ASTVผู้จัดการรายวัน – ชิงดำผู้ว่าฯกฟผ.สะพัด100 ล้าน บริษัทบิ๊กรับเหมาลงขันดันเด็กในคาถานักการเมืองขึ้นตำแหน่ง แลกสัมปทานเปิดเหมืองแม่เมาะสัญญา 8 มูลค่า 2.8 หมื่นล้าน “บอร์ด กฟผ.”ประชุมด่วนพิจารณาผลสรรหาวันนี้ ก่อนสังเลื่อนกระทันหัน หึ่งเคลียร์สหภาพฯ ลงตัวจัดให้ไปทัวร์ยุโรปช่วงเอาเรื่องเข้าครม. สัปดาห์หน้า
แหล่งข่าวการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ในวันอังคารนี้ (3 พ.ย.) คณะกรรมการ กฟผ. (บอร์ด) จะประชุมเพื่อพิจารณาผลการสรรหาผู้ว่าการกฟผ. ซึ่งคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการ กฟผ. ที่มีนายไกรฤทธิ์ นิลคูหา เป็นประธาน จะส่งคะแนนของผู้สมัครให้บอร์ดพิจารณา หลังจากที่ผู้สมัครทั้ง 6 คน ได้แสดงวิสัยทัศน์และยื่นแผนพัฒนากฟผ.ต่อคณะกรรมการสรรหาฯ และพนักงาน กฟผ. เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า คู่ชิงที่สำคัญในครั้งนี้ คือ นายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา กฟผ. และนายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า กฟผ. โดยคนแรกเป็นรองผู้ว่าการฯ ที่มีอาวุโสกว่า มีจุดยืนคือ ไม่แปรรูป กฟผ. รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับมวลชน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน นิวเคลียร์ พนักงานส่วนใหญ่ให้การยอมรับ
ส่วนนายสุทัศน์ รับผิดชอบงานด้านโอเปอเรชั่น มีจุดยืนและบทบาทต้องการแปรรูป กฟผ. พนักงานบางส่วนไม่ให้การยอมรับโดยเฉพาะกรณีน้ำจากเขื่อนศรีนครรินทร์ จ.กาญจนบุรี ท่วมบ้านเรือนประชาชนเพราะการเดินเครื่องปั่นไฟจากพลังน้ำ มีการโยนความผิดให้พนักงานระดับล่าง แต่นายสุทัศน์ เป็นบุคคลที่เข้ากันได้ดีกับนักการเมืองที่ส่งนอมินีเข้าบริหารงานด้านพลังงาน และมีเอกชนหนุนหลังอยู่
สำหรับรองผู้ว่าฯ อีก 2 คน และผู้สมัครจากนอกองค์กร กฟผ. อีก 2 คน เป็นเพียงไม้ประดับเท่านั้น
แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกตว่า การสรรหาผู้ว่าฯ คราวนี้ มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันระหว่างผู้ที่จะขึ้นมาเป็นผู้ว่าการ กฟผ. โดยมีการตั้งคำถามกันว่า งานนี้เอกชนลงขันจ่ายค่าเก้าอี้ให้เป็นหลัก 100 ล้าน แลกกันกับการได้รับสัมปทานเปิดเหมืองถ่านหินสัญญา 8 ที่แม่เมาะ มูลค่ากว่า 2.8 หมื่นล้าน และสัญญาย่อยอีก 2-3 สัญญา มูลค่าสัญญาละพันล้าน ใช่หรือไม่ หากบอร์ด กฟผ. เลือกคนที่ใกล้ชิดกับนักการเมือง ประเด็นที่ตั้งคำถามกันก็อาจจะได้คำตอบที่ชัดเจนขึ้น และถือเป็นความสำเร็จของมือประสานในกฟผ. ซึ่งเป็นญาติกับนักการเมืองเขตภาคเหนือตอนล่างที่ใกล้ชิดกับหัวหน้าพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง
“วันที่ผู้สมัครผู้ว่าการกฟผ.ไปแสดงวิสัยทัศน์กับคณะกรรมการสรรหา เมื่อวันพฤหัสฯ (29 ต.ค.) ที่ผ่านมา ประธานบอร์ด กฟผ. ไปนั่งฟังอยู่ด้วย ทั้งที่ไม่ใช่วิสัยที่จะไปทำอย่างนั้น” แหล่งข่าว กล่าว และยังตั้งข้อสังเกตว่า งานนี้มีการเคลียร์กับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กฟผ. เรียบร้อยแล้วด้วย โดยมีการจัดทัวร์ดูงานที่ยุโรปเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ให้กับคณะกรรมการสหภาพฯ จำนวน 18 คน ในช่วงวันที่ 11 – 17 พ.ย. 52 ซึ่งเป็นช่วงที่อาจจะมีการเสนอชื่อผู้ว่าฯ กฟผ. คนใหม่ ให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติ การไปทัวร์ต่างประเทศของสหภาพฯ สังคมจะได้ไม่ตั้งคำถามกับสหภาพฯ ว่าทำไมไม่ออกมาขวางว่าที่ผู้ว่าฯ ที่มีจุดยืนแปรรูป กฟผ.
