ธนาคารพาณิชย์เร่งล็อกเงินฝากลูกค้าเพื่อให้ได้ต้นทุนต่ำ และป้องกันลูกค้าย้ายค่าย หลังเศรษฐกิจเริ่มเดินหน้าจากรัฐบาลใหม่และวงเงินคุ้มครองที่จะลดลงในปีหน้า สำรวจตลาดเงินฝากมีให้เลือกทั้งไม่เสียภาษี ฝากประจำระยะยาวและบัตรเงินฝาก นักการเงินแนะต้องรู้จักผลิตภัณฑ์เงินฝากให้ดีก่อนตัดสินใจเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่สภาวะที่กำลังจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจที่ชะงักมาในช่วงที่มีการต่อสู้กันทางการเมืองมากว่า 7 เดือน ทั้งภาคประชาชนและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศกำลังรอดูสภาพเศรษฐกิจจากนี้ไปว่าจะขับเคลื่อนต่อไปอย่างไร
เมื่อหันกลับไปสำรวจตลาดการเงินในเวลานี้ สถาบันการเงินต่างๆ เร่งระดมเงินฝากกันมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ออกโปรโมชันเงินฝากกันหลากรูปแบบ และส่วนใหญ่จะเป็นการเน้นที่เงินฝากระยะยาว
ทั้งนี้เป็นที่คาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจไทยนับจากนี้จะเดินหน้าต่อไปได้ จากการที่มีรัฐบาลใหม่ ที่ประกาศสานต่อโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจภายในประเทศฟื้นตัว จึงจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมาก ดังนั้นธนาคารพาณิชย์จึงเร่งระดมเงินฝากเพื่อนำไปใช้ในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการต่างๆ
“การล็อกเงินฝากระยะยาวจะทำให้แบงก์สามารถได้เงินต้นทุนต่ำเพื่อนำไปปล่อยกู้ โดยเฉพาะภาคก่อสร้างที่มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวมากขึ้น การออกโปรโมชันเงินฝากระยะยาวจึงเป็นสิ่งที่แบงก์เร่งดำเนินการในเวลานี้”
อีกสาเหตุหนึ่งมาจากวงเงินในการให้ความคุ้มครองเงินฝากที่เดิมเคยคุ้มครองเต็มจำนวนเริ่มปรับลดลงมาอยู่ที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ได้ยืดระยะเวลาในการให้ความคุ้มครองออกไป โดยวงเงินคุ้มครองที่ 50 ล้านบาทจะครบกำหนดวันที่ 10 สิงหาคม 2558 หลังจากนั้นจะลดลงเหลือไม่เกิน 25 ล้านบาท จนถึง 10 สิงหาคม 2559 และไม่เกิน 1 ล้านบาทตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2559
นอกจากการล็อกเงินฝากของลูกค้าเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำแล้ว ยังช่วยป้องกันการย้ายฐานเงินฝากของลูกค้าไปในตัว
โปรโมชันเพียบ
ช่วงนี้ธนาคารหลายแห่งออกโปรโมชันเงินฝากกันหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นผู้ที่มีเงินออมควรจะต้องทำความเข้าใจกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ให้ดีก่อนตัดสินใจ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและตรงกับจุดประสงค์ในการออมของแต่ละบุคคลให้มากที่สุด
หากสำรวจจากตลาดเงินฝากในเวลานี้ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ จะพบว่า โปรโมชันเงินฝากของสถาบันการเงินจะออกมาใน 2 รูปแบบ รูปแบบแรกเป็นบัญชีเงินฝากพิเศษที่แต่ละธนาคารจะออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าเป้าหมาย โดยบัญชีเงินฝากในกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็น
เงินฝากไม่เสียภาษี
