คณะอนุญาโตตุลาการ ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ดังนี้
๑. สัญญาพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่
๒. สัญญาตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะและข้อเรียกร้องอยู่ในขอบเขตของสัญญา อนุญาโตตุลาการหรือไม่
๓. บันทึกข้อตกลง MOA มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
๔. ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา
๕. ผู้คัดค้านจะต้องชำระค่าจ้างและค่าเสียหายตามข้อเรียกร้องและผู้เรียกร้อง
จะต้องคืนเงินหรือใช้ค่าเสียหายตามข้อเรียกร้องแย้งให้ผู้คัดค้านหรือไม่
ประเด็นข้อ ๑, ๒ ผู้คัดค้านมีภาระการนำสืบ ประเด็นนอกนั้นผู้เรียกร้องมีภาระการ
นำสืบ
ผู้เรียกร้องนำสืบใจความว่า ผู้เรียกร้องทั้งหกเป็นนิติบุคคล ผู้เรียกร้องที่ ๑-๕ ทำสัญญายอมเข้าด้วยกันเป็นกิจกการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี ผู้คัดค้านเป็น ค.ร.ม. ในรัฐบาล กิจการร่วมค้าได้ร่วมกับบริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ยื่นประมูลการก่อสร้างโครงการโรงบำบัดน้ำเสียวงเงิน ๒๒,๙๔๙,๙๘๔,๐๒๐ บาท ทำสัญญากันเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐
แม้บริษัทนอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จะขอถอนตัวออกจากกิจการร่วมค้าแต่ก็มีบริษัทยูเอสฟิลเตอร์ เข้ามาแทน ซึ่งผู้คัดค้านก็ยอมรับด้วยดี ไม่ได้มีการบอกกล่าวหรือสงานสิทธิ์ว่าจะเลิกสัญญาแต่อย่างใด ทั้งไม่ได้แสดงให้เห็นว่าบริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นสาระสำคัญของสัญญาแต่อย่างใด
อีกทั้งภายหลังผู้คัดค้านก็ได้อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนในสัญญาร่วมลงทุนได้รวมทั้งกิจการร่วมค้าทั้ง ๕ ไม่สามารถดำเนินกิจการไปกับนอร์ธเวสต์ได้ จึงเอา OPCO เข้ามาแทนโดยกรมควบคุมมลพิษ เป็นผู้อนุมัติ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนในการร่วมลงทุน จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญผิดในตัวบุคคล และไม่ตกเป็นโมฆะแต่อย่างใด
พิเคราะห์แล้ว เห็นสมควรวินิจฉัยหลายประการ กล่าวคือ ไม่ชำระเงินค่างวดที่ ๕๕, ๕๖, ๕๗ และ ๕๘ ก้าวก่ายการปฏิบัติงานของวิศวกรที่ปรึกษาของผู้เรียกร้องโดยไม่สุจริต ด้วยการไม่อนุมัติการจ่ายเงิน ตามหนังสือรับรองผลของวิศวกรที่ปรึกษาของผู้คัดค้านโดยปราศจากเหตุอันสมควร
คัดค้านการใช้วิจารณญาณของวิศวกรที่ปรึกษาที่อนุมัติให้ผู้เรียกร้องขยายเวลาการทำงานที่ล่าช้าโดยมีเหตุมาจากผู้ประท้วงและไม่ขยายระยะเวลาให้ผู้เรียกร้องโดยเจตนาไม่สุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เรียกร้องไม่ให้ความร่วมมือในความพยายามยุติปัญหาผู้คัดค้านพยายามหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ถอดถอนวิศวกรที่ปรึกษาของตน ปฏิเสธไม่ปรับราคาค่าก่อสร้างและผิดสัญญาอีกหลายประการ
