ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้ว่าฯ ภูเก็ต นำทีมผู้เกี่ยวข้องหารือแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างชาวไทยใหม่ราไวย์ กับเจ้าของที่ดิน หลังปะทะเดือดบาดเจ็บหลายราย นานกว่า 2 ชั่วโมง ไม่ได้ข้อสรุป นัดหารืออีกครั้ง 2 ก.พ.นี้ เบื้องต้น สั่งหยุดก่อสร้าง เปิดเส้นทางให้ชาวไทยใหม่ใช้ก่อน ด้านผู้การภูเก็ตสั่งดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดทุกราย
จากกรณีที่เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มชาวไทยใหม่ราไวย์ กับกลุ่มชายฉกรรจ์ ซึ่งระบุว่าเป็นคนของบริษัทเอกชนเจ้าของที่ดิน บริษัท บารอน เวิลด์ เทรด จำกัด ที่บริเวณริมชายหาดราไวย์ รอยต่อระหว่างที่ดินเอกชนกับชุมชนชาวไทยใหม่ราไวย์ ม.2 ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต จนบานปลายถึงขั้นทำร้ายร่างกายกัน ส่งผลให้ชาวไทยใหม่ราไวย์ และกลุ่มชายฉกรรจ์ส่วนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ
ล่าสุด เมื่อเวลา 18.00 น.วันเดียวกัน นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เรียกตัวแทนเจ้าของที่ดิน ตัวแทนกลุ่มชาวไทยใหม่ราไวย์ ดร.ประเจียด อักษรธรรมกุล นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พล.ต.ต.ธีระพล ทิพย์เจริญ ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมด่วนเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยใช้เวลาหารือนานร่วม 2 ชั่วโมง โดยตัวแทนชาวไทยใหม่ราไวย์ เรียกร้องให้บริษัทเจ้าของที่ดินยินยอมเปิดทางให้ใช้สัญจรเข้า-ออก ในการลงทะเลเพื่อทำประมง และไปประกอบพิธีกรรม (บาลัย) แบบถาวร แต่ข้อเสนอดังกล่าวยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากตัวแทนเจ้าของที่ดินไม่สามารถตัดสินใจได้ จะต้องรอเจ้าของที่ดินตัวจริงเป็นผู้ตัดสินใจ โดยทางจังหวัดภูเก็ตได้นัดประชุมหารือร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 2 ก.พ.2559
ส่วนการแก้ปัญหาเบื้องต้น นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้สั่งให้ทางบริษัทเจ้าของที่ดินนำแท่งแบริเออร์ และก้อนหินออกเพื่อเปิดทางให้ชาวบ้านสัญจรได้ก่อน และให้หยุดก่อสร้างในพื้นที่ดังกล่าวจนกว่าจะได้ข้อสรุปในวันที่ 2 ก.พ.นี้
ด้าน พล.ต.ต.ธีระพล ทิพย์เจริญ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงเรื่องการดำเนินคดี ว่า ในเบื้องต้นวันนี้มีผู้เสียหายเข้ามาแจ้งความแล้วหลายราย ซึ่งตนได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ฉลอง เก็บรวบรวมพยานหลักฐานขณะเกิดเหตุดำเนินคดีต่อทุกคนที่กระทำผิดกฎหมาย
สำหรับเหตุปะทะที่เกิดขึ้นในวันนี้ สืบเนื่องจากเจ้าของที่ดิน คือ บริษัท บารอนฯ เจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าวได้มอบหมายให้นายชาตรี หมาดสตูล เข้าทำการปรับปรุงแปลงที่ดินแปลงดังกล่าว ที่ส่วนหนึ่งติดกับเส้นทางที่ชาวเลใช้สำหรับเดินไปประกอบพิธีกรรม และลงทะเลประกอบอาชีพประมง เป็ระยะทางประมาณ 300-400 เมตร แต่กลุ่มผู้รับมอบอำนาจได้ทำกำแพงกั้นทางสัญจรดังกล่าว สร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มไทยใหม่ที่ต้องใช้เส้นทางดังกล่าวไปประกอบพิธีกรรมมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เนื่องจากหากลงไปเดินบริเวณชายหาดก็จะไม่สะดวก เพราะบางครั้งมีน้ำทะเลขึ้นสูง และจะส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ โดยปัญหาข้อพิพาทดังกล่าวมีมาเป็นเวลานานแล้ว
