xs
xsm
sm
md
lg

SciTech PKRU ร่วมรับใช้สังคม หนุนสร้างโซ่แห่งคุณค่าจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ “กลุ่มเพื่อนแพะ”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวภูเก็ต - มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ร่วมกับกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ หน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชนลงพื้นที่สำรวจข้อมูล รับฟังโจทย์ความต้องการของกลุ่มฯ นำมาสู่การบริการวิชาการ และโจทย์ปัญหาวิจัย
วันนี้ (7 มี.ค) คณะทำงานสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เล็งเห็นความสำคัญ และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการบูรณาการพันธกิจในข้างต้น จึงได้ร่วมกับกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ หน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชนลงพื้นที่สำรวจข้อมูล รับฟังโจทย์ความต้องการของกลุ่มฯ นำมาสู่การบริการวิชาการและโจทย์ปัญหาวิจัย ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2559 ดำเนินการออกแบบจัดทำกิจกรรม กระบวนการต่างๆ เพื่อร่วมแก้ปัญหาวิจัย จนได้ข้อสรุปผลงานวิจัยเรื่อง ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างความเชื่อมโยง “โซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ กรณีศึกษา : กลุ่มเพื่อนแพะ (ผู้เลี้ยงแพะ) จังหวัดภูเก็ต”

สำหรับการทำงานในระยะต่อไป คณะทำงานฯ มุ่งมั่นที่จะนำความรู้ของคณาจารย์ และพลังของนักศึกษาร่วมกับนักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ และการดำเนินงานร่วมกับนักวิจัยที่เป็นชุมชนเจ้าของพื้นที่ ทั้งกระบวนการทางสังคม กระบวนการทางวิชาการ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาร่วมแก้ปัญหาของชุมชน และคาดหวังว่าผลลัพธ์การดำเนินงาน (Output) ดังกล่าวจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีขึ้น (Outcome) มีผลกระทบ (Impact) ในเชิงบวก และเป็นไปในแนวทางสู่ความยั่งยืน (Sustainability) นำไปสู่การเผยแพร่ต่อสาธารณชนในวงกว้าง เช่น แนวทางการแก้ปัญหา นโยบายแห่งรัฐฯ

หรือการนำไปใช้ประโยชน์ด้านแผนงานต่างๆ รวมถึงการเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตแก่คนในชุมชน รวมถึงการนำการบูรณาการพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตสู่สังคม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ด้วยวิธีการเปลี่ยนจากการดำเนินงานในรูปแบบของงานบริการวิชาการ หรืองานอาสาสมัคร สู่การทำงานร่วมกับภาคีในพื้นที่ที่เป็นหุ้นส่วนระยะยาว และหวังที่จะให้มหาวิทยาลัยฯ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริงของของสังคม




กำลังโหลดความคิดเห็น