ศูนย์ข่าวภูเก็ต - โครงการก่อสร้างสะพานกลับรถต่างระดับ (เกือกม้า) ทางหลวงหมายเลข 402 ตอนหมากปรก-เมืองภูเก็ต งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อลดปัญหาจราจรติดขัดของจังหวัดภูเก็ต ผ่านความเห็นชอบประชาพิจารณ์รอบที่ 2 รอลุ้นอีกครั้งเร็วๆ นี้
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่หอประชุมคอซิมบี้ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นธานเปิดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการก่อสร้างสะพานกลับรถต่างระดับ (เกือกม้า) ทางหลวงหมายเลข 402 ตอนหมากปรก-เมืองภูเก็ต งบประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการก่อสร้าง โครงการ โดยมี นายสมัคร เลือดวงหัด ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต นายเลิศ พัดฉวี รองผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 17 นายคเณศร์ เลิศรัตน์เดชากุล วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ สำนักสำรวจและออกแบบ หัวหน้าส่วนราชการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนที่มีส่วนได้เสียเข้าร่วม
นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า จากสภาพปัญหาการจราจรที่แออัดภายในตัวเมือง จ.ภูเก็ต รัฐบาลโดยกรมทางหลวง จึงจำเป็นต้องหาวิธีการเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มีโครงการจุดกลับรถต่างระดับบนทางหลวงหมายเลข 402 จ.ภูเก็ต เข้ามาบรรจุอยู่ในแผนงบประมาณ งานพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศขึ้น และเพื่อการแก้ปัญหาจราจรแบบโครงข่ายที่สมบูรณ์
การกำหนดจุดกลับรถจึงถูกกำหนดขึ้นด้วยเหตุผล และความจำเป็นดังนี้ จุดกลับรถจุดที่ 1 อยู่ก่อนถึงแยกถลาง 3.30 กม. เพื่อลดปริมาณรถที่แออัดบริเวณแยกถลาง และจุดกลับรถจุดที่ 2 ห่างจากวงเวียนท้าวเทพกระษัตรี 1.38 กม. เพื่อช่วยลดปริมาณรถที่จะเข้าวงเวียนเพื่อกลับรถเข้าสู่เมืองภูเก็ตที่มีปริมาณมาก และการกำหนดตำแหน่งดังกล่าวจะกระทบต่อชุมชนในพื้นที่น้อยที่สุด และเป็นไปตามหลักวิศวกรรม
อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว ซึ่งมีทั้งที่เห็นด้วย เนื่องจากจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ตที่กำลังกลายเป็นปัญหาระดับชาติ และชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากมองว่าการสร้างสะพานยกระดับจะทำให้บดบังทัศนียภาพของเมือง และไม่แน่ใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน โดยใช้เวลานานนับชั่วโมงโมง หลังจากนั้น ทาง กกต.ภูเก็ต ได้นำเครื่องลงคะแนนเสียงอัตโนมัติมาให้ประชาชนชาวภูเก็ตที่เข้าร่วมฟังความคิดเห็นมาลงคะแนนเสียงว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อโครงการดังกล่าว จากการลงคะแนน ผลปรากฏว่า มีผู้เห็นด้วยให้ดำเนินโครงการสะพานยกระดับกลับรถ หรือเกือกม้า จำนวน 259 เสียง ไม่เห็นด้วย 80 เสียง โดยมีผู้ร่วมลงคะแนนทั้งหมด รวม 339 เสียง
หลังจากนี้ ทางจังหวัดภูเก็ตจะหารือกับแขวงทางหลวงภูเก็ต เพื่อที่จะเชิญผู้บริหารองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมทำประชาพิจารณ์อีกครั้ง เพื่อให้ลงคะแนนเสียงโหวตให้แก่โครงการดังกล่าวว่าจะสนับสนุนหรือไม่
