ไฮไลต์สำคัญที่หลายฝ่ายเฝ้าจับตาในโอกาสมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่องหนึ่งก็คือ การจัดแถลงข่าวร่วมระหว่างผู้นำไทย-สหรัฐฯ ท่ามกลางกองทัพสื่อมวลชนทั้งไทยและเทศ ซึ่งในที่สุดก็ได้เห็น “ทีมงานยิ่งลักษณ์” การจัดฉาก ปิดปากสื่อที่ไม่ใช่ “ขี้ข้ารัฐบาล” ดังคาดจริงๆ
ทางฝั่งโอบามานั้นเขารู้งาน และสื่อที่ตามทำข่าวผู้นำของโลกก็ไม่ได้ตั้งคำถามอวยเพื่อเอาใจแต่อย่างใด แต่สำหรับฝั่งไทยนั้นมีการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของสื่อเต็มรูปแบบ ทั้งเลือกค่ายสื่อที่มีความสัมพันธ์พิเศษ ทั้งเซ็นเซอร์คำถามแทงใจ ทั้งชงคำถามเพื่อเอาอกเอาใจผู้นำ
เริ่มแรกงานนี้ฝ่ายรัฐบาลก็ทำท่าตระเตรียมล่วงหน้าอย่างดี แต่ถึงนาทีสุดท้าย รัฐบาลกลับใช้อำนาจชี้เอาสื่อเฉดแดงชงคำถามทำลายคู่แข่งทางการเมือง อุ้มนักโทษเสื้อแดง กีดกันคำถามแทงใจดำ อย่างเช่นเรื่องคาใจประชาชนที่ว่าทำไมสหรัฐฯ ให้วีซ่า นช.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นักโทษหนีคดีอาญาของไทย ขณะที่คำถามเกี่ยวกับความตกลงทางเศรษฐกิจ (TPP) ที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นความตายของประชาชนทั้งประเทศ ก็ตั้งคำถามในท่วงทำนองที่ต้องการให้ตรงกับคำตอบที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ตระเตรียมไว้แล้ว
หนำซ้ำสื่อเฉดแดงที่ถูกเลือกยังออกมาโวโชว์ปมเขื่องเพราะมีนักข่าวหน้าตาละม้ายคล้ายฝรั่ง ภาษาอังกฤษชัดแจ๋ว สำเนียงราวฝรั่งขนานแท้ และ “ธีรนัย จารุวัสตร์” ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ข่าวสด ที่ได้รับเลือกยังโม้ว่า เป็นเพราะทีมงานรัฐบาลเชื่อในคำหว่านล้อมของตัวเอง จึงถูกเลือกให้ตัวแทนสื่อไทยตั้งคำถามต่อผู้นำประเทศทั้งสอง
คำอวดโอ่ข้างต้นเพื่อชวนให้เชื่อว่านี่เป็นความสามารถโดยแท้ ไม่ได้มีความสัมพันธ์พิเศษใดๆ ระหว่างทีมรัฐบาลกับสื่อค่ายมติชน และไม่ได้มี “ความผิดปกติ” ใดๆ เกิดขึ้นนั้นช่างเป็นเรื่องที่เชื่อได้ยากเสียจริง เพราะนักข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์มีเป็นกองทัพ หนำซ้ำไม่มีใครหูหนวก ตาบอด ใบ้ คำอวดโอ่ของสื่อค่ายประชาชื่นจึงเป็นคนละเวอร์ชันกับความจริงที่เกิดขึ้น ความ “ผิดปกติ” ผิดธรรมเนียมปฏิบัติในการทำข่าวการมาเยือนของผู้นำต่างประเทศที่เกิดขึ้น ทีมงานของยิ่งลักษณ์ก็รู้อยู่แก่ใจดี
การจัดฉาก ปิดปากสื่อ แรกเริ่มทีเดียวก่อนหน้าที่นายโอบามาจะมาเยือนหลายสัปดาห์ ทางสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีไทยก็มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าอย่างรัดกุม โดยสัปดาห์ก่อนหน้ามีการออกประกาศถึงสื่อมวลชนทุกสำนัก ระบุว่าให้สื่อมวลชนทุกสังกัดส่งชื่อล่วงหน้า โดยจำกัดสังกัดละไม่เกิน 2 คน โดยให้ลงชื่อ ณ ห้องสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ภายในวันพฤหัสบดีที่ 15 พ.ย. 2555
เบื้องหน้า นอกจากการลงทะเบียนสื่อมวลชนล่วงหน้าซึ่งถือเป็นเรื่องปกติกรณีที่รัฐบาลมีแขกพิเศษแล้ว เบื้องหลัง ทางสำนักโฆษกยังระบุข้อจำกัดด้วยว่า ในการแถลงข่าวร่วมระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์กับนายโอบามา หลังเวลา 19.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. จะจำกัดคำถามให้สื่อถามได้ไม่เกิน 4 คำถาม โดยแบ่งเป็น 2 คำถามจากสื่อไทย และ 2 คำถามจากสื่อฝรั่ง
ทางสำนักโฆษกฯ ยังบอกกับนักข่าวทำเนียบฯ ด้วยว่า ขอให้ส่งคำถามล่วงหน้าเป็นภาษาอังกฤษ และให้ส่งภายในวันศุกร์ที่ 16 พ.ย. 2555 โดยในฝั่งสื่อไทยเมื่อถึงวันหากมีคำถามมากกว่า 2 คำถามจะมีการดำเนินการจับสลากให้สื่อมวลชนที่ส่งคำถามล่วงหน้าได้มีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน
จากคำสั่งดังกล่าวของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 14 พ.ย. 2555 สื่อในเครือ ASTVผู้จัดการ จึงเปิดให้ผู้อ่านส่งคำถามที่ตนต้องการถามโอบามาผ่านทางเว็บไซต์ ASTVผู้จัดการ ดังหัวข้อข่าวที่ว่า วันที่ 18 พ.ย. คุณอยากจะถามอะไร “โอบามา”? ซึ่งผลปรากฏว่าจากผู้อ่านมากกว่าเจ็ดพันกว่าคน ผู้คนส่วนใหญ่สนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ต้องโทษคดีอาญาแต่หลบหนีคำพิพากษาศาลฎีกา กับสหรัฐฯ ที่เคยปฏิเสธไม่ออกวีซ่าให้ แต่กลับลำมาออกวีซ่าให้เมื่อไม่นานมานี้
ประกอบกับการที่ในช่วงต้นเดือน พ.ย. 2555 พ.ต.ท.ทักษิณได้เข้าพบนายเต็งเส่ง ประธานาธิบดีพม่า ก่อนที่นายโอบามาจะไปเยือนพม่าครั้งประวัติศาสตร์ ไม่นับรวมกับความสนิทชิดเชื้อของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับนายฮุนเซน ผู้นำกัมพูชา ซึ่งนายโอบามาก็มีกำหนดจะเดินทางไปร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่พนมเปญ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้หรือไม่?
