ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ยังไร้ข้อสรุปแก้ปัญหาผู้ประกอบการแผงศูนย์อาหารสวนสาธารณะโลมา อาคารเช่าเทศบาลป่าตอง ผู้ประกอบการยอมอยู่ในจุดที่กำหนด แต่เทศบาลไม่สามารถให้คำตอบ เหตุงบประมาณปรับปรุงอาคารเป็นอาคารอเนกประสงค์ผ่านการพิจารณาของสภาไปแล้ว ระบุต้องกลับไปคุยใหม่ ย้ำที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไม่ทำตามที่กำหนด
เมื่อเวลา 13.30 น.วันนี้ (1 พ.ย.) นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหา กรณีผู้ประกอบการแผงศูนย์อาหารหารสวนสาธารณะโลมา หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต ยื่นหนังสือถึงศูนย์ดำรงธรรม ขอให้ทางเทศบาลเมืองป่าตอง ชะลอการยกเลิกสัญญาเช่าแผงในอาคารศูนย์อาหารดังกล่าว เนื่องจากการยกเลิกสัญญาเช่าแผงทำให้ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพ โดยมี น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นายกเทศบาลเมืองป่าตอง ปลัดเทศบาลเมืองป่าตอง อัยการจังหวัดภูเก็ต ตัวแทนจากท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต ตัวแทนนายอำเภอกะทู้ และตัวแทนผู้ประกอบการ นำโดย น.ส.สุริยา สิ้นโศรก ตัวแทนผู้ได้รับความเดือดร้อน เข้าร่วมประชุมที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
นายธีระ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้เพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จึงอยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน ซึ่งปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน และการบังคับใช้กฎหมายน่าจะสามารถพูดคุยกันได้ แต่ถ้าไม่สามารถพูดคุยกันได้ก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ในเบื้องต้นจะต้องรับฟังทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน แต่ถ้าวันนี้ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันไม่ได้ ก็คงจะต้องลงไปดูพื้นที่จริง
ด้าน น.ส.สุริยา กล่าวว่า เมื่อปี 2539 เทศบาลป่าตอง ได้รับเงินอุดหนุน 48 ล้านบาท ทำการก่อสร้างแผงลอยจำหน่ายอาหาร พร้อมก่อสร้างเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์แนวชายหาดป่าตอง ในระหว่างก่อสร้างได้ย้ายผู้ประกอบการ จำนวน 38 ราย ออกจากพื้นที่ และทางเทศบาล ได้จัดสรรพื้นที่ของเอกชนในการให้ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าในระหว่างที่มีการก่อสร้างอาคาร เมื่อมีการก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จ ผู้ประกอบการขายอาหารและเครื่องดื่มได้ย้ายกลับเข้ามาเช่าพื้นที่อาคารแผงลอยดังกล่าวจำหน่ายอาหารจนถึงปัจจุบัน ต่อมา ในปี 2556 เทศบาลป่าตอง ได้ทยอยบอกเลิกสัญญาเช่า พร้อมส่งหนังสือขอคืนพื้นที่ และส่งมอบพื้นที่ให้กลับคืนเทศบาลเมืองป่าตอง เพื่อดำเนินการปรับปรุงอาคารดังกล่าวเป็นห้องประชุมของเทศบาล ทำให้ผู้ประกอบการที่ถูกเลิกสัญญาได้รับความเดือดร้อน ไม่มีอาชีพในการทำมาหากิน นอกจากนั้น พนักงานกว่า 100 คน ได้รับผลกระทบด้วย จึงอยากให้ทางเทศบาลเห็นใจ และให้ประชาชนได้ทำมาหากินในจุดเดิม ซึ่งทางผู้ประกอบการยินดีที่จะทำตามข้อเสนอของทางเทศบาลในการวางโต๊ะ เก้าอี้ อยากให้เทศบาลพิจารณาเรื่องนี้ใหม่ เพราะถ้ามีการยกเลิกการเช่าแผงจะทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
