ตำรวจติดเครื่องกลุ่มหมิ่นสถาบันหลังขั้วอำนาจเปลี่ยน คนในฝ่ายความมั่นคงรับที่ผ่านมาทหารขยับตัวยาก เหตุเพื่อไทยยังครองอำนาจ ต้องอาศัยจังหวะที่เสื่อมจากค้างหนี้ชาวนา เริ่มเอาจริงช่วงปลายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ขณะที่ คสช.ออกประกาศคดีหมิ่นขึ้นศาลทหาร ระบุอย่างน้อยการกล่าวโทษ หรือหมายจับ ทำให้คนเหล่านี้อยู่ลำบาก ถ้าไม่หนีไปต่างประเทศก็ต้องถูกจับ ชี้มีอีกหลายรายจ่อคิวโดน งานนี้วัดใจตำรวจเอาจริงแค่ไหน
ขบวนการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในยุคที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร บริหารประเทศ แต่กระบวนการในการเอาบุคคลที่กระทำผิดมาลงโทษนั้น กลับไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง และเป็นที่ทราบกันดีว่าบุคคลเหล่านั้นล้วนให้การสนับสนุนพรรคไทยรักไทยในเวลานั้น
หลังจากมีการเข้ายึดอำนาจจากทักษิณ ชินวัตร โดย พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เมื่อ 19 กันยายน 2549 ทำให้ขบวนการเหล่านี้เงียบหายไประยะหนึ่ง และกลับมาอีกครั้งในช่วงรัฐบาลของพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย ซึ่งก็คือพรรคการเมืองของทักษิณที่เปลี่ยนชื่อไปหลังจากถูกยุบพรรค
แม้ในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์สลับขึ้นมาเป็นรัฐบาล จะมีการจับกุมดำเนินคดีผู้กระทำผิดบ้าง แต่ขบวนการเหล่านี้ก็ยังคงดำเนินการโจมตีสถาบันเบื้องสูงอย่างต่อเนื่อง และการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 ทักษิณ ชินวัตร ได้ส่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวเข้ามาลงสนามการเมือง และได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยตามความคาดหมาย การบริหารประเทศของพรรคเพื่อไทยเดินควบคู่ไปกับขบวนการหมิ่นสถาบันเช่นเดียวกับในยุคก่อน และมีสมาชิกหน้าใหม่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ
ทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม รัฐบาลของพรรคเพื่อไทยเสมือนหลับตาข้างหนึ่ง นิ่งเฉยต่อบุคคลในขบวนการเหล่านี้ที่ออกมาเคลื่อนไหว ไม่ห้ามปราม หรือดำเนินคดีตามกฎหมาย
จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงปลายของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ที่เสียงของผู้คนในสังคมเริ่มดังขึ้น เรียกร้องให้มีการจัดการกับบุคคลที่กระทำการหมิ่นสถาบัน แต่การกล่าวโทษบุคคลเหล่านั้นกลับไม่ใช่ผลงานของรัฐบาลจากพรรคเพื่อไทย
คดีหมิ่นไม่คืบในยุคเพื่อไทย
โดยเฉพาะในช่วงหลังที่เกิดการต่อต้านรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ครั้งใหญ่จากภาคประชาชน จนกระทั่งมีการประกาศแบ่งแยกประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนล้านนา (สปป.ล้านนา) โดยที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ดำเนินการใดๆ ทั้งนี้ เป็นเพราะบุคคลเหล่านั้นล้วนแต่เกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม
จนกระทั่งกองทัพบก โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้สั่งให้หน่วยงานของกองทัพบกเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ที่ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนล้านนา (สปป.ล้านนา) และกรณีหมิ่นสถาบันในช่วงเดือนมีนาคม 2557
การดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลที่กระทำการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าหากรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยยังอยู่ในอำนาจอย่างเข้มแข็ง คดีเหล่านี้จะไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง สุดท้ายก็ปล่อยให้เรื่องนี้เงียบหายไป
