ยิ่งลักษณ์เปิดปฏิบัติการ “โลกล้อมประเทศไทย” ตามรอยพี่ชาย ให้รัฐบาลเชิญทูตร่วมวงความขัดแย้งทางการเมือง ส่วนสื่อยักษ์ต่างชาติ ทั้งบีบีซีและนิวยอร์กไทม์ เริ่มแล้วนำเสนอข่าวเชิงบวกรัฐบาล อดีตทูต “สุรพงษ์” ยันไม่มีประเทศไหนทำ ไม่ต่างชักศึกเข้าบ้าน “เสรี” ไม่หวั่นตอบโต้ทุกช่องทาง สุดท้ายความจริงเป็นเครื่องพิสูจน์ ด้านนักวิชาการหอการค้าชี้สื่อตะวันตกมองแค่ด้านเดียว ไม่มองความเป็นจริงในสังคมไทย ขณะที่คนในวงการสื่อจับผิดนิวยอร์กไทม์ลงบทสัมภาษณ์นักกฎหมายชื่อดังอ้างสถาบันเกี่ยวข้อง
การเปลี่ยนตัวผู้กำกับดูแลศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) จาก พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก มาเป็นนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วงที่ผู้ชุมนุมกลุ่ม กปปส.ได้เดินทางไปยึดสถานที่ราชการสำคัญต่างๆ ในเวลานั้นมีการสกัดกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยการยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม
วิธีการในการสกัดกั้นผู้ชุมนุมของรัฐบาลยังเลือกวิธีการที่ไม่ให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สุดท้ายก็ยอมถอยเปิดพื้นที่สำคัญอย่างทำเนียบรัฐบาลและพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลให้ผู้ชุมนุมได้ผ่านไปได้
เห็นได้ว่ารัฐบาลเล่นบทการโอนอ่อน ยอมถอย เพื่อไม่ให้มีการบาดเจ็บล้มตาย และยอมยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ภาพบวกไปเต็มๆ แต่ยังคงความได้เปรียบทางการเมืองภายใต้ความเป็นรัฐบาลรักษาการ ที่เวลานี้ยังถกเถียงกันอยู่ในเรื่องการปฏิรูปประเทศไทยก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง
สำหรับการเดินเกมของรัฐบาลนั้นจะใช้วิธีการเดินควบคู่ไปกับการดึงเอาสายตาของต่างประเทศหรือคนในสังคมโลกเข้ามายืนเคียงข้างและเป็นการสนับสนุนรัฐบาลที่ดำเนินทุกอย่างด้วยความถูกต้องชอบธรรม ด้วยการเชิญคณะทูตเข้ามารับทราบสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในช่วงก่อนประกาศยุบสภา ภายใต้การเชื้อเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและผู้กำกับดูแล ศอ.รส. พร้อมด้วยการเชิญบรรดาทูตต่างๆ มาสังเกตการณ์การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และประกาศรายชื่อประเทศต่างๆ ที่สนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง
“รัฐบาลต้องการเรียกความชอบธรรม หากมีรัฐบาลใหม่ที่มาด้วยอำนาจอื่นๆ ที่ไม่ใช้ตามระบอบประชาธิปไตย ต่างชาติก็จะร่วมบอยคอยรัฐบาลใหม่ที่ไม่ชอบธรรมซึ่งรัฐบาลที่ไม่ถูกต้องนั้นก็จะอยู่ยากเพราะไม่มีประเทศต่างๆ คบค้าสมาคมด้วย” แหล่งข่าวระบุ
ทักษิณใช้ตั้งแต่หลังถูกยึดอำนาจ
อย่างไรก็ดี กระบวนการสร้างภาพบวกให้กับฝ่ายรัฐบาลและภาพลบกับฝ่ายตรงข้าม โดยใช้ต่างประเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือ วิธีการนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้มาอย่างต่อเนื่อง มีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกเข้ามาช่วยเหลือทั้งงานด้านกฎหมายและงานด้านประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงกระบวนการทางการทูต หรือเรียกกันว่านโยบายโลกล้อมประเทศไทย
นับตั้งแต่เกิดการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 พ.ต.ท.ทักษิณได้ว่าจ้างล็อบบี้ยิสต์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา 4 บริษัท เป็นคนทำการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณบนเวทีโลก ประกอบด้วย
1.BGR Government Affairs ดูแลงานล็อบบี้นักการเมืองในสหรัฐฯ และประชาสัมพันธ์ความเป็นนักประชาธิปไตยของทักษิณ
2.Amsterdam & Peroff สำนักงานกฎหมายของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เข้ามาดำเนินการเรื่องคดีการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ในระดับสากล
3.Kobre & Kim LLP ล็อบบี้ด้านการวางแผน นโยบายต่างๆ
4.Baker Botts LLP ล็อบบี้นักการเมืองในสหรัฐฯ มีนายเจมส์ เบเกอร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยประธานาธิบดีจอร์ช บุช เป็นเจ้าของ
ในครั้งนั้นมีการงัดเรื่องต่างๆ ขึ้นมาโจมตีรัฐบาลด้วยการให้สัมภาษณ์สื่อดังในต่างประเทศถึงความไม่เป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย หรือพยายามเดินสายไปพบกับผู้นำประเทศต่างๆ และสร้างงานบรรยายในต่างประเทศเพื่อโจมตีประเทศไทย รวมไปถึงการใช้สายสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศกัมพูชาที่ลากเอานายกรัฐมนตรีฮุน เซน เข้ามาเปิดศึกกับรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จนเกิดการกระทบกระทั่งกันบริเวณชายแดนไทยกัมพูชา
