องค์การเภสัชกรรม กำลังเผชิญวิกฤต ทั้งในส่วนของบริษัทร่วมทุนกับเอกชน “ผลิตน้ำเกลือ” ล้างไต ที่มีหนี้สะสมกว่า 1,500 ล้านบาท ขณะที่บริษัท “จีพีโอ-เอ็มบีพี” วิจัยและพัฒนาจนผลิตวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้แล้ว ก็ต้องขาดทุนต่อเนื่องหลังพ้นสิทธิผูกขาดโรงพยาบาลรัฐ ต้องพ่ายแพ้ผู้นำเข้าวัคซีนจาก “จีน-อินเดีย” ที่มีราคาถูกกว่า ส่วนโรงงานผลิตยา-วัคซีนของ “อภ.” 2 แห่ง ถูกสั่งยุติ เพราะไม่ได้มาตรฐาน แถมยังต้องขาดทุนการนำเข้าวัตถุดิบผลิตยาโอเซลทามิเวียร์กว่า 300 ล้านบาท หวั่น คสช. ไม่เร่งแก้ไข สั่งให้เปิดโรงงานผลิตยา คนไทยเจอวิกฤตใช้ยาแพงแน่!
สารพันปัญหาที่กำลังรุมเร้าองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ที่ขณะนี้ต้องได้รับการผ่าตัดอย่างรีบด่วน โดยเฉพาะบริษัทลูกที่ อภ. เข้าร่วมทุนในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ และมีภารกิจหลักในการผลิตเวชภัณฑ์ สำหรับฉีดเข้าหลอดโลหิตดำ (Intravenous Solutions) ได้แก่ น้ำเกลือ น้ำตาลกลูโคส และเวชภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งมีความจำเป็นในทางการแพทย์และจำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วยโรคไต รวมไปถึงปัญหาการสร้างโรงงานผลิตยา- วัคซีน ที่ไม่สามารถดำเนินการได้
และในอนาคตอันใกล้นี้หากไม่เร่งจัดการปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านสุขภาพของคนไทยแน่นอน
ดังนั้น ปัญหาขององค์การเภสัชกรรม จึงเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่รอการตัดสินใจของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช. ว่าจะเดินหน้าธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ของประเทศอย่างไร หรือจะปล่อยให้บริษัทข้ามชาติเข้ามาฮุบกิจการนี้ไป!
แหล่งข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัญหาขององค์การเภสัชกรรมขณะนี้ ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน ทั้งปัญหาการเงิน การก่อสร้าง และปัญหาการผลิตเวชภัณฑ์และยา ซึ่งทุกอย่างหมักหมมมานาน เริ่มตั้งแต่บริษัทลูกขององค์การเภสัชกรรม ตัวอย่างเช่น บริษัท เยเนอรัล ฮอสปิตัล โปรดัคส์ จำกัด (มหาชน): General Hospital Products Public Co.,Ltd. (GHP) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง องค์การเภสัชกรรมและบริษัท แอบบอทท์ แล็บบอราทอรีส์ จำกัด (Abbott Laboratories) โดย อภ. เข้าไปถือหุ้น 49.60% ซึ่งโรงงาน GHP จะผลิตเวชภัณฑ์สำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (Intravanous Solutions) ได้แก่ น้ำเกลือ น้ำตาลกลูโคส และเวชภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
โดยโรงงาน GHP ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.พระนครศรีอยุธยา และถือเป็นโรงงานผลิตน้ำเกลือรายใหญ่ที่สามารถผลิตได้ทั้งในรูปขวดแก้วและถุงน้ำเกลือป้อนตลาด แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ต้องประสบภาวะทางการเงิน มีหนี้สะสมในทุกๆ ปี ทั้งที่มีการเพิ่มทุนมาแล้วถึง 3 ครั้ง ซึ่งครั้งแรกจัดตั้งบริษัทด้วยทุนจดทะเบียน 4.8 ล้านบาท และเพิ่มทุนครั้งแรกเป็น 24.5 ล้านบาท ครั้งที่ 2 เป็น 49.6 ล้านบาท และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเป็นบริษัทมหาชน ก็มีการเพิ่มทุนเป็น 100 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี บริษัท GHP มีการวิจัยและพัฒนาเวชภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่อง มีการขยายโรงงานเพิ่มในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม แต่ต้องมาประสบปัญหาอย่างหนักในช่วงอุทกภัยปี 2554 ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตเวชภัณฑ์ได้ ต้องมีการนำเข้าน้ำเกลือจากต่างประเทศเพื่อมาจำหน่ายให้สถานพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ
