ชุมพร - ชาวบ้านยื่นหลักฐานครอบครองขอเอกสารสิทธิ หลังอยู่ในเขตนิคมสหกรณ์นานเกือบ 40 ปี มีการรังวัดเสียเงินแล้วหลายครั้งแต่เรื่องเงียบหาย แต่กลับให้นายทุนเช่าสร้างโรงงาน บ้านเช่า และธุรกิจอื่นได้ พร้อมเดินหน้าเรียกร้องจนถึงที่สุด
จากกรณีราษฎรร่วม 1,000 ครัวเรือน ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชน และเตรียมเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.เพื่อขอความช่วยเหลือหลังเข้าอยู่อาศัยในที่ดินจัดสรรนิคมสหกรณ์ท่าแซะ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ในพื้นที่หมู่ 13, 14, 17, 18 ตำบลท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร มานานร่วม 40 ปี จนมีทะเบียนราษฎร บ้านเลขที่ ถนนลาดยาง วัด มัสยิด โรงเรียน มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และสิ่งสาธารณูปโภคครบครันจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ แต่ยังไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินอยู่อาศัย ตามข่าวที่เสนอมาอย่างต่อเนื่อง ต่อมา หน่วยงานเกี่ยวข้องได้ประชุมร่วมกับผู้นำชุมชน แกนนำชาวบ้านเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยได้ข้อสรุปให้ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันสำรวจการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินว่ามีกี่ราย พร้อมจัดทำผังแต่ละแปลงของผู้ครอบครองเป็นใคร และให้นำมายื่นที่นิคมสหกรณ์ท่าแซะ เพื่อเสนอไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์พิจารณา ตามข่าวที่เสนอมาต่อเนื่องนั้น
ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อเวลา 15.00 น.วันนี้ (29 ก.ค.) ที่สำนักงานนิคมสหกรณ์ท่าแซะ น.ส.ฤทัย จันทนา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 13 ตำบลท่าแซะ นางสาลิกา ยังสวัสดิ์ กรรมการหมู่บ้าน นายมนัญชัย ชมท่าไม้ นายเกรียงไกร มิตรเจริญ นายมาลัย พนัชนาชี นายสมนึก อุสมาน นายสุทัศน์ ใจมีบุญ นายอร่าม นะรอฮีม ตัวแทนชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน รวมกว่า 50 คน ได้นำหนังสือเอกสารหลักฐานชื่อผู้ครอบครองเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในแปลงที่ดินที่อยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวยื่นต่อ นายวิเชียร ชาญตสบุตร ผอ.นิคมสหกรณ์ท่าแซะ โดยแยกเป็นหมู่ 13 จำนวน 160 ไร่ 400 ครัวเรือน ประชากร 1,000 คน หมู่ 14 จำนวน 90 ไร่ 120 ครัวเรือน ประชากร 300 คน หมู่ 17 จำนวน 40 ไร่ 100 ครัวเรือน ประชากร 250 คน หมู่ 18 จำนวน 120 ไร่ 80 ครัวเรือน ประชากร 160 คน