นโยบายโลกล้อมประเทศไทยนี้ถูกใช้ในรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาเป็นระยะ ที่ฮือฮากันมากคือการไปปาฐกถาที่เมืองอูลานบาตอ ประเทศมองโกเลีย ที่กล่าวว่าความไม่เป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยรวมถึงเรื่องความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับครอบครัวชินวัตร
‘น้องปู’เดินรอยตามพี่แม้ว
ดังนั้นเมื่อรัฐบาลของยิ่งลักษณ์เข้าสู่ภาวะคับขัน จากการถูกกดดันของประชาชนนับล้านคนที่มีคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เป็นแกนนำ จึงมีการใช้ทั้งสื่อต่างประเทศและวิธีการเชิญทูตต่างประเทศเข้ามากดดันผู้ชุมนุมจึงเป็นไปอย่างเข้มข้น
ที่ผ่านมาแนวทางด้านการทูตถูกใช้ผ่านอำนาจของกระทรวงการต่างประเทศที่สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ยังเป็นรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่
อีกแนวทางหนึ่งที่เริ่มปรากฏให้เห็นในช่วงนี้คือ บรรดาสื่อต่างประเทศชั้นนำเริ่มที่จะนำเสนอข่าวในเชิงบวกให้กับฝ่ายรัฐบาลอย่างเช่น บีบีซี ลงไปในพื้นที่หมู่บ้านเสื้อแดงที่จังหวัดอุดรธานี รายงานถึงความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่นี้ว่า หากเกิดการรัฐประหารขึ้นมาอีกครั้ง พวกเขาจะออกมาเพื่อปกป้องรัฐบาลที่เขาเลือกและจะยอมตายเพื่อประชาธิปไตย
การรายงานข่าวจำนวนผู้มาชุมนุมนับล้านคน สื่อต่างประเทศรายงานเพียงแค่ 1 แสน 5 หมื่นคน หรือรายงานข่าวของนิวยอร์กไทม์ ที่ตั้งข้อสังเกตการประท้วงในประเทศไทยว่า เป็นการลดความเป็นประชาธิปไตยลงจากเดิม พร้อมทั้งกล่าวว่าการชุมนุมในครั้งนี้เป็นเรื่องของคนกลุ่มเล็กๆ ที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้การเลือกตั้งมาตลอด รวมไปถึงการสัมภาษณ์นักวิชาการจำนวนหนึ่งที่มีแนวคิดไปในแนวทางเดียวกับพรรคเพื่อไทย รวมถึงมีการเชื่อมโยงการชุมนุมของประชาชนในครั้งนี้ว่ามีส่วนของสถาบันเบื้องสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง
นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่สื่อจากต่างประเทศได้รายงานสถานการณ์ทางการเมืองของไทย ที่เป็นในเชิงบวกต่อรัฐบาลน้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมๆ กับมีรายงานของหนังสือพิมพ์ดิการ์เดียน ของอังกฤษ ที่รายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ว่าจ้างบริษัท เบลล์ พ็อตทิงเจอร์ (Bell Pottinger) บริษัทพีอาร์ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของอังกฤษให้ช่วยทำหน้าที่ปั้นภาพลักษณ์ของตัวเองและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ดูดีในสายตาของชาวโลก โดยลูกค้าของบริษัทนี้มักเป็นคนดังหรือผู้นำของประเทศต่างๆ ที่มีข่าวอื้อฉาวหรือมีข่าวในเชิงลบมาก่อน
ทุนตะวันตกหนุนทักษิณ
สำหรับการใช้สื่อต่างประเทศ หรือ ใช้นักการทูตเข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์บ้านเมืองภายในประเทศไทยด้วยกันเองในครั้งนี้นั้น นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต 5 ประเทศ กล่าวว่า ทุนตะวันตกเข้ามาสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่ก่อนเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้นทักษิณจึงเป็นนอมินีของทุนผูกขาด
กลุ่มทุนใหญ่คือสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Council on Foreign Relations:CFR) ที่ประกอบด้วยพ่อค้า นายทุน ธนาคาร ของสหรัฐฯ มีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มนี้มีอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ทุกรัฐบาลต้องฟัง กฎหมายในสหรัฐฯ กลุ่มทุนจะเป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมือง เมื่อได้ตำแหน่งก็ต้องตอบแทน นักการเมืองสหรัฐฯ ไม่มีวันทำลายทุนที่ให้การสนับสนุน
ในประเทศไทยช่วงยุคสงครามเย็น ประเทศไหนเป็นเผด็จการหรือไม่ ทุนตะวันตกเหล่านี้ไม่สนใจ เพียงแต่ต้องสร้างประโยชน์ให้กับทุนเหล่านี้ อย่างสหรัฐฯ วางท่าทีทั้งการเฉยและให้การสนับสนุน หากนโยบายของประเทศนั้นเป็นไปในแนวทางเดียวกับสหรัฐฯ
ปัจจุบัน CFR มีอิทธิพลทุกครั้ง มีการยุให้สหรัฐฯ เข้าไปเกี่ยวข้อง ยุโค่นรัฐบาลที่เป็นชาตินิยมสูง ไม่ยอมให้ต่างประเทศเข้ามา สีหนุที่กัมพูชาก็โดนโดยการรัฐประหารของนายพลลอนนอน ซูกาโนของอินโดฯ ก็ถูกซูฮาร์โตโค่น แต่ในรัฐบาลพม่ายังทำไม่สำเร็จ
ดังนั้นทุกประเทศจำต้องเปิดให้ทุนต่างประเทศเข้ามาเทกโอเวอร์ได้ ฉันทามติวอชิงตัน หากเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลก็ให้มีการแปรรูป ทุนสามานย์เหล่านี้ใช้หน่วยงานอย่างธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศเข้ามาเป็นตัวช่วย ให้ยกเลิกกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อทุนต่างชาติ
พ.ต.ท.ทักษิณก็ทำเพื่อทดแทนทุนต่างชาติ อย่างการส่งนายอัมบาลี ผู้นำกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยาห์ หรือเจไอ ให้กับสหรัฐฯ เพื่อแลกกับข้อตกลงเรื่องเขตการค้าเสรี (FTA) แต่ยังติดขัดที่เรื่องกฎหมายของไทยจึงยังทำไม่สำเร็จ
