ศูนย์ข่าวภูเก็ต - การสร้างสรรค์ผลงาน Street Art จากศิลปินชั้นนำของไทยบนผนังอาคารในเขตเมืองเก่าภูเก็ต ภายใต้โครงการ F.A.T.Phuket (Food Art Old Town) 12 ผนัง 12 ภาพ 12 วิถีชาวภูเก็ต โดยผลงานชิ้นแรก “น้องมาร์ดี” เด็กน้อยสามตาหน้าบึ้ง สองตัว ที่ผนังตึกธนาคารชาร์เตอร์ด ยังเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวแวะเวียนไปเก็บภาพเป็นที่ระลึกต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศบริเวณถนนพังงา อ.เมืองภูเก็ต วันนี้ (14 เม.ย.) ยังคงมีประชาชน และนักท่องเที่ยวเดินทางมาเก็บภาพเป็นที่ระลึกกับ “น้องมาร์ดี” เด็กน้อยสามตาหน้าบึ้ง สองตัว ที่ผนังตึกธนาคารชาร์เตอร์ด หรือพิพิธภัณฑ์บาบ๋า ภูเก็ต อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ก่อนหน้านี้ จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากคนกลุ่มหนึ่งทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยถึงความไม่เข้ากันกับตัวอาคารซึ่งอนุรักษ์ไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ โดยผลงานชิ้นนี้เป็นของ Alex Face หรือ พัชรพล แตงรื่น เป็นงานชิ้นแรกจากทั้งหมด 12 ชิ้น ที่จะมีการจัดทำขึ้นบนผนังอาคารในเขตเมืองเก่าภูเก็ต ตามโครงการ F.A.T.Phuket (Food Art Old Town) 12 ผนัง 12 ภาพ 12 วิถีชาวภูเก็ต
สำหรับโครงการ F.A.T.Phuket (Food Art Old Town) 12 ผนัง 12 ภาพ 12 วิถีชาวภูเก็ต เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกลุ่ม So Phuket อันประกอบไปด้วย ลูกหลานชาวภูเก็ต กับศิลปินสตรีท อาร์ตชั้นนำของประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุน และประชาสัมพันธ์ที่จังหวัดภูเก็ตได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจาก UNESCO ในการได้รับการคัดเลือกเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร (Creative City of Gastronomy) ด้วยการจัดทำภาพบนผนัง จำนวน 12 ภาพ บน 12 ผนังในเขตเมืองเก่า สะท้อน 12 วิถีคนภูเก็ตที่ผูกพันกับอาหารในเทศกาล และโอกาสต่างๆ ได้แก่
1.วิวาห์บาบ๋า งานมงคลที่มีอาหารคาวหวานหลากหลายแทนคำอวยพร 2.อาหารเช้าภูเก็ต เบ้าหลอมทางวัฒนธรรมผ่านรสชาติของอาหารจากเสี่ยวโบ่ยแบบจีน จนถึงขนมจีนแบบไทย และโรตีแกงแบบมุสลิม ที่ทุกคนต้องตื่นเช้ามาชิม 3.กาแฟยามบ่ายกับวัฒนธรรม “กินโก้ปี้” ที่สื่อถึงความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นของเพื่อนฝูงผ่านขนมคาวหวาน และชากาแฟถ้วยโปรด 4.การคลอดลูก กับการมอบเอี๋ยวปึ่ง ไข่ต้มย้อมสีแดง และขนมอังกู๊สีแดงสด ใส่เซี่ยนหนา เดินแจกจ่ายตามบ้านแสดงความขอบคุณญาติพี่น้องในวาระต้อนรับสมาชิกใหม่ในบ้าน 5.ขนมเด็กวัยเรียน สะท้อนความสนุกสนาน และสีสันกับความทรงจำในวัยซุกซน