วันพฤหัสบดีที่ 15 พ.ย. 2555 ทางกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ จึงส่งคำถามเข้าไปตามระเบียบ โดยคำถามระบุว่า “Does Mr.Thaksin Shinawatra, former Thai Prime minister and brother of Mrs.Yingluck has any role or involvement in any US interest in Thailand, SE Asia or the region?” หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย และพี่ชายของ นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีบทบาท หรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ กับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือภูมิภาคนี้หรือไม่?”
หลังจากนั้น จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและเพื่อนๆ สื่อมวลชน พบว่า เมื่อถึงวันศุกร์ที่ 16 พ.ย. 2555 มีสื่อมวลชนไทยเพียง 3 สำนักเท่านั้นที่ส่งคำถามไปล่วงหน้า คือ ไทยทีวีสีช่อง 3, ไทยพีบีเอส และเครือหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ
ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. 2555 หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ จึงได้ส่งบุคลากรระดับบรรณาธิการเข้าไปร่วมสังเกตการณ์กับผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้มั่นใจว่าหากมีการจับสลากแล้วคำถามของ ASTVผู้จัดการที่ส่งไปล่วงหน้า โดยกลั่นกรองจากความเห็นของประชาชนจำนวนมากจะไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ
อย่างไรก็ตาม ช่วงหัวค่ำของวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. 2555 ก่อนการแถลงข่าวร่วมระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์กับนายโอบามา ที่จะเริ่มขึ้น ณ เวลาประมาณ 19.00 น. ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีกลับระบุให้มีการเขียนคำถามอีกครั้ง โดยย้ำว่าให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ทว่ากลับไม่ได้บอกว่าจะมีการจับสลาก แต่จะให้ตกลงกันเอง โดยระบุเพียงว่าจะให้แบ่งโควตาให้สื่อโทรทัศน์ไทยถาม 1 คำถาม และสื่อหนังสือพิมพ์ถาม 1 คำถาม
ทั้งนี้ เมื่อทีมงานหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการเขียนคำถามส่งไปอีกครั้ง เจ้าหน้าที่ซึ่งมีท่าทีลำบากใจ จึงพูดออกมาด้วยความอึดอัดว่า “น้องอยากให้พี่ทำงานตรงนี้ไปอีกนานแค่ไหน?”
ว่าแล้ว “เจ๊...” ที่นักข่าวใช้เป็นคำเรียกขานเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีผู้ที่มาติดต่อประสานงานก็หายไปพักใหญ่ เพื่อให้สื่อไทยจัดการตกลงกันเองให้เรียบร้อย ซึ่งเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติปกติในการทำข่าวผู้นำต่างประเทศที่นักข่าวจะตกลงกันเองว่าจะให้ใครเป็นตัวแทนตั้งคำถาม โดยหากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ตัวแทนสื่อที่ถูกเลือกมักจะเป็นนักข่าวอาวุโสสายต่างประเทศจาก 2 ค่ายหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษไม่บางกอกโพสต์ก็เนชั่น เพราะมีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และสื่อค่ายอื่นในวงการก็ยกให้ เพราะส่วนใหญ่แล้วนักข่าวต่างประเทศสำนักข่าวอื่นๆ จะเน้นงานแปล ทำงานอยู่ในสำนักงานเป็นหลักไม่ค่อยออกทำข่าวภาคสนาม และส่วนใหญ่มักเป็นผู้อาวุโสมีบุคลิกแบบโลว์โปรไฟล์ ผิดกับนักข่าวรุ่นใหม่บางคนที่ชอบพรีเซ็นต์ตัวเอง อยากจะเป็นเซเลบ
เมื่อไม่มีการจับสลากตามเงื่อนไขที่ประกาศไปแต่แรก และเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีให้ตกลงกันเอง กลุ่มผู้สื่อข่าวไทยที่ไปทำข่าวในทำเนียบฯ วันนั้น กลุ่มนักข่าวได้ตกลงเลือกนักข่าวจากบางกอกโพสต์เป็นตัวแทนสื่อสิ่งพิมพ์ของไทยที่จะตั้งคำถาม แม้จะอ่อนอาวุโสแต่นักข่าวรุ่นพี่ก็อยากเปิดให้รุ่นน้องได้มีโอกาสทำหน้าที่ ซึ่งเรื่องตัวแทนของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ตกลงกันเองได้แล้วก็น่าจะจบแค่นั้น ก่อนจะมาถึงขั้นต่อไปว่าตกลงจะถามเรื่องอะไรกันบ้าง ส่วนฝั่งโทรทัศน์นั้นมี 2 ค่ายเป็นคู่ชิง คือ ไทยพีบีเอส กับช่อง 9 อสมท แต่ช่อง 9 ก็ยอมถอยด้วยเหตุผลที่เป็นสื่อของรัฐอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม เรื่องไม่ได้จบลงอย่างที่เป็นตามธรรมเนียมปฏิบัติ เนื่องจาก “เจ๊...” ผู้ประสานงานจากทีมรัฐบาล เธอกลับมาอีกครั้ง แล้วถามหา “นักข่าวมติชน” เหมือนเป็นการเฉพาะเจาะจงลงไปว่าจะเอานักข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เป็นตัวแทนสื่อสิ่งพิมพ์ของไทยในการตั้งคำถาม แค่นั้นแหละความโกลาหลก็เกิดขึ้นพร้อมกับความไม่พอใจ เพราะเป็นการเลือกปฏิบัติ ใช้อำนาจของรัฐชี้เอาว่าจะเอาใคร ไม่เอาใคร ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ในแวดวงการทำงานของสื่อ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีการตั้งข้อสังเกตกันในทันทีว่า อาจจะเป็นใบสั่งจากผู้ใหญ่ผ่านมาทางนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เพราะใครๆ ก็รู้ว่าสื่อค่ายนี้เอียงกระเท่เร่เข้าข้างรัฐบาลขนาดไหน
ท่าทีของทีมงานรัฐบาลที่กลับไปกลับมาไม่อยู่กับร่องกับรอยนั้น นักข่าวอาวุโสที่อยู่ในเหตุการณ์ในวันแถลงข่าวดังกล่าวมองว่า เหมือนกับผู้ใหญ่ค่ายสื่อประชาชื่นกับผู้ใหญ่ในรัฐบาลตกลงกันไว้แล้ว และพวกเรานักข่าวก็รู้ก่อนที่จะเข้าห้องแถลงข่าวแล้วว่ารัฐบาลเลือกนักข่าวจากค่ายมติชนเป็นตัวแทนสื่อสิ่งพิมพ์ จะมีก็แต่ “ธีรนัย จารุวัสตร์” ที่ไม่รู้ตัวเอง โดยเขาเล่าเรื่องผ่าน “ข่าวสด” ฉบับตีพิมพ์วันที่ 20 พ.ย. 2555 ว่า
“ต่อมาเมื่อสื่อมวลชนทั้งหมดเข้านั่งประจำที่ในห้องแถลงข่าวแล้ว เจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาลเดินมาแจ้งให้ทุกคนทราบว่ายังไม่ได้เลือกว่าจะให้นักข่าวของไทยสำนักไหนบ้างยิงคำถาม และถามว่าผู้สื่อข่าวคนใดบ้างที่เตรียมคำถามมาแล้ว จึงปรึกษากับผู้สื่อข่าวในเครือเดียวกัน คือจากมติชนและประชาชาติ พบว่าคำถามมีลักษณะคล้ายกัน จึงตกลงกันว่าให้ถามรวบเป็นคำถามเดียวกันไปเลยในฐานะเครือมติชน เมื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบแล้วว่ามติชน-ข่าวสด-ประชาชาติ มีคำถามเตรียมมาแล้ว โดยพยายามอธิบายให้เขาเข้าใจว่าเครือมติชนเท่ากับหนังสือพิมพ์ถึง 3 ฉบับ ยังไม่นับนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์และนิตยสารอื่นๆ อีก เจ้าหน้าที่คงฟังแล้วเห็นคล้อยกับคำหว่านล้อมของผม จึงตกลงให้นักข่าวจากเครือมติชนถามได้ เพราะมองว่าเป็นตัวแทนสื่อหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยที่เป็นภาษาไทย และให้ผู้สื่อข่าวจากไทยพีบีเอสถามคำถามด้วย เพราะมองว่าเป็นตัวแทนสื่อในประเทศไทย”
เมื่อฝ่ายรัฐบาลใช้อำนาจเลือกสื่อที่ถูกใจแล้ว มาถึงการตั้งประเด็นคำถาม ตามธรรมเนียมปฏิบัติจะดูว่าสื่อฉบับไหนจะถามประเด็นอะไร และตั้งประเด็นให้ครอบคลุมเรื่องที่เพื่อนสื่อแต่ละสำนักฝากถามให้ได้มากที่สุด เพราะในคำถามหนึ่งๆ สามารถมีคำถามย่อยอยู่ในคำถามเดียวกันได้ ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนสื่อตั้งคำถามต้องรู้บทบาทว่าตนเองทำหน้าที่เป็นตัวแทนสื่อไทย ไม่ใช่แค่ค่ายสื่อที่ตัวเองสังกัดเท่านั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับการทำหน้าที่ของ “ธีรนัย จารุวัสตร์” มือใหม่หัดขับที่ค่ายมติชน-ข่าวสด ภูมิใจเสนอนั้น กลับเอาแต่เรื่องที่ค่ายสื่อของตนเองและเป็นคำถามที่รัฐบาลต้องการทำลายคู่แข่งทางการเมืองเป็นสำคัญ
คำถามเรื่องการประกาศการเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) และการรื้อฟื้นการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (TIFA JC) ที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนและมีการเคลื่อนไหวคัดค้านไม่เห็นด้วยจากสังคม ได้รับการปฏิเสธไม่ถามให้ ด้วยเหตุผลที่ธีรนัยอ้างว่า ประเด็นไม่เข้ากันกับเรื่องที่ตัวเองจะถาม
ต่อมาเมื่อถึงเวลาแถลงข่าวร่วมจริงก็ปรากฏชัดว่า สื่อมวลชนไทย 2 สำนักที่ได้ถามคำถาม คือ น.ส.ณัฐฐา โกมลวาทิน ตัวแทนจากไทยพีบีเอส กับ ธีรนัย จารุวัสตร์ เด็กหนุ่มสื่อมวลชนจากค่ายมติชน-ข่าวสด ซึ่งไม่ได้ส่งคำถามมาล่วงหน้า
และเหตุที่ทีมงานรัฐบาลไม่ได้เลือกนักข่าวมติชน แต่เป็นธีรนัยจากข่าวสดแทน คงเป็นเพราะธีรนัยนั้น “ภาษาอังกฤษอันชัดแจ๋ว สำเนียงราวฝรั่งขนานแท้ แถมใบหน้ายังละม้ายคล้ายชาวตะวันตกอีกด้วย” อย่างที่ข่าวสดโฆษณาสรรพคุณ ซึ่งจะว่าไป ค่ายที่อ้างว่าเป็นสื่อคุณภาพของประเทศนี้มีปมด้อยเรื่องภาษาอังกฤษมาโดยตลอดนับแต่ก่อเกิดก็ว่าได้
