คสช.เดินหน้าโยกย้ายตำรวจ-ข้าราชการปกครอง โดนใจมวลชน มั่นใจปฏิรูปสำเร็จได้ วงในฝากความหวัง “บิ๊กตู่” จะขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณ ต้องขุดลึก ฝ่ายตำรวจต้องโยกย้ายถึงระดับรองผู้บังคับการภาค-จังหวัด ส่วนมหาดไทย ต้องลงไปถึง นายอำเภอ แนะอย่ามองข้าม “ครู” กระบอกเสียงให้นักการเมืองโดยตรง
ดูเหมือนตำรวจจะเป็นหน่วยงานแรกที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และในฐานะหัวหน้า คสช. ซึ่งมีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการประเทศ ได้เข้ามารื้อเรื่องของคน เพราะว่า คน-งาน-งบ ย่อมเป็นเรื่องต่อเนื่อง การจะแก้ปัญหาความขัดแย้งที่หยั่งรากลึกในเมืองไทย อีกทั้งภาพลักษณ์ของตำรวจในสายตาประชาชนคนไทยเวลานี้ก็เป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีนัก ทั้งในเรื่องการรีดไถ คอร์รัปชันสูง ไม่ใช่ภาพลักษณ์ข้าราชการที่ปกป้องประชาชน แต่กลายเป็นข้าราชการที่รับใช้นักการเมือง ทำตามคำสั่งนักการเมืองโดยอาศัยกฎหมายที่ตำรวจมีอยู่ บังคับกลั่นแกล้งประชาชนโดยไม่คำนึงว่าถูกหรือผิด จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าประเทศไทยปกครองโดย “รัฐตำรวจ”
“ตำรวจไม่มีการข่าวหรือ จึงไม่รู้ว่ามีการขนอาวุธสงคราม และการจัดตั้งกองกำลังเพื่อก่อจลาจลทำร้ายผู้ชุมนุม แต่พอทหารยึดอำนาจจึงเข้าทลายแหล่งอาวุธสงครามได้หลายพื้นที่ ถ้าไม่มีการยึดอำนาจจากทหาร อะไรจะเกิดขึ้นกับคนไทยด้วยกันบ้าง”
นี่คือคำถามที่ประชาชนพูดคุยกันในโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะใน Line ของกลุ่ม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตำรวจเลือกที่จะปฏิบัติต่อผู้มีอำนาจหรือนักการเมืองที่ให้ผลประโยชน์เท่านั้น
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ตำรวจจะเป็นองค์กรแรกๆ ที่ คสช.ต้องรื้อโครงสร้าง โดยจัดทำบัญชีโยกย้าย “คน” เป็นอันดับแรก เพื่อนำไปสู่แผนการปฏิรูปให้ตำรวจใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น
เรียงหน้ากระดาน เด้งระดับ “บิ๊ก” สีกากี
เริ่มตั้งแต่คนระดับหัว พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว อดีต ผบ.ตร.ถูกย้ายด่วนเป็นชุดแรก พร้อมกับ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกฯ
ไล่มาวันที่ 24 พ.ค. 2557 มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 256/2557 ที่มีการสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปปฏิบัติราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 จำนวน 8 คน ได้แก่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ท.นเรศ นันทโชติ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 พล.ต.ท.กวี สุภานันท์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 พล.ต.ท.อนุชัย เล็กบำรุง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 พล.ต.ท.สุเทพ เดชรักษา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 พล.ต.ท.หาญพล นิตย์วิบูลย์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 พล.ต.ท.ภาณุ เกิดลาภผล ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
“มีวันนี้เพราะพี่ให้” เข้ากรุคนแรก!
