ผู้จัดการออนไลน์ – คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ออกแถลงการณ์ขอให้รัฐบาลลงพื้นที่เพื่อจัดการปัญหาความขัดแย้งและคลี่คลายสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ป่าพรุ จ.ประจวบคีรีขันธ์ อย่างเร่งด่วน
เนื้อหาในแถลงการณ์ของ ครส.ระบุว่า สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ความขัดแย้งจากการคัดค้านการถมที่ป่าพรุ เพื่อขยายกิจการโรงถลุงเหล็ก ของบริษัท สหวิริยาสตีล กรุ๊ป จำกัด ในพื้นที่ป่าพรุ ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้เกิดการเชิญหน้าของกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง และกลุ่มสนับสนุนโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท จนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นั้น ในขณะนี้มีการจับกุมผู้ต้องหาในคดีดังกล่าวตามกระบวนการยุติธรรม แต่สถานการณ์ในพื้นที่ยังมีแนวโน้มความรุนแรงและสถานการณ์การเผชิญหน้าซึ่งอาจจะปานปลายขึ้นอีกอยู่ในขณะนี้นั้น
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ได้ติดตามเรื่องดังกล่าว และมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเยียวยาสถานการณ์ ยุติปัญหาความขัดแย้งและสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ ดังต่อไปนี้
1.เรียกร้องให้รัฐบาล ในระดับนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ลงพื้นที่ไปจัดการปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด เพื่อจัดการความขัดแย้งที่สามารถหลีกเลี่ยงความรุนแรงได้ดังกล่าว เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง และฝ่ายสนับสนุนโรงงานถลุงเหล็ก มีความขัดแย้งสูง ทั้งยังมีปัญหาอิทธิพลการเมืองระดับชาติมาเกี่ยวข้องผลประโยชน์โครงการในพื้นที่ป่าพรุธรรมชาติกว่า 1,500 ไร่ เนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นจากการละเลยการคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่
โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีสถานการณ์ตึงเครียด เจ้าหน้าที่กลับถอนกำลังออกจากพื้นที่ปล่อยให้เป็น “พื้นที่ที่ไร้รัฐ” เปิดโอกาสให้ฝ่ายสนับสนุนที่ได้รับการจัดตั้งใช้อาวุธเข้าทำร้ายฝ่ายต่อต้านจนเกิดความรุนแรงขึ้นจากสองฝ่ายในพื้นที่
2.ขอให้รัฐบาลตรวจสอบการดำเนินโครงการของบริษัท สหวิริยาสตีล กรุ๊ป จำกัด ว่า มีความโปร่งใสในการดำเนินการ หรือธรรมาภิบาลเพียงใด เพราะเป็นโครงการภายนอกที่ไปสร้างความแตกแยกในชุมชนและทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอย่างมหาศาล มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องทางผลประโยชน์อย่างไรหรือไม่ และสั่งการให้เจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเข้าไปมีส่วนร่วมในการคลี่คลายสถานการณ์ให้มากขึ้น และตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐนอกแถวที่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การสร้างปัญหาความรุนแรงในพื้นที่
3.ขอให้กองทัพบก ยกเลิกการประกาศกฏอัยการศึกในพื้นที่ ซึ่งมีข้อครหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในการใช้อำนาจ และตรวจสอบ “คนมีสี” โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารที่มีรายงานว่าอาจเข้าไปเกี่ยวข้องผลประโยชน์ในโครงการและใช้อิทธิพลนอกระบบในพื้นที่ดังกล่าว หากพบว่ามีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไปเกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการอย่างถึงที่สุด
4.ขอให้รัฐบาลตรวจสอบธรรมาภิบาล และการดำเนินการของบริษัท สหวิริยาสตีล กรุ๊ป จำกัด ที่ว่าจ้างบริษัทเอกชนข้าไปถมที่ป่าพรุ ซึ่งมีพื้นที่กว่า 1,500 ไร่ ทั้งๆ ที่โครงการยังไม่ผ่านการพิจารณาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และระหว่างที่ บริษัท สหวิริยาสตีล กรุ๊ป จำกัด รอผลการพิจารณาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมนั้น ขอให้บริษัทยุติการดำเนินการใดๆ ของโครงการไว้ก่อน เพื่อยุติปัญหาและสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่
