พังงา - ราคายางพาราตกต่ำ ทำให้ชาวสวนพังงา หันมาหาอาชีพเสริม ปลูกสับปะรดพันธุ์ภูงา ซึ่งปลูกง่าย และรายได้ดี ต้นทุนสับปะรดอยู่ที่ต้นละ 5 บาท สามารถเก็บผลผลิตได้ต้นละ 10 บาท ปลูกได้ปีละ 2 ครั้ง คิดเป็นรายได้ไร่ประมาณ 33,500 บาทต่อครั้ง ลำต้นยังสามารถจำหน่ายให้ปางช้างเนื่องจากช้างชอบบริโภคต้นสับปะรดมาก
นายอนุวัฒน์ จันทร์จิตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.หล่อยูง อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา นำนายนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดพังงา และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดพังงา สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าดูสวนยางพาราอายุ 3 ปี ซึ่งได้ปลูกสับปะรดพันธุ์ภูงา แซมระหว่างร่องยางพาราเป็นการเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรก่อนที่สวนยางพาราสามารถกรีดตั้งแต่ปรับปรุงดินจนปลูกต้นยางพารา และรอการกรีดน้ำยางพาราในช่วงอายุยางพารา 7 ปี ในระหว่างนี้ทางเกษตรกรจึงได้ทำการปลูกสับปะรดเพื่อสร้างรายได้ระหว่างรออายุต้นยางพารา อีกทั้งเป็นการดูแลต้นยางพาราทางอ้อมได้อีกด้วยโดยการปลูกสับปะรดระหว่างร่องยางพาราทำให้ช่วยไม่ให้หญ้า และวัชพืชขึ้นตามร่องยางพารา พร้อมทั้งปุ๋ย และซากของสับปะรดช่วยการเติบโตของต้นยางพารา
สำหรับสับปะรดพันธุ์ภูงา เกิดขึ้นจากพันธุ์พื้นถิ่นในจังหวัดพังงา พร้อมใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในช่วงรอการเติบโตของต้นยางพาราสร้างรายได้ โดยแตกต่างจากสับปะรดในพื้นที่อื่น คือ หน่อที่อวบอ้วนสมบูรณ์ แตกหน่อได้รวดเร็ว เป็นอาหารของสัตว์หลากหลายชนิด เช่น แพะ สุกร วัว ช้าง โดยปัจจุบัน เกษตรกรสามารถจำหน่ายต้นสับปะรดให้ปางช้าง หรือทัวร์ช้างที่เลี้ยงไว้สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวได้ในปริมาณมาก การปลูกสับปะรดเพื่อแยกหน่อไว้จำหน่ายก็ง่ายในการดูแล ทางเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในร่องยางพาราจะจำหน่ายสับปะรดพันธุ์ภูงา
ส่วนรสชาติของผลสับปะรดพันธุ์ภูงา ลูกโต น้ำหนักตั้งแต่ไม่ถึงกิโลกรัม จนกระทั่งลูกละ 3 กิโลกรัม มีรสชาติหวาน กรอบ แม้ผลสับปะรดจะเขียวสด การดูผลสับปะรดสุกสามารถรับประทานได้ดูจากตาสับปะรดที่ติดกับขั้วโคน ผลจะมีลักษณะตาเต็มเหลืองอมเขียวนิดๆ ทางเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่าย และเก็บไว้ได้เป็นเดือนกว่าสับปะรดจะฉ่ำ และเหี่ยวไม่สามารถบริโภคได้ ทำให้สับปะรดพันธุ์ภูงา สามารถจำหน่ายได้ตั้งแต่ช่วง 1-45 วัน และสามารถออกผลผลิตได้ทั้งปี
นายอนุวัฒน์ จันทร์จิตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.หล่อยูง อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา กล่าวว่า ปัจจุบันราคายางพาราตกต่ำ ทำให้เกษตรกรในหมู่บ้านหันมาหาอาชีพเสริมโดยการปลูกสับปะรดพันธุ์ภูงา ซึ่งเป็นพืชปลูกง่าย และรายได้ดี สามารถปลูกเสริมในสวนยางพาราที่โค่นใหม่ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ต้นทุนการปลูกสับปะรดอยู่ที่ต้นละ 5 บาท สามารถเก็บผลผลิตเฉลี่ยได้ต้นละ 10 บาท ปลูกได้ปีละ 2 ครั้ง คิดเป็นรายได้สุทธิต่อไร่ประมาณ 33,500 บาทต่อครั้ง อีกทั้งลำต้นสามารถจำหน่ายให้ปางช้าง เนื่องจากช้างชอบบริโภคต้นสับปะรดมาก