สำหรับประธานบอร์ด กฟผ. คนปัจจุบัน คือ นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน
อนึ่ง การเปิดรับสมัครคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ กฟผ. เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 30 ก.ย. 2552 มีผู้สนใจสมัครเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าการ กฟผ. จำนวน 6 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร กฟผ. จำนวน 4 คน ได้แก่ นายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา, นายวิรัช กาญจนพิบูลย์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม, นายสหัส ประทักษ์นุกูล รองผู้ว่าการนโยบายและแผน และนายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า ส่วนบุคคลภายนอก 2 คน คือ นายวิรัช เถื่อนยืนยงค์ ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา และอีกคนไม่ทราบชื่อ
ขั้นตอนการคัดเลือก คณะกรรมการสรรหาฯ ได้ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกและการให้คะแนน ช่วงวันที่ 12 ต.ค. 2552 และดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร จากนั้นจะสัมภาษณ์ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนประมาณวันที่ 26 ต.ค. 2552 เมื่อสรุปผลแล้วเสร็จจะนำเสนอรายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมต่อคณะกรรมการ กฟผ. เพื่อพิจารณา หากคณะกรรมการ กฟผ. เห็นชอบจะนำเสนอต่อที่ประชุมครม.ต่อไป โดยคณะกรรมการสรรหาฯ คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จทันเพื่อรับตำแหน่งต่อจากผู้ว่าการ กฟผ. คนปัจจุบัน คือนายสมบัติ ศานติจารี ที่จะครบสัญญาจ้าง ในวันที่ 17 ธ.ค. 2552
สำหรับประวัติของผู้สมัครรับคัดเลือกเป็นผู้ว่าการ กฟผ. โดยสังเขป ประกอบด้วย นายสมบูรณ์ อารยะสกุล เกิดวันที่ 5 พ.ค. 2496 อายุ 56 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมเครื่องกล) จาก Mapua Institute of Technology ฟิลิปปินส์ และปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมเครื่องกล) จากมหาวิทยาลัย Villanova สหรัฐอเมริกา และ The General Manager Program Harvard Business School ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการพัฒนา กฟผ.
นายวิรัช กาญจนพิบูลย์ เกิดวันที่ 1 มกราคม 2495 อายุ 57 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมไฟฟ้า) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จหลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม กฟผ.
นายสหัส ประทักษ์นุกูล เกิดวันที่ 20 พ.ค. 2498 อายุ 54 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมไฟฟ้า) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชนรุ่นที่ 21 จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการนโยบายและแผน กฟผ.
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ เกิดวันที่ 31 ก.ค. 2496 อายุ 56 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมเครื่องกล) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Advanced Management Program จาก Harvard Business School ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า กฟผ.
นายวิรัช เถื่อนยืนยงค์ จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จาก Mapua Institute of Technology ฟิลิปปินส์ ปริญญาโทบริหารธุรกิจ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาเอกรัฐศาสตร์ จาก Intercultural university ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา
ความคืบหน้าล่าสุด วันที่ 3 พ.ย. 52 ซึ่งเป็นวันที่บอร์ด กฟผ. นัดหมายประชุมเพื่อเลือกผู้ว่าการ กฟผ. ได้ถูกเลื่อนออกไป หลังจากมีกระแสข่าวเงินสะพัดในช่วงการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการฯ กฟผ.
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมบอร์ด กฟผ. จะมีขึ้นในวันที่ 20 พ.ย.นี้
นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงหมายกำหนดการเดินทางไปดูงานต่างประเทศของสหภาพฯตามที่เป็นข่าวข้างต้นว่า เป็นหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ไม่เกี่ยวข้องกับการสรรหาผู้ว่าฯ กฟผ.แต่อย่างใด ทั้งนี้ สหภาพฯ ยืนยันถึงการทำหน้าที่ตรวจสอบความโปร่งใสในการสรรหาผู้ว่าฯ และการทุจริตต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน กฟผ.