ด้าน น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางเทศบาลพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด แต่ผู้ประกอบการไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงมีการฝ่าฝืนนำโต๊ะ เก้าอี้ไปวางนอกจุดที่กำหนด บางรายไม่ยอมจ่ายค่าเช่า ผู้ประกอบการเป็นคนที่บอกเองว่าไม่สามารถที่จะขายอาหารในอาคารได้ เนื่องจากนักท่องเที่ยวไม่เข้าไปใช้บริการ ซึ่งสัญญาที่ผู้ประกอบการทำกับทางเทศบาลนั้นจะหมด 3 ระยะด้วยกัน คือ หมดสัญญาเดือน มี.ค. เดือน ต.ค. และเดือน ธ.ค. เมื่ออาคารไม่มีประโยชน์ทางเทศบาลจึงมีแนวคิดที่จะนำอาคารดังกล่าวมาทำเป็นอาคารอเนกประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งขณะนี้ได้เขียนโครงการและเสนองบประมาณในการดำเนินการไปแล้ว จำนวน 20 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณปี 60 และสภาก็ผ่านการอนุมัติแล้ว เพราะฉะนั้น การจะยกเลิกโครงการไม่สามารถทำได้เลย ณ ตอนนี้ เพราะจะต้องนำเรื่องกลับเข้าสภา ว่าจะมีความคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไร ณ ตอนนี้ยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะให้ผู้ประกอบการใช้อาคารอเนกประสงค์ได้หรือไม่ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นทางเทศบาลพยายามที่จะแก้ไขมาหลายครั้งแล้ว ทั้งเรื่องการปรับปรุงอาคาร การทำความสะอาด และอื่นๆ แต่ผู้ประกอบการบางส่วนก็ไม่ยอมทำตามกฎกติกาจึงจำเป็นที่จะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายเข้ามาดำเนินการ และในการบอกเลิกสัญญาก็บอกเลิกตามระเบียบ มีการบอกเลิกสัญญาให้ผู้ประกอบการเช่าอาคารทราบล่วงหน้าเกิน 15 วัน สำหรับสัญญาเช่านั้นบางรายได้ถูกยกเลิกไปเมื่อเดือนมีนาคม บางรายเดือนตุลาคม สัญญาเช่ารายสุดท้ายจะถูกหมดสัญญาเดือนธันวาคม
อย่างไรก็ตาม สำหรับการประชุมในครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปในการแก้ไข ซึ่งทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้มอบหมายให้ทางเทศบาล และผู้ประกอบการกลับไปหารือร่วมกันอีกครั้ง
เมื่อเวลา 13.30 น.วันนี้ (1 พ.ย.) นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหา กรณีผู้ประกอบการแผงศูนย์อาหารหารสวนสาธารณะโลมา หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต ยื่นหนังสือถึงศูนย์ดำรงธรรม ขอให้ทางเทศบาลเมืองป่าตอง ชะลอการยกเลิกสัญญาเช่าแผงในอาคารศูนย์อาหารดังกล่าว เนื่องจากการยกเลิกสัญญาเช่าแผงทำให้ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพ โดยมี น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นายกเทศบาลเมืองป่าตอง ปลัดเทศบาลเมืองป่าตอง อัยการจังหวัดภูเก็ต ตัวแทนจากท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต ตัวแทนนายอำเภอกะทู้ และตัวแทนผู้ประกอบการ นำโดย น.ส.สุริยา สิ้นโศรก ตัวแทนผู้ได้รับความเดือดร้อน เข้าร่วมประชุมที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
นายธีระ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้เพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จึงอยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน ซึ่งปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน และการบังคับใช้กฎหมายน่าจะสามารถพูดคุยกันได้ แต่ถ้าไม่สามารถพูดคุยกันได้ก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ในเบื้องต้นจะต้องรับฟังทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน แต่ถ้าวันนี้ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันไม่ได้ ก็คงจะต้องลงไปดูพื้นที่จริง
