ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประกาศขายทอดตลาดแล้วทรัพย์สินเครือข่ายทรานลี่ เทรเวิล จำกัด กับพวก จำนวน 151 รายการ มูลค่าเริ่มต้น 170 ล้านบาท วันที่ 6 ก.ย. นี้
ขณะนี้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ออกประกาศเรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สิน รายเครือข่าย ทรานลี่ ทราเวิล จำกัด และพวก โดยประกาศดังกล่าวลงวันที่ 26 ส.ค. 2559 ลงชื่อ พล.ต.อ.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งใจความของประกาศดังกล่าวระบุ ว่า ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีความประสงค์ที่จะขายทอดตลาดทรัพย์สินที่เลขา ปปง.ได้มีคำสั่งยึด และอายัดไว้ชั่วคราวตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งประกอบด้วย เรือ และรถยนต์โดยสาร จำนวน 151 รายการ ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 170 ล้านบาท ซึ่งจะขายทอดตลาดในวันที่ 6 ก.ย.59 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมเทศบาลนครภูเก็ต
สำหรับผู้ประสงค์ที่เข้าสู้ราคาสามารถติดต่อขอดูทรัพย์สินได้ในวันที่ 5 ก.ย.59 ระหว่างเวลา 09.30-16.00 น. ตามสถานที่ต่างๆ ดังนี้ ประกอบ ท่าเรือแสงอรุณ 61/195 หมู่ 7 ถนนอนุภาษ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต, บริษัทภูเก็ตโบ๊ท ลากูน จำกัด 22/1 หมู่ 2 ต.เกาะแก้ว, จ.เจริญคานเรือเล็ก 1/21 หมู่ 1 ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต, คานเรือสิกิจ 3/20 หมู่ 1ต.รัษฎา, รัตนชัยคานเรือ 60/58 หมู่ 7 ต.รัษฎา อ.เมือง ที่สำนักงานตำรวจภูธรภาค 8 88/8 หมู่ 5 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง และ ที่บริษัททรานลี่ ทราเวล จำกัด 74/70 ถนนพูนผล ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต หรือตรวจสอบได้ทาง WWW.amlo.go.th ซึ่งในการเข้สู้ราคาทางสำนักงาน ปปง.ถือว่าผู้เข้าสู้ราคาได้ตรวจสอบสภาพทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดจนเป็นที่พอใจมาก่อนแล้ว และจะไม่รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ
สำหรับการเข้าสู้ราคานั้น กำหนดลงทะเบียนในวันที่ 6 ก.ย.59 เวลา 09.00 น. และดำเนินการขายทอดตลาดตั้งแต่เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลนครภูเก็ต ผู้ที่ประสงค์จะสู้ราคาจะต้องวางหลักประกันตามที่กำหนด โดยสามารถวางเงินสด หรือแคชเชียร์เช็คโดยสั่งจ่าย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในวงเงินที่กำหนดไว้ โดยจะคืนเงินให้ผู้เข้าสู่ราคาต่อเมื่อการขายทอดตลาดรายการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนทรัพย์สินรายการที่ขายทอดตลาดไม่ได้ในวันอังคารที่ 6 ก.ย.จะนำออกขายทอดตลาดอีก 3 นัด ณ ห้องประชุมเทศบาลนครภูเก็ต ประกอบด้วย วันที่ 7 ก.ย.59 เวลา 10.00 น. วันที่ 8 ก.ย. 59 เวลา 10.00 น. และ วันที่ 9 ก.ย. 59 เวลา 10.00 น.
สำหรับบริษัท ทรานลี่ ทราเวลิ จำกัด เป็นบริษัทที่ดำเนินการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ทั้งเรือนำเที่ยว รถบัสรับ-ส่งนักท่องเที่ยว โรงแรม ที่พัก สปา ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก โดยมี นายกฤชกร รุ่งมงคลนาม หรือนายไอ่สาม เสียงสี และนายวีรชัย คำไผ่ประพันธ์กุล เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และถูกศาลจังหวัดภูเก็ตออกหมายจับ เนื่องจากเป็นบุคคลต่างด้าวแต่อ้างว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทยให้เจ้าหน้าที่ออกบัตรประชาชน แล้วนำไปจดทะเบียนนิติบุคคลประกอบธุรกิจนำเที่ยว ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า บริษัทดังกล่าวมีเครือข่ายมากกว่า 17 แห่งที่อยู่ในเครือ
ประกอบด้วย บริษัท ทรานลี่ เทรเวล จำกัด บริษัท หยางกวง จำกัด บริษัท แมนตา มารีน จำกัด บริษัท ภูเก็ต ปิง เฟรนด์ จำกัด บริษัท เหมยลี จำกัด บริษัท ภูเก็ต บลู เฮเว่น ไดฟ์วิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท เคนย่า แอนด์ แฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ไท่ลี่ อิมพอร์ต จำกัด บริษัท ที.แอล เบทเตอร์เวย์ จำกัด บริษัท อินทรีมารีน จำกัด บริษัท บลู เวฟ รีสอร์ท จำกัด บริษัท บลูเบย์ รีสอร์ท จำกัด บริษัท เนเชอรัล เบย์ จำกัด บริษัท เวนิส ซีวิว จำกัด บริษัท ราชาสปา จำกัด บริษัท สบันงาสปา จำกัด และบริษัท เซียน ซาบู ซาบู จำกัด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการเข้าตรวจสอบบริษัทดังกล่าว และเครือข่ายเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา และต่อเนื่องในช่วงเดือนเดียวกันจนเป็นที่มาของการยึดทรัพย์สินดังกล่าว