เนื้อหาในแถลงการณ์ของ ครส.ระบุว่า สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ความขัดแย้งจากการคัดค้านการถมที่ป่าพรุ เพื่อขยายกิจการโรงถลุงเหล็ก ของบริษัท สหวิริยาสตีล กรุ๊ป จำกัด ในพื้นที่ป่าพรุ ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้เกิดการเชิญหน้าของกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง และกลุ่มสนับสนุนโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท จนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นั้น ในขณะนี้มีการจับกุมผู้ต้องหาในคดีดังกล่าวตามกระบวนการยุติธรรม แต่สถานการณ์ในพื้นที่ยังมีแนวโน้มความรุนแรงและสถานการณ์การเผชิญหน้าซึ่งอาจจะปานปลายขึ้นอีกอยู่ในขณะนี้นั้น
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ได้ติดตามเรื่องดังกล่าว และมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเยียวยาสถานการณ์ ยุติปัญหาความขัดแย้งและสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ ดังต่อไปนี้
1.เรียกร้องให้รัฐบาล ในระดับนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ลงพื้นที่ไปจัดการปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด เพื่อจัดการความขัดแย้งที่สามารถหลีกเลี่ยงความรุนแรงได้ดังกล่าว เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง และฝ่ายสนับสนุนโรงงานถลุงเหล็ก มีความขัดแย้งสูง ทั้งยังมีปัญหาอิทธิพลการเมืองระดับชาติมาเกี่ยวข้องผลประโยชน์โครงการในพื้นที่ป่าพรุธรรมชาติกว่า 1,500 ไร่ เนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นจากการละเลยการคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่
โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีสถานการณ์ตึงเครียด เจ้าหน้าที่กลับถอนกำลังออกจากพื้นที่ปล่อยให้เป็น “พื้นที่ที่ไร้รัฐ” เปิดโอกาสให้ฝ่ายสนับสนุนที่ได้รับการจัดตั้งใช้อาวุธเข้าทำร้ายฝ่ายต่อต้านจนเกิดความรุนแรงขึ้นจากสองฝ่ายในพื้นที่
2.ขอให้รัฐบาลตรวจสอบการดำเนินโครงการของบริษัท สหวิริยาสตีล กรุ๊ป จำกัด ว่า มีความโปร่งใสในการดำเนินการ หรือธรรมาภิบาลเพียงใด เพราะเป็นโครงการภายนอกที่ไปสร้างความแตกแยกในชุมชนและทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอย่างมหาศาล มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องทางผลประโยชน์อย่างไรหรือไม่ และสั่งการให้เจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเข้าไปมีส่วนร่วมในการคลี่คลายสถานการณ์ให้มากขึ้น และตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐนอกแถวที่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การสร้างปัญหาความรุนแรงในพื้นที่
3.ขอให้กองทัพบก ยกเลิกการประกาศกฏอัยการศึกในพื้นที่ ซึ่งมีข้อครหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในการใช้อำนาจ และตรวจสอบ “คนมีสี” โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารที่มีรายงานว่าอาจเข้าไปเกี่ยวข้องผลประโยชน์ในโครงการและใช้อิทธิพลนอกระบบในพื้นที่ดังกล่าว หากพบว่ามีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไปเกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการอย่างถึงที่สุด
4.ขอให้รัฐบาลตรวจสอบธรรมาภิบาล และการดำเนินการของบริษัท สหวิริยาสตีล กรุ๊ป จำกัด ที่ว่าจ้างบริษัทเอกชนข้าไปถมที่ป่าพรุ ซึ่งมีพื้นที่กว่า 1,500 ไร่ ทั้งๆ ที่โครงการยังไม่ผ่านการพิจารณาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และระหว่างที่ บริษัท สหวิริยาสตีล กรุ๊ป จำกัด รอผลการพิจารณาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมนั้น ขอให้บริษัทยุติการดำเนินการใดๆ ของโครงการไว้ก่อน เพื่อยุติปัญหาและสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่