สิ่งที่พิสูจน์ชัดก็คือ ภายหลังการเข้ายึดอำนาจของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 ในนามของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คดีหมิ่นสถาบันที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความคืบหน้ามากขึ้น โดย พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธ์ม่วง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แสดงความแปลกใจที่คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นสถาบันของสำนักงานตำรวจสันติบาล ไม่ได้มีการร่วมประชุมกันมา 2 ปี และกำชับให้เร่งดำเนินคดี เราจึงได้เห็นในระยะที่ผ่านมาคดีหมิ่นสถาบันเริ่มมีความคืบหน้ามากขึ้น
นี่ถือเป็นใบเสร็จของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ปล่อยปละละเลยกับคดีหมิ่นสถาบัน ภายใต้ความแปลกใจของพลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ที่ระบุถึงสาเหตุที่คดีหมิ่นสถาบันไม่มีความคืบหน้า
คดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูงที่มีการกล่าวโทษและออกหมายจับกันในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ประกอบด้วย นายเอกภพ เหลือรา หรือ ตั้ง อาชีวะ ที่กล่าวปราศรัยในเวทีของคนเสื้อแดง นายสมศักดิ์ เจียมธีระสกุล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายศรันย์ ฉุยฉาย หรือ อั๊ม เนโกะ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ เจ้าของสถานีวิทยุชุมชนเสื้อแดง นางฉัตรวดี อมรพัฒน์ หรือ โรส เสื้อแดงที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และล่าสุดคือ พันเอกอภิวันท์ วิริยะชัย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคเพื่อไทย
ขณะที่ นาวาอากาศตรีชนินทร์ คล้ายคลึง ที่ถูกข้อหาเรื่องหมิ่นสถาบัน ได้ถูกปลดออกจากราชการ แต่ยังไม่มีการออกหมายจับ
รายชื่อดังกล่าวล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่ให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทยทุกราย ยกเว้น นายสมศักดิ์ เจียมธีระสกุล ที่ไม่มีการแสดงออกว่าสนับสนุนพรรคเพื่อไทย แต่ได้เขียนบทความที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบันมาโดยตลอด
นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการชื่อดังที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการมีมาตรา 112 อีกหลายราย บางรายถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรียกมารายงานตัว บางรายเดินทางไปต่างประเทศก่อนออกหมายเรียก บางรายยังไม่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นสถาบัน
รอเพื่อไทยเสื่อม-ตำรวจชิงผลงาน
“วันนี้ที่คดีหมิ่นสถาบันเริ่มมีการดำเนินการตามกฎหมายจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น เพราะอำนาจเปลี่ยนมือจากพรรคเพื่อไทยมาเป็นฝ่ายทหารที่เข้ามายึดอำนาจ ถ้าพรรคเพื่อไทยยังครองอำนาจอยู่ เรื่องหมิ่นสถาบันจะไม่มีทางดำเนินการอย่างจริงจัง” แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าว
ที่ผ่านมา ทหารก็อึดอัดในเรื่องนี้ แต่เป็นเพราะขณะนั้นพรรคเพื่อไทยยังมีอำนาจ และภาคประชาชนให้การสนับสนุนอยู่มาก ทำให้ไม่สามารถดำเนินการในเรื่องนี้ได้มากนัก ต้องรอให้พรรคนี้เสื่อมตั้งแต่เรื่องการที่ประชาชนลุกฮือขึ้นมาต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ที่มีคนเสื้อแดงร่วมด้วย แม้จะยอมถอนกฎหมายฉบับดังกล่าวออกไป แต่ยังมีเรื่องของการค้างเงินจำนำข้าวจากชาวนามาเป็นตัวบ่งบอกอาการเสื่อมของพรรคเพื่อไทย