“ในปีนั้น ผู้ป่วยโรคไตที่ต้องใช้เวชภัณฑ์น้ำเกลือเพื่อการฟอกไต ต้องประสบปัญหากันมาก บริษัท GHP จึงต้องมีการนำเข้า และต้องขายให้กับสถานพยาบาลในราคาถูก ทั้งที่บริษัทซื้อมาแพง เราก็ยิ่งขาดทุนเพิ่มไปอีก”
อีกทั้งการนำเข้าน้ำเกลือ ก็มีการนำเข้ามาเป็นจำนวนมากเพราะมีการสั่งการโดยรัฐมนตรีสาธารณสุขในขณะนั้น คือนายวิทยา บุรณศิริ และพอมาถึงยุค นายแพทย์ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ เข้ามานั่งเป็น รมว.สาธารณสุข ก็ยังสั่งให้มีการสำรองน้ำเกลือเพิ่มอีก จึงทำให้น้ำเกลือเหลือเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบถึงฐานะของบริษัทเช่นกัน
แหล่งข่าวบอกอีกว่า คณะกรรมการบริหาร อภ. (บอร์ด อภ.) มีความเป็นห่วงในสถานะทางการเงินของบริษัท GHP มาก เพราะวันนี้ขาดทุนสะสมประมาณ 1,400 ล้านบาท ซึ่งการขาดทุนดังกล่าวมีผลจากการที่ผู้บริหารของ GHP นำเงินไปซื้อที่ดินแปลงหนึ่งกว่า 500 ล้านบาท และต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยกว่า 300 ล้านบาท ส่งผลให้หนี้สะสมของบริษัทGHP สูงขึ้นไปด้วย ซึ่งบอร์ดเห็นว่าไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่ต้องใช้เงินไปซื้อที่ดินมาเก็บไว้
“ทางแก้คือตอนนี้บริษัทต้องเพิ่มทุนและขายหุ้นเพิ่มทุนออกไปโดยด่วนเพื่อให้หนี้ลดลง และต้องตัดสินใจขายที่ดินแปลงนี้ออกไปด้วยเพื่อแก้ปัญหา แต่ไม่ควรขายกิจการ”
นอกจากนี้ จึงต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบโดยเร็วว่า ใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบปัญหาการขาดทุนที่มีมาตลอด และเกิดจากปัญหาอะไรบ้าง เพื่อดำเนินการแก้ไขให้ตรงจุดที่สุด เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
“บอร์ดไม่เห็นด้วยหากจะขายบริษัท GHP ซึ่งเป็นบริษัทลูกขององค์การเภสัชกรรมออกไป เพราะเวชภัณฑ์สำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำที่ผลิต มีความสำคัญสำหรับวงการแพทย์และผู้ป่วยต่างๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไต”
ส่วนบริษัทผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย เป็นบริษัทร่วมทุนอีกแห่งหนึ่ง โดยองค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 49% ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมวังจุฬา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งผลิตภัณฑ์ทุกรายการได้รับการควบคุมและรับรองคุณภาพโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาขององค์การเภสัชกรรม ในระดับที่คล้ายคลึงกับการผลิตและควบคุมคุณภาพยาแผนปัจจุบัน
สำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลาย อาทิ ขมิ้นชัน แคปซูล 250 มก. มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด, ฟลาวาซอย แคปซูล สารสกัดจากถั่วเหลือง สรรพคุณป้องกันภาวะกระดูกพรุน บรรเทาอาการผิดปกติของผู้หญิงหมดประจำเดือน, ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณลดไข้ และบรรเทาอาการเจ็บคอ, กาโนลินแคปซูล, เป็นผงสกัดแห้งจากเห็ดหลินจือ ช่วยบำรุงร่างกาย และ Curcumin ครีมหน้าเด้งองค์การเภสัชฯ ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันมาก เป็นต้น
“ธุรกิจสมุนไพรขององค์การเภสัชฯ ไม่มีอะไรโดดเด่น ซื้อขายกันเพียงปีละ 200 ล้านบาท ความจริงบริษัทนี้ควรจะมีการปรับปรุงและเพิ่มตัวผลิตภัณฑ์ให้มากกว่าที่มีอยู่เพื่อแข่งขันกับเอกชนให้ได้”
ขณะที่บริษัท “จีพีโอ-เอ็มบีพี” (GPO-MBP) หรือบริษัท องค์การเภสัชกรรม เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา โดยองค์การเภสัชกรรมถือหุ้น 49% บริษัททุนลดาวัลย์ จำกัด 2% ที่เหลือเป็นของบริษัทต่างชาติ ซึ่งตามวัตถุประสงค์ตั้งเป็นโรงงานผลิตวัคซีนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนและให้การสนับสนุนวัคซีนคุณภาพกับแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ
