ASTVผู้จัดการ - แฉยิบ “ทีมงาน ยิ่งลักษณ์” จัดฉากงานแถลงข่าวร่วมโอบามา ตั้งแง่กีดกันคำถามแทงใจดำจากนักข่าวไทย ให้ถามภาษาอังกฤษ-ส่งคำถามล่วงหน้า แต่สุดท้ายกลับปล่อย “มติชน-ข่าวสด” ถามประเด็นเน้นทำลายคู่แข่งทางการเมือง-อุ้มนักโทษเสื้อแดง ตรงกันข้ามกับนักข่าวฝรั่งที่สามารถถามจี้โอบามาได้อย่างอิสระ
การมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของ นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน และ 19 พฤศจิกายน 2555 โดยการต้อนรับของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นอกเหนือจากภาพลักษณ์ที่ดูยิ่งใหญ่ อลังการ ตามความใหญ่โตของผู้นำประเทศมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลกที่มาเยือน จนถึงการสั่งปิดถนนจนสร้างความเดือดร้อนให้ผู้คนทั่วเมืองเพื่อแลกกับความปลอดภัยให้คณะผู้นำสหรัฐฯ แล้ว ในอีกมุมหนึ่งในสายตาสื่อมวลชนก็ได้ประสบพบเห็นเรื่องราว แปลกๆ เช่นกัน
ก่อนหน้าที่นายโอบามาจะมาเยือนหลายสัปดาห์ ทางสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีไทยก็มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าอย่างรัดกุม โดยสัปดาห์ก่อนหน้ามีการออกประกาศถึงสื่อมวลชนทุกสำนักระบุว่า ให้สื่อมวลชนทุกสังกัดส่งชื่อล่วงหน้า โดยจำกัดสังกัดละไม่เกิน 2 คน โดยให้ลงชื่อ ณ ห้องสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีภายในวันพฤหัสบดีที่ 15 พ.ย. 2555
เบื้องหน้า นอกจากการลงทะเบียนสื่อมวลชนล่วงหน้าซึ่งถือเป็นเรื่องปกติกรณีที่รัฐบาลมีแขกพิเศษแล้ว เบื้องหลังทางสำนักโฆษก ยังระบุข้อจำกัดด้วยว่า ในการแถลงข่าวร่วมระหว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์และนายโอบามา หลังเวลา 19.00น. ของวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. จะจำกัดคำถามให้สื่อถามได้ไม่เกิน 4 คำถาม โดยแบ่งเป็น 2 คำถามจากสื่อไทย และ 2 คำถามจากสื่อฝรั่ง
นอกจากนี้ ทางสำนักโฆษกยังระบุกับนักข่าวทำเนียบด้วยว่า ขอให้ส่งคำถามล่วงหน้าเป็นภาษาอังกฤษ และให้ส่งภายในวันศุกร์ที่ 16 พ.ย. 2555 โดยในฝั่งสื่อไทยเมื่อถึงวันหากมีคำถามมากกว่า 2 คำถามจะมีการดำเนินการจับฉลากให้สื่อมวลชนที่ส่งคำถามล่วงหน้าได้มีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน
จากคำสั่งดังกล่าวของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 14 พ.ย. 2555 สื่อในเครือ ASTVผู้จัดการจึงเปิดให้ผู้อ่านส่งคำถามที่ตนต้องการถามโอบามาผ่านทางเว็บไซต์ ASTVผู้จัดการ ดังหัวข้อข่าวที่ว่า วันที่ 18 พ.ย.คุณอยากจะถามอะไร “โอบามา”? ซึ่งผลปรากฏว่าจากผู้อ่านมากกว่าเจ็ดพันกว่าคน ผู้คนส่วนใหญ่สนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ต้องโทษคดีอาญาแต่หลบหนีคำพิพากษาศาลฎีกา กับประเทศสหรัฐฯ ที่เคยปฏิเสธไม่ออกวีซ่าให้ แต่กลับลำมาออกวีซ่าให้เมื่อไม่นานมานี้
ประกอบกับการที่ในช่วงต้นเดือน พ.ย.2555 พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้าพบนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า ก่อนที่นายโอบามาจะไปเยือนพม่าครั้งประวัติศาสตร์ ไม่นับรวมกับความสนิทชิดเชื้อของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับ นายฮุนเซน ผู้นำกัมพูชา ซึ่งนายโอบามาก็มีกำหนดจะเดินทางไปร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่พนมเปญ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้หรือไม่?