ขณะที่ประเทศอื่นเมื่อมีปัญหาภายในประเทศเขาพยายามไม่ให้ต่างประเทศเข้ามาแทรกแซง แต่บ้านเรากลับเปิดช่องให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซง เพราะรัฐบาลเริ่มหมดอำนาจ จึงดึงเอาต่างชาติเข้ามาเป็นพวก ไม่ต่างกับเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน
“ไม่เคยมีรัฐบาลไหนของไทยเอานโยบายด้านต่างประเทศมาเป็นเครื่องมือ เหมือนที่ทักษิณทำ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็เจริญรอยตาม ใช้ทั้งทูตนานาชาติและสื่อระดับโลกเข้ามา” นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต 5 ประเทศระบุ
ฝรั่งแคร์แค่ผลประโยชน์
อดีตเอกอัครราชทูต 5 ประเทศ บอกอีกว่า ในปี 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เร่ร่อนช่วง 3 ปีแรกไม่ไปจีนหรือเวียดนาม เพราะสื่อของประเทศเหล่านี้เป็นของรัฐบาล แต่เลือกไปประเทศตะวันตก ที่มีความเป็นปัจเจกชนสูง ไปเคลื่อนไหวในประเทศเหล่านี้และสื่อของประเทศแถบนี้มีเสรีภาพ เลือกใช้ได้ อีกทั้งยังมีล็อบบี้ยิสต์เป็นคนคอยดำเนินการ ใช้เงินเข้ามาดำเนินการ เล่นงานประเทศไทยได้ง่ายกว่า ที่ไม่ค่อยใช้อาเซียนเพราะในประเทศกลุ่มนี้มีข้อตกลงเรื่องการไม่แทรกแซงกิจการภายใน (ยกเว้นกัมพูชา)
การใช้นโยบายโลกล้อมประเทศไทยนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง เป็นการตอกย้ำให้กับสาวกที่สนับสนุน สร้างความมั่นใจได้ระดับหนึ่ง และเป็นผลทางจิตวิทยา ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ชอบทักษิณเสียขวัญ การใช้ล็อบบี้ยิสต์ พวกนี้จะไม่พูดสาเหตุของปัญหาในเมืองไทยว่าประชาธิปไตยของไทยถูกละเมิด ไร้นิติรัฐ นิติธรรม ระบอบถ่วงดุลถูกทำลาย อ่อนแอ
โดยที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ทำอะไรที่ทำให้คนไม่ชอบระบอบทักษิณมั่นใจหรือแก้ไขสิ่งเลวร้ายจากระบอบนี้ จึงทำอะไรระบอบทักษิณไม่ได้
“ฝรั่งไม่แคร์ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ เขาแคร์แค่เรื่องผลประโยชน์ พวกนี้มักจะพูดเสมอว่า หากมีการทำรัฐประหาร จะไม่มีใครค้าขายด้วย เศรษฐกิจไม่ดี เรื่องเหล่านี้ไม่เกี่ยวกัน เขาไม่แคร์ในเรื่องประชาธิปไตยหรือเผด็จการ เน้นแค่เรื่องผลประโยชน์ นักการเมืองก็รู้จุดอ่อนของคนไทยดี จึงเอาเรื่องนี้มาขู่เพื่อสกัดกั้นไม่ให้มีการทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร”
สิ่งเหล่านี้เป็นนโยบายเห็นแก่ตัวของตะวันตก มีการออกมาให้การสนับสนุนรัฐบาลที่จะสร้างผลประโยชน์ให้กับพวกเขา ด้วยการใช้คำพูดแบบอ้อมๆ ในลักษณะการให้ท้าย เช่น ต้องมีการเลือกตั้ง เพื่อความเป็นประชาธิปไตย แถมบางครั้งใช้ทูตเข้ามาร่วมกดดันแก้ไขมาตรา 112
อดีตเอกอัครราชทูตท่านนี้กล่าวต่อไปว่า พ.ต.ท.ทักษิณใช้โลกล้อมประเทศยังทำได้ไม่สำเร็จ ใช้หนังสือพิมพ์ดังๆ ระดับโลกมาเป็นเครื่องมือของทุน กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับทักษิณก็ต้องต่อสู้กันใน blog ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่เหนื่อยมาก เพราะทักษิณเอาเงินของประชาชนไปสู้ แต่ประชาชนเอาเงินในกระเป๋าไปสู้
รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์จึงเป็นวิกฤตของอำนาจ ฝรั่งก็รู้ว่าทั้งทหารและรัฐบาล มีการถ่วงดุลกัน แต่สุดท้ายเมื่อสถานการณ์มาถึงจุดหนึ่งก็จะเป็นตัวบีบให้ทหารต้องตัดสินใจว่าต้องทำอย่างไร
ดังนั้นอาวุธที่สำคัญคือความชอบธรรม ทักษิณใช้อำนาจสร้างความชอบธรรม ใช้อำนาจเพียงอย่างเดียว ฝ่ายประชาชนใช้ความชอบธรรมมาเป็นอำนาจในการต่อสู้ ดังนั้นจึงต้องทำความชอบธรรมให้เกิดขึ้นในเชิงประจักษ์ให้สำเร็จ
ใช้บ่อย-แต่ไม่ได้ผล
ด้าน รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับสื่อต่างประเทศในขณะนี้ว่า เรื่องแนวทางที่ฝ่ายรัฐบาลใช้โลกล้อมประเทศไทยนั้น เขาก็ทำอย่างนี้มาโดยตลอด เราก็มีหน้าที่ต้องชี้แจง โพสต์ตอบโต้เป็นภาษาอังกฤษบนเฟซบุ๊ก หรือใช้สื่ออื่นๆ แถลงถึงจุดยืนของเรา
แม้ว่าจะมีสื่อต่างประเทศที่นำเสนอข่าวที่เป็นเชิงลบกับผู้ชุมนุม แต่เชื่อว่าในวงการสื่อด้วยกันก็มีสื่อที่ทำหน้าที่ได้อย่างอิสระที่จะตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ได้ว่า สื่อใหญ่นั้นนำเสนอได้อย่างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ แม้ว่าการนำเสนอในบางครั้งอาจไม่ได้รับการตรวจสอบ แต่ท้ายที่สุดแล้วเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
พวกเขาใช้วิธีการอย่างนี้มาหลายครั้งแล้ว ผลที่ออกมาส่วนใหญ่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเราก็มีสื่อที่จะออกมาตอบโต้ในข้อกล่าวหาเหล่านี้ ดังนั้นไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องนี้
สื่อตะวันตกมองด้านเดียว