ที่ผ่านมา โรงงานแห่งนี้นำหัวเชื้อวัคซีนมาจากต่างประเทศ เพื่อนำมาผลิตและบรรจุเองในประเทศไทย แต่จากการวิจัยและพัฒนา จึงสามารถผลิตวัคซีนได้เอง ทั้งวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ผลิตวัคซีนรวม ป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนแบบไร้เซลล์ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
แต่ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัท “จีพีโอ-เอ็มบีพี” เริ่มประสบปัญหาขาดทุนซึ่งปีที่แล้วขาดทุนกว่า 40 ล้านบาท เป็นผลมาจากการที่เดิม บริษัท “จีพีโอ-เอ็มบีพี” ได้สิทธิผูกขาดในการขายวัคซีนดังกล่าวให้สถานพยาบาลของรัฐทั่วประเทศมาเป็นเวลา 10 ปี และวันนี้เงื่อนไขดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จึงเปิดให้มีการแข่งขันเสรีในเรื่องการขายวัคซีนให้สถานพยาบาลของรัฐ
เมื่อมีการเปิดเสรี ทำให้วัคซีนที่ผลิตโดยบริษัท “จีพีโอ-เอ็มบีพี” ไม่สามารถเข้าแข่งขันกับบริษัทเอกชนที่มีการนำเข้าวัคซีนจากอินเดียและจีนที่มีราคาถูกกว่าได้ ส่งผลให้วัคซีนทุกตัวของบริษัทต้องพ่ายแพ้ให้กับเอกชนรายอื่นๆ และทำให้บริษัทขาดทุนและมีหนี้สะสมเพิ่มขึ้น
“ตอนนี้มันเป็นแรงบีบเข้ามา เราไม่สามารถแข่งขันกับใครได้เลย เขาบีบให้เราต้องขายขาดทุน เพราะมีบริษัทแม่ที่ผลิตวัคซีน แต่เป็นไทยไปแล้ว เข้ามาดำเนินการขายวัคซีนเหล่านี้”
บริษัท “จีพีโอ-เอ็มบีพี” จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นปัญหาที่องค์การเภสัชกรรมจะต้องคิดให้หนักว่าจะแก้วิกฤตที่เกิดขึ้นกับบริษัทร่วมทุนนี้อย่างไร
ขณะเดียวกัน องค์การเภสัชกรรมต้องมาเผชิญปัญหาในการก่อสร้างโรงงานผลิตยาและวัคซีนอีก 2 แห่งที่ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ตามกำหนด และบางแห่งแม้ก่อสร้างเสร็จก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตยาได้ ประกอบด้วย โรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดนกและโรงงานแมสโปรดักชันที่ผลิตและบรรจุยาขององค์การเภสัชกรรม
สำหรับการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่ ที่ อ.ทับกวาง จ.สระบุรี ซึ่งจะเป็นโรงงานระดับอุตสาหกรรมมาตรฐาน WHO GMP งบประมาณ 1.411.7 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์ไปสู่การผลิตวัคซีนต้นแบบป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อเป็น เพื่อขึ้นทะเบียนและนำเทคโนโลยีที่พัฒนาไปสู่การผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในระดับอุตสาหกรรมต่อไป
ส่วนการวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย ดำเนินการแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการพัฒนาจากโรงงานนำร่องไปใช้ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในระดับอุตสาหกรรมเช่นกัน
“ตอนนี้ปัญหาอยู่ที่ว่า โรงงานแห่งนี้ออกแบบไม่ดี ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขปรับปรุง เราจะต้อง Maintenance เทคโนโลยีไว้ เพื่อการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตายและเชื้อเป็น ซึ่งจะต้องมีการบริหารจัดการให้ได้มาตรฐาน”
ดังนั้น โรงงานแห่งนี้จึงถูกสั่งให้หยุดการก่อสร้างเพื่อทบทวนแก้ไขแบบ และคาดว่าจะต้องมีการใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 200-300 ล้านบาท เพื่อขยายความปลอดภัยในการผลิตให้ได้ในระดับ A++ และกระทรวงสาธารณสุขจะนำเสนอขออนุมัติงบประมาณจาก คสช. ในการดำเนินการต่อไป
แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกจากปัญหาการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการสั่งซื้อวัตถุดิบผลิตยาโอเซลทามิเวียร์ ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยทั่วไปสารเคมีจะมีอายุการผลิตประมาณ 5 ปี ซึ่งเวลานี้ผ่านไปแล้ว 4 ปี ได้มีการใช้ยาตัวนี้ไปแค่ 2 ตัน