6.พ้อต่อ ขนมเต่าสีแดง เครื่องหมายแห่งการมีอายุยืน และสัญลักษณ์สำคัญของเทศกาล 7.ตรุษจีน การก้าวย่างสู่ปีใหม่ ร่วมเฉลิมฉลอง และพบปะญาติพี่น้อง แจกอั่งเปาลูกหลาน นับเป็นเทศกาลที่เรียงร้อยอาหารกับวิถีชีวิตที่ชัดเจนมากที่สุด 8.กินผักงานบุญที่โด่งดังไปทั่วโลก กับอาหารบริสุทธิ์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น และดีต่อสุขภาพ 9.ไหว้เทวดา ด้วยผลไม้ และขนมหวาน บนความตระการตาของสีสันกับการคารวะรู้คุณเทวดาที่อำนวยพรให้ก้าวเข้ามาสู่ปีใหม่ที่สดใส 10.รถเข็น แผงลอย อาหารอร่อยหลายเมนู สะท้อนความเป็นอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันที่เรียบง่ายและอร่อยล้ำ 11.ครัวในบ้าน รสชาติจากมือแม่ที่คุ้นลิ้น กับสูตรเฉพาะบ้านที่อร่อยมาแต่เกิด และ 12.ปิกนิกริมเล และงานเดินเต่า อาหารวันหยุดของคนภูเก็ตกับการพักผ่อนในอดีตที่ทำอาหารมาอร่อยริมทะเลกันพร้อมหน้าพร้อมตา
ขณะนี้มีภาพบนผนังในเขตเมืองเก่าภูเก็ตที่ได้รับการสร้างสรรค์จากศิลปินสตรีท อาร์ต ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวน 2 ชิ้น ชิ้นแรกเป็นภาพ “น้องมาร์ดี” เด็กน้อยสามตาหน้าบึ้ง สองตัว ผลงานของ Alex Face ที่ตึกธนาคารชาร์เตอร์ด หรือพิพิธภัณฑ์บาบ๋า ภูเก็ต ตั้งอยู่ถนนพังงา อ.เมืองภูเก็ต ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตของคนภูเก็ตเกี่ยวกับการคลอดลูก กับการมอบเอี๋ยวปึ่ง ไข่ต้มย้อมสีแดง และขนมอังกู๊สีแดงสด ใส่เซี่ยนหนา เดินแจกจ่ายตามบ้านแสดงความขอบคุณญาติพี่น้องในวาระต้อนรับสมาชิกใหม่ในบ้าน
ชิ้นที่สอง เป็นภาพ “น้องมาร์ดี” เด็กน้อยสามตาหน้าบึ้ง สองตัว ซึ่งเป็นผลงานของ Alex Face เช่นเดียวกัน เป็นภาพมุมสูงบนผนังอาคารบริเวณปากซอยรมณีย์ (ซอยห่างอ่าหล่าย) ถนนถลาง ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน เป็นภาพน้องมาร์ดี ที่กลายเป็นขนมเต่าสีแดง เครื่องหมายแห่งการมีอายุยืน และสัญลักษณ์สำคัญของเทศกาลพ้อต่อ ส่วนชิ้นที่ 3 ที่ปากซอยรมณีย์ เช่นเดียวกัน เป็นภาพนก ผลงานของ รักกิจ ควรหาเวช เจ้าของเอกลักษณ์งานแบบ geometric กำลังเริ่มดำเนินการ คาดว่าใช้เวลาประมาณ 5 วัน ในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ ซึ่งได้แนวคิดจากขนมของเด็กวัยเรียน 12 อย่าง สะท้อนความสนุกสนาน และสีสันกับความทรงจำในวัยซุกซน โดยผลงานทั้ง 3 ชิ้นดังกล่าวอยู่ในความสนใจของประชาชน และนักท่องเที่ยว มีการเยี่ยมชมการทำงานของศิลปิน และทยอยเก็บภาพเป็นที่ระลึกอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม หลังจากผลงานทั้ง 12 ชิ้นบนผนังในเขตเมืองเก่าภูเก็ต ได้รับการสร้างสรรค์จากศิลปินสตรีท อาร์ตชั้นนำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กลุ่ม So Phuket เตรียมทำแผนที่ทางเดิน (Working Map) เพื่อเชื่อมโยงทั้ง 12 ผนังเข้าด้วยกัน อันจะเป็นสื่อที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศได้เยี่ยมชมภาพ และชิมอาหารได้ทั้งเขตเมืองเก่าภูเก็ตอย่างทั่วถึง