เมื่อรากหญ้าที่เป็นฐานเสียงส่วนใหญ่เริ่มไม่เอาด้วยกับพรรคเพื่อไทย ทหารจึงค่อยๆ เริ่มออกมาแสดงบทบาทมากขึ้น
การออกหมายจับของบุคคลที่กระทำการหมิ่นสถาบันในช่วงปลายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ส่วนหนึ่งทำไปเพราะต้องการลดกระแสความไม่พอใจ ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ เพราะคนเหล่านี้ล้วนเป็นเนื้อเดียวกับฝ่ายรัฐบาล อีกทั้งบางคดีทางกองทัพเป็นผู้ดำเนินการแจ้งความเอง ซึ่งทำให้มีน้ำหนักมากกว่าบุคคลธรรมดา
ยิ่งเมื่อพรรคเพื่อไทยหลุดจากอำนาจ โดยมี คสช.เข้ามาควบคุมสถานการณ์ กลไกของตำรวจที่ไม่เคยดำเนินการอย่างจริงจังในคดีเหล่านี้ก็ต้องเริ่มขึ้น
“ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าการเปลี่ยนตัวทั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และตำรวจระดับรองผู้บัญชาการหลายตำแหน่ง ทำให้คดีความที่เคยจงใจไม่ดำเนินการนั้นดีขึ้น หลายคดีมีความคืบหน้า ทั้งคดียิง M79 ใส่ผู้ชุมนุมตามสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงคดีหมิ่นสถาบัน ที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีการออกหมายจับพันเอกอภิวันท์ ที่เป็นถึงรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ถือเป็นความฉลาดของ คสช.ที่ให้ระดับรอง ผบ.ตร. แข่งกันสร้างผลงาน เนื่องจากตำแหน่ง ผบ.ตร.ว่างอยู่”
นี่ถ้าพรรคเพื่อไทยยังไม่เสื่อม คดีเหล่านี้ไม่มีทางคืบหน้า
ทางเลือก : ไม่หนี-ถูกจับ
นอกจากนี้ ทางกองทัพยังให้ความสำคัญกับคดีหมิ่นสถาบันด้วยการออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 เรื่องความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร หนึ่งในนั้นคือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ในคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 112
การกล่าวโทษรวมไปถึงการออกหมายจับบุคคลที่กระทำความผิดในคดีหมิ่นสถาบันนั้น ถือเป็นการประทับตราให้บุคคลเหล่านี้ ส่วนวิธีการที่จะนำตัวมาลงโทษได้หรือไม่เป็นเรื่องที่ฝ่ายตำรวจต้องเร่งดำเนินการ โดยมีทางเลือก 2 แนวทาง
แนวทางแรกคือ หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ หากต้องการหลบเลี่ยงการจับกุมต้องหาประเทศที่ไม่มีข้อตกลงเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และต้องไม่มีกฎหมายในลักษณะเดียวกันกับประเทศไทย ประเทศแถบยุโรปจึงเป็นเป้าหมายหลักของคนกลุ่มนี้ ในกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศยกเลิกหนังสือเดินทางหากไม่มีชาติไหนออกหนังสือเดินทางให้ก็ลำบาก หากเดินทางกลับมาประเทศไทยก็ถูกจับกุม เว้นแต่ไปหาซื้อในบางประเทศ ปัญหาคือต้องอยู่ให้ได้จนกว่าจะพ้นอายุความ 15 ปี
แนวทางที่สองคือ มอบตัวหรือถูกจับกุมได้ อาจมีการต่อสู้คดี แต่ส่วนใหญ่มักจะถูกพิพากษาจำคุก เนื่องจากหลักฐานชัดเจน คนกลุ่มนี้จะยอมรับโทษจำคุกระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็จะดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะได้รับทุกราย
ปัญหาในเวลานี้คือ ผู้ที่กระทำการหมิ่นสถาบันที่แม้จะหลบหนีคดีไปอยู่ต่างประเทศแล้ว ส่วนใหญ่ยังคงใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กเข้ามาแสดงความเห็นได้อย่างต่อเนื่อง อย่าง ตั้ง อาชีวะ โรส ฉัตรวดี อั๊ม เนโกะ โกตี๋ หรือแม้กระทั่งนาวาอากาศตรีชนินทร์ คล้ายคลึง รวมถึง จักรภพ เพ็ญแข ที่ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการสื่อสาร