“มีการสั่งซื้อวัตถุดิบผลิตยามาจำนวน 5.9 ตัน ในราคาตันละ114 ล้านบาท เป็นเงินประมาณ 672 ล้านบาท แต่เราเพิ่งจะใช้ไปแค่ 2 ตัน ที่เหลือจะมีระยะเวลาใช้แค่ 1 ปี คือ ปี 58 จะหมดอายุ เราจะใช้ยาทันหรือ เพราะ 4 ปีใช้ไปแค่ 2 ตันเท่านั้น แปลว่ารัฐเสียหายแน่ๆ 200-300 ล้านบาทจากการซื้อยา”
ดังนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแก้ไขอย่างไร และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบกับเงินที่รัฐต้องสูญไป
“มีตัวเลขผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ ปีนี้ขึ้นเป็น 100 ราย ซึ่งความจริงรัฐน่าจะช่วยให้คนเข้าถึงยาโอเซลทามิเวียร์ อย่างทั่วถึง เช่น คนแก่ คนอ้วน คนป่วยเรื้อรัง ที่มีภาวะเสี่ยง ก็จะแก้ปัญหาได้”
นอกจากนี้ คสช. ซึ่งทำหน้าที่บริหารบ้านเมืองในปัจจุบัน น่าจะสั่งให้มีการเร่งผลิตยาโอเซลทามิเวียร์ ในส่วนที่เหลือเกินความจำเป็นไปแจกประเทศเพื่อนบ้าน เพราะประเทศเหล่านี้ก็มีความจำเป็นต้องใช้ยาตัวนี้เช่นกัน
ส่วนโรงงานแมสโปรดักชัน ที่คลองหก ซึ่งมีการตรวจรับแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะมีปัญหาแต่ละสายการผลิตด้วยกันหลายจุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ที่เข้ามาตรวจสอบระบบมาตรฐานการผลิตขององค์การเภสัชฯ จึงเสนอให้มีการปรับปรุงสถานที่ และกระบวนการผลิตใหม่ทั้งสายการผลิต และบางสายผลิตต้องหยุดทันที จึงกระทบต่อภาพรวมยาขององค์การเภสัชกรรมหลายประเภท
“โรงงานผลิตยาที่พระราม 6 ความจริงก็ควรปิดไปได้แล้ว เพราะไม่ได้มาตรฐาน ควรมาเร่งแก้ไขและเปิดใช้ที่คลอง 6 แทน ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงให้ได้มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกด้วย”
อย่างไรก็ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงงานผลิตยาและเวชภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม ที่ไม่สามารถผลิตยาได้ตามเป้าหมาย จึงส่งผลกระทบโดยตรงกับประชาชนที่เจ็บป่วยและต้องใช้ยาในการรักษา โดยเฉพาะยาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังเช่น ยารักษาโรคเบาหวาน หรือเมตฟอร์มิน ที่ผลิตได้เพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น รวมไปถึงยังทำให้ยาขาดแคลนกว่า 80 รายการ
ที่สำคัญ ในส่วนของสายงานผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวี พบปัญหาเรื่องการควบคุมอุณหภูมิความชื้นของสิ่งแวดล้อม ภายในโรงงานไม่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน GMP
“ตอนนี้มีทางเลือกด้วยการติดตั้งฮีตเตอร์ควบคุมความชื้น ประมาณ 60 ล้านบาท ก็ต้องรอหาคนเซ็นอนุมัติ ถ้ายอมลงทุนเพิ่ม ก็จะสามารถเดินเครื่องผลิตยาได้”
ดังนั้น สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ กระทรวงสาธารณสุข จึงคาดหวังว่า คสช.จะเร่งเข้ามาดำเนินการแก้ไขทั้งในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณที่จะใช้ในการปรับปรุงแก้ไขโรงงานผลิตวัคซีนและยา รวมไปถึงปัญหาของบริษัทลูกที่องค์การเภสัชกรรมไปร่วมทุนไว้เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและพัฒนาคุณภาพเวชภัณฑ์ ยาและวัคซีนต่อไปได้
“คสช.ต้องเร่งสั่งเปิดโรงงานผลิตยาที่คลอง 6 เพราะยามีความจำเป็นมากในระบบสาธารณสุขเพื่อช่วยชีวิตคนไข้ เพราะที่นี่จะเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สุดและผลิตยาได้หลากหลายประเภทด้วย”
นอกจากนี้ จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง หาผู้รับผิดชอบที่ทำให้รัฐเสียหายทั้งจากการลงทุนและนำเข้ายาและเวชภัณฑ์ รวมไปถึงความพยายามที่จะทำให้กระบวนการผลิตวัคซีน ยาและเวชภัณฑ์ ได้รับผลกระทบเพื่อเปิดทางให้บริษัทยาข้ามชาติขยายกิจการเข้ามาครอบงำประเทศไทยได้
เพราะหากปล่อยให้เป็นเช่นนั้น คนไทยจะต้องประสบปัญหาในการรักษาพยาบาลที่มีราคาสูงแน่นอน!
