บทสรุปคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จากจำนวน 88 หน้า ในคดีที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่ตำแหน่งโดยมิชอบ ใช้อำนาจข่มขู่ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นร่วมออกโฉนดที่ดิน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณประโยชน์ และที่เทขยะมูลฝอย เพื่อนำไปขายให้กรมควบคุมมลพิษ เพื่อก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
ขณะจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการมหาดไทย และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจบังคับซื้อที่ดินจากราษฎรหมู่ที่ 11 และ 12 ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ หลายรายหลายแปลง รวมเนื้อที่ 1,900 ไร่ อันเป็นที่ดิน ของรัฐที่มีประกาศหวงห้ามให้เป็นที่เทขยะมูลฝอย บางแปลงจดคลองและถนนสาธารณะในนามบริษัท ปาล์มบีช ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด ที่มี บริษัท นอร์ทเทอร์นรีซอส จำกัด ที่จำเลยถือหุ้นอยู่ด้วย ต่อมาจำเลยใช้อำนาจข่มขืนหรือจูงใจให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี และเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ออกโฉนดที่ดินรวม 5 แปลง โดยไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย
จำเลยให้การปฏิเสธ โดยก่อนไต่สวนจำเลยยื่นคำร้องให้ศาลฎีกาฯวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย 4 ประเด็น
1.ศาลฎีกาฯมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่
2.ฟ้องโจทก์บรรยายองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และ มาตรา 157 ประกอบ มาตรา 84 หรือไม่
3.ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่
และ 4.ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบ มาตรา 84 หรือไม่
ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าคำฟ้องโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาฯ, ฟ้อง โจทก์ครบองค์ประกอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และ มาตรา 157 ประกอบ มาตรา 84 และฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยและบริวารบังคับซื้อที่ดินจากราษฎรหลายรายตามฟ้องหรือไม่
องค์คณะฯมีมติ 5 ต่อ 4 เห็นว่า หากที่ดินที่จำเลยซื้ออยู่ในลักษณะปิดล้อมที่ดินแปลงอื่น ก็เป็นไปตามสภาพที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้นๆ ไม่ใช่เป็นการซื้อเพื่อเจตนาปิดล้อมที่ดินแปลงอื่นจนกระทั่งเจ้าของที่ดินนั้นยอมขายให้แก่จำเลย และที่จำเลยกล่าวในทำนองว่าจะเอาที่ดินถมที่ทำให้ราษฎรที่ไม่ยอมขายนั้นเข้าออกไม่ได้ ก็เป็นการกล่าวตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ ไม่ได้เป็นการบังคับว่าผู้นั้นต้องขายที่ดินให้กับจำเลยแต่อย่างใด
ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยและบริวารได้บังคับซื้อที่ดินจากราษฎรหลายรายตามฟ้อง และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยได้ใช้อำนาจในการนี้โดยมิชอบหรือไม่
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า การออกโฉนดที่ดินตามฟ้องทั้ง 5 แปลง ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายหรือไม่
ปรากฏว่าสำนักนายกรัฐมนตรีคำสั่งที่ 95/2546 ลงวันที่ 3 เมษายน 2546 ตั้งกรรมการตรวจสอบและสอบสวนเรื่องการทุจริตการก่อสร้างโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จ.สมุทรปราการ โดยมี พล.ต.ท.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ขณะนั้นเป็นประธาน ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นหลายชุด ตรวจสอบข้อเท็จจริง
โดยคณะกรรมการต่างเห็นว่าเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย รวมทั้งคณะกรรมการที่กรมที่ดินตั้งขึ้นเห็นว่าเป็นการออกโฉนดทับคลองสาธารณะ และกรมมีคำสั่งให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดิน 4 แปลง รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ปรากฏตามสำนวนการไต่สวน มีน้ำหนักเชื่อว่ายังคงมีสภาพเป็นที่เทขยะอยู่
องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติ 8 ต่อ 1 ว่า การออกโฉนดทั้ง 5 แปลง ไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย
ส่วนประเด็นจำเลยข่มขืนใจหรือจูงใจให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่สำหนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี ออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบหรือไม่นั้น