เงินฝากที่ไม่เสียภาษี ตามปกติเงินฝากประจำจะต้องเสียภาษี 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ แม้จะมีบัญชีเงินฝากที่ไม่ต้องเสียภาษีอยู่อย่างบัญชีออมทรัพย์ แต่เกือบทั้งหมดจะได้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 0.5% ในระยะที่ผ่านมามีบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีออกมาเช่นกัน ด้วยข้อกำหนดฝากเงินเท่ากันทุกเดือน ได้ดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่จะกำหนดให้ฝากในระยะยาว เช่น 24 เดือน 36 เดือน หรือ 48 เดือน เช่น ธนาคารกรุงไทยออกเงินฝาก KTB ZERO TAX MAX
นอกจากนี้ยังมีการออกเงินฝากที่ไม่เสียภาษีโดยเฉพาะของธนาคารออมสินที่เป็นบัญชีออมทรัพย์แต่ต้องฝากตามระยะเวลาที่กำหนดเหมือนบัญชีเงินฝากประจำ ซึ่งใช้ชื่อว่า “บัญชีเผื่อเรียกพิเศษ” ล่าสุดออกมา 2 รายการคือ 5 เดือนและ 9 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.1% และ 2.45% เป็นดอกเบี้ยรับสุทธิ หากเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำจะเท่ากับ 2.47% และ 2.88% ต่อปี
บัญชีเงินฝากทั้ง 2 รูปแบบที่ไม่เสียภาษีแล้ว ยังมีเงินฝากที่ไม่เสียภาษีอีกรายการหนึ่งคือ เงินฝากสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ขณะนี้มีธนาคารกสิกรไทยได้ออกบัญชีเงินฝากประเภทนี้คือ เงินฝากประจำซูเปอร์ซีเนียร์ สำหรับผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ระยะเวลาฝาก 30 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี สำหรับวงเงินตั้งแต่ 1 แสนบาทแต่ไม่ถึง 1 ล้านบาท และอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 3.5% ต่อปี สำหรับวงเงินฝากตั้งแต่ 1-3 ล้านบาท รับดอกเบี้ยทุกเดือน และยังมอบความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลตลอด 24 ชั่วโมง เท่ากับยอดเงินฝากในบัญชี หรือสูงสุด 3 ล้านบาท
ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ให้สิทธิ์ยกเว้นภาษีสำหรับผู้ฝากที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป และมีดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี จะได้รับสิทธิ์การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ย
โดยก่อนหน้านี้มีธนาคารซีไอเอ็มบีก็ได้ออกเงินฝากประเภทนี้ออกมาดึงลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุไปแล้วเช่นกัน
ฝากประจำระยะยาว
บัญชีเงินฝากอีกกลุ่มหนึ่งเป็นบัญชีเงินฝากประจำ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะออกมาเป็นบัญชีเงินฝากในระยะยาว เช่น 15 เดือน หรือ 18 เดือน เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกเงินฝากประจำก้าวกระโดด 15 เดือน ดอกเบี้ยสูงสุด 4% โดยเป็นการให้ดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเดือนที่ 1-6 ดอกเบี้ย 2% ต่อปี เดือนที่ 7-12 ร้อยละ 3% ต่อปี เดือนที่ 13-15 ร้อยละ 4% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งโครงการ 2.80% ต่อปี
ขณะที่ธนาคารกสิกรไทยออกบัญชีเงินฝากประจำดอกเบี้ยสูง 14 เดือน ดอกเบี้ย 2.8% ส่วนธนาคารกรุงเทพเลือกออกเงินฝากระยะไม่เกิน 1 ปี ประกอบด้วยบัญชีเงินฝากประจำ 4 เดือน 7 เดือน และ 11 เดือน ดอกเบี้ย 2% 2.5% และ 2.8%
บัตรเงินฝากอีกหนึ่งทางเลือก
ยังมีเงินฝากอีกรูปแบบหนึ่งที่คนทั่วไปอาจไม่คุ้นเคยนัก นั่นคือบัตรเงินฝาก (NEGOTIABLE CERTIFICATE OF DEPOSIT:NCD) ซึ่งบัตรเงินฝากเป็นหลักฐานในการรับฝากเงิน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อครบกำหนด ระยะเวลาตามที่ระบุไว้บนบัตรเงินฝาก เหมือนกับเงินฝากประจำที่มีสมุดบัญชีเงินฝากประจำเป็นหลักฐานในการรับฝากเงิน
