ตรวจสอบคดีหมิ่นสถาบัน พบเกิดมากหลัง “ทักษิณ” ถูกยึดอำนาจ และหลายรายได้รับประกันตัว-อภัยโทษ-บางคนได้ดีเป็น ส.ส.-ขึ้นแท่นที่ปรึกษารัฐมนตรี เมื่อพรรคเพื่อไทยกลับเข้ามาเป็นรัฐบาล โดยเฉพาะ “ทักษิณ-จักรภพ-จตุพร” รอด นักกฎหมายชี้อัยการมีส่วนสำคัญชี้ชะตาฟ้องไม่ฟ้องพวกหมิ่นฯ ขณะที่คดี “สนธิ” ติดคุกบั่นทอนกำลังใจคนรักสถาบัน สุดท้ายไม่มีใครกล้าปกป้อง!
อารมณ์ของผู้คนที่รับทราบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา ในคดีที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 8 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หลังจากที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องไปเมื่อ 26 กันยายน 2555
การกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยศาลอุทธรณ์ จากยกฟ้องมาเป็นจำคุก 2 ปี นับว่าเป็นสิ่งที่ผิดคาดกับกลุ่มคนที่อยู่ในฝั่งรักสถาบันและปกป้องสถาบัน เพราะการต่อสู้ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ต่อขบวนการล้มเจ้าเกิดขึ้นเมื่อครั้งจัดรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ ทางช่อง 9 จนทำให้รายการนี้ต้องหลุดจากผังช่อง 9 จากนั้นก็ต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวต่อเนื่องมาจนมีการรวมตัวกันเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
อย่างไรก็ดีขบวนการโจมตีสถาบันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีมากขึ้น หลังเหตุการณ์ยึดอำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อ 19 กันยายน 2549 แม้จะมีรัฐบาลรักษาการอยู่ราว 1 ปี การคืนอำนาจให้ประชาชนมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคพลังประชาชนกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง การโจมตีสถาบันยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
คนรักสถาบันหวาด
โดยเฉพาะการเดินหน้าปราศรัยโจมตีสถาบันของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่บริเวณท้องสนามหลวง ปรากฏให้เห็นหลายครั้งหลายหน แต่หน่วยงานรัฐหรือตำรวจกลับเมินเฉยกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ต่อเมื่อนายสนธิ ลิ้มทองกุล เรียกร้องให้ตำรวจและรัฐบาลดำเนินการกับดา ตอร์ปิโด จึงกลายเป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าข่ายกระทำความผิดในคดีหมิ่นสถาบัน แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องแล้วก็ตาม แต่อัยการที่เป็นโจทย์ยังคงยื่นอุทธรณ์และผลการพิพากษาก็ออกมากลายเป็นจำคุก 2 ปี
แน่นอนว่าผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ออกมา นอกจากกระทบต่อความรู้สึกของกลุ่มคนที่รักษาสถาบันแล้ว ยังทำให้หลายคนหวาดหวั่นต่อการทำหน้าที่ปกป้องสถาบันที่อาจจะต้องกลายเป็นผู้ที่กระทำความผิดเสียเอง เหมือนอย่างเช่นนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่กล่าวไว้ว่า “ต่อไปคนไทยจะไม่กล้าออกมาเรียกร้องใดๆ เห็นคนพูดจาจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็จะนิ่งเฉยเพราะกลัวติดคุก เพราะขนาดสนธิมันยังติดคุกเลย”
คดีตัวอย่างของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่กระทำไปด้วยเจตนาปกป้องสถาบัน ได้เดินเข้าสู่ขั้นตอนของศาลฎีกา ดังนั้นจากนี้ไปกลุ่มคนที่รักสถาบันคงต้องรอผลการพิจารณาต่อไป
ส่วนคดีอื่นๆ ที่เข้าข่ายหมิ่นสถาบันนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายคดี บางคดีก็หลุดพ้นตั้งแต่อัยการสั่งไม่ฟ้อง บางคดี ได้ประกันตัวไปแล้ว บางคนถูกจำคุกไปแล้ว บางคนได้รับการอภัยโทษ บางคนหลบหนีไปต่างประเทศ และบางคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ซึ่งหากย้อนไปตรวจสอบจะพบว่าหลายคนเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนเสื้อแดงและหรือให้การสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่สำคัญบางคนได้เป็นใหญ่เป็นโตในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปแล้ว