จากข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ในการสอบพยาน องค์คณะผู้พิพากษา จึงมีมติ 8 ต่อ 1 เห็นว่าจำเลยได้ใช้อำนาจข่มขืนใจหรือจูงใจเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน จ.สมุทร ปราการ สาขาบางพลี ออกโฉนดที่ดินพิพาทให้ แก่จำเลยในนาม บจก.ปาล์มบีช โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยอีกว่า การใช้อำนาจข่มขืนใจหรือจูงใจดังกล่าวนั้นเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งอันเป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 148 หรือไม่
องค์คณะผู้พิพากษา เห็นว่า อำนาจในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มิได้จำกัดเฉพาะงานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น จำเลยยังมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2534 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น
และยังมีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2535 รวมถึงจำเลยมีสิทธิเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อมีข้อเสนอแนะให้ความเห็น ตลอดจนมีมติในกิจการของกระทรวง กรม อื่นใดทั้งในและนอกกำกับดูแลของจำเลย สอดคล้องกับคำเบิกความของ นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการมีอำนาจแสดงความคิดเห็นและลงมติในการแต่งตั้งปลัดกระทรวง ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 11 อธิบดีซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 10 ทุกกระทรวง กรม และมีอำนาจแสดงความคิดเห็นต่อการแต่งตั้งข้าราชการดังกล่าว มิใช่เฉพาะกระทรวง ทบวง กรม ที่ต้นสังกัดเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีพยานที่เบิกความถึงอำนาจบังคับบัญชาให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการกรมที่ดิน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มีหน้าที่ระวังแนวเขตสาธารณะในการออกโฉนดที่ดินตามฟ้อง ดังนั้น ที่จำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลกรมที่ดิน จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 นั้นฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบทำนองว่า จำเลยถูกดำเนินคดีเพราะถูกกลั่นแกล้งจากระบอบทักษิณ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคไทยรักไทยในขณะนั้น กลั่นแกล้งจำเลย เพราะพรรคการเมืองของจำเลยไม่ยอมยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย แม้อาจมีมูลความจริงอยู่บ้าง แต่เหตุดังกล่าวก็เกิดจากที่จำเลยมีจุดอ่อนให้การเมืองเข้ามาสอดแทรกได้
ที่จำเลยต่อสู้ว่าพนักงานสอบสวนและคณะอนุกรรมการไต่สวน ป.ป.ช.ได้สอบสวนพยานหลักฐานก่อนแจ้งข้อหาแก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
องค์คณะผู้พิพากษา เห็นว่า ในการรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานได้มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องทำภายหลังแจ้งข้อหาแก่จำเลย ทั้งเมื่อมีการแจ้งข้อหาแก่จำเลยก็ให้โอกาสจำเลยแก้ข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่ ปรากฏตามคำให้การของจำเลย รวม 887 แผ่น ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น จึงมีมติ 8 ต่อ 1 ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม มาตรา 148 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติ 5 ต่อ 4 ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 84 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก ดังนั้น ที่จำเลยให้วินิจฉัยข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม มาตรา 157 ประกอบมาตรา 84 จึงไม่ต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
ส่วนพระเครื่องผงสุพรรณเลี่ยมทองของกลาง ที่จำเลยมอบให้เจ้าหน้าที่รังวัดกรมที่ดินเป็นการตอบแทน ที่ช่วยเหลือออกโฉนด องค์คณะผู้พิพากษามีมติ 5 ต่อ 4 ว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้กระทำผิด ให้ริบ
องค์คณะผู้พิพากษา ได้ประชุมปรึกษาอัตราโทษ ตามพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดของจำเลย เห็นสมควรให้ลงโทษจำคุก 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 ริบพระเครื่องผงสุพรรณเลี่ยมทอง