ภาพแห่งวิถีชีวิตเชื่อมโยงกับอาหาร และรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของชาวภูเก็ตทั้ง 12 ภาพ จะเป็นการประชาสัมพันธ์เขตเมืองเก่าภูเก็ตในระดับโลก และจะเป็นหนึ่งภารกิจสำคัญของชาวภูเก็ตต่อ UNESCO ที่จะเปลี่ยนแปลงเมืองภูเก็ตไปสู่เมืองสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืนตามเจตนารมณ์ของคนภูเก็ตสืบไป
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศบริเวณถนนพังงา อ.เมืองภูเก็ต วันนี้ (14 เม.ย.) ยังคงมีประชาชน และนักท่องเที่ยวเดินทางมาเก็บภาพเป็นที่ระลึกกับ “น้องมาร์ดี” เด็กน้อยสามตาหน้าบึ้ง สองตัว ที่ผนังตึกธนาคารชาร์เตอร์ด หรือพิพิธภัณฑ์บาบ๋า ภูเก็ต อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ก่อนหน้านี้ จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากคนกลุ่มหนึ่งทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยถึงความไม่เข้ากันกับตัวอาคารซึ่งอนุรักษ์ไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ โดยผลงานชิ้นนี้เป็นของ Alex Face หรือ พัชรพล แตงรื่น เป็นงานชิ้นแรกจากทั้งหมด 12 ชิ้น ที่จะมีการจัดทำขึ้นบนผนังอาคารในเขตเมืองเก่าภูเก็ต ตามโครงการ F.A.T.Phuket (Food Art Old Town) 12 ผนัง 12 ภาพ 12 วิถีชาวภูเก็ต
สำหรับโครงการ F.A.T.Phuket (Food Art Old Town) 12 ผนัง 12 ภาพ 12 วิถีชาวภูเก็ต เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกลุ่ม So Phuket อันประกอบไปด้วย ลูกหลานชาวภูเก็ต กับศิลปินสตรีท อาร์ตชั้นนำของประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุน และประชาสัมพันธ์ที่จังหวัดภูเก็ตได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจาก UNESCO ในการได้รับการคัดเลือกเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร (Creative City of Gastronomy) ด้วยการจัดทำภาพบนผนัง จำนวน 12 ภาพ บน 12 ผนังในเขตเมืองเก่า สะท้อน 12 วิถีคนภูเก็ตที่ผูกพันกับอาหารในเทศกาล และโอกาสต่างๆ ได้แก่
1.วิวาห์บาบ๋า งานมงคลที่มีอาหารคาวหวานหลากหลายแทนคำอวยพร 2.อาหารเช้าภูเก็ต เบ้าหลอมทางวัฒนธรรมผ่านรสชาติของอาหารจากเสี่ยวโบ่ยแบบจีน จนถึงขนมจีนแบบไทย และโรตีแกงแบบมุสลิม ที่ทุกคนต้องตื่นเช้ามาชิม 3.กาแฟยามบ่ายกับวัฒนธรรม “กินโก้ปี้” ที่สื่อถึงความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นของเพื่อนฝูงผ่านขนมคาวหวาน และชากาแฟถ้วยโปรด 4.การคลอดลูก กับการมอบเอี๋ยวปึ่ง ไข่ต้มย้อมสีแดง และขนมอังกู๊สีแดงสด ใส่เซี่ยนหนา เดินแจกจ่ายตามบ้านแสดงความขอบคุณญาติพี่น้องในวาระต้อนรับสมาชิกใหม่ในบ้าน 5.ขนมเด็กวัยเรียน สะท้อนความสนุกสนาน และสีสันกับความทรงจำในวัยซุกซน