ขณะที่ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า สื่อจากฝั่งตะวันตกก็มีชุดความคิดของเขาอยู่ ดังนั้นการนำเสนอข่าวจึงเป็นไปตามกรอบที่ฝั่งตะวันตกมอง เช่น มองเรื่องประชาธิปไตยแล้วต้องมีการเลือกตั้ง โดยไม่ได้เข้าใจบริบทของสังคมไทยที่เกิดขึ้น อีกทั้งบ้านเรายังมีเรื่องของการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง
นอกจากนี้บางสื่อยังมีเรื่องของผลประโยชน์ของประเทศตนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แม้ว่าจะไม่มีการว่างจ้างให้นำเสนอข่าว พวกเขาก็มองไปในทิศทางภายใต้กรอบและวัฒนธรรมของพวกเขาอยู่แล้ว ยิ่งถ้ามีกระบวนการจากการใช้พีอาร์เอเยนซีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ยิ่งเข้าทางสื่อเหล่านี้
แม้ว่าสื่อเหล่านี้จะมาจากสื่อใหญ่ระดับโลก แต่ก็ยังมีสื่ออีกบางส่วนที่มีความเป็นอิสระ ทำหน้าที่คอยตรวจสอบการนำเสนอข่าวของสื่อใหญ่เช่นกัน แม้ว่าจะเป็นสื่อที่เล็กกว่า ดังนั้นภายใต้โลกของสื่อมวลชนก็มีการตรวจสอบและถ่วงดุลกันในระดับหนึ่ง
การใช้กระบวนการข่าวสารเพื่อการช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมืองก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการต่อสู้ โดยเฉพาะการใช้สื่อต่างประเทศ ที่คนไทยพร้อมจะเชื่อมากกว่าสื่อในเมืองไทย แม้ว่าบางครั้งการให้ข่าวอาจจะไม่เป็นจริง นี่ก็เป็นอีกยุทธวิธีหนึ่ง เพื่อทำให้คนเชื่อ คล้อยตาม หากทำได้สำเร็จก็จะมีผลต่อการแพ้หรือชนะ นอกจากนี้ก็ยังทำให้ฝ่ายตรงข้ามต้องทำการโต้แย้งหรือใช้เวลาในการชี้แจงหรือทำความเข้าใจกับต่างประเทศกันใหม่
หรือการเชิญทูตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ก็เช่นกัน ทูตเหล่านี้ส่วนใหญ่มีกรอบแนวคิดอยู่เช่นเดียวกัน จึงไม่แปลกที่จะโจมตีว่าฝ่ายผู้ชุมนุมไม่เป็นประชาธิปไตย
วิธีดูเจตนาสื่อต่างชาติ
ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวจากวงการสื่อมวลชน กล่าวว่า การดูเจตนาสื่อต่างชาติต้องดูเนื้อหาในการนำเสนอ ส่วนใหญ่แล้วสื่อจากซีกตะวันตกที่คุ้นเคยกับระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจึงให้ความสำคัญกับเรื่องการเลือกตั้ง แต่สื่อเหล่านี้จะไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตยแบบไทยที่มีเรื่องการเข้ามาแทรกแซงจากนักการเมือง มีการบิดหรือเป็นประชาธิปไตยแบบแปลงร่าง จึงทำให้การนำเสนอข่าวที่ออกมาส่วนใหญ่จึงเอียงไปในทิศทางของรัฐบาล
นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวต่างชาติบางรายยังจงใจเลือกที่จะสัมภาษณ์ตัวบุคคลที่เป็นฝั่งเดียวหรือให้การสนับสนุนรัฐบาล อย่างบทความของนิวยอร์กไทม์ In Thailand, Standing Up for Less Democracy เขียนโดย THOMAS FULLER เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงปัญหาทางการเมืองของประเทศไทยระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุมประท้วง แต่ให้น้ำหนักทางบวกกับฝ่ายรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีการเลือกสัมภาษณ์นักวิชาการอย่าง ดร.วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านกฎหมายที่ระยะหลังได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวทางของผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล และยังสัมภาษณ์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มักแสดงความเห็นต่อต้านสถาบันเบื้องสูง
อีกทั้งเมื่อมีบทความดังกล่าวเผยแพร่ออกมาจะมีความพยายามจากฝ่ายของ ดร.วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ว่าไม่ได้กล่าวถึงเบื้องหลังในการชุมนุมเกี่ยวข้องกับสำนักงานทรัพย์สิน พร้อมทั้งมีทีมงานออกมาช่วยแก้ต่าง เมื่อตรวจสอบทีมงานที่เข้ามาช่วยแก้ไขพบว่าเป็นกลุ่มคนเสื้อแดง
ขณะเดียวกันหากติดตามจากเฟซบุ๊กของนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการข่าวการเมืองและความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่ได้สอบถามไปยังผู้เขียนคือ THOMAS FULLER ยืนยันว่าบทความที่เขียนไป ไม่มีอะไรผิดพลาด ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดจากคนอ่านว่าสำนักงานทรัพย์สินไปเกี่ยวข้อง หลังจากนั้นก็ไม่พบการเข้ามาชี้แจงของ ดร.วีรพัฒน์ อีกเลย
ดังนั้นการใช้สื่อต่างชาติมาเป็นเครื่องมือให้กับฝ่ายรัฐบาลนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนิยมใช้มาโดยตลอด หรือการใช้ทูตจากต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ เหมือนเป็นการฟ้องชาวโลกว่าฝ่ายต่อต้านนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยนั้นทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ถือเป็นการสร้างความได้เปรียบให้กับฝ่ายรัฐในระยะสั้น
แต่จากการใช้วิธีการแบบนี้ที่ผ่านมามักไม่ได้ผลมากนัก เพราะท้ายที่สุดต่างชาติเหล่านี้ก็จะเลือกที่ผลประโยชน์ของประเทศตนมากกว่าเหตุผลอื่นๆ!
