ศูนย์ข่าวภูเก็ต - “ประวุธ วงศ์สีนิล” เผยผลตรวจสอบพยานหลักฐานกรณีพิพาทที่ดินชาวราไวย์-นายทุน” เชื่อชาวไทยใหม่อยู่มาก่อนขอออก ส.ค.1 กระดูกบรรพบุรุษ และภาพถ่ายทางอากาศยัน ขณะที่กรณีพิพาททางสัญจรผลตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2510 มีเส้นทางสัญจรอยู่แล้ว พร้อมนำข้อมูลเสนอผู้ว่าฯ ในการประชุมแก้ปัญหาความขัดแย้ง
เมื่อเวลา 14.30 น. วันนี้ (29 ม.ค.) ที่ห้องประชุมสถานีโทรทัศน์ NBT ภูเก็ต พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผู้บัญชาการสำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงผลการสืบค้นข้อมูลกรณีที่ดินพิพาทบริเวณชุมชนชาวไทยใหม่ บ้านราไวย์ หมู่ที่ 2 ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ว่า ปัญหาเรื่องที่ดินบริเวณดังกล่าวมีมายาวนาน และมีคดีฟ้องร้องกันอยู่หลายคคี บางคดีมีการตัดสินไปแล้ว และบางคดีอยู่ในชั้นอุทธรณ์ และคดีที่มีการตัดสินไปแล้วส่วนใหญ่ชาวไทยใหม่แพ้คดี และให้ออกจากพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ชาวไทยใหม่ราไวย์ได้ร้องเรียนไปยังกระทรวงยุติธรรม ให้ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิที่ดินในบริเวณดังกล่าว หลังจากมีการร้องเรียนก็ได้ลงพื้นที่เพื่อสืบค้นข้อมูลหลักฐานต่างในพื้นที่ เพราะเท่าที่ได้รับทราบจากกลุ่มชาวไทยใหม่พบว่า พื้นที่ที่ชาวบ้านอาศัยอยู่นั้นมีประวัติที่ยาวนาน โดยเฉพาะเกี่ยวกับบรรพบุรุษของชาวเลที่มีการฝังศพไว้ใกล้บ้านพักอาศัย ซึ่งที่ผ่านมา ทางชาวไทยใหม่ก็ได้ให้การในการสืบพยานเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการพิจารณาของศาล แต่ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันในขณะที่บุคคลที่เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่มีพยานบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่มาให้ปากคำ และมีพยานหลักฐานยืนยันจึงทำให้ชาวบ้านแพ้คดี
ดังนั้น ตนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลังจากได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านก็คิดว่าน่าจะต้องมีการหาพยานหลักฐานซึ่งสามารถยืนยันถึงการอยู่อาศัยของชาวไทยใหม่ในพื้นที่เพื่อนำไปเป็นหลักฐานให้ชาวไทยใหม่ในการต่อสู้ รวมทั้งกรณีการออกเอกสารสิทธิที่ดินในบริเวณดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลหลักฐานต่างๆ เชื่อได้ว่า ชาวไทยใหม่ราไวย์อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมากว่าร้อยปี ก่อนที่จะมีการขอแจ้งออก ส.ค. เมื่อ 2498 ซึ่งดูได้จากหลักฐานประกอบหลายอย่าง ทั้งกระดูกบรรพบุรุษที่ขุดพบซึ่งจากการตรวจดีเอ็นเอพบว่า มีความเชื่อมโยงกับชาวไทยใหม่ซึ่งเป็นเครือญาติกัน จำนวน 10 ราย
นอกจากนั้น จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศก็พบว่า มีชาวบ้านอาศัยอยู่เต็มพื้นที่ในโฉนดเลขที่ 8324 และในช่วงที่มีการเปลี่ยนเอกสารสิทธิจาก ส.ค.1 เป็นโฉนดที่ดิน จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศพบว่า มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเต็มพื้นที่ ซึ่งบริเวณพิพาทนั้นมีโฉนดอยู่หลายฉบับ และในการออกโฉนดก็ไม่มีการสอบสวนชาวชาวไทยใหม่ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว
ส่วนกรณีมีการพิพาทเกี่ยวกับเส้นทางสัญจรไปยังชายหาดเพื่อประกอบอาชีพประมง และประกอบพิธีธรรม ซึ่งทางผู้ที่ถือเอกสารสิทธิจะปิดทางเข้าออกนั้น จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2510 ทางสัญจรดังกล่าวมีอยู่แล้ว ซึ่งตรงกับที่ชาวบ้านเคยให้ข้อมูลว่าใช้เส้นทางดังกล่าวในการสัญจรไปมานับ 100 ปีแล้วเช่นกัน เพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ที่กับชุมชนชาวไทยใหม่ และใช้ในการเดินทางไปลงเรือ และประกอบพิธีกรรม นอกจากนั้น จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2537 ก็มีการตัดสินไปแล้วเกี่ยวกับเรื่องนี้ “การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นหาจำต้องกระทำด้วยการอุทิศให้โดยชัดแจ้งแต่เพียงประการเดียวไม่อาจอุทิศให้โดยปริยายก็ได้ ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) ตั้งแต่ก่อนธนาคาร อ. และโจทก์ได้รับโอนที่ดินต่อกันมาแล้ว ธนาคาร อ. และโจทก์ จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าว การที่ธนาคารอ.ชำระภาษีสำหรับที่ดินให้แก่ทางราชการ หรือการที่ธนาคาร อ.หรือโจทก์อนุญาตให้บุคคลอื่นหรือทางราชการใช้ที่ดินดังกล่าว หาทำให้ทางสาธารณะ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว เปลี่ยนสภาพกลับคืนมาเป็นที่ดินของธนาคาร อ. หรือโจทก์ไม่” ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้จะนำมามอบให้แก่ทางจังหวัดเพื่อประกอบการพิจารณาแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยวันที่ 2 ม.ค.นี้ จะร่วมประชุมกับทางจังหวัดภูเก็ตด้วย
นอกจากนั้น จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศก็พบว่า มีชาวบ้านอาศัยอยู่เต็มพื้นที่ในโฉนดเลขที่ 8324 และในช่วงที่มีการเปลี่ยนเอกสารสิทธิ จาก ส.ค.1 เป็นโฉนดที่ดินจากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศพบว่า มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเต็มพื้นที่ ซึ่งบริเวณพิพาทนั้นมีโฉนดอยู่หลายฉบับ และในการออกโฉนดก็ไม่มีการสอบสวนชาวชาวไทยใหม่ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว
ส่วนกรณีมีการพิพาทเกี่ยวกับเส้นทางสัญจรไปยังชายหาดเพื่อประกอบอาชีพประมง และประกอบพิธีธรรม ซึ่งทางผู้ที่ถือเอกสารสิทธิจะปิดทางเข้าออกนั้น จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2510 ทางสัญจรดังกล่าวมีอยู่แล้ว ซึ่งตรงกับที่ชาวบ้านเคยให้ข้อมูลว่าใช้เส้นทางดังกล่าวในการสัญจรไปมานับ 100 ปี แล้วเช่นกันเพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ที่กับชุมชนชาวไทยใหม่ และใช้ในการเดินทางไปลงเรือ และประกอบพิธีกรรม นอกจากนั้น จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2537 ก็มีการตัดสินไปแล้วเกี่ยวกับเรื่องนี้ “การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นหาจำต้องกระทำด้วยการอุทิศให้โดยชัดแจ้งแต่เพียงประการเดียวไม่อาจอุทิศให้โดยปริยายก็ได้ ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) ตั้งแต่ก่อนธนาคาร อ. และโจทก์ได้รับโอนที่ดินต่อกันมาแล้ว ธนาคาร อ.และโจทก์ จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าว การที่ธนาคารอ.ชำระภาษีสำหรับที่ดินให้แก่ทางราชการหรือการที่ธนาคารอ.หรือโจทก์อนุญาตให้บุคคลอื่นหรือทางราชการใช้ที่ดินดังกล่าว หาทำให้ทางสาธารณะและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว เปลี่ยนสภาพกลับคืนมาเป็นที่ดินของธนาคาร อ. หรือโจทก์ไม่” ซึ่งข้อมูลต่างๆที่ได้รวบรวมไว้จะนำมามอบให้กับทางจังหวัดเพื่อประกอบการพิจารณาแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยวันที่ 2 ม.ค.นี้จะร่วมประชุมกับทางจังหวัดภูเก็ตด้วย