ผู้เรียกร้องจึงใช้สิทธิเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ ๖๙.๑ ผู้คัดค้านไม่จ่ายค่างวดงานที่ผู้เรียกร้องดำเนินการแล้วเสร็จตามสัญญาและผู้คัดค้านตรวจรับแล้ว วิศวกรทีปรึกษาอนุมัติให้ชำระเงินแล้วตามดังเอกสารที่ ๕๕, ๕๖, ๕๗, และ ๕๘ เป็นเงิน ๑๑๑,๓๕๐,๓๒๗ บาท ให้วิศวกรที่ปรึกษารับรองงานโดยไม่สุจริตและต่ำกว่าที่ขอเบิก ค่าตะแกรงดักขยะรวมค่าเสียหายทั้งสิ้น ๔,๙๘๓,๓๔๒,๔๘๓ บาท ๓๑,๐๓๘,๗๘๐ เหรียญสหรัฐ คืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารทั้งหมด
ผู้คัดค้านนำสืบใจความว่ากรมควบคุมมลพิษ ผู้คัดค้านได้ทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย เขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ กับกลุ่ม NVPSKG และ NWWI เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ โดยผู้รับจ้างจะต้องจัดการที่ดินและโอนกรรมสิทธิ์ที่จะก่อสร้างให้ทางการทั้งหมด ๑๗ แปลง ในราคาตามบัญชีรายการวงเงิน ๑,๙๕๖,๖๐๐,๐๐๐ บาท ภายใน ๖ เดือน ได้ที่ดินรวม ๑,๙๐๓-๐-๘๗ ไร่ และขอกู้เงินเพิ่มจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ๓,๒๐๐ ล้านบาท
พิเคราะห์แล้ว เห็นสมควรวินิจฉัยความประเด็นที่ตั้งไว้ กล่าวคือ ประเด็นแรก ผู้เรียกร้องอ้างว่าสัญญาพิพาทเป็นโมฆะ ดังนั้นสัญญาตั้งอนุญาโตตุลาการจึงเป็นโมฆะด้วย โดยอ้างว่าก่อนมีการลงนามในสัญญาบริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ขอถอดหนังสือมอบอำนาจก่อนมีการลงนามในสัญญาของบริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียอันเป็นการปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกแจ้งแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นสาระสำคัญในตัวบุคคลและเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม
และปรากฏว่าที่ดินที่ผู้คัดค้านรับโอนมาโฉนดเลขที่ ๑๕๐๒๔, ๑๓๑๕๐, ๑๓๘๑๗, ๑๕,๕๒๘ เนื้อที่รวม ๑๗๓๖ ไร่ ๒ งาน ๖๖ ตารางวา เป็นที่ดินที่ออกโฉนดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและกรมที่ดินได้มีคำสั่งเพิกถอนโฉนดดังกล่าวอันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม โดยสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมและสำคัญผิดในทรัพย์สินที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรมขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาจึงตกเป็นโมฆะ แม้ต่อมานายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ อดีตอธิบดีของผู้คัดค้านได้มีหนังสืออนุญาตให้ผู้เรียกร้องที่ ๖ เข้าเป็นหนึ่งในสัญญาแทนบริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ก็ตามก็ไม่อาจทำให้สัญญาที่ตกเป็นโมฆะแล้วกลับมามีผลตามกฎหมายได้
เห็นว่า ข้อพิพาทแห่งคดีไม่กระทบถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ กรณีไม่อาจนำมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.๒๕๔๕ มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้