ด้วยเหตุนี้ในวันพฤหัสบดีที่ 15 พ.ย. 2555 ทางกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการจึงส่งคำถามเข้าไปตามระเบียบ โดยคำถามระบุว่า
“Does Mr.Thaksin Shinawatra, former Thai Prime minister and brother of Mrs.Yingluck has any role or involvement in any US interest in Thailand, SE Asia or the region?” หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย และพี่ชายของ นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีบทบาท หรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ กับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ภูมิภาคนี้หรือไม่?”
หลังจากนั้น จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและเพื่อนๆ สื่อมวลชนพบว่าเมื่อถึงวันศุกร์ที่ 16 พ.ย. 2555 มีสื่อมวลชนไทยเพียง 3 สำนักเท่านั้นที่ส่งคำถามไปล่วงหน้า คือ ไทยทีวีสีช่อง 3, ไทยพีบีเอส และ เครือหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ
ต่อมา ในวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. 2555 หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการจึงได้ส่งบุคลากรระดับบรรณาธิการเข้าไปร่วมสังเกตการณ์กับผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้มั่นใจว่าหากมีการจับฉลากแล้วคำถามของ ASTVผู้จัดการที่ส่งไปล่วงหน้า โดยกลั่นกรองจากความเห็นของประชาชนจำนวนมากจะไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ อย่างไรก็ตาม ช่วงหัวค่ำของวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. 2555 ก่อนการแถลงข่าวร่วมระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์กับนายโอบามา ที่จะเริ่มขึ้น ณ เวลาประมาณ 19.00น. ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีกลับระบุให้มีการเขียนคำถามอีกครั้ง โดยย้ำว่าให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ทว่ากลับไม่ได้บอกว่าจะมีการจับฉลาก แต่จะให้ตกลงกันเอง โดยระบุเพียงว่าจะให้แบ่งโควต้าให้สื่อโทรทัศน์ไทยถาม 1 คำถาม และ สื่อหนังสือพิมพ์ถาม 1 คำถาม
ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อทีมงานหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ เขียนคำถามส่งไปอีกครั้ง เจ้าหน้าที่ซึ่งมีท่าทีลำบากใจจึงพูดออกมาด้วยความอึดอัดว่า “น้องอยากให้พี่ทำงานตรงนี้ไปอีกนานแค่ไหน?”
ต่อมาเมื่อถึงเวลาแถลงข่าวร่วมจริง ก็ปรากฏชัดว่า สื่อมวลชนไทย 2 สำนักที่ได้ถามคำถาม คือ น.ส.ณัฐฐา โกมลวาทินตัวแทนจากไทยพีบีเอส กับ เด็กหนุ่มสื่อมวลชนจากค่ายมติชน-ข่าวสด ซึ่งไม่ได้ส่งคำถามมาล่วงหน้า นอกจากนี้จากการสอบถามสื่อมวลชนในทำเนียบก็ยืนยันว่า หนุ่มนักข่าวจากค่ายประชาชื่นผู้นี้ปกติไม่ได้มาทำข่าวในทำเนียบเป็นประจำ ขณะที่เจ้าตัวเมื่อถูกพี่ๆ สื่อมวลชนทำเนียบซักหนักเข้าก็สารภาพว่าตัวเองปกติแปลข่าวต่างประเทศอยู่ในสำนักงาน แต่งานนี้ เนื่องจากพูดภาษาอังกฤษได้คล่องจึงได้รับมอบหมายจากบรรณาธิการให้มาถามคำถามโอบามาและยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์ประชาธิปไตยในประเทศไทย, การหาผู้รับผิดชอบจากเหตุการณ์ผู้เสียชีวิตระหว่างการเผาเมืองโดยกลุ่มคนเสื้อแดงในปี 2553, นักโทษการเมืองที่ (ผู้สื่อข่าวมติชนอ้างว่า) ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และถามเอาใจโอบามาว่าอาหารไทยจานไหนที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ?