บัตรเงินฝากนี้ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยในปัจจุบันคือสูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก จนถึง 10 สิงหาคม 2558 และหลังจากนั้นจะลดลงเหลือไม่เกิน 25 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก จนถึง 10 สิงหาคม 2559 และไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก ตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2559
ธนาคารที่หันมาออกบัตรเงินฝากในระยะนี้คือธนาคารธนชาต ล่าสุดออกบัตรเงินฝาก 18 เดือน ดอกเบี้ย 3% ซึ่งปิดรับฝากไปแล้ว โดยก่อนหน้านี้มีการออกบัตรเงินฝาก 11 เดือนและเต็มอย่างรวดเร็วเช่นกัน
“บัตรเงินฝากอาจจะไม่ใหม่สำหรับคนในวงการการเงิน แต่ใหม่สำหรับประชาชนทั่วไป หลายคนยังกังวลเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง จึงต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อจูงใจผู้ฝากเงิน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วบัตรเงินฝากมีสถานะเดียวกับบัญชีเงินฝาก ที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากให้การคุ้มครองเช่นกัน”
เพียงแต่มีข้อจำกัดอยู่บ้าง ซึ่งธนาคารธนชาตกำหนดไว้ในเงื่อนไขว่า ในระหว่างที่บัตรเงินฝากยังไม่ครบกำหนดชำระ ธนาคารจะไม่อนุญาตให้มีการนำบัตรเงินฝากดังกล่าวไปจำนำหรือเป็นหลักประกันกับบุคคลอื่นใด เว้นแต่เป็นการทำธุรกรรมกับธนาคารเท่านั้น
เปรียบเทียบก่อนฝาก
โปรโมชันเงินฝากของแต่ละธนาคารมักถูกออกแบบมาเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้มีเงินออม โปรโมชันของบางธนาคารอาจไม่ถูกใจกับผู้ออมเงินบางราย แต่ถูกใจกับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นผู้มีเงินออมจึงต้องสำรวจความพร้อมของตัวเองก่อนตัดสินใจ
นักการเงินรายหนึ่งให้คำแนะนำว่า ใครที่เล็งเงินฝากที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูง ควรต้องหันมาพิจารณาถึงผลตอบแทนสุทธิที่จะได้รับจากการฝากเงิน อย่างกรณีเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เช่น 2% ตรงนี้จะต้องถูกหักภาษี 15% ดอกเบี้ยสุทธิจะเหลือเพียง 1.7% ขณะที่ธนาคารของรัฐบางแห่งให้ 2.1% แต่เป็นดอกเบี้ยสุทธิ ซึ่งเท่ากับดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ 2.47%
เงินฝากที่ให้อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดนั้น ผู้ฝากต้องนำเอาดอกเบี้ยทั้งหมดมาหารเพื่อหาค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารต้องระบุดอกเบี้ยเฉลี่ยไว้ด้วย อย่าไปมองเรื่องดอกเบี้ยสูงสุดเพียงอย่างเดียว
ขณะเดียวกันสำหรับผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป การฝากเงินกับธนาคารเพื่อรับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยนั้น ที่ผ่านมาธนาคารหลายแห่งมักจะไม่ออกบัญชีเงินฝากประเภทนี้มากนัก เนื่องจากต้องการออกผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมกับคนทั่วไป ทั้งๆ ที่ผู้สูงอายุได้รับการยกเว้นเรื่องภาษีจากดอกเบี้ยรับตามกฎเกณฑ์ของกรมสรรพากร ดังนั้นการที่มีบัญชีเงินฝากประเภทนี้ออกมาจึงทำให้ผู้ฝากเงินที่มีอายุครบตามเกณฑ์จึงได้รับผลตอบแทนสูงกว่า และไม่ต้องยุ่งยากในเรื่องการทำเรื่องขอคืนภาษีภายหลัง