โดยตัวแทนชาวบ้านกล่าวว่า พวกตนเข้ามาอยู่อย่างถูกต้องตามขั้นตอน มีเจ้าหน้าที่รับรู้ให้อยู่มานานกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่เข้าไปรังวัดจัดสรรแปลงที่ดิน 4-5 ครั้ง แต่ละรายต้องเสียค่ารังวัดตารางวาละ 5 บาท แปลงละ 50-100 ตารางวา เสียเงินไปแล้วหลายครั้งแต่เรื่องก็เงียบหายมาตลอด ปัจจุบันก็ไม่ได้รับเอกสารสิทธิใดๆ นอกจากนั้น ยังเจ้าหน้าที่ยังมาออกข่าวว่าชาวบ้านบุกรุกเข้าไปอยู่ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งทางนิคมสหกรณ์ได้กันสงวนไว้เพื่อกิจการของนิคมสหกรณ์ 1,000 ไร่ และใช้ในราชการ 400 ไร่นั้น แล้วทำไมในส่วนที่มีนายทุนเข้ามาขอเช่าใช้พื้นที่นับ 100 ไร่ ปลูกปาล์ม สร้างโรงงาน สร้างห้องแถวให้เช่า และกิจการอื่นๆ อีกหลายราย ทำไมทางนิคมสหกรณ์จึงอนุมัติให้ทำได้ทั้งๆ ที่อยู่ในพื้นที่โซนเดียวกัน และที่สำคัญมาเช่าอยู่ภายหลังชาวบ้านเข้าอยู่อาศัยอีกด้วย
ภายหลังรับหนังสือ นายวิเชียร ชาญตสบุตร ผอ.นิคมสหกรณ์ท่าแซะ กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดมานานแล้ว จนมาถึงยุคตนเอง หลังจากรับเรื่องแล้วตนจะรีบนำหนังสือส่งไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์อย่าเร่งด่วนภายใน 1 สัปดาห์ โดยตนจะเป็นผู้นำไปด้วยตนเอง พร้อมกับจะเสนอความเห็นแนบท้ายไปด้วย ส่วนจะมีการพิจารณาอย่างไรขึ้นอยู่กับส่วนกลาง
ด้าน น.ส.กาญจนา หนูทอง แกนนำชาวบ้านกล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวทางนิคมสหกรณ์เป็นผู้จัดสรรรังวัดให้เราเข้ามาอยู่เอง ไม่ใช่เป็นผู้บุกรุก หากชาวบ้านบุกรุกแล้วเหตุใดจึงปล่อยให้ชาวบ้านเข้าอยู่อาศัยสร้างบ้านถาวรเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีถนนลาดยาง ไฟฟ้า สิ่งสาธารณูปโภคครันอย่านี้ ซึ่งการยื่นหนังสือในวันนี้ก็มีลักษณะคล้ายกับหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาแล้วเรื่องก็เงียบหายไป แต่ครั้งนี้มีผู้สื่อข่าวมาร่วมทำข่าวเป็นพยานด้วย และพวกเราจะขอต่อสู้เรียกร้องสิทธิจนถึงที่สุด
จากกรณีราษฎรร่วม 1,000 ครัวเรือน ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชน และเตรียมเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.เพื่อขอความช่วยเหลือหลังเข้าอยู่อาศัยในที่ดินจัดสรรนิคมสหกรณ์ท่าแซะ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ในพื้นที่หมู่ 13, 14, 17, 18 ตำบลท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร มานานร่วม 40 ปี จนมีทะเบียนราษฎร บ้านเลขที่ ถนนลาดยาง วัด มัสยิด โรงเรียน มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และสิ่งสาธารณูปโภคครบครันจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ แต่ยังไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินอยู่อาศัย ตามข่าวที่เสนอมาอย่างต่อเนื่อง ต่อมา หน่วยงานเกี่ยวข้องได้ประชุมร่วมกับผู้นำชุมชน แกนนำชาวบ้านเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยได้ข้อสรุปให้ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันสำรวจการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินว่ามีกี่ราย พร้อมจัดทำผังแต่ละแปลงของผู้ครอบครองเป็นใคร และให้นำมายื่นที่นิคมสหกรณ์ท่าแซะ เพื่อเสนอไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์พิจารณา ตามข่าวที่เสนอมาต่อเนื่องนั้น
ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อเวลา 15.00 น.วันนี้ (29 ก.ค.) ที่สำนักงานนิคมสหกรณ์ท่าแซะ น.ส.ฤทัย จันทนา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 13 ตำบลท่าแซะ นางสาลิกา ยังสวัสดิ์ กรรมการหมู่บ้าน นายมนัญชัย ชมท่าไม้ นายเกรียงไกร มิตรเจริญ นายมาลัย พนัชนาชี นายสมนึก อุสมาน นายสุทัศน์ ใจมีบุญ นายอร่าม นะรอฮีม ตัวแทนชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน รวมกว่า 50 คน ได้นำหนังสือเอกสารหลักฐานชื่อผู้ครอบครองเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในแปลงที่ดินที่อยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวยื่นต่อ นายวิเชียร ชาญตสบุตร ผอ.นิคมสหกรณ์ท่าแซะ โดยแยกเป็นหมู่ 13 จำนวน 160 ไร่ 400 ครัวเรือน ประชากร 1,000 คน หมู่ 14 จำนวน 90 ไร่ 120 ครัวเรือน ประชากร 300 คน หมู่ 17 จำนวน 40 ไร่ 100 ครัวเรือน ประชากร 250 คน หมู่ 18 จำนวน 120 ไร่ 80 ครัวเรือน ประชากร 160 คน
โดยตัวแทนชาวบ้านกล่าวว่า พวกตนเข้ามาอยู่อย่างถูกต้องตามขั้นตอน มีเจ้าหน้าที่รับรู้ให้อยู่มานานกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่เข้าไปรังวัดจัดสรรแปลงที่ดิน 4-5 ครั้ง แต่ละรายต้องเสียค่ารังวัดตารางวาละ 5 บาท แปลงละ 50-100 ตารางวา เสียเงินไปแล้วหลายครั้งแต่เรื่องก็เงียบหายมาตลอด ปัจจุบันก็ไม่ได้รับเอกสารสิทธิใดๆ นอกจากนั้น ยังเจ้าหน้าที่ยังมาออกข่าวว่าชาวบ้านบุกรุกเข้าไปอยู่ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งทางนิคมสหกรณ์ได้กันสงวนไว้เพื่อกิจการของนิคมสหกรณ์ 1,000 ไร่ และใช้ในราชการ 400 ไร่นั้น แล้วทำไมในส่วนที่มีนายทุนเข้ามาขอเช่าใช้พื้นที่นับ 100 ไร่ ปลูกปาล์ม สร้างโรงงาน สร้างห้องแถวให้เช่า และกิจการอื่นๆ อีกหลายราย ทำไมทางนิคมสหกรณ์จึงอนุมัติให้ทำได้ทั้งๆ ที่อยู่ในพื้นที่โซนเดียวกัน และที่สำคัญมาเช่าอยู่ภายหลังชาวบ้านเข้าอยู่อาศัยอีกด้วย
ภายหลังรับหนังสือ นายวิเชียร ชาญตสบุตร ผอ.นิคมสหกรณ์ท่าแซะ กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดมานานแล้ว จนมาถึงยุคตนเอง หลังจากรับเรื่องแล้วตนจะรีบนำหนังสือส่งไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์อย่าเร่งด่วนภายใน 1 สัปดาห์ โดยตนจะเป็นผู้นำไปด้วยตนเอง พร้อมกับจะเสนอความเห็นแนบท้ายไปด้วย ส่วนจะมีการพิจารณาอย่างไรขึ้นอยู่กับส่วนกลาง
ด้าน น.ส.กาญจนา หนูทอง แกนนำชาวบ้านกล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวทางนิคมสหกรณ์เป็นผู้จัดสรรรังวัดให้เราเข้ามาอยู่เอง ไม่ใช่เป็นผู้บุกรุก หากชาวบ้านบุกรุกแล้วเหตุใดจึงปล่อยให้ชาวบ้านเข้าอยู่อาศัยสร้างบ้านถาวรเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีถนนลาดยาง ไฟฟ้า สิ่งสาธารณูปโภคครันอย่านี้ ซึ่งการยื่นหนังสือในวันนี้ก็มีลักษณะคล้ายกับหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาแล้วเรื่องก็เงียบหายไป แต่ครั้งนี้มีผู้สื่อข่าวมาร่วมทำข่าวเป็นพยานด้วย และพวกเราจะขอต่อสู้เรียกร้องสิทธิจนถึงที่สุด