จากกรณีที่เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มชาวไทยใหม่ราไวย์ กับกลุ่มชายฉกรรจ์ ซึ่งระบุว่าเป็นคนของบริษัทเอกชนเจ้าของที่ดิน บริษัท บารอน เวิลด์ เทรด จำกัด ที่บริเวณริมชายหาดราไวย์ รอยต่อระหว่างที่ดินเอกชนกับชุมชนชาวไทยใหม่ราไวย์ ม.2 ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต จนบานปลายถึงขั้นทำร้ายร่างกายกัน ส่งผลให้ชาวไทยใหม่ราไวย์ และกลุ่มชายฉกรรจ์ส่วนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ
ล่าสุด เมื่อเวลา 18.00 น.วันเดียวกัน นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เรียกตัวแทนเจ้าของที่ดิน ตัวแทนกลุ่มชาวไทยใหม่ราไวย์ ดร.ประเจียด อักษรธรรมกุล นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พล.ต.ต.ธีระพล ทิพย์เจริญ ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมด่วนเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยใช้เวลาหารือนานร่วม 2 ชั่วโมง โดยตัวแทนชาวไทยใหม่ราไวย์ เรียกร้องให้บริษัทเจ้าของที่ดินยินยอมเปิดทางให้ใช้สัญจรเข้า-ออก ในการลงทะเลเพื่อทำประมง และไปประกอบพิธีกรรม (บาลัย) แบบถาวร แต่ข้อเสนอดังกล่าวยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากตัวแทนเจ้าของที่ดินไม่สามารถตัดสินใจได้ จะต้องรอเจ้าของที่ดินตัวจริงเป็นผู้ตัดสินใจ โดยทางจังหวัดภูเก็ตได้นัดประชุมหารือร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 2 ก.พ.2559
ส่วนการแก้ปัญหาเบื้องต้น นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้สั่งให้ทางบริษัทเจ้าของที่ดินนำแท่งแบริเออร์ และก้อนหินออกเพื่อเปิดทางให้ชาวบ้านสัญจรได้ก่อน และให้หยุดก่อสร้างในพื้นที่ดังกล่าวจนกว่าจะได้ข้อสรุปในวันที่ 2 ก.พ.นี้
ด้าน พล.ต.ต.ธีระพล ทิพย์เจริญ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงเรื่องการดำเนินคดี ว่า ในเบื้องต้นวันนี้มีผู้เสียหายเข้ามาแจ้งความแล้วหลายราย ซึ่งตนได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ฉลอง เก็บรวบรวมพยานหลักฐานขณะเกิดเหตุดำเนินคดีต่อทุกคนที่กระทำผิดกฎหมาย
สำหรับเหตุปะทะที่เกิดขึ้นในวันนี้ สืบเนื่องจากเจ้าของที่ดิน คือ บริษัท บารอนฯ เจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าวได้มอบหมายให้นายชาตรี หมาดสตูล เข้าทำการปรับปรุงแปลงที่ดินแปลงดังกล่าว ที่ส่วนหนึ่งติดกับเส้นทางที่ชาวเลใช้สำหรับเดินไปประกอบพิธีกรรม และลงทะเลประกอบอาชีพประมง เป็ระยะทางประมาณ 300-400 เมตร แต่กลุ่มผู้รับมอบอำนาจได้ทำกำแพงกั้นทางสัญจรดังกล่าว สร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มไทยใหม่ที่ต้องใช้เส้นทางดังกล่าวไปประกอบพิธีกรรมมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เนื่องจากหากลงไปเดินบริเวณชายหาดก็จะไม่สะดวก เพราะบางครั้งมีน้ำทะเลขึ้นสูง และจะส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ โดยปัญหาข้อพิพาทดังกล่าวมีมาเป็นเวลานานแล้ว