงินที่ต้องวางไว้กับ กสทช. ภาษีนำเข้า 20% ค่าธรรมเนียมอื่นๆ รวมทั้งต้นทุนจากจุดรับแลกต่างๆ ดังนั้นคุณภาพของกล่องรับสัญญาณที่ได้ไปจึงอยู่ในสภาพสินค้าเกรดต่ำ
เมื่อมาเจอกับความกังวลในเรื่องการทุจริต มีการตรวจเอกสารอย่างละเอียดทำให้การจ่ายเงินให้กับผู้ร่วมโครงการรับแลกกล่องต้องช้าออกไป รายเล็กเจ๊งและเลิกกันไปแล้ว รายใหญ่ไม่สั่งของใหม่เข้ามา
นอกจากผู้ประกอบการกล่องไฮบริดจะไม่รับแลกคูปองมูลค่า 690 บาทแล้ว กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินที่เคยสามารถแลกได้จากร้าน 7-11 ขณะนี้หลายสาขาของ 7-11 ไม่มีกล่อง Set Top Box ให้แลก เช่นเดียวกับห้าง IT City และ Tesco Lotus บางสาขาที่ไม่มีกลอ่งให้แลกเช่นเดียวกัน โดยให้เหตุผลว่าตอนนี้ของหมด
แถมยังมาเจอข้อกำหนดที่พยายามทำให้การเบิกจ่ายช้าลงไปอีก เช่น ต้องรวมคูปองให้ครบ 100 ใบก่อนยื่น รายที่ไม่ครบก็ต้องรอ เมื่อครบแล้วยื่นไปก็ไม่รู้ว่าจะได้เงินเมื่อไหร่ จึงทำให้ทุกอย่างช้าลง สุดท้ายรายใหญ่ที่ทนไหวก็จะได้ประโยชน์ไป
สาเหตุที่ทำให้การแลกคูปองเพื่อการรับชมทีวีดิจิตอลช้านั้นมีหลายสาเหตุ เริ่มจาก กสทช.ไม่เคยออกมาทำความเข้าใจเรื่องทีวีดิจิตอลทั้งในแง่ของข้อดีจากระบบอนาล็อก รวมไปถึงวิธีการในการรับชมให้ประชาชนทั้งประเทศเข้าใจได้ทั้งหมด
ประการต่อมาโครงสร้างการรับชมทีวีบ้านเรา ส่วนใหญ่รับชมจากจานดาวเทียมที่มีช่องรายการมากกว่า รับชมได้ตามจุดอับสัญญาณต่างๆ อีกทั้งทีวีดิจิตอลถูกกฎ Must Carry ที่ต้องแบกทีวีดิจิตอลขึ้นไปด้วย ผู้รับชมก็เห็นว่าการชมจากจานดาวเทียมก็รับชมทีวีดิจิตอลได้แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องแลกกล่อง Set Top Box
บางรายที่รับชมจากจานดาวเทียม เมื่อได้คูปองมาและนำไปแลกกล่องรับสัญญาณ ก็นำไปขายต่อ ตอนนี้ที่คลองถมหรือบ้านหม้อมีกล่อง Set Top Box ขายกันในราคา 300-400 บาทเท่านั้น หรือผู้ประกอบการบางรายก็ตั้งโต๊ะรับคูปองจ่ายเงิน 500 บาทให้เจ้าของคูปอง แต่ไม่ได้รับสินค้าไป แล้วนำเอาคูปองไปสวมกับกล่องของบริษัทตัวเองก็มี
อีกทั้งในบางพื้นที่ไม่สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ เนื่องจากโครงข่ายยังไปไม่ถึงหรือบางพื้นที่เป็นจุดอับสัญญาณ กล่องที่แลกมาก็นำไปขายต่อ ในจำนวนนี้บางรายก็ต่ออุปกรณ์ไม่เป็น
ดังนั้นคนจึงไม่เห็นความแตกต่างระหว่างทีวีดิจิตอลในภาคพื้นดินกับการรับชมผ่านจานดาวเทียม ว่าความคมชัดระดับ HD นั้นเป็นอย่างไร เพราะการรับชมผ่านจานดาวเทียมช่องที่เป็น HD นั้นคุณภาพของการรับชมจะเหลือเพียงแค่ SD เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ประมูลช่องดังกล่าวไปที่ต้องจ่ายแพงกว่าช่อง SD