28 พ.ค. 2557 พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รรท.ผบ.ตร. มีคำสั่งที่ 262/2557 ลงนามคำสั่งย้ายระดับ ผบช.ถึง ผกก. 16 นาย ไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) ได้แก่ พล.ต.ท.ธีระศักดิ์ กลิ่นพงษา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 (ผบช.ภ.3) พล.ต.ต.กริช กิติลือ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ (ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่) พล.ต.ต.คัชชา ธาตุศาสตร์ ผบก.ภ.จว.ชลบุรี พล.ต.ต.ชอบ คิสาลัง ผบก.ภ.จว.ขอนแก่นพล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบก.ภ.จว.นนทบุรี พล.ต.ต.ธัชชัย หงษ์ทอง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ
พล.ต.ต.บุญลือ กอบางยาง ผบก.ภ.จว.อุดรธานี พล.ต.ต.ประยนต์ ลาเสือ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.วัลลภ ประทุมเมือง ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 (ผบก.น.6) พล.ต.ต.วิชาญวัชร์ บริรักษ์กุล ผบก.น.1 พ.ต.อ.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบก.น.5
พ.ต.อ.กฤตัชญ์ บำรุงรัตนยศ ผู้กำกับการ สภ.เมืองขอนแก่น พ.ต.อ.กิตติสินธุ์ คงทวีพันธ์ ผู้กำกับการ สภ.เมืองเชียงใหม่ พ.ต.อ.โกวิท เจริญวัฒนศักดิ์ ผู้กำกับการ สภ.เมืองอุดรธานี พ.ต.อ.ศุภชัย ผุยแก้วคำ ผู้กำกับการ สภ.เมืองพัทยา พ.ต.อ.สมพล วงศ์ศรีสุนทร ผู้กำกับการ สภ.เมืองนนทบุรี รวมทั้งสิ้น 16 นายไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่ 28 พ.ค.เป็นต้นไป
พร้อมมีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 263/2557 ให้ข้าราชการตำรวจรักษาราชการแทนนายตำรวจทั้ง 16 นาย ได้แก่
พล.ต.ท.พิสัณห์ จุลดิลก ผู้บัญชาการประจำ ตร. รักษาการ ผบช.ภ.3 พล.ต.ต.สุธีร์ เนรกันฐี รอง ผบช.น. รักษาการ ผบก.น.1 พล.ต.ต.ชาญเทพ เสสะเวช รอง ผบช.น.รักษาการ ผบก.น.6 พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รองผู้บัญชาการยุทธศาสตร์ รักษาการผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน บช.น. พล.ต.ต.วิรุฬ เอี่ยมไพจิตร รอง ผบช.ภ.1 รักษาการ ผบก.ภ.จว.นนทบุรี พล.ต.ต.ทวิชชาติ พละศักดิ์ รอง ผบช.ภ.1 รักษาการ ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ พล.ต.ต.ธเนตร์ พิณเมืองงาม รอง ผบช.ภ.2 รักษาการ ผบก.ภ.จว.ชลบุรี
พล.ต.ต.จตุพล ปานรักษา รอง ผบช.ภ.4 รักษาการ ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น พล.ต.ต.วีระพงษ์ ชื่นภักดี รอง ผบช.ภ.4 รักษาการ ผบก.ภ.จว.อุดรธานี พล.ต.ต.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบช.ภ.5 รักษาการ ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่
คสช.เกาะติดตำรวจแตงโม
ด้านแหล่งข่าววงในตำรวจระบุว่า การโยกย้ายนายตำรวจนั้น หากต้องการจะขุดรากถอนโคนแล้ว คสช.ต้องตรวจสอบลงลึกไปถึงระดับรองผู้บังคับการภาค และรองผู้บังคับการจังหวัด แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้า คสช.ทำได้จึงจะได้ผลที่ชัดเจน เพราะที่ผ่านมาระบอบทักษิณได้มีอำนาจยึดครองประเทศมาเป็นเวลาเกือบ 12 ปี ได้มีการวางเส้นสาย มีการปลูกฝังและตอกย้ำให้เห็นว่าผู้ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับวงการตำรวจมากที่สุดคือ “ใคร” โดยเฉพาะตำรวจชั้นผู้น้อยจะรักและภักดีต่อ “ใคร” คนนั้นเป็นอย่างมาก
“วันนี้สิ่งที่ คสช.จะต้องระมัดระวัง ก็คือคลื่นใต้น้ำที่เป็น แตงโม ที่มีทั้งสัญญาบัตร และชั้นผู้น้อย อยู่เป็นจำนวนมาก ในภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง ต้องหมั่นตรวจสอบอย่าให้เกิดแรงกระเพื่อมได้”