อัยการสั่งไม่ฟ้องทักษิณ
สำหรับคดีที่เกี่ยวข้องกับฐานความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ต่อพระราชินี ต่อรัชทายาท หรือต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้จะเคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้หลายครั้ง แต่กลับพบการกระทำผิดอย่างต่อเนื่องและมากขึ้น ภายหลังมีการยึดอำนาจการบริหารประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อ 19 กันยายน 2549
ที่ผ่านมามีบุคคลสำคัญที่ถูกฟ้องในคดีหมิ่นสถาบัน แต่อัยการพิจารณาแล้วสั่งไม่ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2550 ด้วยกันหลายสำนวน
ในกรณีนี้ นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา กล่าวถึงการพิจารณาคดีหมิ่นสถาบัน ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตกเป็นผู้ต้องหา กรณีถูกร้องทุกข์กล่าวโทษกระทำผิดหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งพนักงานสอบสวนกองปราบปราม ส่งสำนวนให้อัยการพร้อมความเห็นสมควรไม่ฟ้องผู้ต้องหาใน 3 คดี ประกอบด้วย สำนวนคดีที่ 1 พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวกับคนขับแท็กซี่ที่อาคารอินดอร์สเตเดียม หัวหมาก เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2548 คดีที่ 2 พ.ต.ท.ทักษิณ พูดในรายการนายกฯ พบประชาชนผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 และคดีที่ 3 พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางเข้ากรุงเทพฯ แล้วมีกลุ่มคาราวานคนจนคอยต้อนรับ โดยใช้ธงเฉลิมพระเกียรติ และมีกระดาษข้อความว่า “เรารักทักษิณ” คาดศีรษะ
สองเหตุการณ์แรกนั้น เป็นถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ไม่สมควร ไม่เหมาะสม อาจหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก่อให้เกิดความแตกแยกและขัดแย้งขึ้นได้ ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงมิบังควรใช้ถ้อยคำดังกล่าวปราศรัย แต่ถ้อยคำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ดังกล่าว ยังไม่ถึงกับเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์
ส่วนการที่มีบุคคลนำธงเฉลิมพระเกียรติ และนำแผ่นป้ายกระดาษคาดศีรษะที่มีข้อความว่า “เรารักทักษิณ” มาแจกให้ประชาชนกลุ่มคาราวานคนจนใช้โบกต้อนรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ในการเดินทางกลับเข้า กทม.หลังจากได้มีการประกาศยุบสภาไปแล้วนั้น ก็ฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้ใช้ให้มีการกระทำดังกล่าว พยานหลักฐานจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหากระทำความผิด จึงสั่งไม่ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ต้องหาฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
อัยการไม่สั่งฟ้องจักรภพ
อีกหนึ่งบุคคลที่ถือว่าเป็นหนึ่งในแนวร่วมของคนเสื้อแดงและร่วมงานกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือนายจักรภพ เพ็ญแข คดีนี้เกิดขึ้นจากกรณีที่นายจักรภพกล่าวคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ เรื่องประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2550 โดยมีเนื้อหาการบรรยายที่เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยคดีดังกล่าวอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญามีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามข้อกล่าวหา เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2554