“ถ้ายังไม่ลืมก่อนหน้านี้มีคำแนะนำว่า อย่าเพิ่งรีบแลกกล่องทีวีดิจิตอล รอให้ใกล้ครบอายุก่อน รอให้บริษัทแถมเสาอากาศ ถ้าไม่แถมก็ยังไม่แลก นี่จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเข้าถึงทีวีดิจิตอลทำได้ล่าช้า แม้ว่าจะมีรายที่แถมเสาอากาศบ้าง แต่สุดท้ายภายใต้ราคา 690 บาท รายที่ทำก็เจ๊ง”
แม้ส่วนที่เหลืออีกราว 8 ล้านครัวเรือน ทาง กสทช.จะมีแนวคิดเรื่อง e-coupon เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ถือว่าช้าเกินไป ซึ่งวิธีนี้ควรทำตั้งแต่แรกจะได้ไม่ต้องเปลืองเรื่องค่าจัดพิมพ์คูปอง
กสทช.ไม่เข้าใจระบบ
สอดคล้องกับผู้ประกอบการเคเบิลทีวีที่ระบุว่า เมื่อ Must Carry กำหนดให้ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีต้องนำสัญญาณทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่องออกอากาศด้วย ทำให้ผู้ชมเดิมไม่คิดจะเปลี่ยนไปรับชมทีวีดิจิตอลในระบบภาคพื้นดิน หลายคนยังไม่แลก
กฎเกณฑ์ดังกล่าวทำให้เป็นภาระของผู้ประกอบการอย่างจานดาวเทียมและเคเบิลทีวี เดิม 6 ช่อง ตอนนี้ต้องส่ง 24 ช่อง ถือว่าเป็นต้นทุนของประกอบการ นอกจากนี้ยังทำให้ฐานผู้ชมของทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีไม่เติบโต
“เรียนตามตรงเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม ถือเป็นทางเลือกสำหรับผู้ชมที่ต้องการรับชมรายการต่างๆ ที่นอกเหนือจากฟรีทีวี เมื่อต้องแบกฟรีทีวีเข้ามาด้วย ทำให้ผู้ชมไม่เห็นความแตกต่าง ติดครั้งเดียวคุ้ม ดูได้หมด จึงไม่สามารถพัฒนารายการบนเครือข่ายของดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีได้มากขึ้น หากยกเลิกกฎดังกล่าวจะทำให้ประชาชนต้องขวนขวายเพื่อรับชมทีวีดิจิตอล เคเบิลและดาวเทียมก็ทำตลาดของตัวเองต่อไปได้”
ทั้งเป็นเพราะ กสทช.ไม่มีคนที่มีความรู้ในด้านนี้อย่างจริงจังเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว ทำให้เมื่อผลักดันโครงการนี้ออกมาจึงประสบปัญหาในแทบทุกจุด และหาก กสทช.ไม่เร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว สุดท้ายผู้ประมูลทีวีดิจิตอลทั้งหมดก็จะมีปัญหาในเรื่องเรตติ้งการรับชม ตามมาด้วยรายได้จากการขายโฆษณาจนไม่สามารถบริหารสถานีให้มีกำไรเพียงพอ เราก็จะเห็นช่องอื่นๆ ที่อาจจะประสบปัญหาเช่นเดียวกับรายของไทยทีวีและ Loca ของเจ๊ติ๋มทีวีพูล