เมื่อเวลา 14.30 น. วันนี้ (29 ม.ค.) ที่ห้องประชุมสถานีโทรทัศน์ NBT ภูเก็ต พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผู้บัญชาการสำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงผลการสืบค้นข้อมูลกรณีที่ดินพิพาทบริเวณชุมชนชาวไทยใหม่ บ้านราไวย์ หมู่ที่ 2 ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ว่า ปัญหาเรื่องที่ดินบริเวณดังกล่าวมีมายาวนาน และมีคดีฟ้องร้องกันอยู่หลายคคี บางคดีมีการตัดสินไปแล้ว และบางคดีอยู่ในชั้นอุทธรณ์ และคดีที่มีการตัดสินไปแล้วส่วนใหญ่ชาวไทยใหม่แพ้คดี และให้ออกจากพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ชาวไทยใหม่ราไวย์ได้ร้องเรียนไปยังกระทรวงยุติธรรม ให้ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิที่ดินในบริเวณดังกล่าว หลังจากมีการร้องเรียนก็ได้ลงพื้นที่เพื่อสืบค้นข้อมูลหลักฐานต่างในพื้นที่ เพราะเท่าที่ได้รับทราบจากกลุ่มชาวไทยใหม่พบว่า พื้นที่ที่ชาวบ้านอาศัยอยู่นั้นมีประวัติที่ยาวนาน โดยเฉพาะเกี่ยวกับบรรพบุรุษของชาวเลที่มีการฝังศพไว้ใกล้บ้านพักอาศัย ซึ่งที่ผ่านมา ทางชาวไทยใหม่ก็ได้ให้การในการสืบพยานเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการพิจารณาของศาล แต่ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันในขณะที่บุคคลที่เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่มีพยานบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่มาให้ปากคำ และมีพยานหลักฐานยืนยันจึงทำให้ชาวบ้านแพ้คดี
ดังนั้น ตนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลังจากได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านก็คิดว่าน่าจะต้องมีการหาพยานหลักฐานซึ่งสามารถยืนยันถึงการอยู่อาศัยของชาวไทยใหม่ในพื้นที่เพื่อนำไปเป็นหลักฐานให้ชาวไทยใหม่ในการต่อสู้ รวมทั้งกรณีการออกเอกสารสิทธิที่ดินในบริเวณดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลหลักฐานต่างๆ เชื่อได้ว่า ชาวไทยใหม่ราไวย์อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมากว่าร้อยปี ก่อนที่จะมีการขอแจ้งออก ส.ค. เมื่อ 2498 ซึ่งดูได้จากหลักฐานประกอบหลายอย่าง ทั้งกระดูกบรรพบุรุษที่ขุดพบซึ่งจากการตรวจดีเอ็นเอพบว่า มีความเชื่อมโยงกับชาวไทยใหม่ซึ่งเป็นเครือญาติกัน จำนวน 10 ราย
นอกจากนั้น จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศก็พบว่า มีชาวบ้านอาศัยอยู่เต็มพื้นที่ในโฉนดเลขที่ 8324 และในช่วงที่มีการเปลี่ยนเอกสารสิทธิจาก ส.ค.1 เป็นโฉนดที่ดิน จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศพบว่า มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเต็มพื้นที่ ซึ่งบริเวณพิพาทนั้นมีโฉนดอยู่หลายฉบับ และในการออกโฉนดก็ไม่มีการสอบสวนชาวชาวไทยใหม่ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว
ส่วนกรณีมีการพิพาทเกี่ยวกับเส้นทางสัญจรไปยังชายหาดเพื่อประกอบอาชีพประมง และประกอบพิธีธรรม ซึ่งทางผู้ที่ถือเอกสารสิทธิจะปิดทางเข้าออกนั้น จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2510 ทางสัญจรดังกล่าวมีอยู่แล้ว ซึ่งตรงกับที่ชาวบ้านเคยให้ข้อมูลว่าใช้เส้นทางดังกล่าวในการสัญจรไปมานับ 100 ปีแล้วเช่นกัน เพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ที่กับชุมชนชาวไทยใหม่ และใช้ในการเดินทางไปลงเรือ และประกอบพิธีกรรม นอกจากนั้น จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2537 ก็มีการตัดสินไปแล้วเกี่ยวกับเรื่องนี้ “การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นหาจำต้องกระทำด้วยการอุทิศให้โดยชัดแจ้งแต่เพียงประการเดียวไม่อาจอุทิศให้โดยปริยายก็ได้ ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) ตั้งแต่ก่อนธนาคาร อ. และโจทก์ได้รับโอนที่ดินต่อกันมาแล้ว ธนาคาร อ. และโจทก์ จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าว การที่ธนาคารอ.ชำระภาษีสำหรับที่ดินให้แก่ทางราชการ หรือการที่ธนาคาร อ.หรือโจทก์อนุญาตให้บุคคลอื่นหรือทางราชการใช้ที่ดินดังกล่าว หาทำให้ทางสาธารณะ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว เปลี่ยนสภาพกลับคืนมาเป็นที่ดินของธนาคาร อ. หรือโจทก์ไม่” ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้จะนำมามอบให้แก่ทางจังหวัดเพื่อประกอบการพิจารณาแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยวันที่ 2 ม.ค.นี้ จะร่วมประชุมกับทางจังหวัดภูเก็ตด้วย
นอกจากนั้น จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศก็พบว่า มีชาวบ้านอาศัยอยู่เต็มพื้นที่ในโฉนดเลขที่ 8324 และในช่วงที่มีการเปลี่ยนเอกสารสิทธิ จาก ส.ค.1 เป็นโฉนดที่ดินจากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศพบว่า มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเต็มพื้นที่ ซึ่งบริเวณพิพาทนั้นมีโฉนดอยู่หลายฉบับ และในการออกโฉนดก็ไม่มีการสอบสวนชาวชาวไทยใหม่ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว
ส่วนกรณีมีการพิพาทเกี่ยวกับเส้นทางสัญจรไปยังชายหาดเพื่อประกอบอาชีพประมง และประกอบพิธีธรรม ซึ่งทางผู้ที่ถือเอกสารสิทธิจะปิดทางเข้าออกนั้น จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2510 ทางสัญจรดังกล่าวมีอยู่แล้ว ซึ่งตรงกับที่ชาวบ้านเคยให้ข้อมูลว่าใช้เส้นทางดังกล่าวในการสัญจรไปมานับ 100 ปี แล้วเช่นกันเพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ที่กับชุมชนชาวไทยใหม่ และใช้ในการเดินทางไปลงเรือ และประกอบพิธีกรรม นอกจากนั้น จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2537 ก็มีการตัดสินไปแล้วเกี่ยวกับเรื่องนี้ “การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นหาจำต้องกระทำด้วยการอุทิศให้โดยชัดแจ้งแต่เพียงประการเดียวไม่อาจอุทิศให้โดยปริยายก็ได้ ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) ตั้งแต่ก่อนธนาคาร อ. และโจทก์ได้รับโอนที่ดินต่อกันมาแล้ว ธนาคาร อ.และโจทก์ จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าว การที่ธนาคารอ.ชำระภาษีสำหรับที่ดินให้แก่ทางราชการหรือการที่ธนาคารอ.หรือโจทก์อนุญาตให้บุคคลอื่นหรือทางราชการใช้ที่ดินดังกล่าว หาทำให้ทางสาธารณะและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว เปลี่ยนสภาพกลับคืนมาเป็นที่ดินของธนาคาร อ. หรือโจทก์ไม่” ซึ่งข้อมูลต่างๆที่ได้รวบรวมไว้จะนำมามอบให้กับทางจังหวัดเพื่อประกอบการพิจารณาแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยวันที่ 2 ม.ค.นี้จะร่วมประชุมกับทางจังหวัดภูเก็ตด้วย