DSI ไม่สั่งฟ้องจตุพร
ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และพันตำรวจเอกประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ก็ออกมาชี้แจงถึงการยกฟ้องคดีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง ในคดีหมิ่นสถาบัน ระหว่างการปราศรัยบนเวทีของคนเสื้อแดง ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 นั้น โดยให้เหตุผลว่าหลังจากได้พิจารณารายละเอียด คำพูด ตั้งแต่ต้นจนจบทุกบริบทของนายจตุพร ของผู้เชี่ยวชาญ 3 ส่วน คือ นักภาษาศาสตร์ สื่อมวลชน และพยานกลาง ซึ่งก็คือประชาชน และเจ้าหน้าที่ ที่ล้วนแล้วเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง พบว่าคำปราศรัยตั้งแต่ต้นจนจบไม่ได้กล่าวหมิ่นสถาบันเบื้องสูง
หนี-จำคุก-ประกัน-อภัยโทษ
นอกจากนี้ยังมีคดีหมิ่นสถาบันโดยผู้กระทำผิดรายอื่นๆ อย่าง รศ.ดร.ใจ อึ๊งภากรณ์ 3 ตุลาคม 2549 จากคำให้สัมภาษณ์ที่ลงในหนังสือพิมพ์ เมื่อ 3 ตุลาคม 2549 ถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปัจจุบันหลบหนีคดีอยู่ในต่างประเทศ
นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง ไม่ยืนแสดงความเคารพระหว่างเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555 อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง
นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล (ดา ตอร์ปิโด) พูดบนเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 18 และ 19 กรกฎาคม 2551 อันเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 15 ปี เมื่อ 12 มิถุนายน 2556
นายก่อแก้ว พิกุลทอง กระทำการหมิ่นก้าวล่วงเกินพระมหากษัตริย์จากการกล่าวปราศรัยในงานชุมนุม “ความจริงวันนี้สัญจร” ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ 22 มีนาคม 2552 ถูกออกหมายจับ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปล่อยตัวชั่วคราวในเดือนพฤษภาคม 2556
นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ปราศรัยบนเวทีของกลุ่ม นปช. บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เมื่อ 29 มีนาคม 2553 ถูกศาลตัดสินจำคุก 2 ปี ขณะนี้ได้รับการประกันตัว
นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ กระทำความผิดในหลายครั้ง 21 กันยายน 2553, 29 ตุลาคม 2553 และ 17 ธันวาคม 2553 การหมิ่นก้าวล่วงเกินพระมหากษัตริย์ ศาลตัดสินจำคุก 12 ปี 6 เดือน ได้รับการอภัยโทษและได้รับการปล่อยตัวเมื่อ 4 ตุลาคม 2556
นายชูพงษ์ ถี่ถ้วน การหมิ่นก้าวล่วงเกินพระมหากษัตริย์โดยการปราศรัยและมีปรากฏในเว็บไซต์ยูทูบ ศาลได้ออกหมายจับแล้ว เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2554 อยู่ระหว่างหลบหนี
นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ ตามความผิดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หมายจับของศาลอาญา ที่ 131/2554 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ถูกตำรวจจับเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 ศาลอาญาชั้นต้นลงโทษจำคุกไม่รอลงอาญา 10 ปี ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556
นายชูชีพ ชีวสุทธิ์ การหมิ่นก้าวล่วงเกินพระมหากษัตริย์ โดยปราศรัยทางวิทยุชุมชน เว็บไซต์พันทิป และประชาไท ศาลออกหมายจับ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (3) และ (5) กับทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, มาตรา 116 และมาตรา 135/2 อยู่ระหว่างหลบหนี