อย่างไรก็ดี ในการปฏิรูปโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาตินี้ พลเอกประยุทธ์ยังต้องการให้มีการปรับระบบการบริหารงานด้านความมั่นคงใหม่ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะถูกปรับให้มีขนาดเล็กลง ลดการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองเป็นหลัก ร่วมกับการปรับการทำงานของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สนข.) รวมถึงมีคำสั่งให้สำนักงานข่าวกรองพิจารณาบรรจุกำลังพลเพิ่มเติมเพื่อรองรับงานด้านการข่าว และสำหรับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแห่งราชอาณาจักร (กอ.รมน.) มีคำสั่งให้แก้กฎหมายบางฉบับเพื่อรองรับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและการบริหารจัดการกำลังพล ส่วนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้มีการเพิ่มปลัดอำเภอและชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) รวมทั้งการเพิ่มบทบาทกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
อีกทั้งมีการตั้งคณะทำงานชุดพิเศษเพื่อปราบปรามเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน ถือเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนของตำรวจที่จะต้องตรวจสอบผู้ละเมิด และหากพบความผิดจะตรวจสอบตามขั้นตอน และดำเนินการปิดเว็บไซต์นั้นๆ ด้วย
ฟันผู้ว่าฯ-มหาดไทยต้องล้วงถึงระดับอำเภอ
ขณะที่การโยกย้ายสับเปลี่ยนกำลังใน สตช.เป็นไปอย่างเข้มข้น กระทรวงมหาดไทยเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ต้องมีการสะสางปัญหาทางการเมือง จัดกำลังคนใหม่ เพราะข้าราชการมหาดไทยเป็นฝ่ายปกครองที่ต้องดูแล บำบัดทุกข์ บำรุงสุข และทำงานใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด แต่วันนี้มีข้าราชการมหาดไทยจำนวนมาก ทำตัวรับใช้นักการเมืองและยังเป็นตัวการส่งเสริมให้ระบอบทักษิณเติบโต ฝังรากลึกเช่นกัน
ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ คสช.นั้น นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีการลงนามคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดในวันที่ 28 พ.ค. 2557 จำนวน 10 ตำแหน่งได้แก่ นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายเกรียงเดช เข็มทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นผู้ตรวจฯ นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ตรวจฯ นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นผู้ตรวจฯ นายวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ตรวจฯ นายภุชงค์ โพธิกุฎสัย ที่ปรึกษาด้านการปกครอง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ตรวจฯ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายธานี สามารถกิจ ผู้ตรวจฯ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายสมศักดิ์ จังตระกูล ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายเสริม ไชยณรงค์ ผู้ตรวจฯ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. เป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้ในวันที่ 27 พ.ค. 57 มีการโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดไปแล้ว 9 ราย ได้แก่ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายกำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท นายวิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ ผู้ตรวจราชการมหาดไทย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และนายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์
ด้านแหล่งข่าวกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ควรจะมีจิตสำนึกในการทำงานจะต้องรู้จักทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ แต่วันนี้กลับไปทำงานเพื่อรับใช้นักการเมืองเป็นหลัก เพราะคนเหล่านี้ได้เข้ามาเป็นใหญ่ในพื้นที่ ก็เพราะเป็นเด็กของนักการเมือง แต่ละคนมีเส้นมีสาย เป็นเด็กนายกันทั้งนั้น