นอกจากนี้ ยังได้ความจากนายวรวิทย์ ชวนะนันท์ พยานผู้เรียกร้องว่ากิจการร่วมค้า เอ็นจีพีเอสเคจี ตามที่ผู้เรียกร้องอ้างนั้น ผู้เรียกร้องแจ้งว่ากิจการร่วมค้าที่ฝ่ายผู้เรียกร้องกล่าวอ้างถึงนั้นไม่ได้มีการจดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงมีผลเท่ากับตกลงทำกิจการร่วมค้าในลักษณะห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนตามแนวคำพิพากษาฏีกาที่ ๕๖๓๓ - ๕๖๓๘/๒๕๔๘ ระหว่างบริษัท พรีเมียร์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ผู้ร้องขอ บริษัท เนาวรัตน์ พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) กับพวกผู้ร้อง
ดังนั้น ข้อที่ฝ่ายผู้คัดค้านอ้างว่า การที่ผู้คัดค้านเข้าทำสัญญาเกิดจากความสำคัญผิดว่ามีบริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้ร่วมในกิจการร่วมค้า และการที่บริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ถอนตัวไปจึงทำให้ฝ่ายผู้คัดค้านได้เข้าทำสัญญาโดยสำคัญผิดในตัวบุคคล จึงไม่เกิดขึ้น
ประเด็นต่อมามีว่า บันทึกข้อตกลง MOA มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
ข้อนี้ได้ความจากนายวรวิทย์ ชวนะนันท์ ผู้จัดการบริษัทผู้เรียกร้องซึ่งเป็นพยานผู้เรียกร้องว่าการทำข้อตกลง MOA จะต้องไปทำความตกลงตามวิธีการอีกชั้นหนึ่ง หากตกลงกันไม่ได้เรื่องนี้จะต้องดำเนินไปอย่างมีข้อพิพาท คดีนี้หลังจากมีการทำข้อตกลง MOA แล้วไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ดำเนินการทำความตกลงกันต่อไปเป็นดังนี้ MOA จึงไม่เกิดผลแก่ฝ่ายใด
ปัญหาต่อไปมีว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ข้อนี้ได้ความจากนายวรวิทย์ ชวนะนันท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ผู้เรียกร้องที่ ๑ ซึ่งเป็นพยานผู้เรียกร้องว่าได้ส่งมอบงานอันที่ ๑ และวิศวกรปรึกษาออกใบรับรองให้แล้ว ส่งมอบงานแล้ว แต่ผู้คัดค้านไม่จ่ายเงิน แม้ไม่ได้ความว่างานอันที่ ๑ เป็นงานอะไรตามสัญญา แต่นายวรวิทย์ก็เบิกความต่อมาโดยนายวรวิทย์อ้างว่าได้มีการส่งมอบงานแล้วและวิศวกรที่ปรึกษาตรวจรับแล้ว แต่ผู้คัดค้านสั่งไม่ให้วิศวกรที่ปรึกษาออกใบรับรองงานให้
งานอันที่ ๓ ส่งมอบแล้วแต่วิศวกรที่ปรึกษาไม่ได้ตรวจรับเพราะผู้คัดค้านสั่งไม่ให้ตรวจรับ ที่สุดผู้คัดค้านได้ยกเลิกสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษา
หลังจากนั้นผู้คัดค้านได้กล่าวอ้างว่าสัญญาพิพาทเป็นโมฆะ ตามความนำสืบของผู้เรียกร้องได้ความจากนายวรวิทย์ กรรมการผู้จัดการของบริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ผู้เรียกร้องที่ ๑ พยานของผู้เรียกร้องว่างานอันดับที่ ๑ ส่งมอบแล้ววิศวกรที่ปรึกษาออกใบรับรองงานแล้ว แต่ฝ่ายผู้คัดค้านไม่จ่ายเงินให้
นายวรวิทย์ เบิกความต่อมาว่า งานต่อมาวิศวกรที่ปรึกษาตรวจรับแล้วแต่ผู้คัดค้านสั่งไม่ให้วิศวกรที่ปรึกษาออกใบรับรองให้
นายวรวิทย์เบิกความต่อมาอีกว่า งานอันดับที่ ๓ ส่งมอบแล้ววิศวกรที่ปรึกษาไม่ได้ตรวจรับเนื่องจากผู้คัดค้านสั่งไม่ให้ตรวจรับ แล้วผู้คัดค้านได้ยกเลิกสัญญาระหว่างผู้คัดค้านกับวิศวกรที่ปรึกษา หลังจากนั้นผู้คัดค้านได้กล่าวอ้างว่าสัญญาเป็นโมฆะโดยไม่ปรากฏว่าสัญญาเป็นโมฆะเพราะเหตุใด