นางสาวปภัสชนัญญ์ ฉิ่งอินทร์ เมื่อ 7 เมษายน 2552 ในกรณีเผาโลงศพ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ลงโทษจำคุก 3 ปี ที่มาของคดีกล่าวคือ นายสนธิ ลิ้มทองกุล พูดออกรายการโทรทัศน์ ใจความตอนหนึ่งว่าคนเสื้อเหลืองออกมาปกป้องพลเอกเปรมในฐานะที่พระองค์ท่านเป็นประธานองคมนตรี จึงทำให้นางสาวปภัสชนัญญ์ ฉิ่งอินทร์ นำเรื่องนี้มาล้อเลียนโดยเขียนที่ข้างโลงศพว่าพระองค์ท่าน พลเอกเปรม ต่อมามีการฟ้องร้อง เนื่องจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมองว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ศาลฎีกาสั่งจำคุก 3 ปีไม่รอลงอาญา 29 สิงหาคม 2556
ส่วนคนดังอย่างนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อยู่ในขั้นตอนของการดำเนินคดี และได้มีการเลื่อนคดีออกไป 11 พฤษภาคม 2554 คือ ดร.สมศักดิ์ นักวิชาการด้านผู้ที่นำเสนอประเด็นเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 รวมถึงการตั้งคำถามกับรายการประทานสัมภาษณ์ในรายการ “วู้ดดี้เกิดมาคุย” เมื่อต้นเดือนเมษายน 2554
นอกจากนี้ยังมีผู้ที่กระทำผิดในคดีดังกล่าวอีกหลายรายเช่น นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นายพันทิวา ภูมิประเทศ หรือทอม ดันดี นักร้องชื่อดัง ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล แกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 และอีกหลายคนที่ถูกดำเนินคดี หลายรายถูกดำเนินคดี จากนั้นได้มีการดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษ ทำให้หลายรายได้รับการปล่อยตัวในช่วงที่ผ่านมารวมถึงล่าสุดคือนายสุรชัย แซ่ด่าน เมื่อ 4 ตุลาคม 2556 และล่าสุดที่ถูกแจ้งความดำเนินคดีคือนายศรัณย์ ฉุยฉาย หรืออั้ม เนโกะ เขาถูกแจ้งความในข้อหาจงใจกระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เมื่อ 16 กันยายน 2556
อัยการตัวชี้ขาด
คดีหมิ่นสถาบันอัยการถือว่ามีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นโจทก์ว่าจะมีการยื่นฟ้องต่อศาลหรือไม่ รวมถึงการทำหน้าที่เป็นโจทก์ยื่นอุทธรณ์กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
“คดีลักษณะนี้จะมีอัยการมีบทบาทสำคัญ ทำหน้าที่พิจารณาว่าสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง และถ้ายื่นฟ้องก็จะทำหน้าที่อุทธรณ์ต่อกรณีมีการยกฟ้อง ที่ผ่านมาผู้ที่ถูกพิพากษามักจะยอมยุติแล้วยอมรับโทษ จากนั้นจึงทำคำขอพระราชทานอภัยโทษ ดังนั้นระยะเวลาในการต้องรับโทษส่วนใหญ่มักจะน้อยกว่าระยะเวลาที่ศาลพิพากษาไว้
ส่วนจำเลยที่ต้องการต่อสู้ทางคดีความหากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถต่อสู้ได้จนถึงศาลฎีกา ซึ่งคดีลักษณะนี้มักจะพิจารณาจากเจตนาของผู้ถูกกล่าวหาเป็นหลักว่ามีเจตนาหมิ่นสถาบันหรือไม่ เรื่องนี้คงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาลเป็นสำคัญ” นักกฎหมายรายหนึ่งกล่าว
นอกจากนี้จากการตรวจสอบผู้ที่ถูกกล่าวโทษในคดีดังกล่าว เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ถูกกล่าวหาบางรายอัยการสั่งไม่ฟ้อง ส่วนผู้ที่ถูกดำเนินคดีอยู่ได้รับโอกาสประกันตัวและขอพระราชทานอภัยโทษเป็นส่วนใหญ่ หลังพรรคเพื่อไทยกลับเข้ามาเป็นรัฐบาล และผู้ที่ถูกกล่าวหาหลายรายได้รับโอกาสจากพรรคเพื่อไทยกลับเข้าไปทำหน้าที่เป็น ส.ส. หรือเข้าร่วมเป็นข้าราชการการเมืองหรือรับตำแหน่งที่ปรึกษาให้กับบรรดารัฐมนตรีในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ยกตัวอย่าง ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล ตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และนายยศวริศ ชูกล่อม ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งหลายทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับคดีหมิ่น จึงอยู่ที่ดุลพินิจของศาลเป็นสำคัญ !