ทั้งนี้ สหภาพฯ มีกำหนดเดินทางไปดูงานด้านการแปรรูปและขบวนการแรงงานที่ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 11 - 17 พ.ย.นี้
นายศิริชัย กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบจากฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ กฟผ. (บอร์ด) ได้รับแจ้งว่า ในวันที่ผู้สมัครผู้ว่าการฯ ไปแสดงวิสัยทัศน์คณะกรรมการสรรหานั้น ประธานบอร์ด ไม่ได้เข้าร่วมรับฟังดังที่เป็นข่าวปรากฏออกมาแต่อย่างใด ซึ่งประธานบอร์ดอยู่ต่างประเทศ
"เรื่องสรรหาผู้ว่าการฯ ถึงวันนี้ไม่รู้ข้อมูลเลยว่าเป็นอย่างไรต่อ" นายศิริชัย กล่าว และให้ความเห็นว่า สหภาพฯ ให้การสนับสนุนผู้สมัครฯ ผู้ว่าการฯ จาก กฟผ. ทั้ง 4 คน จะเป็นใครก็ได้
ส่วนประเด็นที่ว่าผู้สมัครฯ คนไหนหนุนหรือค้านการแปรรูป ในช่วงเวลาก่อนหน้าที่กระทรวงการคลัง ต้องการแปรรูป กฟผ. นั้น ผู้บริหาร กฟผ. ต่างถูกบีบให้เห็นพ้องกับรัฐบาลอยู่แล้ว
นายศิริชัย กล่าวต่อว่า ในวันที่คณะกรรมการสรรหา เปิดให้ผู้สมัครผู้ว่าการ กฟผ.แสดงวิสัยทัศน์ เมื่อวันที่ 29 ต.ค. สหภาพฯ ได้ทำหนังสือขอเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม สหภาพฯ ได้จัดเวทีให้ผู้สมัครผู้ว่าการฯ แสดงวิสัยทัศน์ต่อพนักงานในวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งวันดังกล่าว สหภาพฯ ได้เชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังด้วย โดยให้หน่วยประชาสัมพันธ์ของกฟผ.แจ้งหมายกำหนดการต่อผู้สื่อข่าว
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามผู้สื่อข่าวในสายข่าวการค้า - อุตสาหกรรม ซึ่งรับผิดชอบสายงานข่าวด้านพลังงาน ยืนยันว่า ไม่ได้รับแจ้งหมายดังกล่าว ต่างมาทราบกำหนดการในเวลาใกล้เที่ยง จึงไม่มีนักข่าวจากสำนักข่าวใดไปทำข่าว ยกเว้น อ.ส.ม.ท. ซึ่งไปงานดังกล่าวไม่ทันตามเวลา และเป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีสำนักงานข่าวใดรายงานเนื้อหารายละเอียดการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครฯ ผู้ว่าการ กฟผ. แต่อย่างใด
แหล่งข่าวการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ในวันอังคารนี้ (3 พ.ย.) คณะกรรมการ กฟผ. (บอร์ด) จะประชุมเพื่อพิจารณาผลการสรรหาผู้ว่าการกฟผ. ซึ่งคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการ กฟผ. ที่มีนายไกรฤทธิ์ นิลคูหา เป็นประธาน จะส่งคะแนนของผู้สมัครให้บอร์ดพิจารณา หลังจากที่ผู้สมัครทั้ง 6 คน ได้แสดงวิสัยทัศน์และยื่นแผนพัฒนากฟผ.ต่อคณะกรรมการสรรหาฯ และพนักงาน กฟผ. เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า คู่ชิงที่สำคัญในครั้งนี้ คือ นายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา กฟผ. และนายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า กฟผ. โดยคนแรกเป็นรองผู้ว่าการฯ ที่มีอาวุโสกว่า มีจุดยืนคือ ไม่แปรรูป กฟผ. รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับมวลชน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน นิวเคลียร์ พนักงานส่วนใหญ่ให้การยอมรับ
ส่วนนายสุทัศน์ รับผิดชอบงานด้านโอเปอเรชั่น มีจุดยืนและบทบาทต้องการแปรรูป กฟผ. พนักงานบางส่วนไม่ให้การยอมรับโดยเฉพาะกรณีน้ำจากเขื่อนศรีนครรินทร์ จ.กาญจนบุรี ท่วมบ้านเรือนประชาชนเพราะการเดินเครื่องปั่นไฟจากพลังน้ำ มีการโยนความผิดให้พนักงานระดับล่าง แต่นายสุทัศน์ เป็นบุคคลที่เข้ากันได้ดีกับนักการเมืองที่ส่งนอมินีเข้าบริหารงานด้านพลังงาน และมีเอกชนหนุนหลังอยู่
สำหรับรองผู้ว่าฯ อีก 2 คน และผู้สมัครจากนอกองค์กร กฟผ. อีก 2 คน เป็นเพียงไม้ประดับเท่านั้น
แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกตว่า การสรรหาผู้ว่าฯ คราวนี้ มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันระหว่างผู้ที่จะขึ้นมาเป็นผู้ว่าการ กฟผ. โดยมีการตั้งคำถามกันว่า งานนี้เอกชนลงขันจ่ายค่าเก้าอี้ให้เป็นหลัก 100 ล้าน แลกกันกับการได้รับสัมปทานเปิดเหมืองถ่านหินสัญญา 8 ที่แม่เมาะ มูลค่ากว่า 2.8 หมื่นล้าน และสัญญาย่อยอีก 2-3 สัญญา มูลค่าสัญญาละพันล้าน ใช่หรือไม่ หากบอร์ด กฟผ. เลือกคนที่ใกล้ชิดกับนักการเมือง ประเด็นที่ตั้งคำถามกันก็อาจจะได้คำตอบที่ชัดเจนขึ้น และถือเป็นความสำเร็จของมือประสานในกฟผ. ซึ่งเป็นญาติกับนักการเมืองเขตภาคเหนือตอนล่างที่ใกล้ชิดกับหัวหน้าพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง
“วันที่ผู้สมัครผู้ว่าการกฟผ.ไปแสดงวิสัยทัศน์กับคณะกรรมการสรรหา เมื่อวันพฤหัสฯ (29 ต.ค.) ที่ผ่านมา ประธานบอร์ด กฟผ. ไปนั่งฟังอยู่ด้วย ทั้งที่ไม่ใช่วิสัยที่จะไปทำอย่างนั้น” แหล่งข่าว กล่าว และยังตั้งข้อสังเกตว่า งานนี้มีการเคลียร์กับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กฟผ. เรียบร้อยแล้วด้วย โดยมีการจัดทัวร์ดูงานที่ยุโรปเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ให้กับคณะกรรมการสหภาพฯ จำนวน 18 คน ในช่วงวันที่ 11 – 17 พ.ย. 52 ซึ่งเป็นช่วงที่อาจจะมีการเสนอชื่อผู้ว่าฯ กฟผ. คนใหม่ ให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติ การไปทัวร์ต่างประเทศของสหภาพฯ สังคมจะได้ไม่ตั้งคำถามกับสหภาพฯ ว่าทำไมไม่ออกมาขวางว่าที่ผู้ว่าฯ ที่มีจุดยืนแปรรูป กฟผ.
สำหรับประธานบอร์ด กฟผ. คนปัจจุบัน คือ นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน
อนึ่ง การเปิดรับสมัครคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ กฟผ. เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 30 ก.ย. 2552 มีผู้สนใจสมัครเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าการ กฟผ. จำนวน 6 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร กฟผ. จำนวน 4 คน ได้แก่ นายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา, นายวิรัช กาญจนพิบูลย์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม, นายสหัส ประทักษ์นุกูล รองผู้ว่าการนโยบายและแผน และนายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า ส่วนบุคคลภายนอก 2 คน คือ นายวิรัช เถื่อนยืนยงค์ ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา และอีกคนไม่ทราบชื่อ
ขั้นตอนการคัดเลือก คณะกรรมการสรรหาฯ ได้ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกและการให้คะแนน ช่วงวันที่ 12 ต.ค. 2552 และดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร จากนั้นจะสัมภาษณ์ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนประมาณวันที่ 26 ต.ค. 2552 เมื่อสรุปผลแล้วเสร็จจะนำเสนอรายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมต่อคณะกรรมการ กฟผ. เพื่อพิจารณา หากคณะกรรมการ กฟผ. เห็นชอบจะนำเสนอต่อที่ประชุมครม.ต่อไป โดยคณะกรรมการสรรหาฯ คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จทันเพื่อรับตำแหน่งต่อจากผู้ว่าการ กฟผ. คนปัจจุบัน คือนายสมบัติ ศานติจารี ที่จะครบสัญญาจ้าง ในวันที่ 17 ธ.ค. 2552
สำหรับประวัติของผู้สมัครรับคัดเลือกเป็นผู้ว่าการ กฟผ. โดยสังเขป ประกอบด้วย นายสมบูรณ์ อารยะสกุล เกิดวันที่ 5 พ.ค. 2496 อายุ 56 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมเครื่องกล) จาก Mapua Institute of Technology ฟิลิปปินส์ และปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมเครื่องกล) จากมหาวิทยาลัย Villanova สหรัฐอเมริกา และ The General Manager Program Harvard Business School ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการพัฒนา กฟผ.
