ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ฝันใกล้เป็นจริง โรงพยาบาลฉลอง จ.ภูเก็ต กับความหวังของคนนับแสนมีโอกาสรักษาพยาบาลใกล้บ้าน ลดปัญหาการเสียชีวิตระหว่างการเดินทาง คาดเดือน พ.ย.นี้ เปิดให้บริการได้
ปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ตกำลังประสบปัญหาการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลของรัฐ โดยเฉพาะโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ที่มีภาระในการดูแลรักษาพยาบาลทั้งคนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต นักท่องเที่ยว คนจากต่างจังหวัด รวมทั้งต่างด้าว ซึ่งในแต่ละวันมีคนมารับการรักษาพยาบาลจำนวนมากจนเกิดความแออัด แม้ว่าจะมีโรงพยาบาลถลาง และโรงพยาบาลป่าตอง คอยรองรับคนในพื้นที่อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้ อยู่แล้ว แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่ได้คลี่คลายไปมากนัก โดยเฉพาะกรณีคนในพื้นที่ตำบลกะรน ราไวย์ ฉลอง ที่จะต้องเสียเวลาในการเดินไปโรงพยาบาล
ที่ผ่านมา คนในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนต้องถิ่นต่างก็เรียกร้องให้มีการสร้างโรงพยาบาลขึ้นในพื้นที่ ต.ฉลอง เพื่อเป็นด่านหน้าในการรองรับผู้ป่วยจากพื้นที่ ต.กะรน ราไวย์ และฉลอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่จำนวนมาก ทั้งคนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
โดย นายสำราญ จินดาพล นายกเทศมนตรีตำบลฉลอง เคยกล่าวว่า การก่อสร้างโรงพยาบาลฉลอง ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นด่านหน้าในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่อยู่ทางตอนใต้ของเกาะภูเก็ต ซึ่งปัจจุบัน พี่น้องประชาชน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่อยู่ในส่วนนี้หากต้องเดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต จะต้องใช้เวลาในการเดินทางมากกว่า 1 ชั่วโมง ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ภัยพิบัติฉุกเฉิน การส่งต่อยิ่งเกิดความล่าช้าจากการจราจรที่แออัด ส่งผลให้ความเสี่ยงของประชาชนเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งปัจจุบัน โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลฉลอง ซึ่งเป็นความหวังของคนนับแสนกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในที่ดินบริจาคของ นายกาว อารีรอบ และทายาท เนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา มูลค่าปัจจุบันกว่า 200 ล้านบาท โดยสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2559 เพื่อก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก และบำบัดรักษาโรงพยาบาลฉลอง งบประมาณสำหรับก่อสร้าง 103,215,000 บาท
นพ.เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ผู้อำนวยการ รพ.วชิระภูเก็ต กล่าวถึงความคืบหน้าในการก่อสร้าง ว่า ขณะนี้ในส่วนของโรงพยาบาลฉลอง ได้รับการพิจารณาจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นโรงพยาบาลชุมชนแล้ว หลังจากนั้น จะมีการพัฒนา และยกระดับจากโรงพยาบาลขนาดเล็กจนเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ต่อไป ซึ่งจะสามารถให้การรักษาพยาบาลได้ครอบคลุมทุกกลุ่มโรค ซึ่งคาดว่าในปี 2565 โรงพยาบาลฉลอง จะสามารถให้บริการได้เต็มรูปแบบ เทียบเท่าโรงพยาบาลระดับอำเภอ หรือระดับจังหวัดได้
ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและบำบัดรักษา ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการปรับปรุงภายใน คาดว่าในเดือน พ.ย.นี้ จะเริ่มเปิดให้บริการได้ ซึ่งหลังจากมีการรับมอบอาคารก็จะมีการปรับปรุงบริเวณชั้น 3 ให้เป็นห้องพักสำหรับผู้ป่วยในประมาณ 10-15 ห้อง ซึ่งจะทำให้สามารถบริการรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุขยังได้อนุมัติงบประมาณอีก 100 กว่าล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในขนาด 150 เตียง ซึ่งเป็นงบประมาณปี 2562 คาดว่าจะสามารถสร้างแล้วเสร็จในปี 2564 หลังจากนั้น ก็จะมีการก่อสร้างอาคารแวดล้อม ทั้งเรื่องของบ่อบำบัดน้ำเสีย อาคารที่พักแพทย์ และอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลฉลอง เป็นโรงพยาบาลที่สามารถเปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยได้เต็มรูปแบบต่อไป
ขณะที่ นายแพทย์ ชูชาติ นิจวัฒนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฉลอง กล่าวว่า โรงพยาบาลฉลอง ถือเป็นความหวังของคนในพื้นที่ที่ต้องการให้มีโรงพยาบาลขึ้นในพื้นที่เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย และลดความสูญเสียของผู้ป่วย เนื่องจากการเดินทางของคนในพื้นที่ตำบลกะรน ราไวย์ ฉลอง เพื่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลวชิระนั้นต้องใช้เวลานาน บางครั้งต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในระหว่างนำส่งหลายราย แต่ถ้ามีโรงพยาบาลในพื้นจะสามารถลดความสูญเสียในส่วนนี้ไปได้จำนวนมาก ไม่ว่ากับประชาชน หรือนักท่องเที่ยว
ปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ตกำลังประสบปัญหาการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลของรัฐ โดยเฉพาะโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ที่มีภาระในการดูแลรักษาพยาบาลทั้งคนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต นักท่องเที่ยว คนจากต่างจังหวัด รวมทั้งต่างด้าว ซึ่งในแต่ละวันมีคนมารับการรักษาพยาบาลจำนวนมากจนเกิดความแออัด แม้ว่าจะมีโรงพยาบาลถลาง และโรงพยาบาลป่าตอง คอยรองรับคนในพื้นที่อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้ อยู่แล้ว แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่ได้คลี่คลายไปมากนัก โดยเฉพาะกรณีคนในพื้นที่ตำบลกะรน ราไวย์ ฉลอง ที่จะต้องเสียเวลาในการเดินไปโรงพยาบาล
ที่ผ่านมา คนในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนต้องถิ่นต่างก็เรียกร้องให้มีการสร้างโรงพยาบาลขึ้นในพื้นที่ ต.ฉลอง เพื่อเป็นด่านหน้าในการรองรับผู้ป่วยจากพื้นที่ ต.กะรน ราไวย์ และฉลอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่จำนวนมาก ทั้งคนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
โดย นายสำราญ จินดาพล นายกเทศมนตรีตำบลฉลอง เคยกล่าวว่า การก่อสร้างโรงพยาบาลฉลอง ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นด่านหน้าในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่อยู่ทางตอนใต้ของเกาะภูเก็ต ซึ่งปัจจุบัน พี่น้องประชาชน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่อยู่ในส่วนนี้หากต้องเดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต จะต้องใช้เวลาในการเดินทางมากกว่า 1 ชั่วโมง ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ภัยพิบัติฉุกเฉิน การส่งต่อยิ่งเกิดความล่าช้าจากการจราจรที่แออัด ส่งผลให้ความเสี่ยงของประชาชนเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งปัจจุบัน โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลฉลอง ซึ่งเป็นความหวังของคนนับแสนกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในที่ดินบริจาคของ นายกาว อารีรอบ และทายาท เนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา มูลค่าปัจจุบันกว่า 200 ล้านบาท โดยสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2559 เพื่อก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก และบำบัดรักษาโรงพยาบาลฉลอง งบประมาณสำหรับก่อสร้าง 103,215,000 บาท
นพ.เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ผู้อำนวยการ รพ.วชิระภูเก็ต กล่าวถึงความคืบหน้าในการก่อสร้าง ว่า ขณะนี้ในส่วนของโรงพยาบาลฉลอง ได้รับการพิจารณาจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นโรงพยาบาลชุมชนแล้ว หลังจากนั้น จะมีการพัฒนา และยกระดับจากโรงพยาบาลขนาดเล็กจนเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ต่อไป ซึ่งจะสามารถให้การรักษาพยาบาลได้ครอบคลุมทุกกลุ่มโรค ซึ่งคาดว่าในปี 2565 โรงพยาบาลฉลอง จะสามารถให้บริการได้เต็มรูปแบบ เทียบเท่าโรงพยาบาลระดับอำเภอ หรือระดับจังหวัดได้
ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและบำบัดรักษา ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการปรับปรุงภายใน คาดว่าในเดือน พ.ย.นี้ จะเริ่มเปิดให้บริการได้ ซึ่งหลังจากมีการรับมอบอาคารก็จะมีการปรับปรุงบริเวณชั้น 3 ให้เป็นห้องพักสำหรับผู้ป่วยในประมาณ 10-15 ห้อง ซึ่งจะทำให้สามารถบริการรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุขยังได้อนุมัติงบประมาณอีก 100 กว่าล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในขนาด 150 เตียง ซึ่งเป็นงบประมาณปี 2562 คาดว่าจะสามารถสร้างแล้วเสร็จในปี 2564 หลังจากนั้น ก็จะมีการก่อสร้างอาคารแวดล้อม ทั้งเรื่องของบ่อบำบัดน้ำเสีย อาคารที่พักแพทย์ และอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลฉลอง เป็นโรงพยาบาลที่สามารถเปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยได้เต็มรูปแบบต่อไป
ขณะที่ นายแพทย์ ชูชาติ นิจวัฒนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฉลอง กล่าวว่า โรงพยาบาลฉลอง ถือเป็นความหวังของคนในพื้นที่ที่ต้องการให้มีโรงพยาบาลขึ้นในพื้นที่เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย และลดความสูญเสียของผู้ป่วย เนื่องจากการเดินทางของคนในพื้นที่ตำบลกะรน ราไวย์ ฉลอง เพื่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลวชิระนั้นต้องใช้เวลานาน บางครั้งต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในระหว่างนำส่งหลายราย แต่ถ้ามีโรงพยาบาลในพื้นจะสามารถลดความสูญเสียในส่วนนี้ไปได้จำนวนมาก ไม่ว่ากับประชาชน หรือนักท่องเที่ยว