อารมณ์ของผู้คนที่รับทราบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา ในคดีที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 8 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หลังจากที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องไปเมื่อ 26 กันยายน 2555
การกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยศาลอุทธรณ์ จากยกฟ้องมาเป็นจำคุก 2 ปี นับว่าเป็นสิ่งที่ผิดคาดกับกลุ่มคนที่อยู่ในฝั่งรักสถาบันและปกป้องสถาบัน เพราะการต่อสู้ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ต่อขบวนการล้มเจ้าเกิดขึ้นเมื่อครั้งจัดรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ ทางช่อง 9 จนทำให้รายการนี้ต้องหลุดจากผังช่อง 9 จากนั้นก็ต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวต่อเนื่องมาจนมีการรวมตัวกันเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
อย่างไรก็ดีขบวนการโจมตีสถาบันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีมากขึ้น หลังเหตุการณ์ยึดอำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อ 19 กันยายน 2549 แม้จะมีรัฐบาลรักษาการอยู่ราว 1 ปี การคืนอำนาจให้ประชาชนมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคพลังประชาชนกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง การโจมตีสถาบันยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
คนรักสถาบันหวาด
โดยเฉพาะการเดินหน้าปราศรัยโจมตีสถาบันของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่บริเวณท้องสนามหลวง ปรากฏให้เห็นหลายครั้งหลายหน แต่หน่วยงานรัฐหรือตำรวจกลับเมินเฉยกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ต่อเมื่อนายสนธิ ลิ้มทองกุล เรียกร้องให้ตำรวจและรัฐบาลดำเนินการกับดา ตอร์ปิโด จึงกลายเป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าข่ายกระทำความผิดในคดีหมิ่นสถาบัน แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องแล้วก็ตาม แต่อัยการที่เป็นโจทย์ยังคงยื่นอุทธรณ์และผลการพิพากษาก็ออกมากลายเป็นจำคุก 2 ปี
แน่นอนว่าผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ออกมา นอกจากกระทบต่อความรู้สึกของกลุ่มคนที่รักษาสถาบันแล้ว ยังทำให้หลายคนหวาดหวั่นต่อการทำหน้าที่ปกป้องสถาบันที่อาจจะต้องกลายเป็นผู้ที่กระทำความผิดเสียเอง เหมือนอย่างเช่นนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่กล่าวไว้ว่า “ต่อไปคนไทยจะไม่กล้าออกมาเรียกร้องใดๆ เห็นคนพูดจาจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็จะนิ่งเฉยเพราะกลัวติดคุก เพราะขนาดสนธิมันยังติดคุกเลย”
คดีตัวอย่างของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่กระทำไปด้วยเจตนาปกป้องสถาบัน ได้เดินเข้าสู่ขั้นตอนของศาลฎีกา ดังนั้นจากนี้ไปกลุ่มคนที่รักสถาบันคงต้องรอผลการพิจารณาต่อไป
ส่วนคดีอื่นๆ ที่เข้าข่ายหมิ่นสถาบันนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายคดี บางคดีก็หลุดพ้นตั้งแต่อัยการสั่งไม่ฟ้อง บางคดี ได้ประกันตัวไปแล้ว บางคนถูกจำคุกไปแล้ว บางคนได้รับการอภัยโทษ บางคนหลบหนีไปต่างประเทศ และบางคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ซึ่งหากย้อนไปตรวจสอบจะพบว่าหลายคนเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนเสื้อแดงและหรือให้การสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่สำคัญบางคนได้เป็นใหญ่เป็นโตในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปแล้ว
อัยการสั่งไม่ฟ้องทักษิณ