นี่จึงเป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยว่าจะสามารถดำเนินการเอาตัวผู้กระทำความผิดในคดีหมิ่นสถาบันมาลงโทษได้หรือไม่
ขบวนการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในยุคที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร บริหารประเทศ แต่กระบวนการในการเอาบุคคลที่กระทำผิดมาลงโทษนั้น กลับไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง และเป็นที่ทราบกันดีว่าบุคคลเหล่านั้นล้วนให้การสนับสนุนพรรคไทยรักไทยในเวลานั้น
หลังจากมีการเข้ายึดอำนาจจากทักษิณ ชินวัตร โดย พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เมื่อ 19 กันยายน 2549 ทำให้ขบวนการเหล่านี้เงียบหายไประยะหนึ่ง และกลับมาอีกครั้งในช่วงรัฐบาลของพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย ซึ่งก็คือพรรคการเมืองของทักษิณที่เปลี่ยนชื่อไปหลังจากถูกยุบพรรค
แม้ในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์สลับขึ้นมาเป็นรัฐบาล จะมีการจับกุมดำเนินคดีผู้กระทำผิดบ้าง แต่ขบวนการเหล่านี้ก็ยังคงดำเนินการโจมตีสถาบันเบื้องสูงอย่างต่อเนื่อง และการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 ทักษิณ ชินวัตร ได้ส่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวเข้ามาลงสนามการเมือง และได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยตามความคาดหมาย การบริหารประเทศของพรรคเพื่อไทยเดินควบคู่ไปกับขบวนการหมิ่นสถาบันเช่นเดียวกับในยุคก่อน และมีสมาชิกหน้าใหม่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ
ทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม รัฐบาลของพรรคเพื่อไทยเสมือนหลับตาข้างหนึ่ง นิ่งเฉยต่อบุคคลในขบวนการเหล่านี้ที่ออกมาเคลื่อนไหว ไม่ห้ามปราม หรือดำเนินคดีตามกฎหมาย
จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงปลายของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ที่เสียงของผู้คนในสังคมเริ่มดังขึ้น เรียกร้องให้มีการจัดการกับบุคคลที่กระทำการหมิ่นสถาบัน แต่การกล่าวโทษบุคคลเหล่านั้นกลับไม่ใช่ผลงานของรัฐบาลจากพรรคเพื่อไทย
คดีหมิ่นไม่คืบในยุคเพื่อไทย
โดยเฉพาะในช่วงหลังที่เกิดการต่อต้านรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ครั้งใหญ่จากภาคประชาชน จนกระทั่งมีการประกาศแบ่งแยกประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนล้านนา (สปป.ล้านนา) โดยที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ดำเนินการใดๆ ทั้งนี้ เป็นเพราะบุคคลเหล่านั้นล้วนแต่เกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม
จนกระทั่งกองทัพบก โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้สั่งให้หน่วยงานของกองทัพบกเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ที่ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนล้านนา (สปป.ล้านนา) และกรณีหมิ่นสถาบันในช่วงเดือนมีนาคม 2557
การดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลที่กระทำการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าหากรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยยังอยู่ในอำนาจอย่างเข้มแข็ง คดีเหล่านี้จะไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง สุดท้ายก็ปล่อยให้เรื่องนี้เงียบหายไป