งานนี้ค่ายมติชน-ข่าวสดจึงถือโอกาสลบปมด้อยสร้างปมเขื่อง และแจ้งเกิดให้นักข่าวหนุ่มรุ่นใหม่ที่ต้องโชว์ออฟในยุคสื่อแข่งขันสูง ดังคำอวดโอ่จากเจ้าตัวที่เล่าว่า “เมื่อเจ้าหน้าที่จากทำเนียบรัฐบาลติดต่อมาว่าให้หนังสือพิมพ์ข่าวสดเตรียมผู้สื่อข่าว 1 คน และช่างภาพ 1 คนสำหรับรายงานข่าวการแถลงข่าวร่วมนั้น กองบรรณาธิการเลือกผม นายธีรนัย จารุวัสตร์ ให้ทำหน้าที่นี้ เนื่องจากติดตามสถานการณ์ต่างประเทศและในประเทศอย่างดีและต่อเนื่อง ประกอบกับเคยทำข่าวภาคสนามสำคัญมาก่อน เช่น การเยือนประเทศไทยของนางอองซาน ซูจี และที่ได้เปรียบนักข่าวคนอื่นนิดหน่อยก็ตรงที่ผมพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง”
จากการสอบถามสื่อมวลชนในทำเนียบฯ ได้รับการยืนยันว่า หนุ่มนักข่าวจากค่ายประชาชื่นผู้นี้ปกติไม่ได้มาทำข่าวในทำเนียบฯ เป็นประจำ ขณะที่เจ้าตัวเมื่อถูกพี่ๆ สื่อมวลชนทำเนียบฯ ซักหนักเข้าก็สารภาพว่า ตัวเองปกติแปลข่าวต่างประเทศอยู่ในสำนักงาน แต่งานนี้เนื่องจากพูดภาษาอังกฤษได้คล่องจึงได้รับมอบหมายจากบรรณาธิการให้มาถามคำถามโอบามาและยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์ประชาธิปไตยในประเทศไทย, การหาผู้รับผิดชอบจากเหตุการณ์ผู้เสียชีวิตระหว่างการเผาเมืองโดยกลุ่มคนเสื้อแดงในปี 2553 นักโทษการเมืองที่ (ผู้สื่อข่าวข่าวสดอ้างว่า) ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และถามเอาใจโอบามาว่าอาหารไทยจานไหนที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ?
ภายใต้มีเงื่อนไขที่ให้สื่อเทศและสื่อไทยถามผู้นำทั้งสองได้ฝั่งละ 2 คำถามเท่านั้น สื่อต่างประเทศ คือ วอชิงตันโพสต์ ก็กลั่นกรองเลือกถามเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญที่สุดโดยไม่รีรอที่จะยิงคำถามแรงๆ ถามตรงๆ กับผู้นำของเขาว่า “มีผู้ทักท้วงว่าการไปเยือนพม่าครั้งนี้ของนายโอบามา จะไม่เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลทหารพม่าหรือ?”
แต่สำหรับคำถามจากตัวแทนนักข่าวไทย กลับใช้โอกาสนี้ตั้งคำถามทำลายคู่แข่งทางการเมืองของรัฐบาลหนึ่ง และอีกหนึ่งคำถามที่หน่อมแน้มเอามากๆ “อาหารไทยจานไหนที่โอบามาชื่นชอบเป็นพิเศษ? ช่างน่าอับอายกึ๋นนักข่าวไทยเสียเหลือเกิน ซึ่งนั่นอาจเป็นเจตนาของทีมงานรัฐบาล เพื่อว่าจะได้เป็นภาพที่ออกไปในทิศทางเดียวกับระดับมันสมองของผู้นำประเทศไทยก็เป็นได้ เพราะหากกลับไปดูกระบวนการคัดเลือกตัวแทนสื่อไทยของทีมงานรัฐบาลก็จะเห็นว่า แหกประเพณีธรรมเนียมปฏิบัติ เพื่อคัดสรรเลือกเฟ้นให้ได้ตัวแทนนักข่าวคุณภาพระดับเดียวกับผู้นำโดยแท้
ขณะที่คำถามจากตัวแทนสื่อโทรทัศน์ น.ส.ณัฐฐา โกมลวาทิน ตัวแทนจากไทยพีบีเอส ที่แม้จะตั้งคำถามเรื่อง TPP แต่ก็ไม่ถามในประเด็นสำคัญเรื่องข้อห่วงใยในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ แต่กลับถามชงว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจากการเข้าร่วม TPP เพื่อให้ตรงกับคำตอบที่ผู้นำไทยเตรียมไว้ตอบเพื่อเอาใจผู้นำสหรัฐฯ
แน่นอน ไม่มีคำถามสำคัญที่ประชาชนอยากรู้เกี่ยวกับการให้วีซ่าทักษิณของสหรัฐฯ และการมาเยือนภูมิภาคนี้ของโอบามานั้น พ.ต.ท.ทักษิณ พี่ชายของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย มีบทบาทหรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ กับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือภูมิภาคนี้หรือไม่? ที่ทาง ASTVผู้จัดการ ส่งไปล่วงหน้าตามระเบียบที่กำหนดของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เหตุการณ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. 2555 เป็นภาพสะท้อนชั้นดีของ “สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย” ในระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ฉกฉวยโอกาสทำลายคู่แข่ง ตลบตะแลงกำหนดเงื่อนไขอย่างแต่ทำอีกอย่าง น่าแปลกประหลาด น่าตลกขบขัน และน่าอับอายขายขี้หน้าในสติปัญญาของทั้งผู้นำและตัวแทนสื่อไทยที่อวดอ้างว่ามีกึ๋นแบบนักข่าวมืออาชีพ
ทางฝั่งโอบามานั้นเขารู้งาน และสื่อที่ตามทำข่าวผู้นำของโลกก็ไม่ได้ตั้งคำถามอวยเพื่อเอาใจแต่อย่างใด แต่สำหรับฝั่งไทยนั้นมีการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของสื่อเต็มรูปแบบ ทั้งเลือกค่ายสื่อที่มีความสัมพันธ์พิเศษ ทั้งเซ็นเซอร์คำถามแทงใจ ทั้งชงคำถามเพื่อเอาอกเอาใจผู้นำ