“ในระดับต้นๆ พวกนี้ยังเข้ามาแบบใสๆ ทำงานกันไป แต่พอเริ่มเข้าสู่ระดับกลางตอนต้น ก็เริ่มวิ่งหาเส้นสายกันแล้ว จนกระทั่งการเข้าเรียนโรงเรียน นายอำเภอ โรงเรียนนักปกครอง หรือหน่วยงานที่มีการอบรมต่างๆ วิ่งแย่งกัน รับใช้กันไปจนได้ดิบได้ดี มีฐานะดีขึ้น”
ที่สำคัญข้าราชการฝ่ายปกครองจะใกล้ชิดประชาชนมาก การที่ข้าราชการไปตอกย้ำสิ่งที่ผิดๆ จนกลายเป็นการไปยัดเยียดสิ่งที่ผิดให้กับชาวบ้านในพื้นที่ จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
ดังนั้น คสช.จะโยกย้ายแค่ระดับ 10 หรือผู้ว่าราชการจังหวัดจะไม่ได้ผลในการจะปฏิรูปในครั้งนี้ และหากจะขุดรากถอนโคนกันแล้วต้องลงไปถึงระดับนายอำเภอในทุกๆ จังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสาน และภาคเหนือ
"ระดับนายอำเภอที่แม้จะตำแหน่งเล็กกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด แต่อิทธิพลทางการเมืองหรือความใกล้ชิดกับประชาชนนั้นย่อมมีมากกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเสียอีก และจังหวัดหนึ่งมีผู้ว่าฯ คนเดียว แต่มีนายอำเภอหลายคน พวกนี้แหละตัวดี ถ้าจัดการได้จึงจะขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณ"
ครู-ถ่ายทอดความคิดการเมืองให้เด็ก
หน่วยงานถัดไปที่ทหารอาจจะมีการจัดระบบกำลังพลเสียใหม่คือ กระทรวงศึกษาฯ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์?
แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าวว่า กระทรวงศึกษามีทั้งข้าราชการ และองค์กรครู ครูเป็นองคาพยพหนึ่งที่นักการเมืองใช้เป็นฐานเสียงให้กับพรรคพวกตัวเอง และมีการแย่งชิงคะแนนนิยมกับกลุ่มครูจากภาคการเมืองตลอดมา
ครูนั้นแม้ว่าจะดูไม่ใช่ส่วนที่สร้างปัญหาให้กับบ้านเมือง แต่ครูหลายคนทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับพรรคการเมือง และนักการเมือง โดยปลูกฝังเด็กให้มีความคิดทางการเมืองที่แตกแยกทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว
องค์กรครู จึงเป็นองค์กรหนึ่งที่ทหารมิอาจมองข้าม
“ไปตรวจสอบข้าราชการครูที่อยู่ในพื้นที่เขตการศึกษานั้นแหละ แต่ละคนมีนาย ทำเพื่อนายกัน พวกนี้มีอิทธิพลต่อผู้อำนวยการโรงเรียน ครูในโรงเรียน” แหล่งข่าวระบุ
เช่นเดียวกับกระทรวงสาธารณสุข แม้ความร่วมมือร่วมใจของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขกับประชาคมสาธารณสุขจะเป็นหนึ่ง มีเอกภาพอย่างยิ่ง แต่อย่าลืมว่า ภายในกระทรวงสาธารณสุขเองนั้น โดยเฉพาะการฝังตัวของระบอบทักษิณมาอย่างยาวนาน ทำให้มีการสร้างหมอไว้เป็นพวกเดียวกันจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นหมอที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงพยาบาลของคนกลุ่มนี้ แต่ยังมีหมอในกระทรวงที่ต้องการขึ้นสู่ตำแหน่งสูงด้วยการเข้าหาการเมืองด้วย และไม่น้อยทีเดียว
ดูอย่างหมอศัลยกรรมโรงพยาบาลศูนย์อุตรดิตถ์ที่ออกมาชูป้าย “No coup” ไม่เอารัฐประหาร ซึ่งเชื่อว่าหมอที่คิดอย่างนี้ตามโรงพยาบาลต่างๆ ยังมีอีกมาก แต่ไม่แสดงตัว
กระทรวงสาธารณสุขจึงเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มิอาจมองข้าม
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ก็เป็นอีกหนึ่งกระทรวงที่ นายยรรยง พวงราช อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้วางคนของตัวเองไว้ในระดับต่างๆ มากมายในกระทรวงพาณิชย์
ดังนั้น การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.สั่งจัดการโยกย้ายบุคลากรของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องออกไปจากพื้นที่ หรือออกจากตำแหน่งที่มีอิทธิพลก่อนจึงเป็นเรื่องที่ประชาชนคาดหวัง และมั่นใจว่าการปฏิรูปครั้งนี้จะสำเร็จได้แน่!