สิ่งที่พิสูจน์ชัดก็คือ ภายหลังการเข้ายึดอำนาจของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 ในนามของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คดีหมิ่นสถาบันที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความคืบหน้ามากขึ้น โดย พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธ์ม่วง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แสดงความแปลกใจที่คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นสถาบันของสำนักงานตำรวจสันติบาล ไม่ได้มีการร่วมประชุมกันมา 2 ปี และกำชับให้เร่งดำเนินคดี เราจึงได้เห็นในระยะที่ผ่านมาคดีหมิ่นสถาบันเริ่มมีความคืบหน้ามากขึ้น
นี่ถือเป็นใบเสร็จของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ปล่อยปละละเลยกับคดีหมิ่นสถาบัน ภายใต้ความแปลกใจของพลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ที่ระบุถึงสาเหตุที่คดีหมิ่นสถาบันไม่มีความคืบหน้า
คดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูงที่มีการกล่าวโทษและออกหมายจับกันในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ประกอบด้วย นายเอกภพ เหลือรา หรือ ตั้ง อาชีวะ ที่กล่าวปราศรัยในเวทีของคนเสื้อแดง นายสมศักดิ์ เจียมธีระสกุล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายศรันย์ ฉุยฉาย หรือ อั๊ม เนโกะ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ เจ้าของสถานีวิทยุชุมชนเสื้อแดง นางฉัตรวดี อมรพัฒน์ หรือ โรส เสื้อแดงที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และล่าสุดคือ พันเอกอภิวันท์ วิริยะชัย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคเพื่อไทย
ขณะที่ นาวาอากาศตรีชนินทร์ คล้ายคลึง ที่ถูกข้อหาเรื่องหมิ่นสถาบัน ได้ถูกปลดออกจากราชการ แต่ยังไม่มีการออกหมายจับ
รายชื่อดังกล่าวล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่ให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทยทุกราย ยกเว้น นายสมศักดิ์ เจียมธีระสกุล ที่ไม่มีการแสดงออกว่าสนับสนุนพรรคเพื่อไทย แต่ได้เขียนบทความที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบันมาโดยตลอด
นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการชื่อดังที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการมีมาตรา 112 อีกหลายราย บางรายถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรียกมารายงานตัว บางรายเดินทางไปต่างประเทศก่อนออกหมายเรียก บางรายยังไม่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นสถาบัน
รอเพื่อไทยเสื่อม-ตำรวจชิงผลงาน
“วันนี้ที่คดีหมิ่นสถาบันเริ่มมีการดำเนินการตามกฎหมายจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น เพราะอำนาจเปลี่ยนมือจากพรรคเพื่อไทยมาเป็นฝ่ายทหารที่เข้ามายึดอำนาจ ถ้าพรรคเพื่อไทยยังครองอำนาจอยู่ เรื่องหมิ่นสถาบันจะไม่มีทางดำเนินการอย่างจริงจัง” แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าว
ที่ผ่านมา ทหารก็อึดอัดในเรื่องนี้ แต่เป็นเพราะขณะนั้นพรรคเพื่อไทยยังมีอำนาจ และภาคประชาชนให้การสนับสนุนอยู่มาก ทำให้ไม่สามารถดำเนินการในเรื่องนี้ได้มากนัก ต้องรอให้พรรคนี้เสื่อมตั้งแต่เรื่องการที่ประชาชนลุกฮือขึ้นมาต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ที่มีคนเสื้อแดงร่วมด้วย แม้จะยอมถอนกฎหมายฉบับดังกล่าวออกไป แต่ยังมีเรื่องของการค้างเงินจำนำข้าวจากชาวนามาเป็นตัวบ่งบอกอาการเสื่อมของพรรคเพื่อไทย
เมื่อรากหญ้าที่เป็นฐานเสียงส่วนใหญ่เริ่มไม่เอาด้วยกับพรรคเพื่อไทย ทหารจึงค่อยๆ เริ่มออกมาแสดงบทบาทมากขึ้น