สำหรับคดีที่เกี่ยวข้องกับฐานความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ต่อพระราชินี ต่อรัชทายาท หรือต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้จะเคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้หลายครั้ง แต่กลับพบการกระทำผิดอย่างต่อเนื่องและมากขึ้น ภายหลังมีการยึดอำนาจการบริหารประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อ 19 กันยายน 2549
ที่ผ่านมามีบุคคลสำคัญที่ถูกฟ้องในคดีหมิ่นสถาบัน แต่อัยการพิจารณาแล้วสั่งไม่ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2550 ด้วยกันหลายสำนวน
ในกรณีนี้ นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา กล่าวถึงการพิจารณาคดีหมิ่นสถาบัน ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตกเป็นผู้ต้องหา กรณีถูกร้องทุกข์กล่าวโทษกระทำผิดหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งพนักงานสอบสวนกองปราบปราม ส่งสำนวนให้อัยการพร้อมความเห็นสมควรไม่ฟ้องผู้ต้องหาใน 3 คดี ประกอบด้วย สำนวนคดีที่ 1 พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวกับคนขับแท็กซี่ที่อาคารอินดอร์สเตเดียม หัวหมาก เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2548 คดีที่ 2 พ.ต.ท.ทักษิณ พูดในรายการนายกฯ พบประชาชนผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 และคดีที่ 3 พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางเข้ากรุงเทพฯ แล้วมีกลุ่มคาราวานคนจนคอยต้อนรับ โดยใช้ธงเฉลิมพระเกียรติ และมีกระดาษข้อความว่า “เรารักทักษิณ” คาดศีรษะ
สองเหตุการณ์แรกนั้น เป็นถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ไม่สมควร ไม่เหมาะสม อาจหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก่อให้เกิดความแตกแยกและขัดแย้งขึ้นได้ ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงมิบังควรใช้ถ้อยคำดังกล่าวปราศรัย แต่ถ้อยคำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ดังกล่าว ยังไม่ถึงกับเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์
ส่วนการที่มีบุคคลนำธงเฉลิมพระเกียรติ และนำแผ่นป้ายกระดาษคาดศีรษะที่มีข้อความว่า “เรารักทักษิณ” มาแจกให้ประชาชนกลุ่มคาราวานคนจนใช้โบกต้อนรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ในการเดินทางกลับเข้า กทม.หลังจากได้มีการประกาศยุบสภาไปแล้วนั้น ก็ฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้ใช้ให้มีการกระทำดังกล่าว พยานหลักฐานจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหากระทำความผิด จึงสั่งไม่ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ต้องหาฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
อัยการไม่สั่งฟ้องจักรภพ
อีกหนึ่งบุคคลที่ถือว่าเป็นหนึ่งในแนวร่วมของคนเสื้อแดงและร่วมงานกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือนายจักรภพ เพ็ญแข คดีนี้เกิดขึ้นจากกรณีที่นายจักรภพกล่าวคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ เรื่องประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2550 โดยมีเนื้อหาการบรรยายที่เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยคดีดังกล่าวอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญามีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามข้อกล่าวหา เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2554
DSI ไม่สั่งฟ้องจตุพร
ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และพันตำรวจเอกประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ก็ออกมาชี้แจงถึงการยกฟ้องคดีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง ในคดีหมิ่นสถาบัน ระหว่างการปราศรัยบนเวทีของคนเสื้อแดง ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 นั้น โดยให้เหตุผลว่าหลังจากได้พิจารณารายละเอียด คำพูด ตั้งแต่ต้นจนจบทุกบริบทของนายจตุพร ของผู้เชี่ยวชาญ 3 ส่วน คือ นักภาษาศาสตร์ สื่อมวลชน และพยานกลาง ซึ่งก็คือประชาชน และเจ้าหน้าที่ ที่ล้วนแล้วเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง พบว่าคำปราศรัยตั้งแต่ต้นจนจบไม่ได้กล่าวหมิ่นสถาบันเบื้องสูง
หนี-จำคุก-ประกัน-อภัยโทษ
นอกจากนี้ยังมีคดีหมิ่นสถาบันโดยผู้กระทำผิดรายอื่นๆ อย่าง รศ.ดร.ใจ อึ๊งภากรณ์ 3 ตุลาคม 2549 จากคำให้สัมภาษณ์ที่ลงในหนังสือพิมพ์ เมื่อ 3 ตุลาคม 2549 ถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปัจจุบันหลบหนีคดีอยู่ในต่างประเทศ
นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง ไม่ยืนแสดงความเคารพระหว่างเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555 อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง
นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล (ดา ตอร์ปิโด) พูดบนเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 18 และ 19 กรกฎาคม 2551 อันเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 15 ปี เมื่อ 12 มิถุนายน 2556
นายก่อแก้ว พิกุลทอง กระทำการหมิ่นก้าวล่วงเกินพระมหากษัตริย์จากการกล่าวปราศรัยในงานชุมนุม “ความจริงวันนี้สัญจร” ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ 22 มีนาคม 2552 ถูกออกหมายจับ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปล่อยตัวชั่วคราวในเดือนพฤษภาคม 2556
นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ปราศรัยบนเวทีของกลุ่ม นปช. บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เมื่อ 29 มีนาคม 2553 ถูกศาลตัดสินจำคุก 2 ปี ขณะนี้ได้รับการประกันตัว
นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ กระทำความผิดในหลายครั้ง 21 กันยายน 2553, 29 ตุลาคม 2553 และ 17 ธันวาคม 2553 การหมิ่นก้าวล่วงเกินพระมหากษัตริย์ ศาลตัดสินจำคุก 12 ปี 6 เดือน ได้รับการอภัยโทษและได้รับการปล่อยตัวเมื่อ 4 ตุลาคม 2556
นายชูพงษ์ ถี่ถ้วน การหมิ่นก้าวล่วงเกินพระมหากษัตริย์โดยการปราศรัยและมีปรากฏในเว็บไซต์ยูทูบ ศาลได้ออกหมายจับแล้ว เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2554 อยู่ระหว่างหลบหนี
นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ ตามความผิดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หมายจับของศาลอาญา ที่ 131/2554 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ถูกตำรวจจับเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 ศาลอาญาชั้นต้นลงโทษจำคุกไม่รอลงอาญา 10 ปี ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556
นายชูชีพ ชีวสุทธิ์ การหมิ่นก้าวล่วงเกินพระมหากษัตริย์ โดยปราศรัยทางวิทยุชุมชน เว็บไซต์พันทิป และประชาไท ศาลออกหมายจับ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (3) และ (5) กับทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, มาตรา 116 และมาตรา 135/2 อยู่ระหว่างหลบหนี
