ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กลัวตกเทรนด์! คนภูเก็ตแห่ถ่ายภาพบนฝาผนังของตึกธนาคารชาร์เตอร์ภูเก็ต หรือพิพิธภัณฑ์บาบ๋า ภูเก็ต ภายใต้โครงการ F.A.T.Phuket (Food Art old Town) ของกลุ่ม So Phuket หลังมีกระแสบนโลกโซเชียลดังกระหึ่ม ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยต่อการมีภาพดังกล่าวบนตึกเก่าที่อนุรักษ์ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ บ๋าบา
ตลอดทั้งวันนี้ (10 ม.ย.) โลกโซเชียลได้มีการโพสต์ภาพพ่นสีซึ่งเป็นรูป “เด็กน้อยสามตาหน้าบึ้ง” หรือ “มาร์ดี” สองตัวบนฝาผนัง 2 บานของตึกธนาคารชาร์เตอร์ภูเก็ต หรือพิพิธภัณฑ์บาบ๋า ภูเก็ต ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนพังงา อ.เมืองภูเก็ต โดยตัวหนึ่งหิ้วเสี่ยหนา และอีกตัวจะติดปิ่นตั้ง หรือเข็มกลัดที่หน้าอก
ซึ่งมาร์ดี ทั้ง 2 ตัว มีสีขาวตัดกับสีของตัวตึกที่เป็นสีเหลืองอย่างชัดเจน โดยผลงานดังกล่าวเป็นผลงานของ Alex Face หรือพัชรพล แตงรื่น ซึ่งเป็นศิลปินกราฟิตี (ภาพพ่น) ภายใต้โครงการ F.A.T.Phuket (Food Art old Town) ของกลุ่ม So Phuket ที่ทำงานให้แก่เทศบาลนครภูเก็ต เพื่อสนับสนุนการที่ UNESCO ประกาศให้ภูเก็ตเป็น City of Gastronomy จนมีการวิพากษ์วิจารณ์กันค่อนข้างมาก ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย รวมทั้งมีกระแสข่าวว่าจะมีการลบภาพดังกล่าวออก จนทำให้ประชาชนที่ทราบข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ทยอยมาถ่ายภาพดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก และต่อเนื่องตลอดทั้งวันจนถึงช่วงกลางคืน
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามประชาชนที่มาถ่ายภาพดังกล่าว ทราบว่า ส่วนหนึ่งต้องการมาถ่ายภาพเก็บไว้ เพราะมีการแชร์ข้อความกันในโลกโซเชียล ว่า จะมีการลบภาพดังกล่าวแล้ว จึงมาเก็บภาพไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมายของภาพ เพราะไม่มีการอธิบายความใดๆ บางคนบอกว่า น่าเสียดายหากภาพดังกล่าวถูกลบทิ้ง เพราะหากมีภาพนี้ก็จะเป็นจุดเช็กอินอีกจุดหนึ่งของภูเก็ตในอนาคต แต่ถ้าเป็นในส่วนของผู้สูงอายุก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีภาพดังกล่าวบนตึกเก่า เช่นเดียวกับการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ว่า ภาพดังกล่าวสวยงาม แต่ไม่น่าจะมาอยู่ที่ตึกเก่าซึ่งเป็นตึกที่อนุรักษ์ให้เป็นพิพิธภันฑ์ ในขณะที่บางก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่สวยงาม เป็นเรื่องของศิลปะ
นอกจากนั้น ยังมีการโพสต์ข้อความเพื่อบอกถึงที่มีของการทำภาพดังกล่าวขึ้นมา รวมถึงคอนเซ็ปต์ของผลงาน ว่า “ผมไม่ใช่คณะทำงาน แต่เท่าที่ผมทราบในฐานะสื่อ และผู้สนใจงานศิลปะ งาน Street Art ของ Alex Face ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ทั้งในเฟซ ในไลน์ และที่โทร.มาหาตอนนี้ เป็นโครงการ F.A.T.Phuket (Food Art Town) เพื่อสนับสนุนการที่ UNESCO ประกาศให้ภูเก็ตเป็น City of Gastronomy ภายใต้ 12 คอนเซ็ปต์ อาหารการกินภูเก็ต ทุกภาพจะพูดเรื่องอาหารของหัวข้อนั้นๆ หลังจากทำงาน Street Art เสร็จ จะจัดทำเป็นหนังสือ และข้อมูลออนไลน์เพื่อแนะนำภูเก็ตในฐานะที่เป็น City of Gastronomy 1.วิวาห์บาบ๋า (ขนม 12 อย่าง) 2.อาหารเช้าภูเก็ต 3. สภากาแฟยามบ่าย เตี่ยมซิ้ม 4.คลอดลูก (1 เดือนจะมีอิ่วปึ่ง) 5. ขนมเด็กวัยเรียน 6.พ้อต่อ (ขนมเต่า) 7.ตรุษจีน 8.กินผัก 9.ไหว้เทวดา (ผลไม้ อาหารหวาน) 10.รถเข็นแผงลอย 11.ครัวในบ้าน (เค้าทำอะไรกินกันบ้างในบ้าน) 12.ปิกนิกริมเล + เดินเต่า