สารพันปัญหาที่กำลังรุมเร้าองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ที่ขณะนี้ต้องได้รับการผ่าตัดอย่างรีบด่วน โดยเฉพาะบริษัทลูกที่ อภ. เข้าร่วมทุนในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ และมีภารกิจหลักในการผลิตเวชภัณฑ์ สำหรับฉีดเข้าหลอดโลหิตดำ (Intravenous Solutions) ได้แก่ น้ำเกลือ น้ำตาลกลูโคส และเวชภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งมีความจำเป็นในทางการแพทย์และจำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วยโรคไต รวมไปถึงปัญหาการสร้างโรงงานผลิตยา- วัคซีน ที่ไม่สามารถดำเนินการได้
และในอนาคตอันใกล้นี้หากไม่เร่งจัดการปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านสุขภาพของคนไทยแน่นอน
ดังนั้น ปัญหาขององค์การเภสัชกรรม จึงเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่รอการตัดสินใจของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช. ว่าจะเดินหน้าธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ของประเทศอย่างไร หรือจะปล่อยให้บริษัทข้ามชาติเข้ามาฮุบกิจการนี้ไป!
แหล่งข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัญหาขององค์การเภสัชกรรมขณะนี้ ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน ทั้งปัญหาการเงิน การก่อสร้าง และปัญหาการผลิตเวชภัณฑ์และยา ซึ่งทุกอย่างหมักหมมมานาน เริ่มตั้งแต่บริษัทลูกขององค์การเภสัชกรรม ตัวอย่างเช่น บริษัท เยเนอรัล ฮอสปิตัล โปรดัคส์ จำกัด (มหาชน): General Hospital Products Public Co.,Ltd. (GHP) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง องค์การเภสัชกรรมและบริษัท แอบบอทท์ แล็บบอราทอรีส์ จำกัด (Abbott Laboratories) โดย อภ. เข้าไปถือหุ้น 49.60% ซึ่งโรงงาน GHP จะผลิตเวชภัณฑ์สำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (Intravanous Solutions) ได้แก่ น้ำเกลือ น้ำตาลกลูโคส และเวชภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
โดยโรงงาน GHP ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.พระนครศรีอยุธยา และถือเป็นโรงงานผลิตน้ำเกลือรายใหญ่ที่สามารถผลิตได้ทั้งในรูปขวดแก้วและถุงน้ำเกลือป้อนตลาด แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ต้องประสบภาวะทางการเงิน มีหนี้สะสมในทุกๆ ปี ทั้งที่มีการเพิ่มทุนมาแล้วถึง 3 ครั้ง ซึ่งครั้งแรกจัดตั้งบริษัทด้วยทุนจดทะเบียน 4.8 ล้านบาท และเพิ่มทุนครั้งแรกเป็น 24.5 ล้านบาท ครั้งที่ 2 เป็น 49.6 ล้านบาท และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเป็นบริษัทมหาชน ก็มีการเพิ่มทุนเป็น 100 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี บริษัท GHP มีการวิจัยและพัฒนาเวชภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่อง มีการขยายโรงงานเพิ่มในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม แต่ต้องมาประสบปัญหาอย่างหนักในช่วงอุทกภัยปี 2554 ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตเวชภัณฑ์ได้ ต้องมีการนำเข้าน้ำเกลือจากต่างประเทศเพื่อมาจำหน่ายให้สถานพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ
“ในปีนั้น ผู้ป่วยโรคไตที่ต้องใช้เวชภัณฑ์น้ำเกลือเพื่อการฟอกไต ต้องประสบปัญหากันมาก บริษัท GHP จึงต้องมีการนำเข้า และต้องขายให้กับสถานพยาบาลในราคาถูก ทั้งที่บริษัทซื้อมาแพง เราก็ยิ่งขาดทุนเพิ่มไปอีก”
อีกทั้งการนำเข้าน้ำเกลือ ก็มีการนำเข้ามาเป็นจำนวนมากเพราะมีการสั่งการโดยรัฐมนตรีสาธารณสุขในขณะนั้น คือนายวิทยา บุรณศิริ และพอมาถึงยุค นายแพทย์ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ เข้ามานั่งเป็น รมว.สาธารณสุข ก็ยังสั่งให้มีการสำรองน้ำเกลือเพิ่มอีก จึงทำให้น้ำเกลือเหลือเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบถึงฐานะของบริษัทเช่นกัน