เริ่มแรกงานนี้ฝ่ายรัฐบาลก็ทำท่าตระเตรียมล่วงหน้าอย่างดี แต่ถึงนาทีสุดท้าย รัฐบาลกลับใช้อำนาจชี้เอาสื่อเฉดแดงชงคำถามทำลายคู่แข่งทางการเมือง อุ้มนักโทษเสื้อแดง กีดกันคำถามแทงใจดำ อย่างเช่นเรื่องคาใจประชาชนที่ว่าทำไมสหรัฐฯ ให้วีซ่า นช.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นักโทษหนีคดีอาญาของไทย ขณะที่คำถามเกี่ยวกับความตกลงทางเศรษฐกิจ (TPP) ที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นความตายของประชาชนทั้งประเทศ ก็ตั้งคำถามในท่วงทำนองที่ต้องการให้ตรงกับคำตอบที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ตระเตรียมไว้แล้ว
หนำซ้ำสื่อเฉดแดงที่ถูกเลือกยังออกมาโวโชว์ปมเขื่องเพราะมีนักข่าวหน้าตาละม้ายคล้ายฝรั่ง ภาษาอังกฤษชัดแจ๋ว สำเนียงราวฝรั่งขนานแท้ และ “ธีรนัย จารุวัสตร์” ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ข่าวสด ที่ได้รับเลือกยังโม้ว่า เป็นเพราะทีมงานรัฐบาลเชื่อในคำหว่านล้อมของตัวเอง จึงถูกเลือกให้ตัวแทนสื่อไทยตั้งคำถามต่อผู้นำประเทศทั้งสอง
คำอวดโอ่ข้างต้นเพื่อชวนให้เชื่อว่านี่เป็นความสามารถโดยแท้ ไม่ได้มีความสัมพันธ์พิเศษใดๆ ระหว่างทีมรัฐบาลกับสื่อค่ายมติชน และไม่ได้มี “ความผิดปกติ” ใดๆ เกิดขึ้นนั้นช่างเป็นเรื่องที่เชื่อได้ยากเสียจริง เพราะนักข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์มีเป็นกองทัพ หนำซ้ำไม่มีใครหูหนวก ตาบอด ใบ้ คำอวดโอ่ของสื่อค่ายประชาชื่นจึงเป็นคนละเวอร์ชันกับความจริงที่เกิดขึ้น ความ “ผิดปกติ” ผิดธรรมเนียมปฏิบัติในการทำข่าวการมาเยือนของผู้นำต่างประเทศที่เกิดขึ้น ทีมงานของยิ่งลักษณ์ก็รู้อยู่แก่ใจดี
การจัดฉาก ปิดปากสื่อ แรกเริ่มทีเดียวก่อนหน้าที่นายโอบามาจะมาเยือนหลายสัปดาห์ ทางสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีไทยก็มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าอย่างรัดกุม โดยสัปดาห์ก่อนหน้ามีการออกประกาศถึงสื่อมวลชนทุกสำนัก ระบุว่าให้สื่อมวลชนทุกสังกัดส่งชื่อล่วงหน้า โดยจำกัดสังกัดละไม่เกิน 2 คน โดยให้ลงชื่อ ณ ห้องสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ภายในวันพฤหัสบดีที่ 15 พ.ย. 2555
เบื้องหน้า นอกจากการลงทะเบียนสื่อมวลชนล่วงหน้าซึ่งถือเป็นเรื่องปกติกรณีที่รัฐบาลมีแขกพิเศษแล้ว เบื้องหลัง ทางสำนักโฆษกยังระบุข้อจำกัดด้วยว่า ในการแถลงข่าวร่วมระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์กับนายโอบามา หลังเวลา 19.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. จะจำกัดคำถามให้สื่อถามได้ไม่เกิน 4 คำถาม โดยแบ่งเป็น 2 คำถามจากสื่อไทย และ 2 คำถามจากสื่อฝรั่ง
ทางสำนักโฆษกฯ ยังบอกกับนักข่าวทำเนียบฯ ด้วยว่า ขอให้ส่งคำถามล่วงหน้าเป็นภาษาอังกฤษ และให้ส่งภายในวันศุกร์ที่ 16 พ.ย. 2555 โดยในฝั่งสื่อไทยเมื่อถึงวันหากมีคำถามมากกว่า 2 คำถามจะมีการดำเนินการจับสลากให้สื่อมวลชนที่ส่งคำถามล่วงหน้าได้มีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน
จากคำสั่งดังกล่าวของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 14 พ.ย. 2555 สื่อในเครือ ASTVผู้จัดการ จึงเปิดให้ผู้อ่านส่งคำถามที่ตนต้องการถามโอบามาผ่านทางเว็บไซต์ ASTVผู้จัดการ ดังหัวข้อข่าวที่ว่า วันที่ 18 พ.ย. คุณอยากจะถามอะไร “โอบามา”? ซึ่งผลปรากฏว่าจากผู้อ่านมากกว่าเจ็ดพันกว่าคน ผู้คนส่วนใหญ่สนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ต้องโทษคดีอาญาแต่หลบหนีคำพิพากษาศาลฎีกา กับสหรัฐฯ ที่เคยปฏิเสธไม่ออกวีซ่าให้ แต่กลับลำมาออกวีซ่าให้เมื่อไม่นานมานี้
ประกอบกับการที่ในช่วงต้นเดือน พ.ย. 2555 พ.ต.ท.ทักษิณได้เข้าพบนายเต็งเส่ง ประธานาธิบดีพม่า ก่อนที่นายโอบามาจะไปเยือนพม่าครั้งประวัติศาสตร์ ไม่นับรวมกับความสนิทชิดเชื้อของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับนายฮุนเซน ผู้นำกัมพูชา ซึ่งนายโอบามาก็มีกำหนดจะเดินทางไปร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่พนมเปญ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้หรือไม่?
