พังงา - หลายหน่วยงานในจังหวัดพังงา ลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรการชะลอความเร็วของรถในจุดเสี่ยงเพื่อลดอุบัติเหตุ หลังชาวบ้านโวยสร้างปัญหาให้ผู้ใช้รถใช้ถนน
วันนี้ (16 ก.ย.) นายจรญ เสมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักงานแขวงทางหลวงพังงา พร้อมด้วย นายธนขวัญ ปิ่นทอง หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และการจัดการ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา พ.ต.ท.อนิรุทธ์ พุฒนวล สารวัตรจราจร สภ.เมืองพังงา และเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงพังงา ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบสันชะลอความเร็วบนถนนเพชรเกษม สายอำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง บริเวณด้านหน้าสำสักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพังงา
หลังจากทางหลวงพังงาได้ติดตั้งสันชะลอความเร็ว พร้อมด้วยหมุดสะท้อนแสง ป้ายเตือน และไฟเตือนเพื่อแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในจุดเสี่ยง และจุดอันตรายรวม 3 จุด ซึ่งภายหลังจากการติดตั้งก็ได้รับข้อร้องเรียนจากผู้ใช้รถใช้ถนนบางส่วน ว่า ไม่เห็นด้วยต่อการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการทำสันชะลอความเร็ว และติดตั้งหมุดสะท้อนแสง โดยอ้างว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และเป็นการทำให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
นายจรญ เสมสันต์ กล่าวว่า พื้นที่จุดเสี่ยงจำนวน 3 จุด ประกอบด้วย โค้งบ้านพรุกก ต.กะไหล ขาเข้าเมืองพังงา โค้งบ้านควน ต.กะไหล ขาออกจากตัวเมืองพังงา และโค้งกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ต.ตากแดด ขาเข้าเมืองพังงา ซึ่งที่ผ่านมา ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้งซึ่งได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก จึงนำไปสู่การร่วมหารือของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดพังงา ซึ่งได้เห็นควรให้หามาตรการชะลอความเร็วของรถลงให้ได้ และคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง หรือจุดอันตรายในเส้นทางต่างๆ โดยสามารถทำสันชะลอความเร็ว
สำหรับข้อร้องเรียนต่างๆ ของผู้ใช้รถใช้ถนนนั้น ทางแขวงทางหลวงพังงา จะดำเนินทางแก้ไขเพิ่มเติม โดยจะดำเนินการปรับความลาดชันของสันชะลอความความเร็วตัวแรกเพื่อลดการกระแทกของรถลง พร้อมปรับเปลี่ยนหมุดสะท้อนแสงจะติดตั้งเหลือเพียง 3 แถวในกึ่งกลางถนนและด้านข้างทั้ง 2 ด้าน
เชื่อว่าหากผู้ใช้รถใช้ถนนได้ขับขี่รถตามกฎจราจรคาดว่าอุบัติเหตุจะลดลงอย่างแน่นอน ในส่วนของโค้งบ้านควนกะไหลนั้น ในช่วงปี 2554 ได้เกิดเหตุการณ์รถแหกโค้งเข้าชนกับบ้านเรือนของชาวบ้านหลายครั้ง ทำให้ชาวบ้านรู้สึกไม่ปลอดภัย จึงได้รวมตัวกันปิดถนน และให้ปิดช่องทางเดินรถด้านซ้ายตลอดความยาว 400 เมตร นี้เมื่ออุบัติเหตุลดลง และชาวบ้านในพื้นที่เกิดความเชื่อมั่นในความปลอดภัยก็จะขอคืนพื้นผิวจราจรให้ผู้ใช้รถใช้ถนนต่อไป และเส้นทางสายนี้มีข้อจำกัดในเรื่องของเขตทาง ซึ่งจะมีปัญหาในการขยายถนน และการปรับเปลี่ยนเส้นทางถนนเพราะจะมีปัญหาในเรื่องของการเวนคืนที่ดินในเกือบทุกจุด
