ชุมพร - หน้าคราบน้ำมันเกลื่อนหาดชุมพร กรมเชื้อเพลิงพลังงานยันไม่ได้เกิดจากการขุดเจาะสำรวจ ส่วน ดร.ธรณ์ นักวิชาการชื่อดัง เผยลอยมาไกลจากเกาะไข่ จ.ชลบุรี
จากกรณีมีชาวบ้านพบคราบก้อนสีดำคล้ายน้ำมันถูกคลื่นซัดมาขึ้นตามชายหาดในพื้นที่ หมู่ 2 อ.บางน้ำจืด อ.หลังสวน และอำเภอใกล้เคียงของ จ.ชุมพร จำนวนมากนั้น ขณะนี้ผู้สื่อข่าวได้โทรศัพท์สอบถามไปยังกองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการประกอบกิจการปิโตรเลียม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ โดยมี นายวิศรุต ตั้งสุนทรขัณฑ์ ผอ.กองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการประกอบกิจการปิโตรเลียม เปิดเผยว่า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้ตรวจสอบการดำเนินการของบริษัทผู้รับสัมปทานทุกรายที่มีการดำเนินการในอ่าวไทยอย่างสม่ำเสมอ พบว่าไม่มีการรั่วไหลของน้ำมันดิบจากแท่นผลิตแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดชุมพรก็ไม่มีกิจกรรมการขุดเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยมีการเจาะหลุมสำรวจล่าสุดเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาเป็นการขุดเจาะหลุมของแหล่งนางนวล บริษัท ปตท.สผ. จำกัด แต่พบว่าหลุมดังกล่าวไม่พบน้ำมันและทำการปิดหลุมเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นยืนยันได้ว่าก้อนน้ำมันที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
นายวิศรุตกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันพิสูจน์เหตุการณ์ดังกล่าว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจึงได้ประสานกับพลังงานจังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหน่วยงานในพื้นที่ ในการเก็บตัวอย่างก้อนน้ำมันและส่งวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการ รวมถึงจะประสานขอความร่วมมือไปยังสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศ (GISDA) เพื่อช่วยตรวจหาว่าคราบน้ำมันถูกปล่อยมาจากที่ใด
ด้าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศ (GISDA) คาดการณ์ว่า คราบน้ำมันดังกล่าวอยู่ในแนวการเคลื่อนที่มาจากเกาะไผ่ จ.ชลบุรี แนวเส้นทางขนานกับแนวชายฝั่งทะเล โดยมีการเคลื่อนที่ตั้งแต่เวลา 18.00 น.ของวันที่ 23 พ.ย. 58 และเคลื่อนที่มาขึ้นฝั่งที่ชายหาด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ในวันที่ 29 พ.ย. 58 ซึ่งเป็นระยะเวลาการเคลื่อนที่ของคราบที่เร็วกว่าปกติ ซึ่งอาจจะมีผลมาจากคลื่นลมในทะเล ทำให้กระแสน้ำด้านล่างมีความแรง
จากกรณีมีชาวบ้านพบคราบก้อนสีดำคล้ายน้ำมันถูกคลื่นซัดมาขึ้นตามชายหาดในพื้นที่ หมู่ 2 อ.บางน้ำจืด อ.หลังสวน และอำเภอใกล้เคียงของ จ.ชุมพร จำนวนมากนั้น ขณะนี้ผู้สื่อข่าวได้โทรศัพท์สอบถามไปยังกองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการประกอบกิจการปิโตรเลียม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ โดยมี นายวิศรุต ตั้งสุนทรขัณฑ์ ผอ.กองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการประกอบกิจการปิโตรเลียม เปิดเผยว่า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้ตรวจสอบการดำเนินการของบริษัทผู้รับสัมปทานทุกรายที่มีการดำเนินการในอ่าวไทยอย่างสม่ำเสมอ พบว่าไม่มีการรั่วไหลของน้ำมันดิบจากแท่นผลิตแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดชุมพรก็ไม่มีกิจกรรมการขุดเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยมีการเจาะหลุมสำรวจล่าสุดเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาเป็นการขุดเจาะหลุมของแหล่งนางนวล บริษัท ปตท.สผ. จำกัด แต่พบว่าหลุมดังกล่าวไม่พบน้ำมันและทำการปิดหลุมเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นยืนยันได้ว่าก้อนน้ำมันที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
นายวิศรุตกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันพิสูจน์เหตุการณ์ดังกล่าว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจึงได้ประสานกับพลังงานจังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหน่วยงานในพื้นที่ ในการเก็บตัวอย่างก้อนน้ำมันและส่งวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการ รวมถึงจะประสานขอความร่วมมือไปยังสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศ (GISDA) เพื่อช่วยตรวจหาว่าคราบน้ำมันถูกปล่อยมาจากที่ใด
ด้าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศ (GISDA) คาดการณ์ว่า คราบน้ำมันดังกล่าวอยู่ในแนวการเคลื่อนที่มาจากเกาะไผ่ จ.ชลบุรี แนวเส้นทางขนานกับแนวชายฝั่งทะเล โดยมีการเคลื่อนที่ตั้งแต่เวลา 18.00 น.ของวันที่ 23 พ.ย. 58 และเคลื่อนที่มาขึ้นฝั่งที่ชายหาด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ในวันที่ 29 พ.ย. 58 ซึ่งเป็นระยะเวลาการเคลื่อนที่ของคราบที่เร็วกว่าปกติ ซึ่งอาจจะมีผลมาจากคลื่นลมในทะเล ทำให้กระแสน้ำด้านล่างมีความแรง