นายสมัคร เลือดวงหัด ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับโครงการดังกล่าวจะมีการจัดการจราจรบนถนนทางราบได้ขยายเต็มพื้นที่เขตทาง และมีความจำเป็นต้องมีการเวนคืนที่ดินบางส่วนทั้งสองข้าง ข้างละ 10 เมตร เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดช่องจราจรเพื่อบริการด้านข้าง และระบบระบายน้ำด้านข้างทางด้วย สำหรับจุดที่ 1 สะพานกลับรถพร้อมเชิงลาดมีความยาวประมาณ 640 เมตร โครงสร้างสะพานยาว 335.260 เมตร มีขนาด 1 ช่องจราจร กว้าง 4.00 เมตร ไหล่ทางด้านซ้ายทางกว้าง 1.50 เมตร และไหล่ทางด้านขวาทางกว้าง 0.50 เมตร ผิวจราจรบนสะพานกว้างรวม 6.00 เมตร ในช่วงทางโค้งขยายกว้าง 8.00 เมตร จุดนี้จะอยู่ก่อนถึงสามแยกไปหาดในยาง จะรับรถเพื่อกลับเข้าสู่ตัวเมืองภูเก็ต สำหรับจุดที่ 2 สะพานกลับรถพร้อมเชิงลาดยาวประมาณ 550 เมตร โครงสร้างสะพานยาว 315.282 เมตร อยู่ในช่วงถนนโค้ง มีขนาด 1 ช่องจราจร กว้าง 4 เมตร ไหล่ทางด้านซ้ายกว้าง 1.50 เมตร และไหล่ทางด้านขวาทางกว้าง 0.50 เมตร ผิวจราจรบนสะพานกว้างรวม 6.00 เมตร ในช่วงทางโค้งขยายกว้าง 8.00 เมตร เพื่อให้สามารถเลี้ยวกลับรถได้อย่างปลอดภัย มีทิศทางรับรถเพื่อกลับรถเข้าเมืองภูเก็ต
ส่วน นางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย อดีตวุฒิสมาชิกจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ตนในฐานะชาวภูเก็ตก็ให้การสนับสนุนการก่อสร้างสะพานกลับรถต่างระดับดังกล่าว เนื่องจากงบประมาณที่จัดสรรลงมานั้น สามารถสร้างประโยชน์ต่อชาวภูเก็ต และเป็นการลดปัญหาจราจรติดขัดให้แก่ผู้ใช้ยวดยานพาหนะบนท้องถนนต่อไป
ส่วนเรื่องของการเวนคืนที่ดิน ซึ่งโครงการนี้จะต้องมีการเวนคืนที่ดินด้านละประมาณ 10 เมตร จากประชาชน นายเลิศ พัดฉวี รองผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 17 กล่าวว่า กรมทางหลวงจะจ่ายเงินเวนคืนที่ดินในราคาที่เหมาะสม โดยจะมีการพูดคุยกับเจ้าของดินที่ได้รับผลกระทบในการเวนคืนอีกครั้ง
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่หอประชุมคอซิมบี้ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นธานเปิดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการก่อสร้างสะพานกลับรถต่างระดับ (เกือกม้า) ทางหลวงหมายเลข 402 ตอนหมากปรก-เมืองภูเก็ต งบประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการก่อสร้าง โครงการ โดยมี นายสมัคร เลือดวงหัด ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต นายเลิศ พัดฉวี รองผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 17 นายคเณศร์ เลิศรัตน์เดชากุล วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ สำนักสำรวจและออกแบบ หัวหน้าส่วนราชการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนที่มีส่วนได้เสียเข้าร่วม
นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า จากสภาพปัญหาการจราจรที่แออัดภายในตัวเมือง จ.ภูเก็ต รัฐบาลโดยกรมทางหลวง จึงจำเป็นต้องหาวิธีการเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มีโครงการจุดกลับรถต่างระดับบนทางหลวงหมายเลข 402 จ.ภูเก็ต เข้ามาบรรจุอยู่ในแผนงบประมาณ งานพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศขึ้น และเพื่อการแก้ปัญหาจราจรแบบโครงข่ายที่สมบูรณ์