ด้าน นายธนขวัญ ปิ่นทอง กล่าวว่า สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา เห็นด้วยต่อมาตรการในการลดการเกิดอุบัติเหตุในจุดเสี่ยงของสำนักงานแขวงทางหลวงพังงา เพราะขณะนี้ จังหวัดพังงามีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนโดยเฉพาะจุดเสี่ยงในปี 2557 ประมาณ 60 ราย ปี 2558 ลดลงเหลือ 50 ราย และได้ตั้งเป้าหมายลดลงให้เหลือ 10 รายต่อประชากร 1 แสนคน หรือลดลงให้เหลือปีละ 26 ราย ในปี 2564 จึงอยากจะฝากถึงผู้ใช้รถใช้ถนนว่า มาตรการการชะลอความเร็วเพื่อลดอุบัติเหตุอาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคยของประชาชน ก็ขอให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ส่วนการทดลองตรวจจับความเร็วในจุดเสี่ยงวันนี้พบว่าส่วนใหญ่ใช้ความเร็วมากกว่าป้ายเตือนชะลอความเร็ว
ด้าน นายสมศักดิ์ แก้วจินดา เจ้าหน้าที่สื่อสารศูนย์นเรนทรพังงา เปิดเผยว่า ตนเองได้ร่วมกับกลุ่มผู้ใช้รถใช้ถนนที่ไม่เห็นด้วยต่อมาตรการชะลอความเร็วในพื้นที่จุดเสี่ยงของแขวงทางหลวงพังงาในครั้งนี้ เพราะมองว่าจะเป็นการเพิ่มอุบัติเหตุให้มากขึ้นกว่าเดิม พร้อมกับเรียกร้องให้แขวงทางหลวงพังงาถอนการติดตั้งสันชะลอความเร็ว และหมุดสะท้อนแสงออกไปโดยเร็ว และให้แก้ไขโดยการเพิ่มแสงสว่างในจุดเสี่ยง พร้อมกับตีเส้นจราจรใช้ชัดเจน และให้ปรับปรุงผิวจราจรใหม่ในจุดเสี่ยงทั้งหมด
วันนี้ (16 ก.ย.) นายจรญ เสมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักงานแขวงทางหลวงพังงา พร้อมด้วย นายธนขวัญ ปิ่นทอง หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และการจัดการ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา พ.ต.ท.อนิรุทธ์ พุฒนวล สารวัตรจราจร สภ.เมืองพังงา และเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงพังงา ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบสันชะลอความเร็วบนถนนเพชรเกษม สายอำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง บริเวณด้านหน้าสำสักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพังงา
หลังจากทางหลวงพังงาได้ติดตั้งสันชะลอความเร็ว พร้อมด้วยหมุดสะท้อนแสง ป้ายเตือน และไฟเตือนเพื่อแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในจุดเสี่ยง และจุดอันตรายรวม 3 จุด ซึ่งภายหลังจากการติดตั้งก็ได้รับข้อร้องเรียนจากผู้ใช้รถใช้ถนนบางส่วน ว่า ไม่เห็นด้วยต่อการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการทำสันชะลอความเร็ว และติดตั้งหมุดสะท้อนแสง โดยอ้างว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และเป็นการทำให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