ข้อจะต้องพิจารณามีว่า ที่นายวรวิทย์เบิกความว่าได้ส่งมอบงานให้ฝ่ายผู้คัดค้านแล้วจนถึงงานอันที่ ๓ นั้น แม้ไม่ปรากฏว่างานอันที่ ๓ คืออะไรแต่ก็พอชี้ชัดว่าฝ่ายผู้เรียกร้องได้ส่งมอบงานตามสัญญางวดที่ ๕๕, ๕๖, ๕๗ และ ๕๘ แก่ผู้คัดค้าน แต่เนื่องจากผู้คัดค้านไม่ได้สืบหักล้างหรือสืบปฏิเสธเป็นประการอื่นข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังว่าฝ่ายผู้เรียกร้องได้ส่งมอบงานอันที่ ๕๕, ๕๖, ๕๗ และ ๕๘ แก่ผู้คัดค้านแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงยังว่าได้มีการส่งมอบงานงวดที่ ๕๕, ๕๖, ๕๘ และ ๕๘ แล้วจริงและผู้เรียกร้องนำสืบต่อไปว่า ผู้คัดค้านไม่จ่ายค่างวดงานให้แก่ผู้เรียกร้อง กรณีผู้คัดค้านไม่จ่ายค่างวดงานให้แก่ผู้เรียกร้อง ผู้คัดค้านจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องรับผิดใช้ค่างวดงานตามสัญญาให้ผู้เรียกร้อง ส่วนที่ผู้คัดค้านอ้างว่าสัญญาเป็นโมฆะโดยไม่ได้อ้างมีเหตุแห่งโมฆะกรรมหรือนำสืบให้เห็นตามที่กล่าวอ้าง รับฟังไม่ได้ว่าสัญญาตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างเป็นโมฆะกรรม
และที่ผู้คัดค้านเรียกให้ผู้เรียกร้องจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะก่อสร้างให้ทางการทั้งหมด ๑๗ แปลง ในราคาตามบัญชีรายการวงเงิน ๑,๙๕๖,๖๐๐,๐๐๐ บาทรวมที่ดิน ๑,๙๐๓-๖-๘๗ ไร่ และขอกู้เงินเพิ่มจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ๓,๒๐๐ ล้านบาทนั้นไม่อาจเรียกในคดีชั้นอนุญาโตตุลาการนี้ รวมทั้งค่าเสียหายอนาคตและค่าเสียหายที่เป็นการลงทุนหรือค่าขาดประโยชน์ก็ไม่อาจเรียกได้เช่นกัน เป็นดังนี้จึงไม่จำต้องพิจารณาคำคัดค้านในส่วนข้อเรียกร้องแย้ง
ส่วนที่ผู้เรียกร้องอ้างว่าผู้คัดค้านผิดสัญญาอีกหลายประการก็ไม่ปรากฏว่าผู้เรียกร้องได้กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านผิดสัญญาในเรื่องใดบ้าง คงรับไว้ได้ว่าผู้คัดค้านผิดสัญญาไม่จ่ายค่างวดที่ ๕๕, ๕๖, ๕๗ และ ๕๘ ดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น เป็นดังนี้ผู้คัดค้านจึงต้องแพ้คดีแก่ผู้เรียกร้องโดยไม่จำต้องวินิจฉัยคำคัดค้านในส่วนข้อเรียกร้องแย้งของผู้คัดค้าน
จึงมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงินค่าจ้าง ค่าเสียหาย รวมดอกเบี้ยตามข้อเรียกร้องเป็นเงิน ๔,๙๘๓,๓๔๒,๓๘๓ บาท ๓๑,๐๓๕,๗๘๐ เหรียญสหรัฐให้แก่ผู้เรียกร้องพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของเงิน ๔,๔๒๔,๐๙๙,๙๘๒ บาท และของเงิน ๒๖,๔๓๔,๖๓๖ เหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จและคืนหนังสือค้ำประกันพร้อมค่าธรรมเนียมและค่าธรรมเนียมแทนผู้เรียกร้องเป็นเงิน ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท จนกว่าจะคืนหนังสือค้ำประกันให้ผู้เรียกร้อง ข้อเรียกร้องนอกจากนี้ให้ยกและให้ยกข้อเรียกร้องแย้ง
ค่าป่วยการคณะอนุญาโตตุลาการและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกระบวนพิจารณาชั้นคณะอนุญาโตตุลาการให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายคำชี้ขาดนี้
ลงชื่อ นายวิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์ ประธานคณะอนุญาโตตุลาการ
ลงชื่อ นายเสถียร วงศ์วิเชียร อนุญาโตตุลาการ