ดูเหมือนตำรวจจะเป็นหน่วยงานแรกที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และในฐานะหัวหน้า คสช. ซึ่งมีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการประเทศ ได้เข้ามารื้อเรื่องของคน เพราะว่า คน-งาน-งบ ย่อมเป็นเรื่องต่อเนื่อง การจะแก้ปัญหาความขัดแย้งที่หยั่งรากลึกในเมืองไทย อีกทั้งภาพลักษณ์ของตำรวจในสายตาประชาชนคนไทยเวลานี้ก็เป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีนัก ทั้งในเรื่องการรีดไถ คอร์รัปชันสูง ไม่ใช่ภาพลักษณ์ข้าราชการที่ปกป้องประชาชน แต่กลายเป็นข้าราชการที่รับใช้นักการเมือง ทำตามคำสั่งนักการเมืองโดยอาศัยกฎหมายที่ตำรวจมีอยู่ บังคับกลั่นแกล้งประชาชนโดยไม่คำนึงว่าถูกหรือผิด จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าประเทศไทยปกครองโดย “รัฐตำรวจ”
“ตำรวจไม่มีการข่าวหรือ จึงไม่รู้ว่ามีการขนอาวุธสงคราม และการจัดตั้งกองกำลังเพื่อก่อจลาจลทำร้ายผู้ชุมนุม แต่พอทหารยึดอำนาจจึงเข้าทลายแหล่งอาวุธสงครามได้หลายพื้นที่ ถ้าไม่มีการยึดอำนาจจากทหาร อะไรจะเกิดขึ้นกับคนไทยด้วยกันบ้าง”
นี่คือคำถามที่ประชาชนพูดคุยกันในโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะใน Line ของกลุ่ม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตำรวจเลือกที่จะปฏิบัติต่อผู้มีอำนาจหรือนักการเมืองที่ให้ผลประโยชน์เท่านั้น
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ตำรวจจะเป็นองค์กรแรกๆ ที่ คสช.ต้องรื้อโครงสร้าง โดยจัดทำบัญชีโยกย้าย “คน” เป็นอันดับแรก เพื่อนำไปสู่แผนการปฏิรูปให้ตำรวจใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น
เรียงหน้ากระดาน เด้งระดับ “บิ๊ก” สีกากี
เริ่มตั้งแต่คนระดับหัว พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว อดีต ผบ.ตร.ถูกย้ายด่วนเป็นชุดแรก พร้อมกับ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกฯ
ไล่มาวันที่ 24 พ.ค. 2557 มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 256/2557 ที่มีการสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปปฏิบัติราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 จำนวน 8 คน ได้แก่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ท.นเรศ นันทโชติ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 พล.ต.ท.กวี สุภานันท์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 พล.ต.ท.อนุชัย เล็กบำรุง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 พล.ต.ท.สุเทพ เดชรักษา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 พล.ต.ท.หาญพล นิตย์วิบูลย์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 พล.ต.ท.ภาณุ เกิดลาภผล ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
“มีวันนี้เพราะพี่ให้” เข้ากรุคนแรก!