วันพฤหัสบดีที่ 15 พ.ย. 2555 ทางกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ จึงส่งคำถามเข้าไปตามระเบียบ โดยคำถามระบุว่า “Does Mr.Thaksin Shinawatra, former Thai Prime minister and brother of Mrs.Yingluck has any role or involvement in any US interest in Thailand, SE Asia or the region?” หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย และพี่ชายของ นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีบทบาท หรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ กับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือภูมิภาคนี้หรือไม่?”
หลังจากนั้น จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและเพื่อนๆ สื่อมวลชน พบว่า เมื่อถึงวันศุกร์ที่ 16 พ.ย. 2555 มีสื่อมวลชนไทยเพียง 3 สำนักเท่านั้นที่ส่งคำถามไปล่วงหน้า คือ ไทยทีวีสีช่อง 3, ไทยพีบีเอส และเครือหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ
ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. 2555 หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ จึงได้ส่งบุคลากรระดับบรรณาธิการเข้าไปร่วมสังเกตการณ์กับผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้มั่นใจว่าหากมีการจับสลากแล้วคำถามของ ASTVผู้จัดการที่ส่งไปล่วงหน้า โดยกลั่นกรองจากความเห็นของประชาชนจำนวนมากจะไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ
อย่างไรก็ตาม ช่วงหัวค่ำของวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. 2555 ก่อนการแถลงข่าวร่วมระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์กับนายโอบามา ที่จะเริ่มขึ้น ณ เวลาประมาณ 19.00 น. ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีกลับระบุให้มีการเขียนคำถามอีกครั้ง โดยย้ำว่าให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ทว่ากลับไม่ได้บอกว่าจะมีการจับสลาก แต่จะให้ตกลงกันเอง โดยระบุเพียงว่าจะให้แบ่งโควตาให้สื่อโทรทัศน์ไทยถาม 1 คำถาม และสื่อหนังสือพิมพ์ถาม 1 คำถาม
ทั้งนี้ เมื่อทีมงานหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการเขียนคำถามส่งไปอีกครั้ง เจ้าหน้าที่ซึ่งมีท่าทีลำบากใจ จึงพูดออกมาด้วยความอึดอัดว่า “น้องอยากให้พี่ทำงานตรงนี้ไปอีกนานแค่ไหน?”
ว่าแล้ว “เจ๊...” ที่นักข่าวใช้เป็นคำเรียกขานเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีผู้ที่มาติดต่อประสานงานก็หายไปพักใหญ่ เพื่อให้สื่อไทยจัดการตกลงกันเองให้เรียบร้อย ซึ่งเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติปกติในการทำข่าวผู้นำต่างประเทศที่นักข่าวจะตกลงกันเองว่าจะให้ใครเป็นตัวแทนตั้งคำถาม โดยหากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ตัวแทนสื่อที่ถูกเลือกมักจะเป็นนักข่าวอาวุโสสายต่างประเทศจาก 2 ค่ายหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษไม่บางกอกโพสต์ก็เนชั่น เพราะมีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และสื่อค่ายอื่นในวงการก็ยกให้ เพราะส่วนใหญ่แล้วนักข่าวต่างประเทศสำนักข่าวอื่นๆ จะเน้นงานแปล ทำงานอยู่ในสำนักงานเป็นหลักไม่ค่อยออกทำข่าวภาคสนาม และส่วนใหญ่มักเป็นผู้อาวุโสมีบุคลิกแบบโลว์โปรไฟล์ ผิดกับนักข่าวรุ่นใหม่บางคนที่ชอบพรีเซ็นต์ตัวเอง อยากจะเป็นเซเลบ
เมื่อไม่มีการจับสลากตามเงื่อนไขที่ประกาศไปแต่แรก และเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีให้ตกลงกันเอง กลุ่มผู้สื่อข่าวไทยที่ไปทำข่าวในทำเนียบฯ วันนั้น กลุ่มนักข่าวได้ตกลงเลือกนักข่าวจากบางกอกโพสต์เป็นตัวแทนสื่อสิ่งพิมพ์ของไทยที่จะตั้งคำถาม แม้จะอ่อนอาวุโสแต่นักข่าวรุ่นพี่ก็อยากเปิดให้รุ่นน้องได้มีโอกาสทำหน้าที่ ซึ่งเรื่องตัวแทนของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ตกลงกันเองได้แล้วก็น่าจะจบแค่นั้น ก่อนจะมาถึงขั้นต่อไปว่าตกลงจะถามเรื่องอะไรกันบ้าง ส่วนฝั่งโทรทัศน์นั้นมี 2 ค่ายเป็นคู่ชิง คือ ไทยพีบีเอส กับช่อง 9 อสมท แต่ช่อง 9 ก็ยอมถอยด้วยเหตุผลที่เป็นสื่อของรัฐอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม เรื่องไม่ได้จบลงอย่างที่เป็นตามธรรมเนียมปฏิบัติ เนื่องจาก “เจ๊...” ผู้ประสานงานจากทีมรัฐบาล เธอกลับมาอีกครั้ง แล้วถามหา “นักข่าวมติชน” เหมือนเป็นการเฉพาะเจาะจงลงไปว่าจะเอานักข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เป็นตัวแทนสื่อสิ่งพิมพ์ของไทยในการตั้งคำถาม แค่นั้นแหละความโกลาหลก็เกิดขึ้นพร้อมกับความไม่พอใจ เพราะเป็นการเลือกปฏิบัติ ใช้อำนาจของรัฐชี้เอาว่าจะเอาใคร ไม่เอาใคร ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ในแวดวงการทำงานของสื่อ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีการตั้งข้อสังเกตกันในทันทีว่า อาจจะเป็นใบสั่งจากผู้ใหญ่ผ่านมาทางนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เพราะใครๆ ก็รู้ว่าสื่อค่ายนี้เอียงกระเท่เร่เข้าข้างรัฐบาลขนาดไหน
ท่าทีของทีมงานรัฐบาลที่กลับไปกลับมาไม่อยู่กับร่องกับรอยนั้น นักข่าวอาวุโสที่อยู่ในเหตุการณ์ในวันแถลงข่าวดังกล่าวมองว่า เหมือนกับผู้ใหญ่ค่ายสื่อประชาชื่นกับผู้ใหญ่ในรัฐบาลตกลงกันไว้แล้ว และพวกเรานักข่าวก็รู้ก่อนที่จะเข้าห้องแถลงข่าวแล้วว่ารัฐบาลเลือกนักข่าวจากค่ายมติชนเป็นตัวแทนสื่อสิ่งพิมพ์ จะมีก็แต่ “ธีรนัย จารุวัสตร์” ที่ไม่รู้ตัวเอง โดยเขาเล่าเรื่องผ่าน “ข่าวสด” ฉบับตีพิมพ์วันที่ 20 พ.ย. 2555 ว่า
“ต่อมาเมื่อสื่อมวลชนทั้งหมดเข้านั่งประจำที่ในห้องแถลงข่าวแล้ว เจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาลเดินมาแจ้งให้ทุกคนทราบว่ายังไม่ได้เลือกว่าจะให้นักข่าวของไทยสำนักไหนบ้างยิงคำถาม และถามว่าผู้สื่อข่าวคนใดบ้างที่เตรียมคำถามมาแล้ว จึงปรึกษากับผู้สื่อข่าวในเครือเดียวกัน คือจากมติชนและประชาชาติ พบว่าคำถามมีลักษณะคล้ายกัน จึงตกลงกันว่าให้ถามรวบเป็นคำถามเดียวกันไปเลยในฐานะเครือมติชน เมื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบแล้วว่ามติชน-ข่าวสด-ประชาชาติ มีคำถามเตรียมมาแล้ว โดยพยายามอธิบายให้เขาเข้าใจว่าเครือมติชนเท่ากับหนังสือพิมพ์ถึง 3 ฉบับ ยังไม่นับนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์และนิตยสารอื่นๆ อีก เจ้าหน้าที่คงฟังแล้วเห็นคล้อยกับคำหว่านล้อมของผม จึงตกลงให้นักข่าวจากเครือมติชนถามได้ เพราะมองว่าเป็นตัวแทนสื่อหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยที่เป็นภาษาไทย และให้ผู้สื่อข่าวจากไทยพีบีเอสถามคำถามด้วย เพราะมองว่าเป็นตัวแทนสื่อในประเทศไทย”
เมื่อฝ่ายรัฐบาลใช้อำนาจเลือกสื่อที่ถูกใจแล้ว มาถึงการตั้งประเด็นคำถาม ตามธรรมเนียมปฏิบัติจะดูว่าสื่อฉบับไหนจะถามประเด็นอะไร และตั้งประเด็นให้ครอบคลุมเรื่องที่เพื่อนสื่อแต่ละสำนักฝากถามให้ได้มากที่สุด เพราะในคำถามหนึ่งๆ สามารถมีคำถามย่อยอยู่ในคำถามเดียวกันได้ ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนสื่อตั้งคำถามต้องรู้บทบาทว่าตนเองทำหน้าที่เป็นตัวแทนสื่อไทย ไม่ใช่แค่ค่ายสื่อที่ตัวเองสังกัดเท่านั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับการทำหน้าที่ของ “ธีรนัย จารุวัสตร์” มือใหม่หัดขับที่ค่ายมติชน-ข่าวสด ภูมิใจเสนอนั้น กลับเอาแต่เรื่องที่ค่ายสื่อของตนเองและเป็นคำถามที่รัฐบาลต้องการทำลายคู่แข่งทางการเมืองเป็นสำคัญ
คำถามเรื่องการประกาศการเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) และการรื้อฟื้นการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (TIFA JC) ที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนและมีการเคลื่อนไหวคัดค้านไม่เห็นด้วยจากสังคม ได้รับการปฏิเสธไม่ถามให้ ด้วยเหตุผลที่ธีรนัยอ้างว่า ประเด็นไม่เข้ากันกับเรื่องที่ตัวเองจะถาม
ต่อมาเมื่อถึงเวลาแถลงข่าวร่วมจริงก็ปรากฏชัดว่า สื่อมวลชนไทย 2 สำนักที่ได้ถามคำถาม คือ น.ส.ณัฐฐา โกมลวาทิน ตัวแทนจากไทยพีบีเอส กับ ธีรนัย จารุวัสตร์ เด็กหนุ่มสื่อมวลชนจากค่ายมติชน-ข่าวสด ซึ่งไม่ได้ส่งคำถามมาล่วงหน้า
และเหตุที่ทีมงานรัฐบาลไม่ได้เลือกนักข่าวมติชน แต่เป็นธีรนัยจากข่าวสดแทน คงเป็นเพราะธีรนัยนั้น “ภาษาอังกฤษอันชัดแจ๋ว สำเนียงราวฝรั่งขนานแท้ แถมใบหน้ายังละม้ายคล้ายชาวตะวันตกอีกด้วย” อย่างที่ข่าวสดโฆษณาสรรพคุณ ซึ่งจะว่าไป ค่ายที่อ้างว่าเป็นสื่อคุณภาพของประเทศนี้มีปมด้อยเรื่องภาษาอังกฤษมาโดยตลอดนับแต่ก่อเกิดก็ว่าได้