หรือข้อความชี้แจงนี้ที่มีการโพสต์ขึ้นมา “ถ้าคนที่ได้ดูภาพจริงๆ จะรู้ว่าในภาพ นอกเหนือจากตัวภาพที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้วาด จะมีรายละเอียดของอาหารภูเก็ต ทีนี้ภาพแรกที่กำลังเป็นที่พูดถึงอยู่นี้หลายคนติดใจว่า อยู่บนผนังพิพิธภัณฑ์ และเกรงว่างานชิ้นนี้อาจจะอยู่ที่ตรงนั้นได้ไม่ โดยจัดทำเรื่องของ “คลอดลูก (1 เดือนจะมีอิ่วปึ่ง) เป็นภาพแรก และเหตุที่เลือกพ่นภาพบนผนังดังกล่าว เนื่องจากหน้าต่างสองบานนี้ถูกก่ออิฐปิดภายหลัง แต่กลับเปิดช่องแสงด้านบนดูภาพรวมจะขัดตามากคล้ายงานสร้างผิด หรือต่อเติมโดยไม่เข้าใจองค์ประกอบสถาปัตยกรรม
งานวาดนี้ที่เลือกทำเพราะส่วนหนึ่ง คือ การแก้ไขเปลี่ยนจุดด้อยให้กลายเป็นจุดเด่นเอาเรื่องราววัฒนธรรมมาสื่อสารแทนโดยวาดเฉพาะในช่องเท่านั้น ทำให้เหมือนตรงนี้ไม่ใช่กำแพงสามารถเข้าไปยืนด้านในได้ ตัว “หนูน้อยสามตาหน้าบึ้ง” หรือ “มาร์ดี” สองตัวนี้ เค้ากำลังเล่นซ่อนหากัน โดยภาพต้องการจะบอกเล่าเรื่องการคลอดบุตรแบบภูเก็ต ซึ่งบ้านที่มีลูกชายครบหนึ่งเดือน จะถือเสี่ยหนาที่มีอิ่วปึ่งนำไปแจกจ่ายตามบ้านเรือนของญาติๆ ส่วนตาสามสีบ่งบอกถึงความหลากหลายของชาติพันธุ์ของคนภูเก็ตที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ และมีเข็มกลัดปิ่นตั้ง ซึ่งเป็นเข็มกลัดโบราณที่ชาวภูเก็ตใช้ตกแต่งเสื้อผ้าเวลาออกงาน แหล่งข่าวคนเดิมบอก”
อย่างไรก็ตาม สำหรับภาพดังกล่าวจะอยู่ต่อไปหรือไม่อย่างไร ในวันที่ 12 เม.ย. เวลา 09.00 น. จะมีการแถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ห้องประชุมเทศบาลเมืองภูเก็ตอีกครั้ง
ตลอดทั้งวันนี้ (10 ม.ย.) โลกโซเชียลได้มีการโพสต์ภาพพ่นสีซึ่งเป็นรูป “เด็กน้อยสามตาหน้าบึ้ง” หรือ “มาร์ดี” สองตัวบนฝาผนัง 2 บานของตึกธนาคารชาร์เตอร์ภูเก็ต หรือพิพิธภัณฑ์บาบ๋า ภูเก็ต ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนพังงา อ.เมืองภูเก็ต โดยตัวหนึ่งหิ้วเสี่ยหนา และอีกตัวจะติดปิ่นตั้ง หรือเข็มกลัดที่หน้าอก
ซึ่งมาร์ดี ทั้ง 2 ตัว มีสีขาวตัดกับสีของตัวตึกที่เป็นสีเหลืองอย่างชัดเจน โดยผลงานดังกล่าวเป็นผลงานของ Alex Face หรือพัชรพล แตงรื่น ซึ่งเป็นศิลปินกราฟิตี (ภาพพ่น) ภายใต้โครงการ F.A.T.Phuket (Food Art old Town) ของกลุ่ม So Phuket ที่ทำงานให้แก่เทศบาลนครภูเก็ต เพื่อสนับสนุนการที่ UNESCO ประกาศให้ภูเก็ตเป็น City of Gastronomy จนมีการวิพากษ์วิจารณ์กันค่อนข้างมาก ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย รวมทั้งมีกระแสข่าวว่าจะมีการลบภาพดังกล่าวออก จนทำให้ประชาชนที่ทราบข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ทยอยมาถ่ายภาพดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก และต่อเนื่องตลอดทั้งวันจนถึงช่วงกลางคืน
