คร. เห็นร่วม “อ.ธรณ์” เสนอหลากหน่วยงานร่วมมือป้องกันถูกพิษแมงกะพรุน แจงร่วม อบต. ติดป้ายคำเตือนตามจุดเสี่ยง อบรมบุคลากรช่วยปฐมพยาบาล ย้ำนักท่องเที่ยวสังเกตป้ายคำเตือนด้วย
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีนักท่องเที่ยวสาวชาวเยอรมันเสียชีวิตจากพิษแมงกะพรุนกล่อง หลังลงเล่นน้ำทะเลที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งล่าสุด รศ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดการอย่างถูกวิธี รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ที่ผ่านมา กรมฯ มีมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และท้องถิ่น อย่างองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในการติดป้ายคำเตือนจุดเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งจุดเสี่ยงพบแมงกะพรุน ทาง ทช. จะมีข้อมูลอยู่ โดยกรมฯ จะมีข้อความคำเตือน และท้องถิ่นจะนำไปดำเนินการติดตั้ง นอกจากนี้ ยังมีการอบรมบุคลากรทางการแพทย์ตามโรงพยาบาลในพื้นที่นั้น ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาตลอด
“เรื่องนี้ต้องช่วยกันหมด ผมก็เห็นด้วย แต่ในทางกลับกันนักท่องเที่ยวต้องสังเกตป้ายคำเตือนด้วย ที่สำคัญเมื่อถูกแมงกะพรุนกล่องพิษ ไม่ควรขยี้ หรือไปเอาหญ้าทะเล ผักบุ้งทะเล แต่ควรนำน้ำส้มสายชู ซึ่งในจุดเสี่ยงจะมีแขวนไว้ให้ แต่หากไม่มีจริง ๆ ให้รีบหาน้ำส้มสายชูที่ประกอบอาหารทั่วไป ใช้ได้หมด เทล้าง แต่ไม่ต้องถู พิษจะเบาบาง หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าผักบุ้งทะเลใช้ได้ แต่จริง ๆ สำหรับพิษแมงกะพรุนไฟ ซึ่งส่วนใหญ่แยกไม่ถูก ดังนั้น หากเป็นไปได้ใช้น้ำส้มสายชูก็ได้ เพราะแมงกะพรุนไฟไม่มีพิษร้ายถึงชีวิต” นพ.โอภาส กล่าวและว่า แมงกะพรุนกล่องไม่ได้พบแค่เฉพาะกลางคืน เพียงแต่แมงกะพรุนกล่องจะเคลื่อนตัวหาแสงสว่าง และกินพวกลูกกุ้ง ลูกปลา แต่ไม่ยืนยันว่าเจอมากตอนกลางคืน หรือกลางวัน คงต้องถามผู้เชี่ยวชาญ ในส่วนของ สธ. จะเน้นเรื่องการรักษาพยาบาลเป็นหลัก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีนักท่องเที่ยวสาวชาวเยอรมันเสียชีวิตจากพิษแมงกะพรุนกล่อง หลังลงเล่นน้ำทะเลที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งล่าสุด รศ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดการอย่างถูกวิธี รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ที่ผ่านมา กรมฯ มีมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และท้องถิ่น อย่างองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในการติดป้ายคำเตือนจุดเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งจุดเสี่ยงพบแมงกะพรุน ทาง ทช. จะมีข้อมูลอยู่ โดยกรมฯ จะมีข้อความคำเตือน และท้องถิ่นจะนำไปดำเนินการติดตั้ง นอกจากนี้ ยังมีการอบรมบุคลากรทางการแพทย์ตามโรงพยาบาลในพื้นที่นั้น ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาตลอด
“เรื่องนี้ต้องช่วยกันหมด ผมก็เห็นด้วย แต่ในทางกลับกันนักท่องเที่ยวต้องสังเกตป้ายคำเตือนด้วย ที่สำคัญเมื่อถูกแมงกะพรุนกล่องพิษ ไม่ควรขยี้ หรือไปเอาหญ้าทะเล ผักบุ้งทะเล แต่ควรนำน้ำส้มสายชู ซึ่งในจุดเสี่ยงจะมีแขวนไว้ให้ แต่หากไม่มีจริง ๆ ให้รีบหาน้ำส้มสายชูที่ประกอบอาหารทั่วไป ใช้ได้หมด เทล้าง แต่ไม่ต้องถู พิษจะเบาบาง หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าผักบุ้งทะเลใช้ได้ แต่จริง ๆ สำหรับพิษแมงกะพรุนไฟ ซึ่งส่วนใหญ่แยกไม่ถูก ดังนั้น หากเป็นไปได้ใช้น้ำส้มสายชูก็ได้ เพราะแมงกะพรุนไฟไม่มีพิษร้ายถึงชีวิต” นพ.โอภาส กล่าวและว่า แมงกะพรุนกล่องไม่ได้พบแค่เฉพาะกลางคืน เพียงแต่แมงกะพรุนกล่องจะเคลื่อนตัวหาแสงสว่าง และกินพวกลูกกุ้ง ลูกปลา แต่ไม่ยืนยันว่าเจอมากตอนกลางคืน หรือกลางวัน คงต้องถามผู้เชี่ยวชาญ ในส่วนของ สธ. จะเน้นเรื่องการรักษาพยาบาลเป็นหลัก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่