xs
xsm
sm
md
lg

เกษตรกรพัทลุงล้มสวนยางพารา ดึงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักสร้างสวนแบบผสมผสาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
พัทลุง - เกษตรกรพัทลุงพลิกชีวิต ล้มสวนยางนำแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระราชา ทำเกษตรผสมผสาน และเกษตรอินทรีย์ สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว และเป็นแบบอย่างต่อชาวบ้านในพื้นที่

วันนี้ (6 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาวะราคาพืชผลทางด้านการเกษตรต่ำ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลงซึ่ งมีผลกระทบต่อการทำมาหากิน และค่าใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งทำให้เกษตรกรหลายรายในพื้นที่จังหวัดพัทลุง เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวหันมาทำเกษตรผสมผสาน และเกษตรอินทรีย์ จนสามารถยืนหยัดต่อสู้ด้วยลำแข้งของตัวเอง มีรายได้เลี้ยงครอบครัวแบบยั่งยืน

อย่าง ลุงนัน ที่ตัดสินใจโค่นต้นยางพารา แล้วหันปลูกมะละกอ สละพันธุ์สุมาลี ปลูกกล้วยหอม ปลูกหมาก และไม้ยืนต้นอีกลายชนิด กลายเป็นสิ่งที่สังคมชาวบ้านที่พัทลุง ส่วนใหญ่มีรายได้หลักจากการกรีดยางมองว่า บ้า แต่ ลุงนัน ชูเอียด ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านในกอย อ.ป่าบอน จ.พัทลุง กลับมองว่า นี่คือโอกาสจะสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว
 

 
ลุงนัน ชูเอียด หลังปลูกสละเป็นพืชหลัก และแซมด้วยกล้วยหอม หมาก และมะละกอ รวมทั้งไม้ยืนต้น ในช่วงแรกระยะ 6-7 เดือน มะละกอ สามารถเก็บเกี่ยวได้ 8 เดือน กล้วยหอมก็สามารถเก็บขายได้ และระยะ 2 ปี 6 เดือน สละก็เริ่มออกดอกผสมเกสร รอ 8 เดือน สามารถส่งขายตลาดเช่นกัน ส่วนหมากที่ปลูกไว้ก็เป็นร่มเงาให้ต้นสละ ในระยะ 5 ปี ก็สามารถเก็บลูกผ่าเป็นหมากแห้งส่งขายได้เช่นกัน ส่วนไม้ยืนต้นอื่นๆ เช่น สะเดาเทียม ไม้พะยอม ไม้ตะเคียน เมื่ออายุ 15 ปี ก็สามารถนำไม้มาใช้ประโยชน์ เหมือนกับสร้างธนาคารต้นไม้ไว้ในสวนเลยทีเดียว นอกจากนี้ เศษผลไม้อย่างมะละกอ พืชผักอื่นๆ ที่ไม่สามารถส่งขายได้ ก็นำมาเป็นอาหารให้แก่ไก่ ที่เลี้ยงไว้แบบเลี้ยงไก่อินทรีย์ลดต้นทุนในการเลี้ยงได้เป็นอย่างดี

ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ทำมาหลายปีในการทำสวนผสมผสาน สามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดี โดยลุงนัน บอกกว่า สิ่งที่สำคัญในการทำสวนผสมผสานต้องเริ่มจากตัวเรา และดินเป็นหลัก พร้อมทั้งยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสำคัญ
 

 
ความสำเร็จนี้เป็นบทพิสูจน์ทำให้ชาวบ้านเริ่มยอมรับแนวคิดใหม่ๆ โดยเฉพาะการให้ลูกหลานกลับมาใช้วิถีเกษตรยุคใหม่พัฒนาบ้านเกิด จึงนำร่องให้ลูกหญิง-ชาย 3 คนที่เรียนจบกลับบ้านมายึดอาชีพเกษตรเป็นแบบอย่าง โดยเชื่อว่า หากให้คนอื่นเปลี่ยนแนวคิด ต้องลงมือทำให้เห็นก่อน

ด้าน ดร.เปลื้อง สุวรรณมณี ผู้อำนวยการสถาบันปฏิบัติการพัฒนาชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ของชุมชนเป็นบทเรียนที่ดีให้แก่เด็กๆ ได้ลงมือทำกันจริง และเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถสร้างให้เด็กมีแนวคิดตัดสินใจ และเลือกงานในสิ่งที่ตัวเองอยากทำหลังจบหลักสูตรออกไป ซึ่งที่ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านในกอ ยถือเป็นจุดเรียนรู้ที่สำคัญของเด็กๆ จึงได้เน้นให้เด็กได้ลงพื้นที่เรียนรู้วิถีชีวิต และวิถีการทำงานของชาวบ้านที่ประสบความสำเร็จจากการทำการเกษตรอินทรีย์ และทำการเกษตรแบบผสมผสานไปด้วยกัน
 

 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น