6.พ้อต่อ ขนมเต่าสีแดง เครื่องหมายแห่งการมีอายุยืน และสัญลักษณ์สำคัญของเทศกาล 7.ตรุษจีน การก้าวย่างสู่ปีใหม่ ร่วมเฉลิมฉลอง และพบปะญาติพี่น้อง แจกอั่งเปาลูกหลาน นับเป็นเทศกาลที่เรียงร้อยอาหารกับวิถีชีวิตที่ชัดเจนมากที่สุด 8.กินผักงานบุญที่โด่งดังไปทั่วโลก กับอาหารบริสุทธิ์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น และดีต่อสุขภาพ 9.ไหว้เทวดา ด้วยผลไม้ และขนมหวาน บนความตระการตาของสีสันกับการคารวะรู้คุณเทวดาที่อำนวยพรให้ก้าวเข้ามาสู่ปีใหม่ที่สดใส 10.รถเข็น แผงลอย อาหารอร่อยหลายเมนู สะท้อนความเป็นอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันที่เรียบง่ายและอร่อยล้ำ 11.ครัวในบ้าน รสชาติจากมือแม่ที่คุ้นลิ้น กับสูตรเฉพาะบ้านที่อร่อยมาแต่เกิด และ 12.ปิกนิกริมเล และงานเดินเต่า อาหารวันหยุดของคนภูเก็ตกับการพักผ่อนในอดีตที่ทำอาหารมาอร่อยริมทะเลกันพร้อมหน้าพร้อมตา
ขณะนี้มีภาพบนผนังในเขตเมืองเก่าภูเก็ตที่ได้รับการสร้างสรรค์จากศิลปินสตรีท อาร์ต ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวน 2 ชิ้น ชิ้นแรกเป็นภาพ “น้องมาร์ดี” เด็กน้อยสามตาหน้าบึ้ง สองตัว ผลงานของ Alex Face ที่ตึกธนาคารชาร์เตอร์ด หรือพิพิธภัณฑ์บาบ๋า ภูเก็ต ตั้งอยู่ถนนพังงา อ.เมืองภูเก็ต ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตของคนภูเก็ตเกี่ยวกับการคลอดลูก กับการมอบเอี๋ยวปึ่ง ไข่ต้มย้อมสีแดง และขนมอังกู๊สีแดงสด ใส่เซี่ยนหนา เดินแจกจ่ายตามบ้านแสดงความขอบคุณญาติพี่น้องในวาระต้อนรับสมาชิกใหม่ในบ้าน
ชิ้นที่สอง เป็นภาพ “น้องมาร์ดี” เด็กน้อยสามตาหน้าบึ้ง สองตัว ซึ่งเป็นผลงานของ Alex Face เช่นเดียวกัน เป็นภาพมุมสูงบนผนังอาคารบริเวณปากซอยรมณีย์ (ซอยห่างอ่าหล่าย) ถนนถลาง ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน เป็นภาพน้องมาร์ดี ที่กลายเป็นขนมเต่าสีแดง เครื่องหมายแห่งการมีอายุยืน และสัญลักษณ์สำคัญของเทศกาลพ้อต่อ ส่วนชิ้นที่ 3 ที่ปากซอยรมณีย์ เช่นเดียวกัน เป็นภาพนก ผลงานของ รักกิจ ควรหาเวช เจ้าของเอกลักษณ์งานแบบ geometric กำลังเริ่มดำเนินการ คาดว่าใช้เวลาประมาณ 5 วัน ในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ ซึ่งได้แนวคิดจากขนมของเด็กวัยเรียน 12 อย่าง สะท้อนความสนุกสนาน และสีสันกับความทรงจำในวัยซุกซน โดยผลงานทั้ง 3 ชิ้นดังกล่าวอยู่ในความสนใจของประชาชน และนักท่องเที่ยว มีการเยี่ยมชมการทำงานของศิลปิน และทยอยเก็บภาพเป็นที่ระลึกอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม หลังจากผลงานทั้ง 12 ชิ้นบนผนังในเขตเมืองเก่าภูเก็ต ได้รับการสร้างสรรค์จากศิลปินสตรีท อาร์ตชั้นนำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กลุ่ม So Phuket เตรียมทำแผนที่ทางเดิน (Working Map) เพื่อเชื่อมโยงทั้ง 12 ผนังเข้าด้วยกัน อันจะเป็นสื่อที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศได้เยี่ยมชมภาพ และชิมอาหารได้ทั้งเขตเมืองเก่าภูเก็ตอย่างทั่วถึง
ภาพแห่งวิถีชีวิตเชื่อมโยงกับอาหาร และรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของชาวภูเก็ตทั้ง 12 ภาพ จะเป็นการประชาสัมพันธ์เขตเมืองเก่าภูเก็ตในระดับโลก และจะเป็นหนึ่งภารกิจสำคัญของชาวภูเก็ตต่อ UNESCO ที่จะเปลี่ยนแปลงเมืองภูเก็ตไปสู่เมืองสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืนตามเจตนารมณ์ของคนภูเก็ตสืบไป