เนื่องจากจำเลยหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา ศาลฎีกาฯได้ออกหมายจับจำเลยเพื่อมาฟังคำพิพากษา และปรับจำเลยตามสัญญาประกัน แต่ก็ไม่ได้ตัวมาฟังคำพิพากษา ศาลฎีกาฯจึงได้ออกหมายจับจำเลยรับโทษตามคำพิพากษาต่อไป การที่จำเลยหลบหนีคดีนี้มีอายุความ 15 ปี นับแต่วันที่จำเลยหลบหนี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 98
ขณะจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการมหาดไทย และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจบังคับซื้อที่ดินจากราษฎรหมู่ที่ 11 และ 12 ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ หลายรายหลายแปลง รวมเนื้อที่ 1,900 ไร่ อันเป็นที่ดิน ของรัฐที่มีประกาศหวงห้ามให้เป็นที่เทขยะมูลฝอย บางแปลงจดคลองและถนนสาธารณะในนามบริษัท ปาล์มบีช ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด ที่มี บริษัท นอร์ทเทอร์นรีซอส จำกัด ที่จำเลยถือหุ้นอยู่ด้วย ต่อมาจำเลยใช้อำนาจข่มขืนหรือจูงใจให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี และเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ออกโฉนดที่ดินรวม 5 แปลง โดยไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย
จำเลยให้การปฏิเสธ โดยก่อนไต่สวนจำเลยยื่นคำร้องให้ศาลฎีกาฯวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย 4 ประเด็น
1.ศาลฎีกาฯมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่
2.ฟ้องโจทก์บรรยายองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และ มาตรา 157 ประกอบ มาตรา 84 หรือไม่
3.ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่
และ 4.ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบ มาตรา 84 หรือไม่
ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าคำฟ้องโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาฯ, ฟ้อง โจทก์ครบองค์ประกอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และ มาตรา 157 ประกอบ มาตรา 84 และฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยและบริวารบังคับซื้อที่ดินจากราษฎรหลายรายตามฟ้องหรือไม่
องค์คณะฯมีมติ 5 ต่อ 4 เห็นว่า หากที่ดินที่จำเลยซื้ออยู่ในลักษณะปิดล้อมที่ดินแปลงอื่น ก็เป็นไปตามสภาพที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้นๆ ไม่ใช่เป็นการซื้อเพื่อเจตนาปิดล้อมที่ดินแปลงอื่นจนกระทั่งเจ้าของที่ดินนั้นยอมขายให้แก่จำเลย และที่จำเลยกล่าวในทำนองว่าจะเอาที่ดินถมที่ทำให้ราษฎรที่ไม่ยอมขายนั้นเข้าออกไม่ได้ ก็เป็นการกล่าวตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ ไม่ได้เป็นการบังคับว่าผู้นั้นต้องขายที่ดินให้กับจำเลยแต่อย่างใด
ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยและบริวารได้บังคับซื้อที่ดินจากราษฎรหลายรายตามฟ้อง และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยได้ใช้อำนาจในการนี้โดยมิชอบหรือไม่
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า การออกโฉนดที่ดินตามฟ้องทั้ง 5 แปลง ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายหรือไม่
ปรากฏว่าสำนักนายกรัฐมนตรีคำสั่งที่ 95/2546 ลงวันที่ 3 เมษายน 2546 ตั้งกรรมการตรวจสอบและสอบสวนเรื่องการทุจริตการก่อสร้างโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จ.สมุทรปราการ โดยมี พล.ต.ท.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ขณะนั้นเป็นประธาน ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นหลายชุด ตรวจสอบข้อเท็จจริง
โดยคณะกรรมการต่างเห็นว่าเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย รวมทั้งคณะกรรมการที่กรมที่ดินตั้งขึ้นเห็นว่าเป็นการออกโฉนดทับคลองสาธารณะ และกรมมีคำสั่งให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดิน 4 แปลง รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ปรากฏตามสำนวนการไต่สวน มีน้ำหนักเชื่อว่ายังคงมีสภาพเป็นที่เทขยะอยู่
องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติ 8 ต่อ 1 ว่า การออกโฉนดทั้ง 5 แปลง ไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย
ส่วนประเด็นจำเลยข่มขืนใจหรือจูงใจให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่สำหนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี ออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบหรือไม่นั้น