แหล่งข่าวบอกอีกว่า คณะกรรมการบริหาร อภ. (บอร์ด อภ.) มีความเป็นห่วงในสถานะทางการเงินของบริษัท GHP มาก เพราะวันนี้ขาดทุนสะสมประมาณ 1,400 ล้านบาท ซึ่งการขาดทุนดังกล่าวมีผลจากการที่ผู้บริหารของ GHP นำเงินไปซื้อที่ดินแปลงหนึ่งกว่า 500 ล้านบาท และต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยกว่า 300 ล้านบาท ส่งผลให้หนี้สะสมของบริษัทGHP สูงขึ้นไปด้วย ซึ่งบอร์ดเห็นว่าไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่ต้องใช้เงินไปซื้อที่ดินมาเก็บไว้
“ทางแก้คือตอนนี้บริษัทต้องเพิ่มทุนและขายหุ้นเพิ่มทุนออกไปโดยด่วนเพื่อให้หนี้ลดลง และต้องตัดสินใจขายที่ดินแปลงนี้ออกไปด้วยเพื่อแก้ปัญหา แต่ไม่ควรขายกิจการ”
นอกจากนี้ จึงต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบโดยเร็วว่า ใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบปัญหาการขาดทุนที่มีมาตลอด และเกิดจากปัญหาอะไรบ้าง เพื่อดำเนินการแก้ไขให้ตรงจุดที่สุด เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
“บอร์ดไม่เห็นด้วยหากจะขายบริษัท GHP ซึ่งเป็นบริษัทลูกขององค์การเภสัชกรรมออกไป เพราะเวชภัณฑ์สำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำที่ผลิต มีความสำคัญสำหรับวงการแพทย์และผู้ป่วยต่างๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไต”
ส่วนบริษัทผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย เป็นบริษัทร่วมทุนอีกแห่งหนึ่ง โดยองค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 49% ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมวังจุฬา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งผลิตภัณฑ์ทุกรายการได้รับการควบคุมและรับรองคุณภาพโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาขององค์การเภสัชกรรม ในระดับที่คล้ายคลึงกับการผลิตและควบคุมคุณภาพยาแผนปัจจุบัน
สำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลาย อาทิ ขมิ้นชัน แคปซูล 250 มก. มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด, ฟลาวาซอย แคปซูล สารสกัดจากถั่วเหลือง สรรพคุณป้องกันภาวะกระดูกพรุน บรรเทาอาการผิดปกติของผู้หญิงหมดประจำเดือน, ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณลดไข้ และบรรเทาอาการเจ็บคอ, กาโนลินแคปซูล, เป็นผงสกัดแห้งจากเห็ดหลินจือ ช่วยบำรุงร่างกาย และ Curcumin ครีมหน้าเด้งองค์การเภสัชฯ ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันมาก เป็นต้น
“ธุรกิจสมุนไพรขององค์การเภสัชฯ ไม่มีอะไรโดดเด่น ซื้อขายกันเพียงปีละ 200 ล้านบาท ความจริงบริษัทนี้ควรจะมีการปรับปรุงและเพิ่มตัวผลิตภัณฑ์ให้มากกว่าที่มีอยู่เพื่อแข่งขันกับเอกชนให้ได้”
ขณะที่บริษัท “จีพีโอ-เอ็มบีพี” (GPO-MBP) หรือบริษัท องค์การเภสัชกรรม เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา โดยองค์การเภสัชกรรมถือหุ้น 49% บริษัททุนลดาวัลย์ จำกัด 2% ที่เหลือเป็นของบริษัทต่างชาติ ซึ่งตามวัตถุประสงค์ตั้งเป็นโรงงานผลิตวัคซีนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนและให้การสนับสนุนวัคซีนคุณภาพกับแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ
ที่ผ่านมา โรงงานแห่งนี้นำหัวเชื้อวัคซีนมาจากต่างประเทศ เพื่อนำมาผลิตและบรรจุเองในประเทศไทย แต่จากการวิจัยและพัฒนา จึงสามารถผลิตวัคซีนได้เอง ทั้งวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ผลิตวัคซีนรวม ป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนแบบไร้เซลล์ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