การเปลี่ยนตัวผู้กำกับดูแลศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) จาก พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก มาเป็นนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วงที่ผู้ชุมนุมกลุ่ม กปปส.ได้เดินทางไปยึดสถานที่ราชการสำคัญต่างๆ ในเวลานั้นมีการสกัดกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยการยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม
วิธีการในการสกัดกั้นผู้ชุมนุมของรัฐบาลยังเลือกวิธีการที่ไม่ให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สุดท้ายก็ยอมถอยเปิดพื้นที่สำคัญอย่างทำเนียบรัฐบาลและพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลให้ผู้ชุมนุมได้ผ่านไปได้
เห็นได้ว่ารัฐบาลเล่นบทการโอนอ่อน ยอมถอย เพื่อไม่ให้มีการบาดเจ็บล้มตาย และยอมยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ภาพบวกไปเต็มๆ แต่ยังคงความได้เปรียบทางการเมืองภายใต้ความเป็นรัฐบาลรักษาการ ที่เวลานี้ยังถกเถียงกันอยู่ในเรื่องการปฏิรูปประเทศไทยก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง
สำหรับการเดินเกมของรัฐบาลนั้นจะใช้วิธีการเดินควบคู่ไปกับการดึงเอาสายตาของต่างประเทศหรือคนในสังคมโลกเข้ามายืนเคียงข้างและเป็นการสนับสนุนรัฐบาลที่ดำเนินทุกอย่างด้วยความถูกต้องชอบธรรม ด้วยการเชิญคณะทูตเข้ามารับทราบสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในช่วงก่อนประกาศยุบสภา ภายใต้การเชื้อเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและผู้กำกับดูแล ศอ.รส. พร้อมด้วยการเชิญบรรดาทูตต่างๆ มาสังเกตการณ์การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และประกาศรายชื่อประเทศต่างๆ ที่สนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง
“รัฐบาลต้องการเรียกความชอบธรรม หากมีรัฐบาลใหม่ที่มาด้วยอำนาจอื่นๆ ที่ไม่ใช้ตามระบอบประชาธิปไตย ต่างชาติก็จะร่วมบอยคอยรัฐบาลใหม่ที่ไม่ชอบธรรมซึ่งรัฐบาลที่ไม่ถูกต้องนั้นก็จะอยู่ยากเพราะไม่มีประเทศต่างๆ คบค้าสมาคมด้วย” แหล่งข่าวระบุ
ทักษิณใช้ตั้งแต่หลังถูกยึดอำนาจ
อย่างไรก็ดี กระบวนการสร้างภาพบวกให้กับฝ่ายรัฐบาลและภาพลบกับฝ่ายตรงข้าม โดยใช้ต่างประเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือ วิธีการนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้มาอย่างต่อเนื่อง มีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกเข้ามาช่วยเหลือทั้งงานด้านกฎหมายและงานด้านประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงกระบวนการทางการทูต หรือเรียกกันว่านโยบายโลกล้อมประเทศไทย
นับตั้งแต่เกิดการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 พ.ต.ท.ทักษิณได้ว่าจ้างล็อบบี้ยิสต์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา 4 บริษัท เป็นคนทำการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณบนเวทีโลก ประกอบด้วย
1.BGR Government Affairs ดูแลงานล็อบบี้นักการเมืองในสหรัฐฯ และประชาสัมพันธ์ความเป็นนักประชาธิปไตยของทักษิณ
2.Amsterdam & Peroff สำนักงานกฎหมายของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เข้ามาดำเนินการเรื่องคดีการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ในระดับสากล
3.Kobre & Kim LLP ล็อบบี้ด้านการวางแผน นโยบายต่างๆ
4.Baker Botts LLP ล็อบบี้นักการเมืองในสหรัฐฯ มีนายเจมส์ เบเกอร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยประธานาธิบดีจอร์ช บุช เป็นเจ้าของ
ในครั้งนั้นมีการงัดเรื่องต่างๆ ขึ้นมาโจมตีรัฐบาลด้วยการให้สัมภาษณ์สื่อดังในต่างประเทศถึงความไม่เป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย หรือพยายามเดินสายไปพบกับผู้นำประเทศต่างๆ และสร้างงานบรรยายในต่างประเทศเพื่อโจมตีประเทศไทย รวมไปถึงการใช้สายสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศกัมพูชาที่ลากเอานายกรัฐมนตรีฮุน เซน เข้ามาเปิดศึกกับรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จนเกิดการกระทบกระทั่งกันบริเวณชายแดนไทยกัมพูชา
นโยบายโลกล้อมประเทศไทยนี้ถูกใช้ในรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาเป็นระยะ ที่ฮือฮากันมากคือการไปปาฐกถาที่เมืองอูลานบาตอ ประเทศมองโกเลีย ที่กล่าวว่าความไม่เป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยรวมถึงเรื่องความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับครอบครัวชินวัตร
‘น้องปู’เดินรอยตามพี่แม้ว
