ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เดินหน้าสร้างมาตรฐานความปลอดภัยนักท่องเที่ยว ลงพื้นที่ซอยบางลา หาดป่าตอง แจกคู่มือ 3 ภาษา แนะนำนักท่องเที่ยว
ช่วงค่ำวานนี้ (14 ก.ค.) น.ส.รัฐนิติ์ รอดเริญ นักวิชาการนโยบายและแผนชำนาญการ กองมาตรฐาน และกำกับความปลอดภัยนักท่องเที่ยว พร้อมด้วยคณะ ได้ลงพื้นที่ซอยบางลาง หาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เพื่อรณรงค์แจกคู่มือ 3 ภาษา แนะนำนักท่องเที่ยวเที่ยวอย่างไรให้ปลอดภัย ตามนโยบายของ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า อุตสาหกรรมภาคบริการ มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างมาก โดยในปี 2559 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยเป็น จำนวน 2.51 ล้านล้านบาท และใน 5 เดือนแรกของปี 2560 = 0.96 ล้านล้านบาท (รายได้ไทยเที่ยวไทยเดือนมกราคม-มีนาคม 2560)
ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 1.24 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 5
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอีกมากมาย เช่น โรงแรม และที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ซึ่งธุรกิจดังกล่าวก่อให้เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้ การกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการขยายตัว สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ อุบัติภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อนักท่องเที่ยว การที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วยังอาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุ อาชญากรรม และการหลอกลวงนักท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ จากกลุ่มมิจฉาชีพที่อาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้น กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักจึงได้วางแนวทางป้องกันปัญหาดังกล่าวที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย และการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยว และอาจส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยว และรายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศ รวมทั้งการจ้างงานในภาคธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจเชื่อมโยง
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ จึงได้จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์และเตือนภัยด้านการท่องเที่ยว ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเตือนภัยด้านการท่องเที่ยว และให้คำแนะนำในการป้องกันภัยจากการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ช่องทางการร้องเรียน ร้องทุกข์ของนักท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่น และทัศนคติอันดีต่อการท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญ 10 จังหวัด ได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร : ตลาดนัดสวนจตุจักร 2.สุราษฎร์ธานี : เกาะสมุย เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย 3.เชียงใหม่ ถนนคนเดินประตูท่าแพ 4.ภูเก็ต ซอยบางลา หาดป่าตอง 5.ชลบุรี เมืองพัทยา ท่าเรือเกาะล้าน 6.กระบี่ : ท่าเรือเกาะพีพี 7.พังงา : เขาหลักเซ็นเตอร์ 8.ประจวบคีรีขันธ์ : ตลาดโต้รุ่งหัวหิน 9.ลำปาง : ถนนคนเดินกาดกองต้า 10.บุรีรัมย์ : ถนนคนเดินเซราะกราว
นอกจากนี้ กองมาตรฐานฯ ได้มีการจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเตือนภัยนักท่องเที่ยว จำนวน 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย จีน อังกฤษ แจกนักท่องเที่ยวทั้ง 10 จังหวัด พร้อมทั้งจัดทำคลิปประชาสัมพันธ์บทบาทและหน้าที่ของกองมาตรฐานฯ เพื่อเผยแพร่ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
“ปัจจุบันมีศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว (TAC) ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก เพื่อรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ แก้ไขปัญหา และดูแลช่วยเหลือนักท่องเที่ยวเมื่อประสบเหตุ ซึ่งมีจำนวน 16 ศูนย์ ใน 15 จังหวัด และในกรุงเทพฯ หากต้องการร้องเรียน หรือขอความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่ Call Center (สุวรรณภูมิ) (66) 2134 4077 เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ปลัดฯ ท่องเที่ยวฯ กล่าว
ช่วงค่ำวานนี้ (14 ก.ค.) น.ส.รัฐนิติ์ รอดเริญ นักวิชาการนโยบายและแผนชำนาญการ กองมาตรฐาน และกำกับความปลอดภัยนักท่องเที่ยว พร้อมด้วยคณะ ได้ลงพื้นที่ซอยบางลาง หาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เพื่อรณรงค์แจกคู่มือ 3 ภาษา แนะนำนักท่องเที่ยวเที่ยวอย่างไรให้ปลอดภัย ตามนโยบายของ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า อุตสาหกรรมภาคบริการ มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างมาก โดยในปี 2559 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยเป็น จำนวน 2.51 ล้านล้านบาท และใน 5 เดือนแรกของปี 2560 = 0.96 ล้านล้านบาท (รายได้ไทยเที่ยวไทยเดือนมกราคม-มีนาคม 2560)
ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 1.24 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 5
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอีกมากมาย เช่น โรงแรม และที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ซึ่งธุรกิจดังกล่าวก่อให้เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้ การกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการขยายตัว สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ อุบัติภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อนักท่องเที่ยว การที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วยังอาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุ อาชญากรรม และการหลอกลวงนักท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ จากกลุ่มมิจฉาชีพที่อาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้น กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักจึงได้วางแนวทางป้องกันปัญหาดังกล่าวที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย และการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยว และอาจส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยว และรายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศ รวมทั้งการจ้างงานในภาคธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจเชื่อมโยง
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ จึงได้จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์และเตือนภัยด้านการท่องเที่ยว ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเตือนภัยด้านการท่องเที่ยว และให้คำแนะนำในการป้องกันภัยจากการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ช่องทางการร้องเรียน ร้องทุกข์ของนักท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่น และทัศนคติอันดีต่อการท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญ 10 จังหวัด ได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร : ตลาดนัดสวนจตุจักร 2.สุราษฎร์ธานี : เกาะสมุย เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย 3.เชียงใหม่ ถนนคนเดินประตูท่าแพ 4.ภูเก็ต ซอยบางลา หาดป่าตอง 5.ชลบุรี เมืองพัทยา ท่าเรือเกาะล้าน 6.กระบี่ : ท่าเรือเกาะพีพี 7.พังงา : เขาหลักเซ็นเตอร์ 8.ประจวบคีรีขันธ์ : ตลาดโต้รุ่งหัวหิน 9.ลำปาง : ถนนคนเดินกาดกองต้า 10.บุรีรัมย์ : ถนนคนเดินเซราะกราว
นอกจากนี้ กองมาตรฐานฯ ได้มีการจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเตือนภัยนักท่องเที่ยว จำนวน 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย จีน อังกฤษ แจกนักท่องเที่ยวทั้ง 10 จังหวัด พร้อมทั้งจัดทำคลิปประชาสัมพันธ์บทบาทและหน้าที่ของกองมาตรฐานฯ เพื่อเผยแพร่ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
“ปัจจุบันมีศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว (TAC) ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก เพื่อรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ แก้ไขปัญหา และดูแลช่วยเหลือนักท่องเที่ยวเมื่อประสบเหตุ ซึ่งมีจำนวน 16 ศูนย์ ใน 15 จังหวัด และในกรุงเทพฯ หากต้องการร้องเรียน หรือขอความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่ Call Center (สุวรรณภูมิ) (66) 2134 4077 เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ปลัดฯ ท่องเที่ยวฯ กล่าว