ส่วนคนที่ต้องการออมเงินไปเรื่อยๆ ทุกเดือน เพื่อสะสมเงินไว้เป็นก้อน ก็ลองหันมามองบัญชีเงินฝากปลอดภาษี ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าบัญชีเงินฝากปกติ เมื่อครบกำหนดได้เงินมาเป็นก้อนค่อยเลือกออมในบัญชีประเภทอื่น
เช่นเดียวกับบัตรเงินฝาก ที่แม้จะไม่ใช่บัญชีเงินฝากแต่ก็ได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน โดยบัตรเงินฝากมักจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าบัญชีเงินฝากทั่วไป อย่างบัตรเงินฝาก 18 เดือนให้ผลตอบแทน 3% เทียบกับพันธบัตรรัฐบาล 3 ปีที่เสนอขายในเวลานี้ให้ผลตอบแทน 3.25% ล่าสุดบัตรเงินฝาก 18 เดือนเต็มแล้ว และมีบัตรเงินฝาก 4 เดือนและ 8 เดือนออกมา อัตราดอกเบี้ยที่ 2.15% และ 2.65%
อีกประการหนึ่งที่กังวลกันว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอาจจะปรับขึ้นในราวปีหน้านั้น บางท่านอาจต้องการรอดูสถานการณ์ เพื่อรอผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยอาจเลือกพักเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์ ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการของแต่ละบุคคล
แต่โดยธรรมชาติของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น มักจะปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปเช่น ครั้งละ 0.25% ในปีหน้าแม้ดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะขึ้นแต่คงปรับขึ้นไม่มาก วิธีการที่ดีที่สุดคือเลือกออมเงินในบัญชีระยะสั้นเช่น 4 เดือนหรือ 5 เดือนไว้ก่อน ตรงนี้จะทำให้เงินออมของท่านได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการพักเงินไว้ที่เงินฝากออมทรัพย์ หากดอกเบี้ยปรับขึ้นในปีหน้า เมื่อเงินออมของท่านครบกำหนดก็สามารถปรับเปลี่ยนไปยังโปรโมชันอื่นๆ ได้
ตรงนี้ผู้ออมต้องสำรวจโปรโมชันเงินฝากเหล่านี้ให้ดี ก่อนตัดสินใจ
ในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่สภาวะที่กำลังจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจที่ชะงักมาในช่วงที่มีการต่อสู้กันทางการเมืองมากว่า 7 เดือน ทั้งภาคประชาชนและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศกำลังรอดูสภาพเศรษฐกิจจากนี้ไปว่าจะขับเคลื่อนต่อไปอย่างไร
เมื่อหันกลับไปสำรวจตลาดการเงินในเวลานี้ สถาบันการเงินต่างๆ เร่งระดมเงินฝากกันมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ออกโปรโมชันเงินฝากกันหลากรูปแบบ และส่วนใหญ่จะเป็นการเน้นที่เงินฝากระยะยาว
ทั้งนี้เป็นที่คาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจไทยนับจากนี้จะเดินหน้าต่อไปได้ จากการที่มีรัฐบาลใหม่ ที่ประกาศสานต่อโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจภายในประเทศฟื้นตัว จึงจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมาก ดังนั้นธนาคารพาณิชย์จึงเร่งระดมเงินฝากเพื่อนำไปใช้ในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการต่างๆ
“การล็อกเงินฝากระยะยาวจะทำให้แบงก์สามารถได้เงินต้นทุนต่ำเพื่อนำไปปล่อยกู้ โดยเฉพาะภาคก่อสร้างที่มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวมากขึ้น การออกโปรโมชันเงินฝากระยะยาวจึงเป็นสิ่งที่แบงก์เร่งดำเนินการในเวลานี้”