แต่ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัท “จีพีโอ-เอ็มบีพี” เริ่มประสบปัญหาขาดทุนซึ่งปีที่แล้วขาดทุนกว่า 40 ล้านบาท เป็นผลมาจากการที่เดิม บริษัท “จีพีโอ-เอ็มบีพี” ได้สิทธิผูกขาดในการขายวัคซีนดังกล่าวให้สถานพยาบาลของรัฐทั่วประเทศมาเป็นเวลา 10 ปี และวันนี้เงื่อนไขดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จึงเปิดให้มีการแข่งขันเสรีในเรื่องการขายวัคซีนให้สถานพยาบาลของรัฐ
เมื่อมีการเปิดเสรี ทำให้วัคซีนที่ผลิตโดยบริษัท “จีพีโอ-เอ็มบีพี” ไม่สามารถเข้าแข่งขันกับบริษัทเอกชนที่มีการนำเข้าวัคซีนจากอินเดียและจีนที่มีราคาถูกกว่าได้ ส่งผลให้วัคซีนทุกตัวของบริษัทต้องพ่ายแพ้ให้กับเอกชนรายอื่นๆ และทำให้บริษัทขาดทุนและมีหนี้สะสมเพิ่มขึ้น
“ตอนนี้มันเป็นแรงบีบเข้ามา เราไม่สามารถแข่งขันกับใครได้เลย เขาบีบให้เราต้องขายขาดทุน เพราะมีบริษัทแม่ที่ผลิตวัคซีน แต่เป็นไทยไปแล้ว เข้ามาดำเนินการขายวัคซีนเหล่านี้”
บริษัท “จีพีโอ-เอ็มบีพี” จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นปัญหาที่องค์การเภสัชกรรมจะต้องคิดให้หนักว่าจะแก้วิกฤตที่เกิดขึ้นกับบริษัทร่วมทุนนี้อย่างไร
ขณะเดียวกัน องค์การเภสัชกรรมต้องมาเผชิญปัญหาในการก่อสร้างโรงงานผลิตยาและวัคซีนอีก 2 แห่งที่ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ตามกำหนด และบางแห่งแม้ก่อสร้างเสร็จก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตยาได้ ประกอบด้วย โรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดนกและโรงงานแมสโปรดักชันที่ผลิตและบรรจุยาขององค์การเภสัชกรรม
สำหรับการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่ ที่ อ.ทับกวาง จ.สระบุรี ซึ่งจะเป็นโรงงานระดับอุตสาหกรรมมาตรฐาน WHO GMP งบประมาณ 1.411.7 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์ไปสู่การผลิตวัคซีนต้นแบบป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อเป็น เพื่อขึ้นทะเบียนและนำเทคโนโลยีที่พัฒนาไปสู่การผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในระดับอุตสาหกรรมต่อไป
ส่วนการวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย ดำเนินการแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการพัฒนาจากโรงงานนำร่องไปใช้ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในระดับอุตสาหกรรมเช่นกัน
“ตอนนี้ปัญหาอยู่ที่ว่า โรงงานแห่งนี้ออกแบบไม่ดี ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขปรับปรุง เราจะต้อง Maintenance เทคโนโลยีไว้ เพื่อการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตายและเชื้อเป็น ซึ่งจะต้องมีการบริหารจัดการให้ได้มาตรฐาน”
ดังนั้น โรงงานแห่งนี้จึงถูกสั่งให้หยุดการก่อสร้างเพื่อทบทวนแก้ไขแบบ และคาดว่าจะต้องมีการใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 200-300 ล้านบาท เพื่อขยายความปลอดภัยในการผลิตให้ได้ในระดับ A++ และกระทรวงสาธารณสุขจะนำเสนอขออนุมัติงบประมาณจาก คสช. ในการดำเนินการต่อไป
แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกจากปัญหาการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการสั่งซื้อวัตถุดิบผลิตยาโอเซลทามิเวียร์ ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยทั่วไปสารเคมีจะมีอายุการผลิตประมาณ 5 ปี ซึ่งเวลานี้ผ่านไปแล้ว 4 ปี ได้มีการใช้ยาตัวนี้ไปแค่ 2 ตัน