นายจรญ เสมสันต์ กล่าวว่า พื้นที่จุดเสี่ยงจำนวน 3 จุด ประกอบด้วย โค้งบ้านพรุกก ต.กะไหล ขาเข้าเมืองพังงา โค้งบ้านควน ต.กะไหล ขาออกจากตัวเมืองพังงา และโค้งกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ต.ตากแดด ขาเข้าเมืองพังงา ซึ่งที่ผ่านมา ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้งซึ่งได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก จึงนำไปสู่การร่วมหารือของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดพังงา ซึ่งได้เห็นควรให้หามาตรการชะลอความเร็วของรถลงให้ได้ และคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง หรือจุดอันตรายในเส้นทางต่างๆ โดยสามารถทำสันชะลอความเร็ว
สำหรับข้อร้องเรียนต่างๆ ของผู้ใช้รถใช้ถนนนั้น ทางแขวงทางหลวงพังงา จะดำเนินทางแก้ไขเพิ่มเติม โดยจะดำเนินการปรับความลาดชันของสันชะลอความความเร็วตัวแรกเพื่อลดการกระแทกของรถลง พร้อมปรับเปลี่ยนหมุดสะท้อนแสงจะติดตั้งเหลือเพียง 3 แถวในกึ่งกลางถนนและด้านข้างทั้ง 2 ด้าน
เชื่อว่าหากผู้ใช้รถใช้ถนนได้ขับขี่รถตามกฎจราจรคาดว่าอุบัติเหตุจะลดลงอย่างแน่นอน ในส่วนของโค้งบ้านควนกะไหลนั้น ในช่วงปี 2554 ได้เกิดเหตุการณ์รถแหกโค้งเข้าชนกับบ้านเรือนของชาวบ้านหลายครั้ง ทำให้ชาวบ้านรู้สึกไม่ปลอดภัย จึงได้รวมตัวกันปิดถนน และให้ปิดช่องทางเดินรถด้านซ้ายตลอดความยาว 400 เมตร นี้เมื่ออุบัติเหตุลดลง และชาวบ้านในพื้นที่เกิดความเชื่อมั่นในความปลอดภัยก็จะขอคืนพื้นผิวจราจรให้ผู้ใช้รถใช้ถนนต่อไป และเส้นทางสายนี้มีข้อจำกัดในเรื่องของเขตทาง ซึ่งจะมีปัญหาในการขยายถนน และการปรับเปลี่ยนเส้นทางถนนเพราะจะมีปัญหาในเรื่องของการเวนคืนที่ดินในเกือบทุกจุด
ด้าน นายธนขวัญ ปิ่นทอง กล่าวว่า สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา เห็นด้วยต่อมาตรการในการลดการเกิดอุบัติเหตุในจุดเสี่ยงของสำนักงานแขวงทางหลวงพังงา เพราะขณะนี้ จังหวัดพังงามีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนโดยเฉพาะจุดเสี่ยงในปี 2557 ประมาณ 60 ราย ปี 2558 ลดลงเหลือ 50 ราย และได้ตั้งเป้าหมายลดลงให้เหลือ 10 รายต่อประชากร 1 แสนคน หรือลดลงให้เหลือปีละ 26 ราย ในปี 2564 จึงอยากจะฝากถึงผู้ใช้รถใช้ถนนว่า มาตรการการชะลอความเร็วเพื่อลดอุบัติเหตุอาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคยของประชาชน ก็ขอให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ส่วนการทดลองตรวจจับความเร็วในจุดเสี่ยงวันนี้พบว่าส่วนใหญ่ใช้ความเร็วมากกว่าป้ายเตือนชะลอความเร็ว
ด้าน นายสมศักดิ์ แก้วจินดา เจ้าหน้าที่สื่อสารศูนย์นเรนทรพังงา เปิดเผยว่า ตนเองได้ร่วมกับกลุ่มผู้ใช้รถใช้ถนนที่ไม่เห็นด้วยต่อมาตรการชะลอความเร็วในพื้นที่จุดเสี่ยงของแขวงทางหลวงพังงาในครั้งนี้ เพราะมองว่าจะเป็นการเพิ่มอุบัติเหตุให้มากขึ้นกว่าเดิม พร้อมกับเรียกร้องให้แขวงทางหลวงพังงาถอนการติดตั้งสันชะลอความเร็ว และหมุดสะท้อนแสงออกไปโดยเร็ว และให้แก้ไขโดยการเพิ่มแสงสว่างในจุดเสี่ยง พร้อมกับตีเส้นจราจรใช้ชัดเจน และให้ปรับปรุงผิวจราจรใหม่ในจุดเสี่ยงทั้งหมด