อีกสาเหตุหนึ่งมาจากวงเงินในการให้ความคุ้มครองเงินฝากที่เดิมเคยคุ้มครองเต็มจำนวนเริ่มปรับลดลงมาอยู่ที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ได้ยืดระยะเวลาในการให้ความคุ้มครองออกไป โดยวงเงินคุ้มครองที่ 50 ล้านบาทจะครบกำหนดวันที่ 10 สิงหาคม 2558 หลังจากนั้นจะลดลงเหลือไม่เกิน 25 ล้านบาท จนถึง 10 สิงหาคม 2559 และไม่เกิน 1 ล้านบาทตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2559
นอกจากการล็อกเงินฝากของลูกค้าเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำแล้ว ยังช่วยป้องกันการย้ายฐานเงินฝากของลูกค้าไปในตัว
โปรโมชันเพียบ
ช่วงนี้ธนาคารหลายแห่งออกโปรโมชันเงินฝากกันหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นผู้ที่มีเงินออมควรจะต้องทำความเข้าใจกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ให้ดีก่อนตัดสินใจ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและตรงกับจุดประสงค์ในการออมของแต่ละบุคคลให้มากที่สุด
หากสำรวจจากตลาดเงินฝากในเวลานี้ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ จะพบว่า โปรโมชันเงินฝากของสถาบันการเงินจะออกมาใน 2 รูปแบบ รูปแบบแรกเป็นบัญชีเงินฝากพิเศษที่แต่ละธนาคารจะออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าเป้าหมาย โดยบัญชีเงินฝากในกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็น
เงินฝากไม่เสียภาษี
เงินฝากที่ไม่เสียภาษี ตามปกติเงินฝากประจำจะต้องเสียภาษี 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ แม้จะมีบัญชีเงินฝากที่ไม่ต้องเสียภาษีอยู่อย่างบัญชีออมทรัพย์ แต่เกือบทั้งหมดจะได้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 0.5% ในระยะที่ผ่านมามีบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีออกมาเช่นกัน ด้วยข้อกำหนดฝากเงินเท่ากันทุกเดือน ได้ดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่จะกำหนดให้ฝากในระยะยาว เช่น 24 เดือน 36 เดือน หรือ 48 เดือน เช่น ธนาคารกรุงไทยออกเงินฝาก KTB ZERO TAX MAX
นอกจากนี้ยังมีการออกเงินฝากที่ไม่เสียภาษีโดยเฉพาะของธนาคารออมสินที่เป็นบัญชีออมทรัพย์แต่ต้องฝากตามระยะเวลาที่กำหนดเหมือนบัญชีเงินฝากประจำ ซึ่งใช้ชื่อว่า “บัญชีเผื่อเรียกพิเศษ” ล่าสุดออกมา 2 รายการคือ 5 เดือนและ 9 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.1% และ 2.45% เป็นดอกเบี้ยรับสุทธิ หากเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำจะเท่ากับ 2.47% และ 2.88% ต่อปี
บัญชีเงินฝากทั้ง 2 รูปแบบที่ไม่เสียภาษีแล้ว ยังมีเงินฝากที่ไม่เสียภาษีอีกรายการหนึ่งคือ เงินฝากสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ขณะนี้มีธนาคารกสิกรไทยได้ออกบัญชีเงินฝากประเภทนี้คือ เงินฝากประจำซูเปอร์ซีเนียร์ สำหรับผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ระยะเวลาฝาก 30 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี สำหรับวงเงินตั้งแต่ 1 แสนบาทแต่ไม่ถึง 1 ล้านบาท และอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 3.5% ต่อปี สำหรับวงเงินฝากตั้งแต่ 1-3 ล้านบาท รับดอกเบี้ยทุกเดือน และยังมอบความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลตลอด 24 ชั่วโมง เท่ากับยอดเงินฝากในบัญชี หรือสูงสุด 3 ล้านบาท
ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ให้สิทธิ์ยกเว้นภาษีสำหรับผู้ฝากที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป และมีดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี จะได้รับสิทธิ์การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ย