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามประชาชนที่มาถ่ายภาพดังกล่าว ทราบว่า ส่วนหนึ่งต้องการมาถ่ายภาพเก็บไว้ เพราะมีการแชร์ข้อความกันในโลกโซเชียล ว่า จะมีการลบภาพดังกล่าวแล้ว จึงมาเก็บภาพไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมายของภาพ เพราะไม่มีการอธิบายความใดๆ บางคนบอกว่า น่าเสียดายหากภาพดังกล่าวถูกลบทิ้ง เพราะหากมีภาพนี้ก็จะเป็นจุดเช็กอินอีกจุดหนึ่งของภูเก็ตในอนาคต แต่ถ้าเป็นในส่วนของผู้สูงอายุก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีภาพดังกล่าวบนตึกเก่า เช่นเดียวกับการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ว่า ภาพดังกล่าวสวยงาม แต่ไม่น่าจะมาอยู่ที่ตึกเก่าซึ่งเป็นตึกที่อนุรักษ์ให้เป็นพิพิธภันฑ์ ในขณะที่บางก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่สวยงาม เป็นเรื่องของศิลปะ
นอกจากนั้น ยังมีการโพสต์ข้อความเพื่อบอกถึงที่มีของการทำภาพดังกล่าวขึ้นมา รวมถึงคอนเซ็ปต์ของผลงาน ว่า “ผมไม่ใช่คณะทำงาน แต่เท่าที่ผมทราบในฐานะสื่อ และผู้สนใจงานศิลปะ งาน Street Art ของ Alex Face ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ทั้งในเฟซ ในไลน์ และที่โทร.มาหาตอนนี้ เป็นโครงการ F.A.T.Phuket (Food Art Town) เพื่อสนับสนุนการที่ UNESCO ประกาศให้ภูเก็ตเป็น City of Gastronomy ภายใต้ 12 คอนเซ็ปต์ อาหารการกินภูเก็ต ทุกภาพจะพูดเรื่องอาหารของหัวข้อนั้นๆ หลังจากทำงาน Street Art เสร็จ จะจัดทำเป็นหนังสือ และข้อมูลออนไลน์เพื่อแนะนำภูเก็ตในฐานะที่เป็น City of Gastronomy 1.วิวาห์บาบ๋า (ขนม 12 อย่าง) 2.อาหารเช้าภูเก็ต 3. สภากาแฟยามบ่าย เตี่ยมซิ้ม 4.คลอดลูก (1 เดือนจะมีอิ่วปึ่ง) 5. ขนมเด็กวัยเรียน 6.พ้อต่อ (ขนมเต่า) 7.ตรุษจีน 8.กินผัก 9.ไหว้เทวดา (ผลไม้ อาหารหวาน) 10.รถเข็นแผงลอย 11.ครัวในบ้าน (เค้าทำอะไรกินกันบ้างในบ้าน) 12.ปิกนิกริมเล + เดินเต่า
หรือข้อความชี้แจงนี้ที่มีการโพสต์ขึ้นมา “ถ้าคนที่ได้ดูภาพจริงๆ จะรู้ว่าในภาพ นอกเหนือจากตัวภาพที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้วาด จะมีรายละเอียดของอาหารภูเก็ต ทีนี้ภาพแรกที่กำลังเป็นที่พูดถึงอยู่นี้หลายคนติดใจว่า อยู่บนผนังพิพิธภัณฑ์ และเกรงว่างานชิ้นนี้อาจจะอยู่ที่ตรงนั้นได้ไม่ โดยจัดทำเรื่องของ “คลอดลูก (1 เดือนจะมีอิ่วปึ่ง) เป็นภาพแรก และเหตุที่เลือกพ่นภาพบนผนังดังกล่าว เนื่องจากหน้าต่างสองบานนี้ถูกก่ออิฐปิดภายหลัง แต่กลับเปิดช่องแสงด้านบนดูภาพรวมจะขัดตามากคล้ายงานสร้างผิด หรือต่อเติมโดยไม่เข้าใจองค์ประกอบสถาปัตยกรรม
งานวาดนี้ที่เลือกทำเพราะส่วนหนึ่ง คือ การแก้ไขเปลี่ยนจุดด้อยให้กลายเป็นจุดเด่นเอาเรื่องราววัฒนธรรมมาสื่อสารแทนโดยวาดเฉพาะในช่องเท่านั้น ทำให้เหมือนตรงนี้ไม่ใช่กำแพงสามารถเข้าไปยืนด้านในได้ ตัว “หนูน้อยสามตาหน้าบึ้ง” หรือ “มาร์ดี” สองตัวนี้ เค้ากำลังเล่นซ่อนหากัน โดยภาพต้องการจะบอกเล่าเรื่องการคลอดบุตรแบบภูเก็ต ซึ่งบ้านที่มีลูกชายครบหนึ่งเดือน จะถือเสี่ยหนาที่มีอิ่วปึ่งนำไปแจกจ่ายตามบ้านเรือนของญาติๆ ส่วนตาสามสีบ่งบอกถึงความหลากหลายของชาติพันธุ์ของคนภูเก็ตที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ และมีเข็มกลัดปิ่นตั้ง ซึ่งเป็นเข็มกลัดโบราณที่ชาวภูเก็ตใช้ตกแต่งเสื้อผ้าเวลาออกงาน แหล่งข่าวคนเดิมบอก”
อย่างไรก็ตาม สำหรับภาพดังกล่าวจะอยู่ต่อไปหรือไม่อย่างไร ในวันที่ 12 เม.ย. เวลา 09.00 น. จะมีการแถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ห้องประชุมเทศบาลเมืองภูเก็ตอีกครั้ง