นายวิรัช กาญจนพิบูลย์ เกิดวันที่ 1 มกราคม 2495 อายุ 57 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมไฟฟ้า) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จหลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม กฟผ.
นายสหัส ประทักษ์นุกูล เกิดวันที่ 20 พ.ค. 2498 อายุ 54 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมไฟฟ้า) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชนรุ่นที่ 21 จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการนโยบายและแผน กฟผ.
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ เกิดวันที่ 31 ก.ค. 2496 อายุ 56 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมเครื่องกล) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Advanced Management Program จาก Harvard Business School ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า กฟผ.
นายวิรัช เถื่อนยืนยงค์ จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จาก Mapua Institute of Technology ฟิลิปปินส์ ปริญญาโทบริหารธุรกิจ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาเอกรัฐศาสตร์ จาก Intercultural university ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา
ความคืบหน้าล่าสุด วันที่ 3 พ.ย. 52 ซึ่งเป็นวันที่บอร์ด กฟผ. นัดหมายประชุมเพื่อเลือกผู้ว่าการ กฟผ. ได้ถูกเลื่อนออกไป หลังจากมีกระแสข่าวเงินสะพัดในช่วงการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการฯ กฟผ.
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมบอร์ด กฟผ. จะมีขึ้นในวันที่ 20 พ.ย.นี้
นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงหมายกำหนดการเดินทางไปดูงานต่างประเทศของสหภาพฯตามที่เป็นข่าวข้างต้นว่า เป็นหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ไม่เกี่ยวข้องกับการสรรหาผู้ว่าฯ กฟผ.แต่อย่างใด ทั้งนี้ สหภาพฯ ยืนยันถึงการทำหน้าที่ตรวจสอบความโปร่งใสในการสรรหาผู้ว่าฯ และการทุจริตต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน กฟผ.
ทั้งนี้ สหภาพฯ มีกำหนดเดินทางไปดูงานด้านการแปรรูปและขบวนการแรงงานที่ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 11 - 17 พ.ย.นี้
นายศิริชัย กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบจากฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ กฟผ. (บอร์ด) ได้รับแจ้งว่า ในวันที่ผู้สมัครผู้ว่าการฯ ไปแสดงวิสัยทัศน์คณะกรรมการสรรหานั้น ประธานบอร์ด ไม่ได้เข้าร่วมรับฟังดังที่เป็นข่าวปรากฏออกมาแต่อย่างใด ซึ่งประธานบอร์ดอยู่ต่างประเทศ
"เรื่องสรรหาผู้ว่าการฯ ถึงวันนี้ไม่รู้ข้อมูลเลยว่าเป็นอย่างไรต่อ" นายศิริชัย กล่าว และให้ความเห็นว่า สหภาพฯ ให้การสนับสนุนผู้สมัครฯ ผู้ว่าการฯ จาก กฟผ. ทั้ง 4 คน จะเป็นใครก็ได้
ส่วนประเด็นที่ว่าผู้สมัครฯ คนไหนหนุนหรือค้านการแปรรูป ในช่วงเวลาก่อนหน้าที่กระทรวงการคลัง ต้องการแปรรูป กฟผ. นั้น ผู้บริหาร กฟผ. ต่างถูกบีบให้เห็นพ้องกับรัฐบาลอยู่แล้ว
นายศิริชัย กล่าวต่อว่า ในวันที่คณะกรรมการสรรหา เปิดให้ผู้สมัครผู้ว่าการ กฟผ.แสดงวิสัยทัศน์ เมื่อวันที่ 29 ต.ค. สหภาพฯ ได้ทำหนังสือขอเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม สหภาพฯ ได้จัดเวทีให้ผู้สมัครผู้ว่าการฯ แสดงวิสัยทัศน์ต่อพนักงานในวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งวันดังกล่าว สหภาพฯ ได้เชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังด้วย โดยให้หน่วยประชาสัมพันธ์ของกฟผ.แจ้งหมายกำหนดการต่อผู้สื่อข่าว
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามผู้สื่อข่าวในสายข่าวการค้า - อุตสาหกรรม ซึ่งรับผิดชอบสายงานข่าวด้านพลังงาน ยืนยันว่า ไม่ได้รับแจ้งหมายดังกล่าว ต่างมาทราบกำหนดการในเวลาใกล้เที่ยง จึงไม่มีนักข่าวจากสำนักข่าวใดไปทำข่าว ยกเว้น อ.ส.ม.ท. ซึ่งไปงานดังกล่าวไม่ทันตามเวลา และเป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีสำนักงานข่าวใดรายงานเนื้อหารายละเอียดการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครฯ ผู้ว่าการ กฟผ. แต่อย่างใด