ด้าน นายนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า ทางคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรระดับจังหวัด ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และวิสาหกิจเกี่ยวกับการเกษตรได้เข้ามาทำงานเป็นทีมเพื่อสามารถแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรแบบครบวงจรได้ทันท่วงที มีหน้าที่ทำงานตามนโยบายเชิงสร้างสรรค์ และสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด
ขณะนี้ จังหวัดพังงา สามารถปฏิบัติตามนโยบาย และสามารถแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรแล้วในหลากหลายปัญหา ไม่ว่ากรณีน้ำ ดิน ศัตรูพืช ปัญหาในสัตว์ ผลผลิต การตลาด และปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาราคายางพาราตกต่ำ พบว่า ในพื้นที่มีการแก้ปัญหาโดยการปลูกพืชแซมสวนยางพาราทำรายได้ให้ผลผลิตได้ดี โดยเฉพาะสับปะรดพันธุ์พื้นถิ่น คือ พันธุ์ภูงา ที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ หวาน กรอบ สามารถเก็บไว้บริโภคได้นาน ประกอบกับพื้นที่จังหวัดพังงา และฝั่งอันดามันมีตลาดการท่องเที่ยว ทำให้ความต้องการบริโภคสับปะรดมีมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เกษตรกรจะส่งให้โรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหาร บริษัททัวร์ ส่วนลำต้น สามารถจำหน่ายเป็นอาหารให้ช้าง หรือสัตว์กินพืชทั้งหลาย ทำรายได้ดีสามารถทดแทนรายได้ยางพาราในช่วงราคายางพาราตกต่ำได้เป็นอย่างดี
นายอนุวัฒน์ จันทร์จิตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.หล่อยูง อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา นำนายนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดพังงา และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดพังงา สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าดูสวนยางพาราอายุ 3 ปี ซึ่งได้ปลูกสับปะรดพันธุ์ภูงา แซมระหว่างร่องยางพาราเป็นการเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรก่อนที่สวนยางพาราสามารถกรีดตั้งแต่ปรับปรุงดินจนปลูกต้นยางพารา และรอการกรีดน้ำยางพาราในช่วงอายุยางพารา 7 ปี ในระหว่างนี้ทางเกษตรกรจึงได้ทำการปลูกสับปะรดเพื่อสร้างรายได้ระหว่างรออายุต้นยางพารา อีกทั้งเป็นการดูแลต้นยางพาราทางอ้อมได้อีกด้วยโดยการปลูกสับปะรดระหว่างร่องยางพาราทำให้ช่วยไม่ให้หญ้า และวัชพืชขึ้นตามร่องยางพารา พร้อมทั้งปุ๋ย และซากของสับปะรดช่วยการเติบโตของต้นยางพารา
สำหรับสับปะรดพันธุ์ภูงา เกิดขึ้นจากพันธุ์พื้นถิ่นในจังหวัดพังงา พร้อมใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในช่วงรอการเติบโตของต้นยางพาราสร้างรายได้ โดยแตกต่างจากสับปะรดในพื้นที่อื่น คือ หน่อที่อวบอ้วนสมบูรณ์ แตกหน่อได้รวดเร็ว เป็นอาหารของสัตว์หลากหลายชนิด เช่น แพะ สุกร วัว ช้าง โดยปัจจุบัน เกษตรกรสามารถจำหน่ายต้นสับปะรดให้ปางช้าง หรือทัวร์ช้างที่เลี้ยงไว้สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวได้ในปริมาณมาก การปลูกสับปะรดเพื่อแยกหน่อไว้จำหน่ายก็ง่ายในการดูแล ทางเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในร่องยางพาราจะจำหน่ายสับปะรดพันธุ์ภูงา