ดังนั้นเมื่อรัฐบาลของยิ่งลักษณ์เข้าสู่ภาวะคับขัน จากการถูกกดดันของประชาชนนับล้านคนที่มีคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เป็นแกนนำ จึงมีการใช้ทั้งสื่อต่างประเทศและวิธีการเชิญทูตต่างประเทศเข้ามากดดันผู้ชุมนุมจึงเป็นไปอย่างเข้มข้น
ที่ผ่านมาแนวทางด้านการทูตถูกใช้ผ่านอำนาจของกระทรวงการต่างประเทศที่สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ยังเป็นรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่
อีกแนวทางหนึ่งที่เริ่มปรากฏให้เห็นในช่วงนี้คือ บรรดาสื่อต่างประเทศชั้นนำเริ่มที่จะนำเสนอข่าวในเชิงบวกให้กับฝ่ายรัฐบาลอย่างเช่น บีบีซี ลงไปในพื้นที่หมู่บ้านเสื้อแดงที่จังหวัดอุดรธานี รายงานถึงความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่นี้ว่า หากเกิดการรัฐประหารขึ้นมาอีกครั้ง พวกเขาจะออกมาเพื่อปกป้องรัฐบาลที่เขาเลือกและจะยอมตายเพื่อประชาธิปไตย
การรายงานข่าวจำนวนผู้มาชุมนุมนับล้านคน สื่อต่างประเทศรายงานเพียงแค่ 1 แสน 5 หมื่นคน หรือรายงานข่าวของนิวยอร์กไทม์ ที่ตั้งข้อสังเกตการประท้วงในประเทศไทยว่า เป็นการลดความเป็นประชาธิปไตยลงจากเดิม พร้อมทั้งกล่าวว่าการชุมนุมในครั้งนี้เป็นเรื่องของคนกลุ่มเล็กๆ ที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้การเลือกตั้งมาตลอด รวมไปถึงการสัมภาษณ์นักวิชาการจำนวนหนึ่งที่มีแนวคิดไปในแนวทางเดียวกับพรรคเพื่อไทย รวมถึงมีการเชื่อมโยงการชุมนุมของประชาชนในครั้งนี้ว่ามีส่วนของสถาบันเบื้องสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง
นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่สื่อจากต่างประเทศได้รายงานสถานการณ์ทางการเมืองของไทย ที่เป็นในเชิงบวกต่อรัฐบาลน้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมๆ กับมีรายงานของหนังสือพิมพ์ดิการ์เดียน ของอังกฤษ ที่รายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ว่าจ้างบริษัท เบลล์ พ็อตทิงเจอร์ (Bell Pottinger) บริษัทพีอาร์ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของอังกฤษให้ช่วยทำหน้าที่ปั้นภาพลักษณ์ของตัวเองและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ดูดีในสายตาของชาวโลก โดยลูกค้าของบริษัทนี้มักเป็นคนดังหรือผู้นำของประเทศต่างๆ ที่มีข่าวอื้อฉาวหรือมีข่าวในเชิงลบมาก่อน
ทุนตะวันตกหนุนทักษิณ
สำหรับการใช้สื่อต่างประเทศ หรือ ใช้นักการทูตเข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์บ้านเมืองภายในประเทศไทยด้วยกันเองในครั้งนี้นั้น นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต 5 ประเทศ กล่าวว่า ทุนตะวันตกเข้ามาสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่ก่อนเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้นทักษิณจึงเป็นนอมินีของทุนผูกขาด
กลุ่มทุนใหญ่คือสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Council on Foreign Relations:CFR) ที่ประกอบด้วยพ่อค้า นายทุน ธนาคาร ของสหรัฐฯ มีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มนี้มีอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ทุกรัฐบาลต้องฟัง กฎหมายในสหรัฐฯ กลุ่มทุนจะเป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมือง เมื่อได้ตำแหน่งก็ต้องตอบแทน นักการเมืองสหรัฐฯ ไม่มีวันทำลายทุนที่ให้การสนับสนุน
ในประเทศไทยช่วงยุคสงครามเย็น ประเทศไหนเป็นเผด็จการหรือไม่ ทุนตะวันตกเหล่านี้ไม่สนใจ เพียงแต่ต้องสร้างประโยชน์ให้กับทุนเหล่านี้ อย่างสหรัฐฯ วางท่าทีทั้งการเฉยและให้การสนับสนุน หากนโยบายของประเทศนั้นเป็นไปในแนวทางเดียวกับสหรัฐฯ
ปัจจุบัน CFR มีอิทธิพลทุกครั้ง มีการยุให้สหรัฐฯ เข้าไปเกี่ยวข้อง ยุโค่นรัฐบาลที่เป็นชาตินิยมสูง ไม่ยอมให้ต่างประเทศเข้ามา สีหนุที่กัมพูชาก็โดนโดยการรัฐประหารของนายพลลอนนอน ซูกาโนของอินโดฯ ก็ถูกซูฮาร์โตโค่น แต่ในรัฐบาลพม่ายังทำไม่สำเร็จ
ดังนั้นทุกประเทศจำต้องเปิดให้ทุนต่างประเทศเข้ามาเทกโอเวอร์ได้ ฉันทามติวอชิงตัน หากเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลก็ให้มีการแปรรูป ทุนสามานย์เหล่านี้ใช้หน่วยงานอย่างธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศเข้ามาเป็นตัวช่วย ให้ยกเลิกกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อทุนต่างชาติ
พ.ต.ท.ทักษิณก็ทำเพื่อทดแทนทุนต่างชาติ อย่างการส่งนายอัมบาลี ผู้นำกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยาห์ หรือเจไอ ให้กับสหรัฐฯ เพื่อแลกกับข้อตกลงเรื่องเขตการค้าเสรี (FTA) แต่ยังติดขัดที่เรื่องกฎหมายของไทยจึงยังทำไม่สำเร็จ
ขณะที่ประเทศอื่นเมื่อมีปัญหาภายในประเทศเขาพยายามไม่ให้ต่างประเทศเข้ามาแทรกแซง แต่บ้านเรากลับเปิดช่องให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซง เพราะรัฐบาลเริ่มหมดอำนาจ จึงดึงเอาต่างชาติเข้ามาเป็นพวก ไม่ต่างกับเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน
“ไม่เคยมีรัฐบาลไหนของไทยเอานโยบายด้านต่างประเทศมาเป็นเครื่องมือ เหมือนที่ทักษิณทำ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็เจริญรอยตาม ใช้ทั้งทูตนานาชาติและสื่อระดับโลกเข้ามา” นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต 5 ประเทศระบุ
ฝรั่งแคร์แค่ผลประโยชน์
อดีตเอกอัครราชทูต 5 ประเทศ บอกอีกว่า ในปี 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เร่ร่อนช่วง 3 ปีแรกไม่ไปจีนหรือเวียดนาม เพราะสื่อของประเทศเหล่านี้เป็นของรัฐบาล แต่เลือกไปประเทศตะวันตก ที่มีความเป็นปัจเจกชนสูง ไปเคลื่อนไหวในประเทศเหล่านี้และสื่อของประเทศแถบนี้มีเสรีภาพ เลือกใช้ได้ อีกทั้งยังมีล็อบบี้ยิสต์เป็นคนคอยดำเนินการ ใช้เงินเข้ามาดำเนินการ เล่นงานประเทศไทยได้ง่ายกว่า ที่ไม่ค่อยใช้อาเซียนเพราะในประเทศกลุ่มนี้มีข้อตกลงเรื่องการไม่แทรกแซงกิจการภายใน (ยกเว้นกัมพูชา)
การใช้นโยบายโลกล้อมประเทศไทยนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง เป็นการตอกย้ำให้กับสาวกที่สนับสนุน สร้างความมั่นใจได้ระดับหนึ่ง และเป็นผลทางจิตวิทยา ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ชอบทักษิณเสียขวัญ การใช้ล็อบบี้ยิสต์ พวกนี้จะไม่พูดสาเหตุของปัญหาในเมืองไทยว่าประชาธิปไตยของไทยถูกละเมิด ไร้นิติรัฐ นิติธรรม ระบอบถ่วงดุลถูกทำลาย อ่อนแอ
โดยที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ทำอะไรที่ทำให้คนไม่ชอบระบอบทักษิณมั่นใจหรือแก้ไขสิ่งเลวร้ายจากระบอบนี้ จึงทำอะไรระบอบทักษิณไม่ได้
“ฝรั่งไม่แคร์ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ เขาแคร์แค่เรื่องผลประโยชน์ พวกนี้มักจะพูดเสมอว่า หากมีการทำรัฐประหาร จะไม่มีใครค้าขายด้วย เศรษฐกิจไม่ดี เรื่องเหล่านี้ไม่เกี่ยวกัน เขาไม่แคร์ในเรื่องประชาธิปไตยหรือเผด็จการ เน้นแค่เรื่องผลประโยชน์ นักการเมืองก็รู้จุดอ่อนของคนไทยดี จึงเอาเรื่องนี้มาขู่เพื่อสกัดกั้นไม่ให้มีการทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร”
สิ่งเหล่านี้เป็นนโยบายเห็นแก่ตัวของตะวันตก มีการออกมาให้การสนับสนุนรัฐบาลที่จะสร้างผลประโยชน์ให้กับพวกเขา ด้วยการใช้คำพูดแบบอ้อมๆ ในลักษณะการให้ท้าย เช่น ต้องมีการเลือกตั้ง เพื่อความเป็นประชาธิปไตย แถมบางครั้งใช้ทูตเข้ามาร่วมกดดันแก้ไขมาตรา 112
อดีตเอกอัครราชทูตท่านนี้กล่าวต่อไปว่า พ.ต.ท.ทักษิณใช้โลกล้อมประเทศยังทำได้ไม่สำเร็จ ใช้หนังสือพิมพ์ดังๆ ระดับโลกมาเป็นเครื่องมือของทุน กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับทักษิณก็ต้องต่อสู้กันใน blog ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่เหนื่อยมาก เพราะทักษิณเอาเงินของประชาชนไปสู้ แต่ประชาชนเอาเงินในกระเป๋าไปสู้
รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์จึงเป็นวิกฤตของอำนาจ ฝรั่งก็รู้ว่าทั้งทหารและรัฐบาล มีการถ่วงดุลกัน แต่สุดท้ายเมื่อสถานการณ์มาถึงจุดหนึ่งก็จะเป็นตัวบีบให้ทหารต้องตัดสินใจว่าต้องทำอย่างไร
ดังนั้นอาวุธที่สำคัญคือความชอบธรรม ทักษิณใช้อำนาจสร้างความชอบธรรม ใช้อำนาจเพียงอย่างเดียว ฝ่ายประชาชนใช้ความชอบธรรมมาเป็นอำนาจในการต่อสู้ ดังนั้นจึงต้องทำความชอบธรรมให้เกิดขึ้นในเชิงประจักษ์ให้สำเร็จ
ใช้บ่อย-แต่ไม่ได้ผล
ด้าน รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับสื่อต่างประเทศในขณะนี้ว่า เรื่องแนวทางที่ฝ่ายรัฐบาลใช้โลกล้อมประเทศไทยนั้น เขาก็ทำอย่างนี้มาโดยตลอด เราก็มีหน้าที่ต้องชี้แจง โพสต์ตอบโต้เป็นภาษาอังกฤษบนเฟซบุ๊ก หรือใช้สื่ออื่นๆ แถลงถึงจุดยืนของเรา
แม้ว่าจะมีสื่อต่างประเทศที่นำเสนอข่าวที่เป็นเชิงลบกับผู้ชุมนุม แต่เชื่อว่าในวงการสื่อด้วยกันก็มีสื่อที่ทำหน้าที่ได้อย่างอิสระที่จะตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ได้ว่า สื่อใหญ่นั้นนำเสนอได้อย่างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ แม้ว่าการนำเสนอในบางครั้งอาจไม่ได้รับการตรวจสอบ แต่ท้ายที่สุดแล้วเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
พวกเขาใช้วิธีการอย่างนี้มาหลายครั้งแล้ว ผลที่ออกมาส่วนใหญ่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเราก็มีสื่อที่จะออกมาตอบโต้ในข้อกล่าวหาเหล่านี้ ดังนั้นไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องนี้
สื่อตะวันตกมองด้านเดียว