งานนี้ค่ายมติชน-ข่าวสดจึงถือโอกาสลบปมด้อยสร้างปมเขื่อง และแจ้งเกิดให้นักข่าวหนุ่มรุ่นใหม่ที่ต้องโชว์ออฟในยุคสื่อแข่งขันสูง ดังคำอวดโอ่จากเจ้าตัวที่เล่าว่า “เมื่อเจ้าหน้าที่จากทำเนียบรัฐบาลติดต่อมาว่าให้หนังสือพิมพ์ข่าวสดเตรียมผู้สื่อข่าว 1 คน และช่างภาพ 1 คนสำหรับรายงานข่าวการแถลงข่าวร่วมนั้น กองบรรณาธิการเลือกผม นายธีรนัย จารุวัสตร์ ให้ทำหน้าที่นี้ เนื่องจากติดตามสถานการณ์ต่างประเทศและในประเทศอย่างดีและต่อเนื่อง ประกอบกับเคยทำข่าวภาคสนามสำคัญมาก่อน เช่น การเยือนประเทศไทยของนางอองซาน ซูจี และที่ได้เปรียบนักข่าวคนอื่นนิดหน่อยก็ตรงที่ผมพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง”
จากการสอบถามสื่อมวลชนในทำเนียบฯ ได้รับการยืนยันว่า หนุ่มนักข่าวจากค่ายประชาชื่นผู้นี้ปกติไม่ได้มาทำข่าวในทำเนียบฯ เป็นประจำ ขณะที่เจ้าตัวเมื่อถูกพี่ๆ สื่อมวลชนทำเนียบฯ ซักหนักเข้าก็สารภาพว่า ตัวเองปกติแปลข่าวต่างประเทศอยู่ในสำนักงาน แต่งานนี้เนื่องจากพูดภาษาอังกฤษได้คล่องจึงได้รับมอบหมายจากบรรณาธิการให้มาถามคำถามโอบามาและยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์ประชาธิปไตยในประเทศไทย, การหาผู้รับผิดชอบจากเหตุการณ์ผู้เสียชีวิตระหว่างการเผาเมืองโดยกลุ่มคนเสื้อแดงในปี 2553 นักโทษการเมืองที่ (ผู้สื่อข่าวข่าวสดอ้างว่า) ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และถามเอาใจโอบามาว่าอาหารไทยจานไหนที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ?
ภายใต้มีเงื่อนไขที่ให้สื่อเทศและสื่อไทยถามผู้นำทั้งสองได้ฝั่งละ 2 คำถามเท่านั้น สื่อต่างประเทศ คือ วอชิงตันโพสต์ ก็กลั่นกรองเลือกถามเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญที่สุดโดยไม่รีรอที่จะยิงคำถามแรงๆ ถามตรงๆ กับผู้นำของเขาว่า “มีผู้ทักท้วงว่าการไปเยือนพม่าครั้งนี้ของนายโอบามา จะไม่เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลทหารพม่าหรือ?”
แต่สำหรับคำถามจากตัวแทนนักข่าวไทย กลับใช้โอกาสนี้ตั้งคำถามทำลายคู่แข่งทางการเมืองของรัฐบาลหนึ่ง และอีกหนึ่งคำถามที่หน่อมแน้มเอามากๆ “อาหารไทยจานไหนที่โอบามาชื่นชอบเป็นพิเศษ? ช่างน่าอับอายกึ๋นนักข่าวไทยเสียเหลือเกิน ซึ่งนั่นอาจเป็นเจตนาของทีมงานรัฐบาล เพื่อว่าจะได้เป็นภาพที่ออกไปในทิศทางเดียวกับระดับมันสมองของผู้นำประเทศไทยก็เป็นได้ เพราะหากกลับไปดูกระบวนการคัดเลือกตัวแทนสื่อไทยของทีมงานรัฐบาลก็จะเห็นว่า แหกประเพณีธรรมเนียมปฏิบัติ เพื่อคัดสรรเลือกเฟ้นให้ได้ตัวแทนนักข่าวคุณภาพระดับเดียวกับผู้นำโดยแท้
ขณะที่คำถามจากตัวแทนสื่อโทรทัศน์ น.ส.ณัฐฐา โกมลวาทิน ตัวแทนจากไทยพีบีเอส ที่แม้จะตั้งคำถามเรื่อง TPP แต่ก็ไม่ถามในประเด็นสำคัญเรื่องข้อห่วงใยในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ แต่กลับถามชงว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจากการเข้าร่วม TPP เพื่อให้ตรงกับคำตอบที่ผู้นำไทยเตรียมไว้ตอบเพื่อเอาใจผู้นำสหรัฐฯ
แน่นอน ไม่มีคำถามสำคัญที่ประชาชนอยากรู้เกี่ยวกับการให้วีซ่าทักษิณของสหรัฐฯ และการมาเยือนภูมิภาคนี้ของโอบามานั้น พ.ต.ท.ทักษิณ พี่ชายของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย มีบทบาทหรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ กับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือภูมิภาคนี้หรือไม่? ที่ทาง ASTVผู้จัดการ ส่งไปล่วงหน้าตามระเบียบที่กำหนดของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เหตุการณ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. 2555 เป็นภาพสะท้อนชั้นดีของ “สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย” ในระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ฉกฉวยโอกาสทำลายคู่แข่ง ตลบตะแลงกำหนดเงื่อนไขอย่างแต่ทำอีกอย่าง น่าแปลกประหลาด น่าตลกขบขัน และน่าอับอายขายขี้หน้าในสติปัญญาของทั้งผู้นำและตัวแทนสื่อไทยที่อวดอ้างว่ามีกึ๋นแบบนักข่าวมืออาชีพ