ส่วนรสชาติของผลสับปะรดพันธุ์ภูงา ลูกโต น้ำหนักตั้งแต่ไม่ถึงกิโลกรัม จนกระทั่งลูกละ 3 กิโลกรัม มีรสชาติหวาน กรอบ แม้ผลสับปะรดจะเขียวสด การดูผลสับปะรดสุกสามารถรับประทานได้ดูจากตาสับปะรดที่ติดกับขั้วโคน ผลจะมีลักษณะตาเต็มเหลืองอมเขียวนิดๆ ทางเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่าย และเก็บไว้ได้เป็นเดือนกว่าสับปะรดจะฉ่ำ และเหี่ยวไม่สามารถบริโภคได้ ทำให้สับปะรดพันธุ์ภูงา สามารถจำหน่ายได้ตั้งแต่ช่วง 1-45 วัน และสามารถออกผลผลิตได้ทั้งปี
นายอนุวัฒน์ จันทร์จิตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.หล่อยูง อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา กล่าวว่า ปัจจุบันราคายางพาราตกต่ำ ทำให้เกษตรกรในหมู่บ้านหันมาหาอาชีพเสริมโดยการปลูกสับปะรดพันธุ์ภูงา ซึ่งเป็นพืชปลูกง่าย และรายได้ดี สามารถปลูกเสริมในสวนยางพาราที่โค่นใหม่ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ต้นทุนการปลูกสับปะรดอยู่ที่ต้นละ 5 บาท สามารถเก็บผลผลิตเฉลี่ยได้ต้นละ 10 บาท ปลูกได้ปีละ 2 ครั้ง คิดเป็นรายได้สุทธิต่อไร่ประมาณ 33,500 บาทต่อครั้ง อีกทั้งลำต้นสามารถจำหน่ายให้ปางช้าง เนื่องจากช้างชอบบริโภคต้นสับปะรดมาก
ด้าน นายนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า ทางคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรระดับจังหวัด ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และวิสาหกิจเกี่ยวกับการเกษตรได้เข้ามาทำงานเป็นทีมเพื่อสามารถแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรแบบครบวงจรได้ทันท่วงที มีหน้าที่ทำงานตามนโยบายเชิงสร้างสรรค์ และสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด
ขณะนี้ จังหวัดพังงา สามารถปฏิบัติตามนโยบาย และสามารถแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรแล้วในหลากหลายปัญหา ไม่ว่ากรณีน้ำ ดิน ศัตรูพืช ปัญหาในสัตว์ ผลผลิต การตลาด และปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาราคายางพาราตกต่ำ พบว่า ในพื้นที่มีการแก้ปัญหาโดยการปลูกพืชแซมสวนยางพาราทำรายได้ให้ผลผลิตได้ดี โดยเฉพาะสับปะรดพันธุ์พื้นถิ่น คือ พันธุ์ภูงา ที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ หวาน กรอบ สามารถเก็บไว้บริโภคได้นาน ประกอบกับพื้นที่จังหวัดพังงา และฝั่งอันดามันมีตลาดการท่องเที่ยว ทำให้ความต้องการบริโภคสับปะรดมีมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เกษตรกรจะส่งให้โรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหาร บริษัททัวร์ ส่วนลำต้น สามารถจำหน่ายเป็นอาหารให้ช้าง หรือสัตว์กินพืชทั้งหลาย ทำรายได้ดีสามารถทดแทนรายได้ยางพาราในช่วงราคายางพาราตกต่ำได้เป็นอย่างดี