ลงชื่อ นายเคียง บุญเพิ่ม อนุญาโตตุลาการ
๑. สัญญาพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่
๒. สัญญาตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะและข้อเรียกร้องอยู่ในขอบเขตของสัญญา อนุญาโตตุลาการหรือไม่
๓. บันทึกข้อตกลง MOA มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
๔. ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา
๕. ผู้คัดค้านจะต้องชำระค่าจ้างและค่าเสียหายตามข้อเรียกร้องและผู้เรียกร้อง
จะต้องคืนเงินหรือใช้ค่าเสียหายตามข้อเรียกร้องแย้งให้ผู้คัดค้านหรือไม่
ประเด็นข้อ ๑, ๒ ผู้คัดค้านมีภาระการนำสืบ ประเด็นนอกนั้นผู้เรียกร้องมีภาระการ
นำสืบ
ผู้เรียกร้องนำสืบใจความว่า ผู้เรียกร้องทั้งหกเป็นนิติบุคคล ผู้เรียกร้องที่ ๑-๕ ทำสัญญายอมเข้าด้วยกันเป็นกิจกการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี ผู้คัดค้านเป็น ค.ร.ม. ในรัฐบาล กิจการร่วมค้าได้ร่วมกับบริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ยื่นประมูลการก่อสร้างโครงการโรงบำบัดน้ำเสียวงเงิน ๒๒,๙๔๙,๙๘๔,๐๒๐ บาท ทำสัญญากันเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐
แม้บริษัทนอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จะขอถอนตัวออกจากกิจการร่วมค้าแต่ก็มีบริษัทยูเอสฟิลเตอร์ เข้ามาแทน ซึ่งผู้คัดค้านก็ยอมรับด้วยดี ไม่ได้มีการบอกกล่าวหรือสงานสิทธิ์ว่าจะเลิกสัญญาแต่อย่างใด ทั้งไม่ได้แสดงให้เห็นว่าบริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นสาระสำคัญของสัญญาแต่อย่างใด
อีกทั้งภายหลังผู้คัดค้านก็ได้อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนในสัญญาร่วมลงทุนได้รวมทั้งกิจการร่วมค้าทั้ง ๕ ไม่สามารถดำเนินกิจการไปกับนอร์ธเวสต์ได้ จึงเอา OPCO เข้ามาแทนโดยกรมควบคุมมลพิษ เป็นผู้อนุมัติ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนในการร่วมลงทุน จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญผิดในตัวบุคคล และไม่ตกเป็นโมฆะแต่อย่างใด
พิเคราะห์แล้ว เห็นสมควรวินิจฉัยหลายประการ กล่าวคือ ไม่ชำระเงินค่างวดที่ ๕๕, ๕๖, ๕๗ และ ๕๘ ก้าวก่ายการปฏิบัติงานของวิศวกรที่ปรึกษาของผู้เรียกร้องโดยไม่สุจริต ด้วยการไม่อนุมัติการจ่ายเงิน ตามหนังสือรับรองผลของวิศวกรที่ปรึกษาของผู้คัดค้านโดยปราศจากเหตุอันสมควร
คัดค้านการใช้วิจารณญาณของวิศวกรที่ปรึกษาที่อนุมัติให้ผู้เรียกร้องขยายเวลาการทำงานที่ล่าช้าโดยมีเหตุมาจากผู้ประท้วงและไม่ขยายระยะเวลาให้ผู้เรียกร้องโดยเจตนาไม่สุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เรียกร้องไม่ให้ความร่วมมือในความพยายามยุติปัญหาผู้คัดค้านพยายามหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ถอดถอนวิศวกรที่ปรึกษาของตน ปฏิเสธไม่ปรับราคาค่าก่อสร้างและผิดสัญญาอีกหลายประการ