28 พ.ค. 2557 พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รรท.ผบ.ตร. มีคำสั่งที่ 262/2557 ลงนามคำสั่งย้ายระดับ ผบช.ถึง ผกก. 16 นาย ไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) ได้แก่ พล.ต.ท.ธีระศักดิ์ กลิ่นพงษา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 (ผบช.ภ.3) พล.ต.ต.กริช กิติลือ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ (ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่) พล.ต.ต.คัชชา ธาตุศาสตร์ ผบก.ภ.จว.ชลบุรี พล.ต.ต.ชอบ คิสาลัง ผบก.ภ.จว.ขอนแก่นพล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบก.ภ.จว.นนทบุรี พล.ต.ต.ธัชชัย หงษ์ทอง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ
พล.ต.ต.บุญลือ กอบางยาง ผบก.ภ.จว.อุดรธานี พล.ต.ต.ประยนต์ ลาเสือ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.วัลลภ ประทุมเมือง ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 (ผบก.น.6) พล.ต.ต.วิชาญวัชร์ บริรักษ์กุล ผบก.น.1 พ.ต.อ.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบก.น.5
พ.ต.อ.กฤตัชญ์ บำรุงรัตนยศ ผู้กำกับการ สภ.เมืองขอนแก่น พ.ต.อ.กิตติสินธุ์ คงทวีพันธ์ ผู้กำกับการ สภ.เมืองเชียงใหม่ พ.ต.อ.โกวิท เจริญวัฒนศักดิ์ ผู้กำกับการ สภ.เมืองอุดรธานี พ.ต.อ.ศุภชัย ผุยแก้วคำ ผู้กำกับการ สภ.เมืองพัทยา พ.ต.อ.สมพล วงศ์ศรีสุนทร ผู้กำกับการ สภ.เมืองนนทบุรี รวมทั้งสิ้น 16 นายไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่ 28 พ.ค.เป็นต้นไป
พร้อมมีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 263/2557 ให้ข้าราชการตำรวจรักษาราชการแทนนายตำรวจทั้ง 16 นาย ได้แก่
พล.ต.ท.พิสัณห์ จุลดิลก ผู้บัญชาการประจำ ตร. รักษาการ ผบช.ภ.3 พล.ต.ต.สุธีร์ เนรกันฐี รอง ผบช.น. รักษาการ ผบก.น.1 พล.ต.ต.ชาญเทพ เสสะเวช รอง ผบช.น.รักษาการ ผบก.น.6 พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รองผู้บัญชาการยุทธศาสตร์ รักษาการผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน บช.น. พล.ต.ต.วิรุฬ เอี่ยมไพจิตร รอง ผบช.ภ.1 รักษาการ ผบก.ภ.จว.นนทบุรี พล.ต.ต.ทวิชชาติ พละศักดิ์ รอง ผบช.ภ.1 รักษาการ ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ พล.ต.ต.ธเนตร์ พิณเมืองงาม รอง ผบช.ภ.2 รักษาการ ผบก.ภ.จว.ชลบุรี
พล.ต.ต.จตุพล ปานรักษา รอง ผบช.ภ.4 รักษาการ ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น พล.ต.ต.วีระพงษ์ ชื่นภักดี รอง ผบช.ภ.4 รักษาการ ผบก.ภ.จว.อุดรธานี พล.ต.ต.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบช.ภ.5 รักษาการ ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่
คสช.เกาะติดตำรวจแตงโม
ด้านแหล่งข่าววงในตำรวจระบุว่า การโยกย้ายนายตำรวจนั้น หากต้องการจะขุดรากถอนโคนแล้ว คสช.ต้องตรวจสอบลงลึกไปถึงระดับรองผู้บังคับการภาค และรองผู้บังคับการจังหวัด แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้า คสช.ทำได้จึงจะได้ผลที่ชัดเจน เพราะที่ผ่านมาระบอบทักษิณได้มีอำนาจยึดครองประเทศมาเป็นเวลาเกือบ 12 ปี ได้มีการวางเส้นสาย มีการปลูกฝังและตอกย้ำให้เห็นว่าผู้ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับวงการตำรวจมากที่สุดคือ “ใคร” โดยเฉพาะตำรวจชั้นผู้น้อยจะรักและภักดีต่อ “ใคร” คนนั้นเป็นอย่างมาก
“วันนี้สิ่งที่ คสช.จะต้องระมัดระวัง ก็คือคลื่นใต้น้ำที่เป็น แตงโม ที่มีทั้งสัญญาบัตร และชั้นผู้น้อย อยู่เป็นจำนวนมาก ในภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง ต้องหมั่นตรวจสอบอย่าให้เกิดแรงกระเพื่อมได้”
อย่างไรก็ดี ในการปฏิรูปโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาตินี้ พลเอกประยุทธ์ยังต้องการให้มีการปรับระบบการบริหารงานด้านความมั่นคงใหม่ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะถูกปรับให้มีขนาดเล็กลง ลดการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองเป็นหลัก ร่วมกับการปรับการทำงานของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สนข.) รวมถึงมีคำสั่งให้สำนักงานข่าวกรองพิจารณาบรรจุกำลังพลเพิ่มเติมเพื่อรองรับงานด้านการข่าว และสำหรับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแห่งราชอาณาจักร (กอ.รมน.) มีคำสั่งให้แก้กฎหมายบางฉบับเพื่อรองรับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและการบริหารจัดการกำลังพล ส่วนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้มีการเพิ่มปลัดอำเภอและชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) รวมทั้งการเพิ่มบทบาทกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