การกำหนดจุดกลับรถจึงถูกกำหนดขึ้นด้วยเหตุผล และความจำเป็นดังนี้ จุดกลับรถจุดที่ 1 อยู่ก่อนถึงแยกถลาง 3.30 กม. เพื่อลดปริมาณรถที่แออัดบริเวณแยกถลาง และจุดกลับรถจุดที่ 2 ห่างจากวงเวียนท้าวเทพกระษัตรี 1.38 กม. เพื่อช่วยลดปริมาณรถที่จะเข้าวงเวียนเพื่อกลับรถเข้าสู่เมืองภูเก็ตที่มีปริมาณมาก และการกำหนดตำแหน่งดังกล่าวจะกระทบต่อชุมชนในพื้นที่น้อยที่สุด และเป็นไปตามหลักวิศวกรรม
อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว ซึ่งมีทั้งที่เห็นด้วย เนื่องจากจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ตที่กำลังกลายเป็นปัญหาระดับชาติ และชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากมองว่าการสร้างสะพานยกระดับจะทำให้บดบังทัศนียภาพของเมือง และไม่แน่ใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน โดยใช้เวลานานนับชั่วโมงโมง หลังจากนั้น ทาง กกต.ภูเก็ต ได้นำเครื่องลงคะแนนเสียงอัตโนมัติมาให้ประชาชนชาวภูเก็ตที่เข้าร่วมฟังความคิดเห็นมาลงคะแนนเสียงว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อโครงการดังกล่าว จากการลงคะแนน ผลปรากฏว่า มีผู้เห็นด้วยให้ดำเนินโครงการสะพานยกระดับกลับรถ หรือเกือกม้า จำนวน 259 เสียง ไม่เห็นด้วย 80 เสียง โดยมีผู้ร่วมลงคะแนนทั้งหมด รวม 339 เสียง
หลังจากนี้ ทางจังหวัดภูเก็ตจะหารือกับแขวงทางหลวงภูเก็ต เพื่อที่จะเชิญผู้บริหารองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมทำประชาพิจารณ์อีกครั้ง เพื่อให้ลงคะแนนเสียงโหวตให้แก่โครงการดังกล่าวว่าจะสนับสนุนหรือไม่
นายสมัคร เลือดวงหัด ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับโครงการดังกล่าวจะมีการจัดการจราจรบนถนนทางราบได้ขยายเต็มพื้นที่เขตทาง และมีความจำเป็นต้องมีการเวนคืนที่ดินบางส่วนทั้งสองข้าง ข้างละ 10 เมตร เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดช่องจราจรเพื่อบริการด้านข้าง และระบบระบายน้ำด้านข้างทางด้วย สำหรับจุดที่ 1 สะพานกลับรถพร้อมเชิงลาดมีความยาวประมาณ 640 เมตร โครงสร้างสะพานยาว 335.260 เมตร มีขนาด 1 ช่องจราจร กว้าง 4.00 เมตร ไหล่ทางด้านซ้ายทางกว้าง 1.50 เมตร และไหล่ทางด้านขวาทางกว้าง 0.50 เมตร ผิวจราจรบนสะพานกว้างรวม 6.00 เมตร ในช่วงทางโค้งขยายกว้าง 8.00 เมตร จุดนี้จะอยู่ก่อนถึงสามแยกไปหาดในยาง จะรับรถเพื่อกลับเข้าสู่ตัวเมืองภูเก็ต สำหรับจุดที่ 2 สะพานกลับรถพร้อมเชิงลาดยาวประมาณ 550 เมตร โครงสร้างสะพานยาว 315.282 เมตร อยู่ในช่วงถนนโค้ง มีขนาด 1 ช่องจราจร กว้าง 4 เมตร ไหล่ทางด้านซ้ายกว้าง 1.50 เมตร และไหล่ทางด้านขวาทางกว้าง 0.50 เมตร ผิวจราจรบนสะพานกว้างรวม 6.00 เมตร ในช่วงทางโค้งขยายกว้าง 8.00 เมตร เพื่อให้สามารถเลี้ยวกลับรถได้อย่างปลอดภัย มีทิศทางรับรถเพื่อกลับรถเข้าเมืองภูเก็ต
ส่วน นางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย อดีตวุฒิสมาชิกจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ตนในฐานะชาวภูเก็ตก็ให้การสนับสนุนการก่อสร้างสะพานกลับรถต่างระดับดังกล่าว เนื่องจากงบประมาณที่จัดสรรลงมานั้น สามารถสร้างประโยชน์ต่อชาวภูเก็ต และเป็นการลดปัญหาจราจรติดขัดให้แก่ผู้ใช้ยวดยานพาหนะบนท้องถนนต่อไป
ส่วนเรื่องของการเวนคืนที่ดิน ซึ่งโครงการนี้จะต้องมีการเวนคืนที่ดินด้านละประมาณ 10 เมตร จากประชาชน นายเลิศ พัดฉวี รองผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 17 กล่าวว่า กรมทางหลวงจะจ่ายเงินเวนคืนที่ดินในราคาที่เหมาะสม โดยจะมีการพูดคุยกับเจ้าของดินที่ได้รับผลกระทบในการเวนคืนอีกครั้ง