xs
xsm
sm
md
lg

ศิลปากรสร้างความเข้าใจชาวบ้านในภารกิจการถ่ายโอนอำนาจดูแลมัสยิดกรือเซะ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
ปัตตานี - ศิลปากรเข้าสร้างความเข้าใจกับ “ชมรมรักษ์กรือเซะ” ในภารกิจการถ่ายโอนอำนาจดูแลมัสยิดและพื้นที่โบราณสถานตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา

วันนี้ (6 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มัสยิดกรือเซะ นายอานงค์ หนูแป้น ผอ.สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้นำเจ้าหน้าฝ่ายช่างศิลปากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพร้อมเอกสารหลักฐานเขตพื้นที่โบราณสถานมัสยิดกรือเซะ ตามที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ระบุพื้นที่ 10 ไร่ 2 งานเศษ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2526 ที่ผ่านมา

หลังจากที่ได้มีตัวแทนชาวบ้านในชุมชนบ้านกรือเซะในนาม “ชมรมรักษ์กรือเซะ” ได้ทำหนังสือถึงสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบการดำเนินการปรับถมดินในฝั่งของที่ตั้งฮวงซุ้ยเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวสูงกว่าพื้นดินบริเวณรอบมัสยิดกรือเซะ ที่อาจส่งผลกระทบด้านแวดล้อมรอบมัสยิด เพราะจะทำให้ตัวอาคารของมัสยิดเกิดปัญหาน้ำท่วมขังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้มัสยิดทรุดตัวลงได้
 

 
ในส่วนการบูรณะซ่อมแซมตัวมัสยิดนั้น เบื้องต้นช่างศิลปากรได้เข้าตรวจสอบที่จะเข้ามาซ่อมร่วมกับตัวแทนชาวบ้านเป็นการเฉพาะหน้า ส่วนการซ่อมแซมเต็มรูปแบบ ทางด้านศิลปากรจะเข้ามาตรวจรายละเอียด เพื่อออกแบบและประมาณในการสนับสนุนงบประมาณต่อไป

จากการตรวจเบื้องทางสำนักศิลปากร ระบุว่า พื้นที่ดังกล่าวได้ทำการถ่ายโอนอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2536 เพื่อให้มีการดำเนินการแทน โดยอาศัยอำนาจในมาตรา 5 และมาตรา 7 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ.2504 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ (ฉบับที่2) พ.ศ.2535

ทางศิลปากรจึงมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเป็นผู้กระทำแทนอธิบดีศิลปากร ในการออกหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาการตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร รวมทั้งการระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารภายในเขตโบราณสถานมัสยิดกรือเซะ และฮวงซุ้ยเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนียวจังหวัดปัตตานี ทางสำนักศิลปากรจึงไม่สามารถดำเนินการยับยั้งได้ในกรณีถมดินดังกล่าว จึงแนะนำให้ทางชุมชนเข้าหารือกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดแทน
 

 
ในส่วนของตัวมัสยิดกรือเซะพร้อมพื้นที่ดินโดยรอบไม่เกิน 2 ไร่ จากในจำนวน 10 ไร่ 2 งานเศษ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น เป็นการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโล๊ะ ตามภารกิจถ่ายโอนเช่นกันเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548 ภายหลังจากเสร็จสิ้นจากการบูรณะจากเหตุความไม่สงบในวันที่ 28 เมษายน 2547

จึงทำให้ทางชุมชนกรือเซะตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อประกาศพื้นที่เขตโบราณสถาน ตามที่ได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปี พ.ศ.2526 ไว้ 10 ไร่ 2 งานเศษแล้ว ทำไมมัสยิดกรือเซะถึงมีเนื้อที่ใช้สอยเพียงแค่ 2 ไร่ ส่วนที่เหลือทางมัสยิดจะสามารถใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ทางสำนักงานศิลปากรจึงรับที่จะนำประเด็นดังกล่าวหารือกับฝ่ายเหนือต่อไป

นอกจากนี้ทางตัวแทนชมชุมบ้านกรือในนาม “ชมรมรักษ์กรือเซะ” อยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและเป็นธรรม ไม่ควรดำเนินการพัฒนาแบบทิ้งปัญหาให้คนข้างหลังมาตามแก้ เพื่อก่อเกิดความเป็นธรรมและเปิดให้สาธารณะชนทราบอย่างตรงไปตรงมา จึงเรียกร้องให้มีการเปิดเวที สาธารณะในบริเวณพื้นที่มัสยิดกรือเซะ เพื่อสามารถสะสางปมประเด็นที่ยังคงเป็นปริศนาของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับมัสยิดกรือเซะ และพื้นที่ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 



แล้วไง! วัดดังเชียงใหม่ไม่แยแสคำสั่งระงับ-รื้ออาคารผิด กม. ลุยสร้างต่อหน้าตาเฉยหลังรอเรื่องเงียบข้ามปี (ชมคลิป)
แล้วไง! วัดดังเชียงใหม่ไม่แยแสคำสั่งระงับ-รื้ออาคารผิด กม. ลุยสร้างต่อหน้าตาเฉยหลังรอเรื่องเงียบข้ามปี (ชมคลิป)
ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ดันทุรังสูง! วัดดังเชียงใหม่ที่เคยโด่งดังกรณีเปิดห้องพักบริการนักท่องเที่ยวและก่อสร้างอาคาร 4 ชั้น ตั้งประชิดและสูงกว่าหอไตรไม้โบราณเก่ากว่าร้อยปีจนถูกตรวจสอบและระงับก่อสร้างเพราะพบว่ายังไม่ได้รับอนุญาตและไม่เว้นระยะห่างจากจุดกึ่งกลางถนน 6 เมตร กลับมาเริ่มก่อสร้างต่อหน้าตาเฉยหลังปล่อยเรื่องเงียบข้ามปี ล่าสุดเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบพบและสั่งให้หยุด แต่ไม่แยแสเดินหน้าสร้าง จนชุมชนรอบข้างงุนงงและเตรียมยื่นหนังสือร้องเรียนทวงถามไปที่เทศบาลนครเชียงใหม่ รวมทั้งจะดำเนินการตามกฎหมายกับหน่วยงานเกี่ยวข้องฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยที่ไม่ยอมจัดการกรณีนี้ให้เด็ดขาดชัดเจนเสียที
กำลังโหลดความคิดเห็น