โดยก่อนหน้านี้มีธนาคารซีไอเอ็มบีก็ได้ออกเงินฝากประเภทนี้ออกมาดึงลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุไปแล้วเช่นกัน
ฝากประจำระยะยาว
บัญชีเงินฝากอีกกลุ่มหนึ่งเป็นบัญชีเงินฝากประจำ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะออกมาเป็นบัญชีเงินฝากในระยะยาว เช่น 15 เดือน หรือ 18 เดือน เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกเงินฝากประจำก้าวกระโดด 15 เดือน ดอกเบี้ยสูงสุด 4% โดยเป็นการให้ดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเดือนที่ 1-6 ดอกเบี้ย 2% ต่อปี เดือนที่ 7-12 ร้อยละ 3% ต่อปี เดือนที่ 13-15 ร้อยละ 4% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งโครงการ 2.80% ต่อปี
ขณะที่ธนาคารกสิกรไทยออกบัญชีเงินฝากประจำดอกเบี้ยสูง 14 เดือน ดอกเบี้ย 2.8% ส่วนธนาคารกรุงเทพเลือกออกเงินฝากระยะไม่เกิน 1 ปี ประกอบด้วยบัญชีเงินฝากประจำ 4 เดือน 7 เดือน และ 11 เดือน ดอกเบี้ย 2% 2.5% และ 2.8%
บัตรเงินฝากอีกหนึ่งทางเลือก
ยังมีเงินฝากอีกรูปแบบหนึ่งที่คนทั่วไปอาจไม่คุ้นเคยนัก นั่นคือบัตรเงินฝาก (NEGOTIABLE CERTIFICATE OF DEPOSIT:NCD) ซึ่งบัตรเงินฝากเป็นหลักฐานในการรับฝากเงิน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อครบกำหนด ระยะเวลาตามที่ระบุไว้บนบัตรเงินฝาก เหมือนกับเงินฝากประจำที่มีสมุดบัญชีเงินฝากประจำเป็นหลักฐานในการรับฝากเงิน
บัตรเงินฝากนี้ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยในปัจจุบันคือสูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก จนถึง 10 สิงหาคม 2558 และหลังจากนั้นจะลดลงเหลือไม่เกิน 25 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก จนถึง 10 สิงหาคม 2559 และไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก ตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2559
ธนาคารที่หันมาออกบัตรเงินฝากในระยะนี้คือธนาคารธนชาต ล่าสุดออกบัตรเงินฝาก 18 เดือน ดอกเบี้ย 3% ซึ่งปิดรับฝากไปแล้ว โดยก่อนหน้านี้มีการออกบัตรเงินฝาก 11 เดือนและเต็มอย่างรวดเร็วเช่นกัน
“บัตรเงินฝากอาจจะไม่ใหม่สำหรับคนในวงการการเงิน แต่ใหม่สำหรับประชาชนทั่วไป หลายคนยังกังวลเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง จึงต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อจูงใจผู้ฝากเงิน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วบัตรเงินฝากมีสถานะเดียวกับบัญชีเงินฝาก ที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากให้การคุ้มครองเช่นกัน”
เพียงแต่มีข้อจำกัดอยู่บ้าง ซึ่งธนาคารธนชาตกำหนดไว้ในเงื่อนไขว่า ในระหว่างที่บัตรเงินฝากยังไม่ครบกำหนดชำระ ธนาคารจะไม่อนุญาตให้มีการนำบัตรเงินฝากดังกล่าวไปจำนำหรือเป็นหลักประกันกับบุคคลอื่นใด เว้นแต่เป็นการทำธุรกรรมกับธนาคารเท่านั้น
เปรียบเทียบก่อนฝาก
โปรโมชันเงินฝากของแต่ละธนาคารมักถูกออกแบบมาเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้มีเงินออม โปรโมชันของบางธนาคารอาจไม่ถูกใจกับผู้ออมเงินบางราย แต่ถูกใจกับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นผู้มีเงินออมจึงต้องสำรวจความพร้อมของตัวเองก่อนตัดสินใจ
