ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ควรระวังในเวลานี้ก็คือการรุกทางการทหารที่เคยกระทำได้ผลสำเร็จในระยะเวลาที่ผ่านมาก็จะกลายเป็นการถูกรุกบ้าง ในขณะที่การเมืองยังไม่สามารถชนะได้ในระยะยาว การปรับตัวทางยุทธศาสตร์โดยเฉพาะในทางการเมืองและการทหารอาจจะต้องมีการพิจารณาอย่างเร่งด่วนหากแนวโน้มดังกล่าวยังเป็นอยู่เช่นนี้
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รายงาน "สถานการณ์ใหม่ความรุนแรงชายแดนภาคใต้ : ความเสี่ยงในการถูกรุกกลับทางการทหารและตรึงกำลังในทางการเมือง" เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีเนื้อหารายละเอียด ดังนี้
นับตั้งแต่มกราคม 2547 ถึงเดือนมีนาคม 2552 ของปีนี้ ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น 8,810 เหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส รวมทั้งบางส่วนของจังหวัดสงขลา ความรุนแรงลดลงในกลางปี 2550 เมื่อกองทัพเริ่มมาตรการระดมกำลังขนานใหญ่ส่งกำลังเข้ามาในพื้นที่มากกว่า 60,000 นาย มีการปิดล้อมตรวจค้นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบ และรัฐใช้จ่ายเงินงบประมาณไปมากกว่า 109,000 ล้านบาทเพื่อความมั่นคงและการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อดูจากสถิติเหตุการณ์ความรุนแรง เห็นได้อย่างชัดเจนว่าความพยายามในการรุกไล่ทางการเมืองและการทหารต่อขบวนการก่อความไม่สงบค่อนข้างประสบผลสำเร็จ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 เหตุการณ์ความไม่สงบลดลงจากประมาณ 200 ครั้งต่อเดือนไปเป็น 100 กว่าครั้งหลังจากนั้น จากนั้น นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 เหตุการณ์ความไม่สงบลดลงน้อยกว่า 100 ครั้งต่อเดือน นี่เป็นแนวโน้มคงที่ความต่อเนื่องจนกระทั่งมีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างจนน่าสังเกตในตอนต้นปี 2552 นี้
ในช่วงต้นปี 2552 จำนวนของเหตุการณ์ความไม่สงบเริ่มไต่ระดับสูงขึ้นอีก จนกระทั่งเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เหตุการณ์ความไม่สงบไต่ระดับสูงขึ้นมากกว่า 100 ครั้งต่อเดือนอีกครั้งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคมของปี 2550 ชี้ให้เห็นภาพของความคงที่ต่อเนื่องและการลุกลามขยายตัวอย่างไม่จบสิ้นของเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ระหว่างเดือนมกราคม 2547 จนถึงเดือนมีนาคม 2552 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบไปแล้วถึง 3,418 ราย และผู้บาดเจ็บ 5,624 ราย ในกลุ่มผู้ถูกสังหารนี้ ร้อยละ 54.69 เป็นคนมุสลิมและร้อยละ 41.87 เป็นคนพุทธ
เป้าหมายสำคัญของเหยื่อความรุนแรงคือพลเรือน ดังจะเห็นได้จากสถิติผู้สูญเสียทั้งหมด แยกเป็นพลเรือนหรือราษฎรโดยทั่วไปเป็นเป้าหมายหลักของการสังหาร (ประมาณ 1,564 คน) ตามมาด้วยฝ่ายทหาร (ประมาณ 215 คน) บุคลากรฝ่ายตำรวจ (ประมาณ 200คน) กำนันผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ประมาณ 189 คน) และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) (ประมาณ 170 คน)
ยุทธวิธีสำคัญในการก่อเหตุก็ยังคงเป็นการยิงสังหารบนถนนสายย่อยหรือถนนหลวง ตามมาด้วยการใช้ระเบิดและการวางเพลิง แบบแผนลักษณะการโจมตีเพื่อก่อเหตุเป็นเช่นนี้ตลอดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
กล่าวโดยสรุป ความรุนแรงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนถึงปีปัจจุบัน ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังคงแสดงให้เห็นว่ายังไม่ลดละความพยายามที่จะก่อสถานการณ์ความรุนแรงให้มีผลกระทบในทางการเมืองและส่งสัญลักษณ์การต่อสู้ให้เห็นในพื้นที่สาธารณะ ในขณะที่ความวุ่นวายสับสนในทางการเมืองที่เกิดในกรุงเทพมหานครและที่อื่นๆ ของประเทศยังไม่มีทีท่าว่าจะแก้ได้ตกในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่ตราบใดที่รัฐบาลยังคงวุ่นวายอยู่กับการอยู่รอดทางการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐก็จะถูกเบี่ยงเบนความสนใจไปจากการแก้ปัญหาทางการเมืองและในทางยุทธศาสตร์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริงเพื่อรุกทั้งทางการทหารและทางการเมือง
สิ่งที่ควรระวังก็คือการรุกทางการทหารที่เคยกระทำได้ผลสำเร็จในระยะเวลาที่ผ่านมาก็จะกลายเป็นการถูกรุกบ้าง ในขณะที่การเมืองยังไม่สามารถชนะได้ในระยะยาว การปรับตัวทางยุทธศาสตร์โดยเฉพาะในทางการเมืองและการทหารอาจจะต้องมีการพิจารณาอย่างเร่งด่วนหากแนวโน้มดังกล่าวยังเป็นอยู่เช่นนี้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน http://www.deepsouthwatch.org