อีกทั้งมีการตั้งคณะทำงานชุดพิเศษเพื่อปราบปรามเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน ถือเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนของตำรวจที่จะต้องตรวจสอบผู้ละเมิด และหากพบความผิดจะตรวจสอบตามขั้นตอน และดำเนินการปิดเว็บไซต์นั้นๆ ด้วย
ฟันผู้ว่าฯ-มหาดไทยต้องล้วงถึงระดับอำเภอ
ขณะที่การโยกย้ายสับเปลี่ยนกำลังใน สตช.เป็นไปอย่างเข้มข้น กระทรวงมหาดไทยเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ต้องมีการสะสางปัญหาทางการเมือง จัดกำลังคนใหม่ เพราะข้าราชการมหาดไทยเป็นฝ่ายปกครองที่ต้องดูแล บำบัดทุกข์ บำรุงสุข และทำงานใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด แต่วันนี้มีข้าราชการมหาดไทยจำนวนมาก ทำตัวรับใช้นักการเมืองและยังเป็นตัวการส่งเสริมให้ระบอบทักษิณเติบโต ฝังรากลึกเช่นกัน
ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ คสช.นั้น นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีการลงนามคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดในวันที่ 28 พ.ค. 2557 จำนวน 10 ตำแหน่งได้แก่ นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายเกรียงเดช เข็มทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นผู้ตรวจฯ นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ตรวจฯ นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นผู้ตรวจฯ นายวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ตรวจฯ นายภุชงค์ โพธิกุฎสัย ที่ปรึกษาด้านการปกครอง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ตรวจฯ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายธานี สามารถกิจ ผู้ตรวจฯ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายสมศักดิ์ จังตระกูล ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายเสริม ไชยณรงค์ ผู้ตรวจฯ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. เป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้ในวันที่ 27 พ.ค. 57 มีการโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดไปแล้ว 9 ราย ได้แก่ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายกำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท นายวิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ ผู้ตรวจราชการมหาดไทย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และนายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์
ด้านแหล่งข่าวกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ควรจะมีจิตสำนึกในการทำงานจะต้องรู้จักทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ แต่วันนี้กลับไปทำงานเพื่อรับใช้นักการเมืองเป็นหลัก เพราะคนเหล่านี้ได้เข้ามาเป็นใหญ่ในพื้นที่ ก็เพราะเป็นเด็กของนักการเมือง แต่ละคนมีเส้นมีสาย เป็นเด็กนายกันทั้งนั้น
“ในระดับต้นๆ พวกนี้ยังเข้ามาแบบใสๆ ทำงานกันไป แต่พอเริ่มเข้าสู่ระดับกลางตอนต้น ก็เริ่มวิ่งหาเส้นสายกันแล้ว จนกระทั่งการเข้าเรียนโรงเรียน นายอำเภอ โรงเรียนนักปกครอง หรือหน่วยงานที่มีการอบรมต่างๆ วิ่งแย่งกัน รับใช้กันไปจนได้ดิบได้ดี มีฐานะดีขึ้น”
ที่สำคัญข้าราชการฝ่ายปกครองจะใกล้ชิดประชาชนมาก การที่ข้าราชการไปตอกย้ำสิ่งที่ผิดๆ จนกลายเป็นการไปยัดเยียดสิ่งที่ผิดให้กับชาวบ้านในพื้นที่ จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
ดังนั้น คสช.จะโยกย้ายแค่ระดับ 10 หรือผู้ว่าราชการจังหวัดจะไม่ได้ผลในการจะปฏิรูปในครั้งนี้ และหากจะขุดรากถอนโคนกันแล้วต้องลงไปถึงระดับนายอำเภอในทุกๆ จังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสาน และภาคเหนือ
"ระดับนายอำเภอที่แม้จะตำแหน่งเล็กกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด แต่อิทธิพลทางการเมืองหรือความใกล้ชิดกับประชาชนนั้นย่อมมีมากกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเสียอีก และจังหวัดหนึ่งมีผู้ว่าฯ คนเดียว แต่มีนายอำเภอหลายคน พวกนี้แหละตัวดี ถ้าจัดการได้จึงจะขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณ"
ครู-ถ่ายทอดความคิดการเมืองให้เด็ก
หน่วยงานถัดไปที่ทหารอาจจะมีการจัดระบบกำลังพลเสียใหม่คือ กระทรวงศึกษาฯ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์?
แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าวว่า กระทรวงศึกษามีทั้งข้าราชการ และองค์กรครู ครูเป็นองคาพยพหนึ่งที่นักการเมืองใช้เป็นฐานเสียงให้กับพรรคพวกตัวเอง และมีการแย่งชิงคะแนนนิยมกับกลุ่มครูจากภาคการเมืองตลอดมา
ครูนั้นแม้ว่าจะดูไม่ใช่ส่วนที่สร้างปัญหาให้กับบ้านเมือง แต่ครูหลายคนทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับพรรคการเมือง และนักการเมือง โดยปลูกฝังเด็กให้มีความคิดทางการเมืองที่แตกแยกทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว
องค์กรครู จึงเป็นองค์กรหนึ่งที่ทหารมิอาจมองข้าม
“ไปตรวจสอบข้าราชการครูที่อยู่ในพื้นที่เขตการศึกษานั้นแหละ แต่ละคนมีนาย ทำเพื่อนายกัน พวกนี้มีอิทธิพลต่อผู้อำนวยการโรงเรียน ครูในโรงเรียน” แหล่งข่าวระบุ
เช่นเดียวกับกระทรวงสาธารณสุข แม้ความร่วมมือร่วมใจของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขกับประชาคมสาธารณสุขจะเป็นหนึ่ง มีเอกภาพอย่างยิ่ง แต่อย่าลืมว่า ภายในกระทรวงสาธารณสุขเองนั้น โดยเฉพาะการฝังตัวของระบอบทักษิณมาอย่างยาวนาน ทำให้มีการสร้างหมอไว้เป็นพวกเดียวกันจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นหมอที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงพยาบาลของคนกลุ่มนี้ แต่ยังมีหมอในกระทรวงที่ต้องการขึ้นสู่ตำแหน่งสูงด้วยการเข้าหาการเมืองด้วย และไม่น้อยทีเดียว
ดูอย่างหมอศัลยกรรมโรงพยาบาลศูนย์อุตรดิตถ์ที่ออกมาชูป้าย “No coup” ไม่เอารัฐประหาร ซึ่งเชื่อว่าหมอที่คิดอย่างนี้ตามโรงพยาบาลต่างๆ ยังมีอีกมาก แต่ไม่แสดงตัว
กระทรวงสาธารณสุขจึงเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มิอาจมองข้าม
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ก็เป็นอีกหนึ่งกระทรวงที่ นายยรรยง พวงราช อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้วางคนของตัวเองไว้ในระดับต่างๆ มากมายในกระทรวงพาณิชย์
ดังนั้น การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.สั่งจัดการโยกย้ายบุคลากรของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องออกไปจากพื้นที่ หรือออกจากตำแหน่งที่มีอิทธิพลก่อนจึงเป็นเรื่องที่ประชาชนคาดหวัง และมั่นใจว่าการปฏิรูปครั้งนี้จะสำเร็จได้แน่!