ความแปลกประหลาด และน่าตลกขบขันของการ “จัดฉาก” ให้สื่อถามคำถามที่ตัวเองอยากได้ยิน เตรียมคำตอบเอาไว้แล้ว และแน่นอนยัดคำถามเพื่อจัดการคู่แข่งทางการเมืองให้ผู้นำสหรัฐฯ อย่างโอบามาได้ฟังนั้นกลับมีข้อพิรุธมากมาย กล่าวคือ
หนึ่ง เหตุใดจึงต้องจำกัดคำถามไว้เพียงแค่ 4 คำถาม (สื่อไทย 2 และสื่อสหรัฐฯ 2) ทั้งๆ ที่รัฐบาลไทยยืนยันว่าการมาเยือนของนายโอบามาครั้งนี้เป็นงานใหญ่ และไม่เพียงแต่สื่อไทยเท่านั้นที่ไม่เข้าใจ แต่สื่อมวลชนตะวันตกจำนวนมากก็แสดงความไม่พอใจและไม่เข้าใจ
สอง เหตุใดคำถามต้องบังคับให้สื่อไทยถามเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่ในห้องแถลงข่าวก็มีคนแปลและอุปกรณ์การแปลอย่างครบครันอยู่แล้ว เพราะการบังคับให้ผู้สื่อข่าวไทยถามคำถามเป็นภาษาอังกฤษย่อมถือเป็นความพยายามในการกีดกันผู้สื่อข่าวไทยส่วนหนึ่งที่ไม่มั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษของตัวเองออกไป?
สาม เหตุใดต้องมีการให้ส่งคำถามล่วงหน้า และระบุว่าจะมีการจับฉลากคำถาม ทั้งๆ ที่เมื่อถึงเวลาจริงก็ปรากฏชัดว่าทางสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบที่ตนเองระบุไว้
สี่ ความพยายามรักษาหน้าผู้นำ และจัดฉากสร้างภาพดังกล่าว ยิ่งทำให้สื่อมวลชนไทยดูเป็นตัวตลก เพราะคำถามที่ “สื่ออยากรู้ ประชาชนอยากถาม” กลับถูกกีดกันออกไป ตรงกันข้ามกับนักข่าวสหรัฐฯ จากวอชิงตัน โพสต์ ที่กลับมีโอกาสได้ถามตรงๆ กับผู้นำของเขาเลยว่า “มีผู้ทักท้วงว่าการไปเยือนพม่าครั้งนี้ของนายโอบามา จะไม่เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลทหารพม่าหรือ?”
เหตุการณ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. 2555 นี่แหละคือ “ภาพสะท้อนชั้นดีของ” ของ “สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย” ในระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร!!!
การมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของ นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน และ 19 พฤศจิกายน 2555 โดยการต้อนรับของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นอกเหนือจากภาพลักษณ์ที่ดูยิ่งใหญ่ อลังการ ตามความใหญ่โตของผู้นำประเทศมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลกที่มาเยือน จนถึงการสั่งปิดถนนจนสร้างความเดือดร้อนให้ผู้คนทั่วเมืองเพื่อแลกกับความปลอดภัยให้คณะผู้นำสหรัฐฯ แล้ว ในอีกมุมหนึ่งในสายตาสื่อมวลชนก็ได้ประสบพบเห็นเรื่องราว แปลกๆ เช่นกัน
ก่อนหน้าที่นายโอบามาจะมาเยือนหลายสัปดาห์ ทางสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีไทยก็มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าอย่างรัดกุม โดยสัปดาห์ก่อนหน้ามีการออกประกาศถึงสื่อมวลชนทุกสำนักระบุว่า ให้สื่อมวลชนทุกสังกัดส่งชื่อล่วงหน้า โดยจำกัดสังกัดละไม่เกิน 2 คน โดยให้ลงชื่อ ณ ห้องสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีภายในวันพฤหัสบดีที่ 15 พ.ย. 2555
เบื้องหน้า นอกจากการลงทะเบียนสื่อมวลชนล่วงหน้าซึ่งถือเป็นเรื่องปกติกรณีที่รัฐบาลมีแขกพิเศษแล้ว เบื้องหลังทางสำนักโฆษก ยังระบุข้อจำกัดด้วยว่า ในการแถลงข่าวร่วมระหว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์และนายโอบามา หลังเวลา 19.00น. ของวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. จะจำกัดคำถามให้สื่อถามได้ไม่เกิน 4 คำถาม โดยแบ่งเป็น 2 คำถามจากสื่อไทย และ 2 คำถามจากสื่อฝรั่ง
นอกจากนี้ ทางสำนักโฆษกยังระบุกับนักข่าวทำเนียบด้วยว่า ขอให้ส่งคำถามล่วงหน้าเป็นภาษาอังกฤษ และให้ส่งภายในวันศุกร์ที่ 16 พ.ย. 2555 โดยในฝั่งสื่อไทยเมื่อถึงวันหากมีคำถามมากกว่า 2 คำถามจะมีการดำเนินการจับฉลากให้สื่อมวลชนที่ส่งคำถามล่วงหน้าได้มีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน
จากคำสั่งดังกล่าวของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 14 พ.ย. 2555 สื่อในเครือ ASTVผู้จัดการจึงเปิดให้ผู้อ่านส่งคำถามที่ตนต้องการถามโอบามาผ่านทางเว็บไซต์ ASTVผู้จัดการ ดังหัวข้อข่าวที่ว่า วันที่ 18 พ.ย.คุณอยากจะถามอะไร “โอบามา”? ซึ่งผลปรากฏว่าจากผู้อ่านมากกว่าเจ็ดพันกว่าคน ผู้คนส่วนใหญ่สนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ต้องโทษคดีอาญาแต่หลบหนีคำพิพากษาศาลฎีกา กับประเทศสหรัฐฯ ที่เคยปฏิเสธไม่ออกวีซ่าให้ แต่กลับลำมาออกวีซ่าให้เมื่อไม่นานมานี้
ประกอบกับการที่ในช่วงต้นเดือน พ.ย.2555 พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้าพบนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า ก่อนที่นายโอบามาจะไปเยือนพม่าครั้งประวัติศาสตร์ ไม่นับรวมกับความสนิทชิดเชื้อของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับ นายฮุนเซน ผู้นำกัมพูชา ซึ่งนายโอบามาก็มีกำหนดจะเดินทางไปร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่พนมเปญ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้หรือไม่?
ด้วยเหตุนี้ในวันพฤหัสบดีที่ 15 พ.ย. 2555 ทางกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการจึงส่งคำถามเข้าไปตามระเบียบ โดยคำถามระบุว่า
“Does Mr.Thaksin Shinawatra, former Thai Prime minister and brother of Mrs.Yingluck has any role or involvement in any US interest in Thailand, SE Asia or the region?” หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย และพี่ชายของ นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีบทบาท หรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ กับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ภูมิภาคนี้หรือไม่?”
หลังจากนั้น จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและเพื่อนๆ สื่อมวลชนพบว่าเมื่อถึงวันศุกร์ที่ 16 พ.ย. 2555 มีสื่อมวลชนไทยเพียง 3 สำนักเท่านั้นที่ส่งคำถามไปล่วงหน้า คือ ไทยทีวีสีช่อง 3, ไทยพีบีเอส และ เครือหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ
ต่อมา ในวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. 2555 หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการจึงได้ส่งบุคลากรระดับบรรณาธิการเข้าไปร่วมสังเกตการณ์กับผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้มั่นใจว่าหากมีการจับฉลากแล้วคำถามของ ASTVผู้จัดการที่ส่งไปล่วงหน้า โดยกลั่นกรองจากความเห็นของประชาชนจำนวนมากจะไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ อย่างไรก็ตาม ช่วงหัวค่ำของวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. 2555 ก่อนการแถลงข่าวร่วมระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์กับนายโอบามา ที่จะเริ่มขึ้น ณ เวลาประมาณ 19.00น. ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีกลับระบุให้มีการเขียนคำถามอีกครั้ง โดยย้ำว่าให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ทว่ากลับไม่ได้บอกว่าจะมีการจับฉลาก แต่จะให้ตกลงกันเอง โดยระบุเพียงว่าจะให้แบ่งโควต้าให้สื่อโทรทัศน์ไทยถาม 1 คำถาม และ สื่อหนังสือพิมพ์ถาม 1 คำถาม
ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อทีมงานหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ เขียนคำถามส่งไปอีกครั้ง เจ้าหน้าที่ซึ่งมีท่าทีลำบากใจจึงพูดออกมาด้วยความอึดอัดว่า “น้องอยากให้พี่ทำงานตรงนี้ไปอีกนานแค่ไหน?”