จากข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ในการสอบพยาน องค์คณะผู้พิพากษา จึงมีมติ 8 ต่อ 1 เห็นว่าจำเลยได้ใช้อำนาจข่มขืนใจหรือจูงใจเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน จ.สมุทร ปราการ สาขาบางพลี ออกโฉนดที่ดินพิพาทให้ แก่จำเลยในนาม บจก.ปาล์มบีช โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยอีกว่า การใช้อำนาจข่มขืนใจหรือจูงใจดังกล่าวนั้นเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งอันเป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 148 หรือไม่
องค์คณะผู้พิพากษา เห็นว่า อำนาจในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มิได้จำกัดเฉพาะงานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น จำเลยยังมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2534 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น
และยังมีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2535 รวมถึงจำเลยมีสิทธิเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อมีข้อเสนอแนะให้ความเห็น ตลอดจนมีมติในกิจการของกระทรวง กรม อื่นใดทั้งในและนอกกำกับดูแลของจำเลย สอดคล้องกับคำเบิกความของ นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการมีอำนาจแสดงความคิดเห็นและลงมติในการแต่งตั้งปลัดกระทรวง ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 11 อธิบดีซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 10 ทุกกระทรวง กรม และมีอำนาจแสดงความคิดเห็นต่อการแต่งตั้งข้าราชการดังกล่าว มิใช่เฉพาะกระทรวง ทบวง กรม ที่ต้นสังกัดเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีพยานที่เบิกความถึงอำนาจบังคับบัญชาให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการกรมที่ดิน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มีหน้าที่ระวังแนวเขตสาธารณะในการออกโฉนดที่ดินตามฟ้อง ดังนั้น ที่จำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลกรมที่ดิน จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 นั้นฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบทำนองว่า จำเลยถูกดำเนินคดีเพราะถูกกลั่นแกล้งจากระบอบทักษิณ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคไทยรักไทยในขณะนั้น กลั่นแกล้งจำเลย เพราะพรรคการเมืองของจำเลยไม่ยอมยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย แม้อาจมีมูลความจริงอยู่บ้าง แต่เหตุดังกล่าวก็เกิดจากที่จำเลยมีจุดอ่อนให้การเมืองเข้ามาสอดแทรกได้
ที่จำเลยต่อสู้ว่าพนักงานสอบสวนและคณะอนุกรรมการไต่สวน ป.ป.ช.ได้สอบสวนพยานหลักฐานก่อนแจ้งข้อหาแก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
องค์คณะผู้พิพากษา เห็นว่า ในการรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานได้มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องทำภายหลังแจ้งข้อหาแก่จำเลย ทั้งเมื่อมีการแจ้งข้อหาแก่จำเลยก็ให้โอกาสจำเลยแก้ข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่ ปรากฏตามคำให้การของจำเลย รวม 887 แผ่น ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น จึงมีมติ 8 ต่อ 1 ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม มาตรา 148 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติ 5 ต่อ 4 ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 84 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก ดังนั้น ที่จำเลยให้วินิจฉัยข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม มาตรา 157 ประกอบมาตรา 84 จึงไม่ต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
ส่วนพระเครื่องผงสุพรรณเลี่ยมทองของกลาง ที่จำเลยมอบให้เจ้าหน้าที่รังวัดกรมที่ดินเป็นการตอบแทน ที่ช่วยเหลือออกโฉนด องค์คณะผู้พิพากษามีมติ 5 ต่อ 4 ว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้กระทำผิด ให้ริบ
องค์คณะผู้พิพากษา ได้ประชุมปรึกษาอัตราโทษ ตามพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดของจำเลย เห็นสมควรให้ลงโทษจำคุก 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 ริบพระเครื่องผงสุพรรณเลี่ยมทอง
เนื่องจากจำเลยหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา ศาลฎีกาฯได้ออกหมายจับจำเลยเพื่อมาฟังคำพิพากษา และปรับจำเลยตามสัญญาประกัน แต่ก็ไม่ได้ตัวมาฟังคำพิพากษา ศาลฎีกาฯจึงได้ออกหมายจับจำเลยรับโทษตามคำพิพากษาต่อไป การที่จำเลยหลบหนีคดีนี้มีอายุความ 15 ปี นับแต่วันที่จำเลยหลบหนี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 98