ขณะที่ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า สื่อจากฝั่งตะวันตกก็มีชุดความคิดของเขาอยู่ ดังนั้นการนำเสนอข่าวจึงเป็นไปตามกรอบที่ฝั่งตะวันตกมอง เช่น มองเรื่องประชาธิปไตยแล้วต้องมีการเลือกตั้ง โดยไม่ได้เข้าใจบริบทของสังคมไทยที่เกิดขึ้น อีกทั้งบ้านเรายังมีเรื่องของการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง
นอกจากนี้บางสื่อยังมีเรื่องของผลประโยชน์ของประเทศตนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แม้ว่าจะไม่มีการว่างจ้างให้นำเสนอข่าว พวกเขาก็มองไปในทิศทางภายใต้กรอบและวัฒนธรรมของพวกเขาอยู่แล้ว ยิ่งถ้ามีกระบวนการจากการใช้พีอาร์เอเยนซีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ยิ่งเข้าทางสื่อเหล่านี้
แม้ว่าสื่อเหล่านี้จะมาจากสื่อใหญ่ระดับโลก แต่ก็ยังมีสื่ออีกบางส่วนที่มีความเป็นอิสระ ทำหน้าที่คอยตรวจสอบการนำเสนอข่าวของสื่อใหญ่เช่นกัน แม้ว่าจะเป็นสื่อที่เล็กกว่า ดังนั้นภายใต้โลกของสื่อมวลชนก็มีการตรวจสอบและถ่วงดุลกันในระดับหนึ่ง
การใช้กระบวนการข่าวสารเพื่อการช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมืองก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการต่อสู้ โดยเฉพาะการใช้สื่อต่างประเทศ ที่คนไทยพร้อมจะเชื่อมากกว่าสื่อในเมืองไทย แม้ว่าบางครั้งการให้ข่าวอาจจะไม่เป็นจริง นี่ก็เป็นอีกยุทธวิธีหนึ่ง เพื่อทำให้คนเชื่อ คล้อยตาม หากทำได้สำเร็จก็จะมีผลต่อการแพ้หรือชนะ นอกจากนี้ก็ยังทำให้ฝ่ายตรงข้ามต้องทำการโต้แย้งหรือใช้เวลาในการชี้แจงหรือทำความเข้าใจกับต่างประเทศกันใหม่
หรือการเชิญทูตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ก็เช่นกัน ทูตเหล่านี้ส่วนใหญ่มีกรอบแนวคิดอยู่เช่นเดียวกัน จึงไม่แปลกที่จะโจมตีว่าฝ่ายผู้ชุมนุมไม่เป็นประชาธิปไตย
วิธีดูเจตนาสื่อต่างชาติ
ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวจากวงการสื่อมวลชน กล่าวว่า การดูเจตนาสื่อต่างชาติต้องดูเนื้อหาในการนำเสนอ ส่วนใหญ่แล้วสื่อจากซีกตะวันตกที่คุ้นเคยกับระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจึงให้ความสำคัญกับเรื่องการเลือกตั้ง แต่สื่อเหล่านี้จะไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตยแบบไทยที่มีเรื่องการเข้ามาแทรกแซงจากนักการเมือง มีการบิดหรือเป็นประชาธิปไตยแบบแปลงร่าง จึงทำให้การนำเสนอข่าวที่ออกมาส่วนใหญ่จึงเอียงไปในทิศทางของรัฐบาล
นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวต่างชาติบางรายยังจงใจเลือกที่จะสัมภาษณ์ตัวบุคคลที่เป็นฝั่งเดียวหรือให้การสนับสนุนรัฐบาล อย่างบทความของนิวยอร์กไทม์ In Thailand, Standing Up for Less Democracy เขียนโดย THOMAS FULLER เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงปัญหาทางการเมืองของประเทศไทยระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุมประท้วง แต่ให้น้ำหนักทางบวกกับฝ่ายรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีการเลือกสัมภาษณ์นักวิชาการอย่าง ดร.วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านกฎหมายที่ระยะหลังได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวทางของผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล และยังสัมภาษณ์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มักแสดงความเห็นต่อต้านสถาบันเบื้องสูง
อีกทั้งเมื่อมีบทความดังกล่าวเผยแพร่ออกมาจะมีความพยายามจากฝ่ายของ ดร.วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ว่าไม่ได้กล่าวถึงเบื้องหลังในการชุมนุมเกี่ยวข้องกับสำนักงานทรัพย์สิน พร้อมทั้งมีทีมงานออกมาช่วยแก้ต่าง เมื่อตรวจสอบทีมงานที่เข้ามาช่วยแก้ไขพบว่าเป็นกลุ่มคนเสื้อแดง
ขณะเดียวกันหากติดตามจากเฟซบุ๊กของนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการข่าวการเมืองและความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่ได้สอบถามไปยังผู้เขียนคือ THOMAS FULLER ยืนยันว่าบทความที่เขียนไป ไม่มีอะไรผิดพลาด ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดจากคนอ่านว่าสำนักงานทรัพย์สินไปเกี่ยวข้อง หลังจากนั้นก็ไม่พบการเข้ามาชี้แจงของ ดร.วีรพัฒน์ อีกเลย
ดังนั้นการใช้สื่อต่างชาติมาเป็นเครื่องมือให้กับฝ่ายรัฐบาลนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนิยมใช้มาโดยตลอด หรือการใช้ทูตจากต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ เหมือนเป็นการฟ้องชาวโลกว่าฝ่ายต่อต้านนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยนั้นทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ถือเป็นการสร้างความได้เปรียบให้กับฝ่ายรัฐในระยะสั้น
แต่จากการใช้วิธีการแบบนี้ที่ผ่านมามักไม่ได้ผลมากนัก เพราะท้ายที่สุดต่างชาติเหล่านี้ก็จะเลือกที่ผลประโยชน์ของประเทศตนมากกว่าเหตุผลอื่นๆ!