ผู้เรียกร้องจึงใช้สิทธิเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ ๖๙.๑ ผู้คัดค้านไม่จ่ายค่างวดงานที่ผู้เรียกร้องดำเนินการแล้วเสร็จตามสัญญาและผู้คัดค้านตรวจรับแล้ว วิศวกรทีปรึกษาอนุมัติให้ชำระเงินแล้วตามดังเอกสารที่ ๕๕, ๕๖, ๕๗, และ ๕๘ เป็นเงิน ๑๑๑,๓๕๐,๓๒๗ บาท ให้วิศวกรที่ปรึกษารับรองงานโดยไม่สุจริตและต่ำกว่าที่ขอเบิก ค่าตะแกรงดักขยะรวมค่าเสียหายทั้งสิ้น ๔,๙๘๓,๓๔๒,๔๘๓ บาท ๓๑,๐๓๘,๗๘๐ เหรียญสหรัฐ คืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารทั้งหมด
ผู้คัดค้านนำสืบใจความว่ากรมควบคุมมลพิษ ผู้คัดค้านได้ทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย เขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ กับกลุ่ม NVPSKG และ NWWI เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ โดยผู้รับจ้างจะต้องจัดการที่ดินและโอนกรรมสิทธิ์ที่จะก่อสร้างให้ทางการทั้งหมด ๑๗ แปลง ในราคาตามบัญชีรายการวงเงิน ๑,๙๕๖,๖๐๐,๐๐๐ บาท ภายใน ๖ เดือน ได้ที่ดินรวม ๑,๙๐๓-๐-๘๗ ไร่ และขอกู้เงินเพิ่มจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ๓,๒๐๐ ล้านบาท
พิเคราะห์แล้ว เห็นสมควรวินิจฉัยความประเด็นที่ตั้งไว้ กล่าวคือ ประเด็นแรก ผู้เรียกร้องอ้างว่าสัญญาพิพาทเป็นโมฆะ ดังนั้นสัญญาตั้งอนุญาโตตุลาการจึงเป็นโมฆะด้วย โดยอ้างว่าก่อนมีการลงนามในสัญญาบริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ขอถอดหนังสือมอบอำนาจก่อนมีการลงนามในสัญญาของบริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียอันเป็นการปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกแจ้งแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นสาระสำคัญในตัวบุคคลและเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม
และปรากฏว่าที่ดินที่ผู้คัดค้านรับโอนมาโฉนดเลขที่ ๑๕๐๒๔, ๑๓๑๕๐, ๑๓๘๑๗, ๑๕,๕๒๘ เนื้อที่รวม ๑๗๓๖ ไร่ ๒ งาน ๖๖ ตารางวา เป็นที่ดินที่ออกโฉนดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและกรมที่ดินได้มีคำสั่งเพิกถอนโฉนดดังกล่าวอันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม โดยสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมและสำคัญผิดในทรัพย์สินที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรมขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาจึงตกเป็นโมฆะ แม้ต่อมานายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ อดีตอธิบดีของผู้คัดค้านได้มีหนังสืออนุญาตให้ผู้เรียกร้องที่ ๖ เข้าเป็นหนึ่งในสัญญาแทนบริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ก็ตามก็ไม่อาจทำให้สัญญาที่ตกเป็นโมฆะแล้วกลับมามีผลตามกฎหมายได้
เห็นว่า ข้อพิพาทแห่งคดีไม่กระทบถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ กรณีไม่อาจนำมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.๒๕๔๕ มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้