ขณะนี้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ออกประกาศเรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สิน รายเครือข่าย ทรานลี่ ทราเวิล จำกัด และพวก โดยประกาศดังกล่าวลงวันที่ 26 ส.ค. 2559 ลงชื่อ พล.ต.อ.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งใจความของประกาศดังกล่าวระบุ ว่า ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีความประสงค์ที่จะขายทอดตลาดทรัพย์สินที่เลขา ปปง.ได้มีคำสั่งยึด และอายัดไว้ชั่วคราวตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งประกอบด้วย เรือ และรถยนต์โดยสาร จำนวน 151 รายการ ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 170 ล้านบาท ซึ่งจะขายทอดตลาดในวันที่ 6 ก.ย.59 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมเทศบาลนครภูเก็ต
สำหรับผู้ประสงค์ที่เข้าสู้ราคาสามารถติดต่อขอดูทรัพย์สินได้ในวันที่ 5 ก.ย.59 ระหว่างเวลา 09.30-16.00 น. ตามสถานที่ต่างๆ ดังนี้ ประกอบ ท่าเรือแสงอรุณ 61/195 หมู่ 7 ถนนอนุภาษ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต, บริษัทภูเก็ตโบ๊ท ลากูน จำกัด 22/1 หมู่ 2 ต.เกาะแก้ว, จ.เจริญคานเรือเล็ก 1/21 หมู่ 1 ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต, คานเรือสิกิจ 3/20 หมู่ 1ต.รัษฎา, รัตนชัยคานเรือ 60/58 หมู่ 7 ต.รัษฎา อ.เมือง ที่สำนักงานตำรวจภูธรภาค 8 88/8 หมู่ 5 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง และ ที่บริษัททรานลี่ ทราเวล จำกัด 74/70 ถนนพูนผล ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต หรือตรวจสอบได้ทาง WWW.amlo.go.th ซึ่งในการเข้สู้ราคาทางสำนักงาน ปปง.ถือว่าผู้เข้าสู้ราคาได้ตรวจสอบสภาพทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดจนเป็นที่พอใจมาก่อนแล้ว และจะไม่รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ
สำหรับการเข้าสู้ราคานั้น กำหนดลงทะเบียนในวันที่ 6 ก.ย.59 เวลา 09.00 น. และดำเนินการขายทอดตลาดตั้งแต่เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลนครภูเก็ต ผู้ที่ประสงค์จะสู้ราคาจะต้องวางหลักประกันตามที่กำหนด โดยสามารถวางเงินสด หรือแคชเชียร์เช็คโดยสั่งจ่าย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในวงเงินที่กำหนดไว้ โดยจะคืนเงินให้ผู้เข้าสู่ราคาต่อเมื่อการขายทอดตลาดรายการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนทรัพย์สินรายการที่ขายทอดตลาดไม่ได้ในวันอังคารที่ 6 ก.ย.จะนำออกขายทอดตลาดอีก 3 นัด ณ ห้องประชุมเทศบาลนครภูเก็ต ประกอบด้วย วันที่ 7 ก.ย.59 เวลา 10.00 น. วันที่ 8 ก.ย. 59 เวลา 10.00 น. และ วันที่ 9 ก.ย. 59 เวลา 10.00 น.
สำหรับบริษัท ทรานลี่ ทราเวลิ จำกัด เป็นบริษัทที่ดำเนินการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ทั้งเรือนำเที่ยว รถบัสรับ-ส่งนักท่องเที่ยว โรงแรม ที่พัก สปา ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก โดยมี นายกฤชกร รุ่งมงคลนาม หรือนายไอ่สาม เสียงสี และนายวีรชัย คำไผ่ประพันธ์กุล เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และถูกศาลจังหวัดภูเก็ตออกหมายจับ เนื่องจากเป็นบุคคลต่างด้าวแต่อ้างว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทยให้เจ้าหน้าที่ออกบัตรประชาชน แล้วนำไปจดทะเบียนนิติบุคคลประกอบธุรกิจนำเที่ยว ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า บริษัทดังกล่าวมีเครือข่ายมากกว่า 17 แห่งที่อยู่ในเครือ
ประกอบด้วย บริษัท ทรานลี่ เทรเวล จำกัด บริษัท หยางกวง จำกัด บริษัท แมนตา มารีน จำกัด บริษัท ภูเก็ต ปิง เฟรนด์ จำกัด บริษัท เหมยลี จำกัด บริษัท ภูเก็ต บลู เฮเว่น ไดฟ์วิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท เคนย่า แอนด์ แฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ไท่ลี่ อิมพอร์ต จำกัด บริษัท ที.แอล เบทเตอร์เวย์ จำกัด บริษัท อินทรีมารีน จำกัด บริษัท บลู เวฟ รีสอร์ท จำกัด บริษัท บลูเบย์ รีสอร์ท จำกัด บริษัท เนเชอรัล เบย์ จำกัด บริษัท เวนิส ซีวิว จำกัด บริษัท ราชาสปา จำกัด บริษัท สบันงาสปา จำกัด และบริษัท เซียน ซาบู ซาบู จำกัด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการเข้าตรวจสอบบริษัทดังกล่าว และเครือข่ายเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา และต่อเนื่องในช่วงเดือนเดียวกันจนเป็นที่มาของการยึดทรัพย์สินดังกล่าว