นักการเงินรายหนึ่งให้คำแนะนำว่า ใครที่เล็งเงินฝากที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูง ควรต้องหันมาพิจารณาถึงผลตอบแทนสุทธิที่จะได้รับจากการฝากเงิน อย่างกรณีเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เช่น 2% ตรงนี้จะต้องถูกหักภาษี 15% ดอกเบี้ยสุทธิจะเหลือเพียง 1.7% ขณะที่ธนาคารของรัฐบางแห่งให้ 2.1% แต่เป็นดอกเบี้ยสุทธิ ซึ่งเท่ากับดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ 2.47%
เงินฝากที่ให้อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดนั้น ผู้ฝากต้องนำเอาดอกเบี้ยทั้งหมดมาหารเพื่อหาค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารต้องระบุดอกเบี้ยเฉลี่ยไว้ด้วย อย่าไปมองเรื่องดอกเบี้ยสูงสุดเพียงอย่างเดียว
ขณะเดียวกันสำหรับผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป การฝากเงินกับธนาคารเพื่อรับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยนั้น ที่ผ่านมาธนาคารหลายแห่งมักจะไม่ออกบัญชีเงินฝากประเภทนี้มากนัก เนื่องจากต้องการออกผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมกับคนทั่วไป ทั้งๆ ที่ผู้สูงอายุได้รับการยกเว้นเรื่องภาษีจากดอกเบี้ยรับตามกฎเกณฑ์ของกรมสรรพากร ดังนั้นการที่มีบัญชีเงินฝากประเภทนี้ออกมาจึงทำให้ผู้ฝากเงินที่มีอายุครบตามเกณฑ์จึงได้รับผลตอบแทนสูงกว่า และไม่ต้องยุ่งยากในเรื่องการทำเรื่องขอคืนภาษีภายหลัง
ส่วนคนที่ต้องการออมเงินไปเรื่อยๆ ทุกเดือน เพื่อสะสมเงินไว้เป็นก้อน ก็ลองหันมามองบัญชีเงินฝากปลอดภาษี ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าบัญชีเงินฝากปกติ เมื่อครบกำหนดได้เงินมาเป็นก้อนค่อยเลือกออมในบัญชีประเภทอื่น
เช่นเดียวกับบัตรเงินฝาก ที่แม้จะไม่ใช่บัญชีเงินฝากแต่ก็ได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน โดยบัตรเงินฝากมักจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าบัญชีเงินฝากทั่วไป อย่างบัตรเงินฝาก 18 เดือนให้ผลตอบแทน 3% เทียบกับพันธบัตรรัฐบาล 3 ปีที่เสนอขายในเวลานี้ให้ผลตอบแทน 3.25% ล่าสุดบัตรเงินฝาก 18 เดือนเต็มแล้ว และมีบัตรเงินฝาก 4 เดือนและ 8 เดือนออกมา อัตราดอกเบี้ยที่ 2.15% และ 2.65%
อีกประการหนึ่งที่กังวลกันว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอาจจะปรับขึ้นในราวปีหน้านั้น บางท่านอาจต้องการรอดูสถานการณ์ เพื่อรอผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยอาจเลือกพักเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์ ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการของแต่ละบุคคล
แต่โดยธรรมชาติของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น มักจะปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปเช่น ครั้งละ 0.25% ในปีหน้าแม้ดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะขึ้นแต่คงปรับขึ้นไม่มาก วิธีการที่ดีที่สุดคือเลือกออมเงินในบัญชีระยะสั้นเช่น 4 เดือนหรือ 5 เดือนไว้ก่อน ตรงนี้จะทำให้เงินออมของท่านได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการพักเงินไว้ที่เงินฝากออมทรัพย์ หากดอกเบี้ยปรับขึ้นในปีหน้า เมื่อเงินออมของท่านครบกำหนดก็สามารถปรับเปลี่ยนไปยังโปรโมชันอื่นๆ ได้
ตรงนี้ผู้ออมต้องสำรวจโปรโมชันเงินฝากเหล่านี้ให้ดี ก่อนตัดสินใจ