นอกจากนี้ ยังได้ความจากนายวรวิทย์ ชวนะนันท์ พยานผู้เรียกร้องว่ากิจการร่วมค้า เอ็นจีพีเอสเคจี ตามที่ผู้เรียกร้องอ้างนั้น ผู้เรียกร้องแจ้งว่ากิจการร่วมค้าที่ฝ่ายผู้เรียกร้องกล่าวอ้างถึงนั้นไม่ได้มีการจดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงมีผลเท่ากับตกลงทำกิจการร่วมค้าในลักษณะห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนตามแนวคำพิพากษาฏีกาที่ ๕๖๓๓ - ๕๖๓๘/๒๕๔๘ ระหว่างบริษัท พรีเมียร์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ผู้ร้องขอ บริษัท เนาวรัตน์ พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) กับพวกผู้ร้อง
ดังนั้น ข้อที่ฝ่ายผู้คัดค้านอ้างว่า การที่ผู้คัดค้านเข้าทำสัญญาเกิดจากความสำคัญผิดว่ามีบริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้ร่วมในกิจการร่วมค้า และการที่บริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ถอนตัวไปจึงทำให้ฝ่ายผู้คัดค้านได้เข้าทำสัญญาโดยสำคัญผิดในตัวบุคคล จึงไม่เกิดขึ้น
ประเด็นต่อมามีว่า บันทึกข้อตกลง MOA มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
ข้อนี้ได้ความจากนายวรวิทย์ ชวนะนันท์ ผู้จัดการบริษัทผู้เรียกร้องซึ่งเป็นพยานผู้เรียกร้องว่าการทำข้อตกลง MOA จะต้องไปทำความตกลงตามวิธีการอีกชั้นหนึ่ง หากตกลงกันไม่ได้เรื่องนี้จะต้องดำเนินไปอย่างมีข้อพิพาท คดีนี้หลังจากมีการทำข้อตกลง MOA แล้วไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ดำเนินการทำความตกลงกันต่อไปเป็นดังนี้ MOA จึงไม่เกิดผลแก่ฝ่ายใด
ปัญหาต่อไปมีว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ข้อนี้ได้ความจากนายวรวิทย์ ชวนะนันท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ผู้เรียกร้องที่ ๑ ซึ่งเป็นพยานผู้เรียกร้องว่าได้ส่งมอบงานอันที่ ๑ และวิศวกรปรึกษาออกใบรับรองให้แล้ว ส่งมอบงานแล้ว แต่ผู้คัดค้านไม่จ่ายเงิน แม้ไม่ได้ความว่างานอันที่ ๑ เป็นงานอะไรตามสัญญา แต่นายวรวิทย์ก็เบิกความต่อมาโดยนายวรวิทย์อ้างว่าได้มีการส่งมอบงานแล้วและวิศวกรที่ปรึกษาตรวจรับแล้ว แต่ผู้คัดค้านสั่งไม่ให้วิศวกรที่ปรึกษาออกใบรับรองงานให้
งานอันที่ ๓ ส่งมอบแล้วแต่วิศวกรที่ปรึกษาไม่ได้ตรวจรับเพราะผู้คัดค้านสั่งไม่ให้ตรวจรับ ที่สุดผู้คัดค้านได้ยกเลิกสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษา
หลังจากนั้นผู้คัดค้านได้กล่าวอ้างว่าสัญญาพิพาทเป็นโมฆะ ตามความนำสืบของผู้เรียกร้องได้ความจากนายวรวิทย์ กรรมการผู้จัดการของบริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ผู้เรียกร้องที่ ๑ พยานของผู้เรียกร้องว่างานอันดับที่ ๑ ส่งมอบแล้ววิศวกรที่ปรึกษาออกใบรับรองงานแล้ว แต่ฝ่ายผู้คัดค้านไม่จ่ายเงินให้
นายวรวิทย์ เบิกความต่อมาว่า งานต่อมาวิศวกรที่ปรึกษาตรวจรับแล้วแต่ผู้คัดค้านสั่งไม่ให้วิศวกรที่ปรึกษาออกใบรับรองให้
นายวรวิทย์เบิกความต่อมาอีกว่า งานอันดับที่ ๓ ส่งมอบแล้ววิศวกรที่ปรึกษาไม่ได้ตรวจรับเนื่องจากผู้คัดค้านสั่งไม่ให้ตรวจรับ แล้วผู้คัดค้านได้ยกเลิกสัญญาระหว่างผู้คัดค้านกับวิศวกรที่ปรึกษา หลังจากนั้นผู้คัดค้านได้กล่าวอ้างว่าสัญญาเป็นโมฆะโดยไม่ปรากฏว่าสัญญาเป็นโมฆะเพราะเหตุใด