ด้าน น.ส.สุริยา กล่าวว่า เมื่อปี 2539 เทศบาลป่าตอง ได้รับเงินอุดหนุน 48 ล้านบาท ทำการก่อสร้างแผงลอยจำหน่ายอาหาร พร้อมก่อสร้างเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์แนวชายหาดป่าตอง ในระหว่างก่อสร้างได้ย้ายผู้ประกอบการ จำนวน 38 ราย ออกจากพื้นที่ และทางเทศบาล ได้จัดสรรพื้นที่ของเอกชนในการให้ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าในระหว่างที่มีการก่อสร้างอาคาร เมื่อมีการก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จ ผู้ประกอบการขายอาหารและเครื่องดื่มได้ย้ายกลับเข้ามาเช่าพื้นที่อาคารแผงลอยดังกล่าวจำหน่ายอาหารจนถึงปัจจุบัน ต่อมา ในปี 2556 เทศบาลป่าตอง ได้ทยอยบอกเลิกสัญญาเช่า พร้อมส่งหนังสือขอคืนพื้นที่ และส่งมอบพื้นที่ให้กลับคืนเทศบาลเมืองป่าตอง เพื่อดำเนินการปรับปรุงอาคารดังกล่าวเป็นห้องประชุมของเทศบาล ทำให้ผู้ประกอบการที่ถูกเลิกสัญญาได้รับความเดือดร้อน ไม่มีอาชีพในการทำมาหากิน นอกจากนั้น พนักงานกว่า 100 คน ได้รับผลกระทบด้วย จึงอยากให้ทางเทศบาลเห็นใจ และให้ประชาชนได้ทำมาหากินในจุดเดิม ซึ่งทางผู้ประกอบการยินดีที่จะทำตามข้อเสนอของทางเทศบาลในการวางโต๊ะ เก้าอี้ อยากให้เทศบาลพิจารณาเรื่องนี้ใหม่ เพราะถ้ามีการยกเลิกการเช่าแผงจะทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
ด้าน น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางเทศบาลพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด แต่ผู้ประกอบการไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงมีการฝ่าฝืนนำโต๊ะ เก้าอี้ไปวางนอกจุดที่กำหนด บางรายไม่ยอมจ่ายค่าเช่า ผู้ประกอบการเป็นคนที่บอกเองว่าไม่สามารถที่จะขายอาหารในอาคารได้ เนื่องจากนักท่องเที่ยวไม่เข้าไปใช้บริการ ซึ่งสัญญาที่ผู้ประกอบการทำกับทางเทศบาลนั้นจะหมด 3 ระยะด้วยกัน คือ หมดสัญญาเดือน มี.ค. เดือน ต.ค. และเดือน ธ.ค. เมื่ออาคารไม่มีประโยชน์ทางเทศบาลจึงมีแนวคิดที่จะนำอาคารดังกล่าวมาทำเป็นอาคารอเนกประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งขณะนี้ได้เขียนโครงการและเสนองบประมาณในการดำเนินการไปแล้ว จำนวน 20 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณปี 60 และสภาก็ผ่านการอนุมัติแล้ว เพราะฉะนั้น การจะยกเลิกโครงการไม่สามารถทำได้เลย ณ ตอนนี้ เพราะจะต้องนำเรื่องกลับเข้าสภา ว่าจะมีความคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไร ณ ตอนนี้ยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะให้ผู้ประกอบการใช้อาคารอเนกประสงค์ได้หรือไม่ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นทางเทศบาลพยายามที่จะแก้ไขมาหลายครั้งแล้ว ทั้งเรื่องการปรับปรุงอาคาร การทำความสะอาด และอื่นๆ แต่ผู้ประกอบการบางส่วนก็ไม่ยอมทำตามกฎกติกาจึงจำเป็นที่จะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายเข้ามาดำเนินการ และในการบอกเลิกสัญญาก็บอกเลิกตามระเบียบ มีการบอกเลิกสัญญาให้ผู้ประกอบการเช่าอาคารทราบล่วงหน้าเกิน 15 วัน สำหรับสัญญาเช่านั้นบางรายได้ถูกยกเลิกไปเมื่อเดือนมีนาคม บางรายเดือนตุลาคม สัญญาเช่ารายสุดท้ายจะถูกหมดสัญญาเดือนธันวาคม
อย่างไรก็ตาม สำหรับการประชุมในครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปในการแก้ไข ซึ่งทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้มอบหมายให้ทางเทศบาล และผู้ประกอบการกลับไปหารือร่วมกันอีกครั้ง