ต่อมาเมื่อถึงเวลาแถลงข่าวร่วมจริง ก็ปรากฏชัดว่า สื่อมวลชนไทย 2 สำนักที่ได้ถามคำถาม คือ น.ส.ณัฐฐา โกมลวาทินตัวแทนจากไทยพีบีเอส กับ เด็กหนุ่มสื่อมวลชนจากค่ายมติชน-ข่าวสด ซึ่งไม่ได้ส่งคำถามมาล่วงหน้า นอกจากนี้จากการสอบถามสื่อมวลชนในทำเนียบก็ยืนยันว่า หนุ่มนักข่าวจากค่ายประชาชื่นผู้นี้ปกติไม่ได้มาทำข่าวในทำเนียบเป็นประจำ ขณะที่เจ้าตัวเมื่อถูกพี่ๆ สื่อมวลชนทำเนียบซักหนักเข้าก็สารภาพว่าตัวเองปกติแปลข่าวต่างประเทศอยู่ในสำนักงาน แต่งานนี้ เนื่องจากพูดภาษาอังกฤษได้คล่องจึงได้รับมอบหมายจากบรรณาธิการให้มาถามคำถามโอบามาและยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์ประชาธิปไตยในประเทศไทย, การหาผู้รับผิดชอบจากเหตุการณ์ผู้เสียชีวิตระหว่างการเผาเมืองโดยกลุ่มคนเสื้อแดงในปี 2553, นักโทษการเมืองที่ (ผู้สื่อข่าวมติชนอ้างว่า) ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และถามเอาใจโอบามาว่าอาหารไทยจานไหนที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ?
ความแปลกประหลาด และน่าตลกขบขันของการ “จัดฉาก” ให้สื่อถามคำถามที่ตัวเองอยากได้ยิน เตรียมคำตอบเอาไว้แล้ว และแน่นอนยัดคำถามเพื่อจัดการคู่แข่งทางการเมืองให้ผู้นำสหรัฐฯ อย่างโอบามาได้ฟังนั้นกลับมีข้อพิรุธมากมาย กล่าวคือ
หนึ่ง เหตุใดจึงต้องจำกัดคำถามไว้เพียงแค่ 4 คำถาม (สื่อไทย 2 และสื่อสหรัฐฯ 2) ทั้งๆ ที่รัฐบาลไทยยืนยันว่าการมาเยือนของนายโอบามาครั้งนี้เป็นงานใหญ่ และไม่เพียงแต่สื่อไทยเท่านั้นที่ไม่เข้าใจ แต่สื่อมวลชนตะวันตกจำนวนมากก็แสดงความไม่พอใจและไม่เข้าใจ
สอง เหตุใดคำถามต้องบังคับให้สื่อไทยถามเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่ในห้องแถลงข่าวก็มีคนแปลและอุปกรณ์การแปลอย่างครบครันอยู่แล้ว เพราะการบังคับให้ผู้สื่อข่าวไทยถามคำถามเป็นภาษาอังกฤษย่อมถือเป็นความพยายามในการกีดกันผู้สื่อข่าวไทยส่วนหนึ่งที่ไม่มั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษของตัวเองออกไป?
สาม เหตุใดต้องมีการให้ส่งคำถามล่วงหน้า และระบุว่าจะมีการจับฉลากคำถาม ทั้งๆ ที่เมื่อถึงเวลาจริงก็ปรากฏชัดว่าทางสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบที่ตนเองระบุไว้
สี่ ความพยายามรักษาหน้าผู้นำ และจัดฉากสร้างภาพดังกล่าว ยิ่งทำให้สื่อมวลชนไทยดูเป็นตัวตลก เพราะคำถามที่ “สื่ออยากรู้ ประชาชนอยากถาม” กลับถูกกีดกันออกไป ตรงกันข้ามกับนักข่าวสหรัฐฯ จากวอชิงตัน โพสต์ ที่กลับมีโอกาสได้ถามตรงๆ กับผู้นำของเขาเลยว่า “มีผู้ทักท้วงว่าการไปเยือนพม่าครั้งนี้ของนายโอบามา จะไม่เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลทหารพม่าหรือ?”
เหตุการณ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย. 2555 นี่แหละคือ “ภาพสะท้อนชั้นดีของ” ของ “สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย” ในระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร!!!