นางสาวปภัสชนัญญ์ ฉิ่งอินทร์ เมื่อ 7 เมษายน 2552 ในกรณีเผาโลงศพ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ลงโทษจำคุก 3 ปี ที่มาของคดีกล่าวคือ นายสนธิ ลิ้มทองกุล พูดออกรายการโทรทัศน์ ใจความตอนหนึ่งว่าคนเสื้อเหลืองออกมาปกป้องพลเอกเปรมในฐานะที่พระองค์ท่านเป็นประธานองคมนตรี จึงทำให้นางสาวปภัสชนัญญ์ ฉิ่งอินทร์ นำเรื่องนี้มาล้อเลียนโดยเขียนที่ข้างโลงศพว่าพระองค์ท่าน พลเอกเปรม ต่อมามีการฟ้องร้อง เนื่องจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมองว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ศาลฎีกาสั่งจำคุก 3 ปีไม่รอลงอาญา 29 สิงหาคม 2556
ส่วนคนดังอย่างนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อยู่ในขั้นตอนของการดำเนินคดี และได้มีการเลื่อนคดีออกไป 11 พฤษภาคม 2554 คือ ดร.สมศักดิ์ นักวิชาการด้านผู้ที่นำเสนอประเด็นเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 รวมถึงการตั้งคำถามกับรายการประทานสัมภาษณ์ในรายการ “วู้ดดี้เกิดมาคุย” เมื่อต้นเดือนเมษายน 2554
นอกจากนี้ยังมีผู้ที่กระทำผิดในคดีดังกล่าวอีกหลายรายเช่น นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นายพันทิวา ภูมิประเทศ หรือทอม ดันดี นักร้องชื่อดัง ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล แกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 และอีกหลายคนที่ถูกดำเนินคดี หลายรายถูกดำเนินคดี จากนั้นได้มีการดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษ ทำให้หลายรายได้รับการปล่อยตัวในช่วงที่ผ่านมารวมถึงล่าสุดคือนายสุรชัย แซ่ด่าน เมื่อ 4 ตุลาคม 2556 และล่าสุดที่ถูกแจ้งความดำเนินคดีคือนายศรัณย์ ฉุยฉาย หรืออั้ม เนโกะ เขาถูกแจ้งความในข้อหาจงใจกระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เมื่อ 16 กันยายน 2556
อัยการตัวชี้ขาด
คดีหมิ่นสถาบันอัยการถือว่ามีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นโจทก์ว่าจะมีการยื่นฟ้องต่อศาลหรือไม่ รวมถึงการทำหน้าที่เป็นโจทก์ยื่นอุทธรณ์กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
“คดีลักษณะนี้จะมีอัยการมีบทบาทสำคัญ ทำหน้าที่พิจารณาว่าสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง และถ้ายื่นฟ้องก็จะทำหน้าที่อุทธรณ์ต่อกรณีมีการยกฟ้อง ที่ผ่านมาผู้ที่ถูกพิพากษามักจะยอมยุติแล้วยอมรับโทษ จากนั้นจึงทำคำขอพระราชทานอภัยโทษ ดังนั้นระยะเวลาในการต้องรับโทษส่วนใหญ่มักจะน้อยกว่าระยะเวลาที่ศาลพิพากษาไว้
ส่วนจำเลยที่ต้องการต่อสู้ทางคดีความหากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถต่อสู้ได้จนถึงศาลฎีกา ซึ่งคดีลักษณะนี้มักจะพิจารณาจากเจตนาของผู้ถูกกล่าวหาเป็นหลักว่ามีเจตนาหมิ่นสถาบันหรือไม่ เรื่องนี้คงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาลเป็นสำคัญ” นักกฎหมายรายหนึ่งกล่าว
นอกจากนี้จากการตรวจสอบผู้ที่ถูกกล่าวโทษในคดีดังกล่าว เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ถูกกล่าวหาบางรายอัยการสั่งไม่ฟ้อง ส่วนผู้ที่ถูกดำเนินคดีอยู่ได้รับโอกาสประกันตัวและขอพระราชทานอภัยโทษเป็นส่วนใหญ่ หลังพรรคเพื่อไทยกลับเข้ามาเป็นรัฐบาล และผู้ที่ถูกกล่าวหาหลายรายได้รับโอกาสจากพรรคเพื่อไทยกลับเข้าไปทำหน้าที่เป็น ส.ส. หรือเข้าร่วมเป็นข้าราชการการเมืองหรือรับตำแหน่งที่ปรึกษาให้กับบรรดารัฐมนตรีในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ยกตัวอย่าง ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล ตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และนายยศวริศ ชูกล่อม ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งหลายทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับคดีหมิ่น จึงอยู่ที่ดุลพินิจของศาลเป็นสำคัญ !