“มีการสั่งซื้อวัตถุดิบผลิตยามาจำนวน 5.9 ตัน ในราคาตันละ114 ล้านบาท เป็นเงินประมาณ 672 ล้านบาท แต่เราเพิ่งจะใช้ไปแค่ 2 ตัน ที่เหลือจะมีระยะเวลาใช้แค่ 1 ปี คือ ปี 58 จะหมดอายุ เราจะใช้ยาทันหรือ เพราะ 4 ปีใช้ไปแค่ 2 ตันเท่านั้น แปลว่ารัฐเสียหายแน่ๆ 200-300 ล้านบาทจากการซื้อยา”
ดังนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแก้ไขอย่างไร และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบกับเงินที่รัฐต้องสูญไป
“มีตัวเลขผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ ปีนี้ขึ้นเป็น 100 ราย ซึ่งความจริงรัฐน่าจะช่วยให้คนเข้าถึงยาโอเซลทามิเวียร์ อย่างทั่วถึง เช่น คนแก่ คนอ้วน คนป่วยเรื้อรัง ที่มีภาวะเสี่ยง ก็จะแก้ปัญหาได้”
นอกจากนี้ คสช. ซึ่งทำหน้าที่บริหารบ้านเมืองในปัจจุบัน น่าจะสั่งให้มีการเร่งผลิตยาโอเซลทามิเวียร์ ในส่วนที่เหลือเกินความจำเป็นไปแจกประเทศเพื่อนบ้าน เพราะประเทศเหล่านี้ก็มีความจำเป็นต้องใช้ยาตัวนี้เช่นกัน
ส่วนโรงงานแมสโปรดักชัน ที่คลองหก ซึ่งมีการตรวจรับแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะมีปัญหาแต่ละสายการผลิตด้วยกันหลายจุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ที่เข้ามาตรวจสอบระบบมาตรฐานการผลิตขององค์การเภสัชฯ จึงเสนอให้มีการปรับปรุงสถานที่ และกระบวนการผลิตใหม่ทั้งสายการผลิต และบางสายผลิตต้องหยุดทันที จึงกระทบต่อภาพรวมยาขององค์การเภสัชกรรมหลายประเภท
“โรงงานผลิตยาที่พระราม 6 ความจริงก็ควรปิดไปได้แล้ว เพราะไม่ได้มาตรฐาน ควรมาเร่งแก้ไขและเปิดใช้ที่คลอง 6 แทน ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงให้ได้มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกด้วย”
อย่างไรก็ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงงานผลิตยาและเวชภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม ที่ไม่สามารถผลิตยาได้ตามเป้าหมาย จึงส่งผลกระทบโดยตรงกับประชาชนที่เจ็บป่วยและต้องใช้ยาในการรักษา โดยเฉพาะยาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังเช่น ยารักษาโรคเบาหวาน หรือเมตฟอร์มิน ที่ผลิตได้เพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น รวมไปถึงยังทำให้ยาขาดแคลนกว่า 80 รายการ
ที่สำคัญ ในส่วนของสายงานผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวี พบปัญหาเรื่องการควบคุมอุณหภูมิความชื้นของสิ่งแวดล้อม ภายในโรงงานไม่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน GMP
“ตอนนี้มีทางเลือกด้วยการติดตั้งฮีตเตอร์ควบคุมความชื้น ประมาณ 60 ล้านบาท ก็ต้องรอหาคนเซ็นอนุมัติ ถ้ายอมลงทุนเพิ่ม ก็จะสามารถเดินเครื่องผลิตยาได้”
ดังนั้น สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ กระทรวงสาธารณสุข จึงคาดหวังว่า คสช.จะเร่งเข้ามาดำเนินการแก้ไขทั้งในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณที่จะใช้ในการปรับปรุงแก้ไขโรงงานผลิตวัคซีนและยา รวมไปถึงปัญหาของบริษัทลูกที่องค์การเภสัชกรรมไปร่วมทุนไว้เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและพัฒนาคุณภาพเวชภัณฑ์ ยาและวัคซีนต่อไปได้
“คสช.ต้องเร่งสั่งเปิดโรงงานผลิตยาที่คลอง 6 เพราะยามีความจำเป็นมากในระบบสาธารณสุขเพื่อช่วยชีวิตคนไข้ เพราะที่นี่จะเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สุดและผลิตยาได้หลากหลายประเภทด้วย”
นอกจากนี้ จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง หาผู้รับผิดชอบที่ทำให้รัฐเสียหายทั้งจากการลงทุนและนำเข้ายาและเวชภัณฑ์ รวมไปถึงความพยายามที่จะทำให้กระบวนการผลิตวัคซีน ยาและเวชภัณฑ์ ได้รับผลกระทบเพื่อเปิดทางให้บริษัทยาข้ามชาติขยายกิจการเข้ามาครอบงำประเทศไทยได้
เพราะหากปล่อยให้เป็นเช่นนั้น คนไทยจะต้องประสบปัญหาในการรักษาพยาบาลที่มีราคาสูงแน่นอน!