ข้อจะต้องพิจารณามีว่า ที่นายวรวิทย์เบิกความว่าได้ส่งมอบงานให้ฝ่ายผู้คัดค้านแล้วจนถึงงานอันที่ ๓ นั้น แม้ไม่ปรากฏว่างานอันที่ ๓ คืออะไรแต่ก็พอชี้ชัดว่าฝ่ายผู้เรียกร้องได้ส่งมอบงานตามสัญญางวดที่ ๕๕, ๕๖, ๕๗ และ ๕๘ แก่ผู้คัดค้าน แต่เนื่องจากผู้คัดค้านไม่ได้สืบหักล้างหรือสืบปฏิเสธเป็นประการอื่นข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังว่าฝ่ายผู้เรียกร้องได้ส่งมอบงานอันที่ ๕๕, ๕๖, ๕๗ และ ๕๘ แก่ผู้คัดค้านแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงยังว่าได้มีการส่งมอบงานงวดที่ ๕๕, ๕๖, ๕๘ และ ๕๘ แล้วจริงและผู้เรียกร้องนำสืบต่อไปว่า ผู้คัดค้านไม่จ่ายค่างวดงานให้แก่ผู้เรียกร้อง กรณีผู้คัดค้านไม่จ่ายค่างวดงานให้แก่ผู้เรียกร้อง ผู้คัดค้านจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องรับผิดใช้ค่างวดงานตามสัญญาให้ผู้เรียกร้อง ส่วนที่ผู้คัดค้านอ้างว่าสัญญาเป็นโมฆะโดยไม่ได้อ้างมีเหตุแห่งโมฆะกรรมหรือนำสืบให้เห็นตามที่กล่าวอ้าง รับฟังไม่ได้ว่าสัญญาตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างเป็นโมฆะกรรม
และที่ผู้คัดค้านเรียกให้ผู้เรียกร้องจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะก่อสร้างให้ทางการทั้งหมด ๑๗ แปลง ในราคาตามบัญชีรายการวงเงิน ๑,๙๕๖,๖๐๐,๐๐๐ บาทรวมที่ดิน ๑,๙๐๓-๖-๘๗ ไร่ และขอกู้เงินเพิ่มจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ๓,๒๐๐ ล้านบาทนั้นไม่อาจเรียกในคดีชั้นอนุญาโตตุลาการนี้ รวมทั้งค่าเสียหายอนาคตและค่าเสียหายที่เป็นการลงทุนหรือค่าขาดประโยชน์ก็ไม่อาจเรียกได้เช่นกัน เป็นดังนี้จึงไม่จำต้องพิจารณาคำคัดค้านในส่วนข้อเรียกร้องแย้ง
ส่วนที่ผู้เรียกร้องอ้างว่าผู้คัดค้านผิดสัญญาอีกหลายประการก็ไม่ปรากฏว่าผู้เรียกร้องได้กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านผิดสัญญาในเรื่องใดบ้าง คงรับไว้ได้ว่าผู้คัดค้านผิดสัญญาไม่จ่ายค่างวดที่ ๕๕, ๕๖, ๕๗ และ ๕๘ ดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น เป็นดังนี้ผู้คัดค้านจึงต้องแพ้คดีแก่ผู้เรียกร้องโดยไม่จำต้องวินิจฉัยคำคัดค้านในส่วนข้อเรียกร้องแย้งของผู้คัดค้าน
จึงมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงินค่าจ้าง ค่าเสียหาย รวมดอกเบี้ยตามข้อเรียกร้องเป็นเงิน ๔,๙๘๓,๓๔๒,๓๘๓ บาท ๓๑,๐๓๕,๗๘๐ เหรียญสหรัฐให้แก่ผู้เรียกร้องพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของเงิน ๔,๔๒๔,๐๙๙,๙๘๒ บาท และของเงิน ๒๖,๔๓๔,๖๓๖ เหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จและคืนหนังสือค้ำประกันพร้อมค่าธรรมเนียมและค่าธรรมเนียมแทนผู้เรียกร้องเป็นเงิน ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท จนกว่าจะคืนหนังสือค้ำประกันให้ผู้เรียกร้อง ข้อเรียกร้องนอกจากนี้ให้ยกและให้ยกข้อเรียกร้องแย้ง
ค่าป่วยการคณะอนุญาโตตุลาการและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกระบวนพิจารณาชั้นคณะอนุญาโตตุลาการให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายคำชี้ขาดนี้
ลงชื่อ นายวิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์ ประธานคณะอนุญาโตตุลาการ
ลงชื่อ นายเสถียร วงศ์วิเชียร อนุญาโตตุลาการ
ลงชื่อ นายเคียง บุญเพิ่ม อนุญาโตตุลาการ