ระนอง - สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง
ที่ห้องประชุมเรืองราษฎร์ โรงแรมทินิดี แอท ระนอง จังหวัดระนอง นายพรเทพ ผ่องศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วย นายวิจิตต์ นิมิตวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมประชุม
นายพรเทพ ผ่องศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามหลากหลาย มีทรัพยากรทั้งทางบก ทางน้ำที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นเมืองชายแดนที่มีที่ตั้งเหมาะสมต่อการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงไปต่างประเทศ
จังหวัดระนอง ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเพื่อสร้างความเจริญ และความผาสุกของประชาชนในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยพื้นที่จังหวัดระนอง เหมาะสำหรับเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศฝั่งอันดามัน และดำรงไว้ซึ่งการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ เพื่อเป็นประตูสู่ชายแดน ปัจจุบัน โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของจังหวัดระนอง ได้แก่ ท่าเทียบเรือน้ำลึก ท่าอากาศยาน ถนน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนในการพัฒนาจังหวัดระนอง และส่งเสริมการเดินทาง และการขนส่งเชื่อมโยงภายในประเทศและระหว่างประเทศ
ด้าน นายวิจิตต์ นิมิตวานิช กล่าวว่า จากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ที่ประชุมได้รับทราบผลการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรี กับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลาง และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 โดยมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลาง และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันในการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดชุมพร ถึงจังหวัดระนอง
สำหรับการคมนาคมขนส่งและส่งเสริมการท่องเที่ยวสองฝั่งทะเล รวมทั้งเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกจังหวัดระนอง เพื่อรองรับการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC ในอนาคต จึงได้ศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะเวลาดำเนินการ 10 เดือน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560 ถึงกุมภาพันธ์ 2561
สำหรับการศึกษาได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงเริ่มต้นศึกษาได้มีการจัดการประชุมปฐมนิเทศโครงการเพื่อแนะนำและชี้แจงความเป็นมาของโครงการ เหตุผลและความจำเป็นของการพัฒนาโครงการ ตลอดจนแนวทางและขั้นตอนการศึกษา เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งวิธีการลงพื้นที่ในจังหวัดชุมพร และระนองเพื่อหารือ และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลการดำเนินงานดังกล่าวได้นำมาพิจารณาคัดเลือก พัฒนาและปรับปรุงแนวเส้นทาง โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พบว่า แนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด มีจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพร และอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด โดยแนวเส้นทางรถไฟจะโค้งออกจากสถานีรถไฟสายใต้เดิม มุ่งไปยังทิศตะวันตก และขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง ไปสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนอง รวมระยะทาง 102.5 กิโลเมตร โดยตำแหน่งสถานีเบื้องต้น 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยกเข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง รวมระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
นายวิจิตร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการประชุมครั้งนี้เป็นการระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับผลการศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทางเลือก รวมทั้งการกำหนดรูปแบบแนวคิดเบื้องต้นของของทางรถไฟ รูปแบบสถานีผู้โดยสาร แนวคิดทางสถาปัตยกรรมอาคารของสถานี และการออกแบบแนวคิดจุดตัดทางรถไฟ พร้อมทั้งแนวทางเบื้องต้นในการจัดการปัญหาต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานให้มีความเหมาะสม และมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนน้อยที่สุด และมีความสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชน
ที่ห้องประชุมเรืองราษฎร์ โรงแรมทินิดี แอท ระนอง จังหวัดระนอง นายพรเทพ ผ่องศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วย นายวิจิตต์ นิมิตวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมประชุม
นายพรเทพ ผ่องศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามหลากหลาย มีทรัพยากรทั้งทางบก ทางน้ำที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นเมืองชายแดนที่มีที่ตั้งเหมาะสมต่อการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงไปต่างประเทศ
จังหวัดระนอง ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเพื่อสร้างความเจริญ และความผาสุกของประชาชนในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยพื้นที่จังหวัดระนอง เหมาะสำหรับเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศฝั่งอันดามัน และดำรงไว้ซึ่งการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ เพื่อเป็นประตูสู่ชายแดน ปัจจุบัน โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของจังหวัดระนอง ได้แก่ ท่าเทียบเรือน้ำลึก ท่าอากาศยาน ถนน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนในการพัฒนาจังหวัดระนอง และส่งเสริมการเดินทาง และการขนส่งเชื่อมโยงภายในประเทศและระหว่างประเทศ
ด้าน นายวิจิตต์ นิมิตวานิช กล่าวว่า จากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ที่ประชุมได้รับทราบผลการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรี กับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลาง และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 โดยมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลาง และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันในการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดชุมพร ถึงจังหวัดระนอง
สำหรับการคมนาคมขนส่งและส่งเสริมการท่องเที่ยวสองฝั่งทะเล รวมทั้งเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกจังหวัดระนอง เพื่อรองรับการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC ในอนาคต จึงได้ศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะเวลาดำเนินการ 10 เดือน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560 ถึงกุมภาพันธ์ 2561
สำหรับการศึกษาได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงเริ่มต้นศึกษาได้มีการจัดการประชุมปฐมนิเทศโครงการเพื่อแนะนำและชี้แจงความเป็นมาของโครงการ เหตุผลและความจำเป็นของการพัฒนาโครงการ ตลอดจนแนวทางและขั้นตอนการศึกษา เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งวิธีการลงพื้นที่ในจังหวัดชุมพร และระนองเพื่อหารือ และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลการดำเนินงานดังกล่าวได้นำมาพิจารณาคัดเลือก พัฒนาและปรับปรุงแนวเส้นทาง โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พบว่า แนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด มีจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพร และอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด โดยแนวเส้นทางรถไฟจะโค้งออกจากสถานีรถไฟสายใต้เดิม มุ่งไปยังทิศตะวันตก และขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง ไปสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนอง รวมระยะทาง 102.5 กิโลเมตร โดยตำแหน่งสถานีเบื้องต้น 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยกเข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง รวมระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
นายวิจิตร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการประชุมครั้งนี้เป็นการระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับผลการศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทางเลือก รวมทั้งการกำหนดรูปแบบแนวคิดเบื้องต้นของของทางรถไฟ รูปแบบสถานีผู้โดยสาร แนวคิดทางสถาปัตยกรรมอาคารของสถานี และการออกแบบแนวคิดจุดตัดทางรถไฟ พร้อมทั้งแนวทางเบื้องต้นในการจัดการปัญหาต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานให้มีความเหมาะสม และมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนน้อยที่สุด และมีความสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชน