ศูนย์ข่าวภูเก็ต - รู้ผลสร้างอาคารผู้ป่วย 298 เตียง สูง 8 ชั้น บริเวณด้านหลังตึกน้อมเกล้า ก.ย.นี้ “ทุบตึกเก่า-ย้ายที่-คืนงบ” หลังเกิดกระแสค้านการทุบตึกเก่าอายุร่วม 100 ปี รวมทั้งตัดต้นมะฮอกกานี และต้นจำปีขนาดใหญ่หลายต้น ระบุพื้นที่ดังกล่าวไม่เคยอยู่ในแผนสร้างอาคารมาก่อน หากจะสร้างต้องออกแบบใหม่ให้กลมกลืนกับตึกเก่าที่มีอยู่
จากกรณีเมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสการแชร์ภาพ และข้อมูลจากเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า Watanyoo Thephuttee ซึ่งเผยแพร่ภาพอาคารเก่ามีอักษรบนหน้าจั่วว่า “ตึกบุญพัฒน์” รูปแบบเป็นอาคารปูนได้รับอิทธิพลศิลปกรรมจากตะวันตก ข้อความมีเนื้อหาระบุว่า “โรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต กำลังเตรียมดำเนินการรื้อถอนตึกดังกล่าว ซึ่งมีสภาพเป็นโบราณสถานอายุเกือบ 100 ปี เพื่อสร้างตึกใหม่ ขณะนี้ชาวบ้านกำลังร่วมกันคัดค้าน จึงขอให้ช่วยกันกระจายข่าวเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องล้มเลิกความคิดที่จะทำลายโบราณสถาน” รวมทั้งการออกยื่นหนังสือถึงศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต ของนายแพทย์วีระศักดิ์ หล่อทองคำ แพทย์ประจำโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อคัดค้านการรื้ออาคารโบราณ และตัดต้นไม้เก่าแก่เพื่อสร้างตึกผู้ป่วยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
ล่าสุด วันนี้ (26 ส.ค.) ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และฝ่ายบริหารของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ได้ชี้แจงต่อสื่อมวลชน ต่อกรณีการสร้างตึกผู้ป่วย 298 เตียง ซึ่งจะต้องมีการตัดต้นไม้ที่มีอายุกว่า 100 ปี และทุบตึกเก่าซึ่งเป็นโบราณสถานอายุเกือบ 100 ปีทิ้ง และกรณีการออกมาคัดค้านไม่ให้ทุบตึกเก่ารวมทั้งต้นมะฮอกกานี ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำโรงพยาบาล ขึ้นที่บริเวณหน้าตึกบุญพัฒน์ ซึ่งเป็นบริเวณที่จะมีการสร้างอาคารใหม่ขึ้น
โดย นายแพทย์วีระศักดิ์ หล่อทองคำ แพทย์ประจำโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2560 โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ได้รับงบประมาณสร้างอาคารผู้ป่วย 298 เตียง จำนวน 1 ตึก ซึ่งเดิมผู้บริหารได้ชี้แจ้งคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลว่าจะทำการก่อสร้างตึกบริเวณโรงครัว และอาคารซักฟอกเดิม โดยโรงครัวและอาคารซักฟอกจะย้ายไปอยู่ที่อาคารสนับสนุน ซึ่งผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขได้ลงมาตรวจดูพื้นที่ร่วมกับทีมผู้บริหารโรงพยาบาลก่อนที่จะมีการอนุมัติงบประมาณ แต่ต่อมา เมื่อเดือน ก.ค.59 ที่ผ่านมา ทางผู้อำนวยการโรงพยาบาล และรองผู้อำนวยการได้แจ้งว่า จะเปลี่ยนพื้นที่สร้างตึกมาเป็นบริเวณหลังตึกน้อมเกล้า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีตึกเก่า 2 ตึก คือ ตึกระนอง และตึกบุญพัฒน์ ซึ่งถือว่าเป็นตึกเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 6 รวมทั้งจะต้องตัดต้นมะฮอกกานี และต้นจำปีขนาดใหญ่จำนวนหลายต้น
และเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลบางส่วนเห็นว่าเหมาะสมถ้าจะก่อสร้างอาคารในพื้นที่ดังกล่าว แต่ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องสร้างในจุดนี้ก็ควรจะออกแบบให้เข้ากับพื้นที่ โดยไม่ทำลายตึกเก่าที่มึคุณค่าทางจิตใจ และเป็นมรดกของคนภูเก็ต และต้นไม้ที่มีอายุเป็น 100 ปี ซึ่งมะฮอกกานี ประมาณ 4-5 ต้น และมีต้นจำปี ให้ความร่มเย็นทั้งกลางวัน และกลางคืนกับพวกเราเป็น 100 ปี แต่ว่าอยู่ดีๆ จะตัดทิ้งเพื่อที่จะก่อสร้างตึกขึ้นมา ขอให้ออกแบบล่วงหน้า เพื่อให้เข้าพื้นที่โดยไม่ทำลายทั้งต้นไม้ และตึกเก่า เพราะฉะนั้นการที่ออกมาคัดค้านในครั้งนี้ตนไม่ได้คัดค้านไม่ให้มีการก่อสร้างอาคารผู้ป่วย แต่คัดค้านในเรื่องของการทำลายตึกเก่า และต้นไม้ขนาดใหญ่ของโรงพยาบาลซึ่งปลูก และสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6
ขณะที่ นายไชยยุทธ ทองลิ่ม นายช่างเทคนิคโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวถึงสาเหตุที่ตัดสินใจเลือกพื้นที่บริเวณตึกเก่า เพื่อก่อสร้างอาคารผู้ป่วย 298 เตียง ว่า ด้วยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ได้รับงบประมาณในปี 2560 ก่อสร้างอาคารผู้ป่วย 298 เตียง เป็นตึก 8 ชั้น งบก่อสร้าง 303 ล้านบาท ซึ่งอาคารดังกล่าวเป็นการสร้างเพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันอัตราการครองเตียง 105% ทำให้ผู้ป่วยไม่มีที่พัก และเพื่อทดแทนอาคารศัลยกรรม 3 ชั้น ซึ่งในอนาคตจะต้องรื้อเพื่อสร้างเป็นอาคารอุบัติเหตุ และศูนย์หัวใจ
และเพื่อให้การก่อสร้างอาคารดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทางฝ่ายบริหารได้สำรวจพื้นที่ที่จะก่อสร้างอาคารดังกล่าวได้ มี 2 พื้นที่ คือ บริเวณโรงซักฟอก โรงครัว และโรงน้ำเกลือ กับบริเวณพื้นที่ด้านหลังอาคารน้อมเกล้า โดยพื้นที่ที่จะกำหนดก่อสร้างเดิม คือ บริเวณโรงซักฟอก ฯลฯ เป็นเนินเขาทั้งหมด และอยู่ติดกับอาคารจอดรถ ทำให้การนำผู้ป่วยเข้าไปในอาคารทำได้ยากมาก และรวมถึงการเข้าถึงในเรื่องของรถดับเพลิงก็ทำไม่ได้เลย จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างในบริเวณที่มีตึกเก่า เนื่องจากเป็นชั้นดินธรรมดาทั่วๆ ไป งานระบบก่อสร้างสามารถจัดการได้ง่าย แต่เมื่อมีเสียงคัดค้านก็จะมีการมาทบทวนในเรื่องสถานที่ก่อสร้าง
โดยคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล มีแนวทางแก้ปัญหา 4 แนวทาง ประกอบด้วย 1.ตั้งคณะทำงาน โดยมี นพ.วีระศักดิ์ เป็นประธาน มี นพ.วีระวิทย์ และตัวแทนกลุ่มต่างๆ โดยมีตัวแทนกรมศิลปากร ตัวแทนกรมป่าไม้ กองแบบแผน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้รับงบ 303 ล้านบาทสร้างตึกผู้ป่วย 298 เตียง เพื่อลดความแออัดให้ผู้ป่วย ร่วมกันพิจารณาถึงความเหมาะสมจะสร้างได้หรือไม่ในบริเวณที่มีตึกเก่าที่มีการคัดค้าน 2.เชิญตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วย วิศวะ สถาปนิกมาดูบริเวณที่จะสร้างที่มีปัญหาหิน ว่า มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร 3.ย้ายไปสร้างที่ รพ.ฉลอง เป็น รพ.ใหม่ แต่มีเงื่อนไขต้องมีคณะแพทย์ และพยาบาล รพ.วชิระ ภก.ไปช่วย และหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ก็จะดำเนินการในแนวทางที่ 4 คืนงบประมาณให้กระทรวง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพื้นที่ที่จะก่อสร้างตึกผู้ป่วย 298 เตียง มีตึกเก่าอยู่บริเวณดังกล่าว จำนวน 2 ตึก คือ ตึกบุญพัฒน์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2464 เป็นอาคารพักผู้ป่วย บริจาคโดยหลวงบุญพัฒน์พานิช (ลิ่มเซ่งติ๋ว บุญห่อ) อาคารชั้นเดียว มีตึก 3 ห้อง กว้าง 21 ฟุต ยาว 46 ฟุต มีมุขด้านหน้า เครื่องบนใช้ไม้กระยาเลย พื้นปูไม้ตะบูน และหินอ่อน หลังคามุงกระเบื้อง ส่วนอีกตึกเป็นตึกระนอง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2464 เป็นอาคารผู้ป่วย บริจาคโดย พระบริรักษ์โลหะวิไสย (คอยู่จ่าย ณ ระนอง) เป็นอาคารชั้นเดียว กว้าง 6.60 เมตร ยาว 13 เมตร หลังคามุงกระเบื้อง เครื่องบนและพื้นเป็นกระยาเลย โดยทั้ง 2 ตึกมีสภาพทรุดโทรมขาดการดูแล โดยเฉพาะตึกระนองที่ปัจจุบันเหลือเพียงโครงสร้างเท่านั้น ขณะที่ตึกบุญพัฒน์ ยังมีความสมบูรณ์ในส่วนของโครงสร้าง แต่ก็อยู่ในสภาพทรุดโทรม
จากกรณีเมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสการแชร์ภาพ และข้อมูลจากเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า Watanyoo Thephuttee ซึ่งเผยแพร่ภาพอาคารเก่ามีอักษรบนหน้าจั่วว่า “ตึกบุญพัฒน์” รูปแบบเป็นอาคารปูนได้รับอิทธิพลศิลปกรรมจากตะวันตก ข้อความมีเนื้อหาระบุว่า “โรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต กำลังเตรียมดำเนินการรื้อถอนตึกดังกล่าว ซึ่งมีสภาพเป็นโบราณสถานอายุเกือบ 100 ปี เพื่อสร้างตึกใหม่ ขณะนี้ชาวบ้านกำลังร่วมกันคัดค้าน จึงขอให้ช่วยกันกระจายข่าวเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องล้มเลิกความคิดที่จะทำลายโบราณสถาน” รวมทั้งการออกยื่นหนังสือถึงศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต ของนายแพทย์วีระศักดิ์ หล่อทองคำ แพทย์ประจำโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อคัดค้านการรื้ออาคารโบราณ และตัดต้นไม้เก่าแก่เพื่อสร้างตึกผู้ป่วยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
ล่าสุด วันนี้ (26 ส.ค.) ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และฝ่ายบริหารของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ได้ชี้แจงต่อสื่อมวลชน ต่อกรณีการสร้างตึกผู้ป่วย 298 เตียง ซึ่งจะต้องมีการตัดต้นไม้ที่มีอายุกว่า 100 ปี และทุบตึกเก่าซึ่งเป็นโบราณสถานอายุเกือบ 100 ปีทิ้ง และกรณีการออกมาคัดค้านไม่ให้ทุบตึกเก่ารวมทั้งต้นมะฮอกกานี ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำโรงพยาบาล ขึ้นที่บริเวณหน้าตึกบุญพัฒน์ ซึ่งเป็นบริเวณที่จะมีการสร้างอาคารใหม่ขึ้น
โดย นายแพทย์วีระศักดิ์ หล่อทองคำ แพทย์ประจำโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2560 โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ได้รับงบประมาณสร้างอาคารผู้ป่วย 298 เตียง จำนวน 1 ตึก ซึ่งเดิมผู้บริหารได้ชี้แจ้งคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลว่าจะทำการก่อสร้างตึกบริเวณโรงครัว และอาคารซักฟอกเดิม โดยโรงครัวและอาคารซักฟอกจะย้ายไปอยู่ที่อาคารสนับสนุน ซึ่งผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขได้ลงมาตรวจดูพื้นที่ร่วมกับทีมผู้บริหารโรงพยาบาลก่อนที่จะมีการอนุมัติงบประมาณ แต่ต่อมา เมื่อเดือน ก.ค.59 ที่ผ่านมา ทางผู้อำนวยการโรงพยาบาล และรองผู้อำนวยการได้แจ้งว่า จะเปลี่ยนพื้นที่สร้างตึกมาเป็นบริเวณหลังตึกน้อมเกล้า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีตึกเก่า 2 ตึก คือ ตึกระนอง และตึกบุญพัฒน์ ซึ่งถือว่าเป็นตึกเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 6 รวมทั้งจะต้องตัดต้นมะฮอกกานี และต้นจำปีขนาดใหญ่จำนวนหลายต้น
และเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลบางส่วนเห็นว่าเหมาะสมถ้าจะก่อสร้างอาคารในพื้นที่ดังกล่าว แต่ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องสร้างในจุดนี้ก็ควรจะออกแบบให้เข้ากับพื้นที่ โดยไม่ทำลายตึกเก่าที่มึคุณค่าทางจิตใจ และเป็นมรดกของคนภูเก็ต และต้นไม้ที่มีอายุเป็น 100 ปี ซึ่งมะฮอกกานี ประมาณ 4-5 ต้น และมีต้นจำปี ให้ความร่มเย็นทั้งกลางวัน และกลางคืนกับพวกเราเป็น 100 ปี แต่ว่าอยู่ดีๆ จะตัดทิ้งเพื่อที่จะก่อสร้างตึกขึ้นมา ขอให้ออกแบบล่วงหน้า เพื่อให้เข้าพื้นที่โดยไม่ทำลายทั้งต้นไม้ และตึกเก่า เพราะฉะนั้นการที่ออกมาคัดค้านในครั้งนี้ตนไม่ได้คัดค้านไม่ให้มีการก่อสร้างอาคารผู้ป่วย แต่คัดค้านในเรื่องของการทำลายตึกเก่า และต้นไม้ขนาดใหญ่ของโรงพยาบาลซึ่งปลูก และสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6
ขณะที่ นายไชยยุทธ ทองลิ่ม นายช่างเทคนิคโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวถึงสาเหตุที่ตัดสินใจเลือกพื้นที่บริเวณตึกเก่า เพื่อก่อสร้างอาคารผู้ป่วย 298 เตียง ว่า ด้วยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ได้รับงบประมาณในปี 2560 ก่อสร้างอาคารผู้ป่วย 298 เตียง เป็นตึก 8 ชั้น งบก่อสร้าง 303 ล้านบาท ซึ่งอาคารดังกล่าวเป็นการสร้างเพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันอัตราการครองเตียง 105% ทำให้ผู้ป่วยไม่มีที่พัก และเพื่อทดแทนอาคารศัลยกรรม 3 ชั้น ซึ่งในอนาคตจะต้องรื้อเพื่อสร้างเป็นอาคารอุบัติเหตุ และศูนย์หัวใจ