การออกหมายจับของบุคคลที่กระทำการหมิ่นสถาบันในช่วงปลายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ส่วนหนึ่งทำไปเพราะต้องการลดกระแสความไม่พอใจ ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ เพราะคนเหล่านี้ล้วนเป็นเนื้อเดียวกับฝ่ายรัฐบาล อีกทั้งบางคดีทางกองทัพเป็นผู้ดำเนินการแจ้งความเอง ซึ่งทำให้มีน้ำหนักมากกว่าบุคคลธรรมดา
ยิ่งเมื่อพรรคเพื่อไทยหลุดจากอำนาจ โดยมี คสช.เข้ามาควบคุมสถานการณ์ กลไกของตำรวจที่ไม่เคยดำเนินการอย่างจริงจังในคดีเหล่านี้ก็ต้องเริ่มขึ้น
“ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าการเปลี่ยนตัวทั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และตำรวจระดับรองผู้บัญชาการหลายตำแหน่ง ทำให้คดีความที่เคยจงใจไม่ดำเนินการนั้นดีขึ้น หลายคดีมีความคืบหน้า ทั้งคดียิง M79 ใส่ผู้ชุมนุมตามสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงคดีหมิ่นสถาบัน ที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีการออกหมายจับพันเอกอภิวันท์ ที่เป็นถึงรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ถือเป็นความฉลาดของ คสช.ที่ให้ระดับรอง ผบ.ตร. แข่งกันสร้างผลงาน เนื่องจากตำแหน่ง ผบ.ตร.ว่างอยู่”
นี่ถ้าพรรคเพื่อไทยยังไม่เสื่อม คดีเหล่านี้ไม่มีทางคืบหน้า
ทางเลือก : ไม่หนี-ถูกจับ
นอกจากนี้ ทางกองทัพยังให้ความสำคัญกับคดีหมิ่นสถาบันด้วยการออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 เรื่องความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร หนึ่งในนั้นคือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ในคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 112
การกล่าวโทษรวมไปถึงการออกหมายจับบุคคลที่กระทำความผิดในคดีหมิ่นสถาบันนั้น ถือเป็นการประทับตราให้บุคคลเหล่านี้ ส่วนวิธีการที่จะนำตัวมาลงโทษได้หรือไม่เป็นเรื่องที่ฝ่ายตำรวจต้องเร่งดำเนินการ โดยมีทางเลือก 2 แนวทาง
แนวทางแรกคือ หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ หากต้องการหลบเลี่ยงการจับกุมต้องหาประเทศที่ไม่มีข้อตกลงเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และต้องไม่มีกฎหมายในลักษณะเดียวกันกับประเทศไทย ประเทศแถบยุโรปจึงเป็นเป้าหมายหลักของคนกลุ่มนี้ ในกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศยกเลิกหนังสือเดินทางหากไม่มีชาติไหนออกหนังสือเดินทางให้ก็ลำบาก หากเดินทางกลับมาประเทศไทยก็ถูกจับกุม เว้นแต่ไปหาซื้อในบางประเทศ ปัญหาคือต้องอยู่ให้ได้จนกว่าจะพ้นอายุความ 15 ปี
แนวทางที่สองคือ มอบตัวหรือถูกจับกุมได้ อาจมีการต่อสู้คดี แต่ส่วนใหญ่มักจะถูกพิพากษาจำคุก เนื่องจากหลักฐานชัดเจน คนกลุ่มนี้จะยอมรับโทษจำคุกระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็จะดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะได้รับทุกราย
ปัญหาในเวลานี้คือ ผู้ที่กระทำการหมิ่นสถาบันที่แม้จะหลบหนีคดีไปอยู่ต่างประเทศแล้ว ส่วนใหญ่ยังคงใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กเข้ามาแสดงความเห็นได้อย่างต่อเนื่อง อย่าง ตั้ง อาชีวะ โรส ฉัตรวดี อั๊ม เนโกะ โกตี๋ หรือแม้กระทั่งนาวาอากาศตรีชนินทร์ คล้ายคลึง รวมถึง จักรภพ เพ็ญแข ที่ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการสื่อสาร
นี่จึงเป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยว่าจะสามารถดำเนินการเอาตัวผู้กระทำความผิดในคดีหมิ่นสถาบันมาลงโทษได้หรือไม่