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รายงาน "สถานการณ์ใหม่ความรุนแรงชายแดนภาคใต้ : ความเสี่ยงในการถูกรุกกลับทางการทหารและตรึงกำลังในทางการเมือง" เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีเนื้อหารายละเอียด ดังนี้
นับตั้งแต่มกราคม 2547 ถึงเดือนมีนาคม 2552 ของปีนี้ ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น 8,810 เหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส รวมทั้งบางส่วนของจังหวัดสงขลา ความรุนแรงลดลงในกลางปี 2550 เมื่อกองทัพเริ่มมาตรการระดมกำลังขนานใหญ่ส่งกำลังเข้ามาในพื้นที่มากกว่า 60,000 นาย มีการปิดล้อมตรวจค้นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบ และรัฐใช้จ่ายเงินงบประมาณไปมากกว่า 109,000 ล้านบาทเพื่อความมั่นคงและการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อดูจากสถิติเหตุการณ์ความรุนแรง เห็นได้อย่างชัดเจนว่าความพยายามในการรุกไล่ทางการเมืองและการทหารต่อขบวนการก่อความไม่สงบค่อนข้างประสบผลสำเร็จ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 เหตุการณ์ความไม่สงบลดลงจากประมาณ 200 ครั้งต่อเดือนไปเป็น 100 กว่าครั้งหลังจากนั้น จากนั้น นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 เหตุการณ์ความไม่สงบลดลงน้อยกว่า 100 ครั้งต่อเดือน นี่เป็นแนวโน้มคงที่ความต่อเนื่องจนกระทั่งมีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างจนน่าสังเกตในตอนต้นปี 2552 นี้
ในช่วงต้นปี 2552 จำนวนของเหตุการณ์ความไม่สงบเริ่มไต่ระดับสูงขึ้นอีก จนกระทั่งเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เหตุการณ์ความไม่สงบไต่ระดับสูงขึ้นมากกว่า 100 ครั้งต่อเดือนอีกครั้งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคมของปี 2550 ชี้ให้เห็นภาพของความคงที่ต่อเนื่องและการลุกลามขยายตัวอย่างไม่จบสิ้นของเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ระหว่างเดือนมกราคม 2547 จนถึงเดือนมีนาคม 2552 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบไปแล้วถึง 3,418 ราย และผู้บาดเจ็บ 5,624 ราย ในกลุ่มผู้ถูกสังหารนี้ ร้อยละ 54.69 เป็นคนมุสลิมและร้อยละ 41.87 เป็นคนพุทธ
เป้าหมายสำคัญของเหยื่อความรุนแรงคือพลเรือน ดังจะเห็นได้จากสถิติผู้สูญเสียทั้งหมด แยกเป็นพลเรือนหรือราษฎรโดยทั่วไปเป็นเป้าหมายหลักของการสังหาร (ประมาณ 1,564 คน) ตามมาด้วยฝ่ายทหาร (ประมาณ 215 คน) บุคลากรฝ่ายตำรวจ (ประมาณ 200คน) กำนันผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ประมาณ 189 คน) และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) (ประมาณ 170 คน)
ยุทธวิธีสำคัญในการก่อเหตุก็ยังคงเป็นการยิงสังหารบนถนนสายย่อยหรือถนนหลวง ตามมาด้วยการใช้ระเบิดและการวางเพลิง แบบแผนลักษณะการโจมตีเพื่อก่อเหตุเป็นเช่นนี้ตลอดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
กล่าวโดยสรุป ความรุนแรงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนถึงปีปัจจุบัน ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังคงแสดงให้เห็นว่ายังไม่ลดละความพยายามที่จะก่อสถานการณ์ความรุนแรงให้มีผลกระทบในทางการเมืองและส่งสัญลักษณ์การต่อสู้ให้เห็นในพื้นที่สาธารณะ ในขณะที่ความวุ่นวายสับสนในทางการเมืองที่เกิดในกรุงเทพมหานครและที่อื่นๆ ของประเทศยังไม่มีทีท่าว่าจะแก้ได้ตกในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่ตราบใดที่รัฐบาลยังคงวุ่นวายอยู่กับการอยู่รอดทางการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐก็จะถูกเบี่ยงเบนความสนใจไปจากการแก้ปัญหาทางการเมืองและในทางยุทธศาสตร์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริงเพื่อรุกทั้งทางการทหารและทางการเมือง
สิ่งที่ควรระวังก็คือการรุกทางการทหารที่เคยกระทำได้ผลสำเร็จในระยะเวลาที่ผ่านมาก็จะกลายเป็นการถูกรุกบ้าง ในขณะที่การเมืองยังไม่สามารถชนะได้ในระยะยาว การปรับตัวทางยุทธศาสตร์โดยเฉพาะในทางการเมืองและการทหารอาจจะต้องมีการพิจารณาอย่างเร่งด่วนหากแนวโน้มดังกล่าวยังเป็นอยู่เช่นนี้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน http://www.deepsouthwatch.org