และเพื่อให้การก่อสร้างอาคารดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทางฝ่ายบริหารได้สำรวจพื้นที่ที่จะก่อสร้างอาคารดังกล่าวได้ มี 2 พื้นที่ คือ บริเวณโรงซักฟอก โรงครัว และโรงน้ำเกลือ กับบริเวณพื้นที่ด้านหลังอาคารน้อมเกล้า โดยพื้นที่ที่จะกำหนดก่อสร้างเดิม คือ บริเวณโรงซักฟอก ฯลฯ เป็นเนินเขาทั้งหมด และอยู่ติดกับอาคารจอดรถ ทำให้การนำผู้ป่วยเข้าไปในอาคารทำได้ยากมาก และรวมถึงการเข้าถึงในเรื่องของรถดับเพลิงก็ทำไม่ได้เลย จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างในบริเวณที่มีตึกเก่า เนื่องจากเป็นชั้นดินธรรมดาทั่วๆ ไป งานระบบก่อสร้างสามารถจัดการได้ง่าย แต่เมื่อมีเสียงคัดค้านก็จะมีการมาทบทวนในเรื่องสถานที่ก่อสร้าง
โดยคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล มีแนวทางแก้ปัญหา 4 แนวทาง ประกอบด้วย 1.ตั้งคณะทำงาน โดยมี นพ.วีระศักดิ์ เป็นประธาน มี นพ.วีระวิทย์ และตัวแทนกลุ่มต่างๆ โดยมีตัวแทนกรมศิลปากร ตัวแทนกรมป่าไม้ กองแบบแผน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้รับงบ 303 ล้านบาทสร้างตึกผู้ป่วย 298 เตียง เพื่อลดความแออัดให้ผู้ป่วย ร่วมกันพิจารณาถึงความเหมาะสมจะสร้างได้หรือไม่ในบริเวณที่มีตึกเก่าที่มีการคัดค้าน 2.เชิญตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วย วิศวะ สถาปนิกมาดูบริเวณที่จะสร้างที่มีปัญหาหิน ว่า มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร 3.ย้ายไปสร้างที่ รพ.ฉลอง เป็น รพ.ใหม่ แต่มีเงื่อนไขต้องมีคณะแพทย์ และพยาบาล รพ.วชิระ ภก.ไปช่วย และหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ก็จะดำเนินการในแนวทางที่ 4 คืนงบประมาณให้กระทรวง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพื้นที่ที่จะก่อสร้างตึกผู้ป่วย 298 เตียง มีตึกเก่าอยู่บริเวณดังกล่าว จำนวน 2 ตึก คือ ตึกบุญพัฒน์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2464 เป็นอาคารพักผู้ป่วย บริจาคโดยหลวงบุญพัฒน์พานิช (ลิ่มเซ่งติ๋ว บุญห่อ) อาคารชั้นเดียว มีตึก 3 ห้อง กว้าง 21 ฟุต ยาว 46 ฟุต มีมุขด้านหน้า เครื่องบนใช้ไม้กระยาเลย พื้นปูไม้ตะบูน และหินอ่อน หลังคามุงกระเบื้อง ส่วนอีกตึกเป็นตึกระนอง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2464 เป็นอาคารผู้ป่วย บริจาคโดย พระบริรักษ์โลหะวิไสย (คอยู่จ่าย ณ ระนอง) เป็นอาคารชั้นเดียว กว้าง 6.60 เมตร ยาว 13 เมตร หลังคามุงกระเบื้อง เครื่องบนและพื้นเป็นกระยาเลย โดยทั้ง 2 ตึกมีสภาพทรุดโทรมขาดการดูแล โดยเฉพาะตึกระนองที่ปัจจุบันเหลือเพียงโครงสร้างเท่านั้น ขณะที่ตึกบุญพัฒน์ ยังมีความสมบูรณ์ในส่วนของโครงสร้าง แต่ก็อยู่ในสภาพทรุดโทรม