คลิกที่นี่เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.นักศึกษา-ทายาท แจ้งความ “หมุดคณะราษฎร” หายจากลานพระรูป ด้าน “บิ๊กตู่” ปรามอย่าทำให้เป็นประเด็น ให้ฝ่ายความมั่นคงสืบสวนแล้ว!
เมื่อวันที่ 16 เม.ย. นายพริษฐ์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อายุ 30 ปี พนักงานราชการแห่งหนึ่ง และเป็นหลานชายของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ 1 ในคณะราษฎร พร้อมด้วยนิสิตนักศึกษาอีก 3 คน ได้เข้าพบตำรวจ สน.ดุสิต เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานและให้ช่วยติดตามหมุดคณะราษฎร สัญลักษณ์เหตุการณ์อภิวัฒน์สยาม 2475 ที่อยู่บริเวณลานหน้าพระบรมรูปทรงม้าที่หายไป นายพริษฐ์ กล่าวว่า หมุดนั้นเป็นสิ่งที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ได้มีการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
วันเดียวกัน นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กกรณีหมุดคณะราษฎรถูกเปลี่ยนหายไปจากที่เดิมว่า หมุดของคณะราษฎรเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการอภิวัฒน์สยาม เมื่อ 24 มิ.ย.2475 การที่มีบุคคลถอดหมุดของคณะราษฎรออก สะท้อนว่าต้องการลบประวัติศาสตร์ที่คณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และว่า สถานที่ฝังหมุดคณะราษฎรแวดล้อมด้วยสถานที่ราชการด้านความมั่นคง ได้แก่ กองทัพภาคที่ 1 กองบัญชาการตำรวจนครบาล และทำเนียบรัฐบาล มีเจ้าหน้าที่รักษาการณ์ตลอดเวลา การถอดและเปลี่ยนหมุดจึงไม่อาจทำได้ หากภาครัฐไม่รู้เห็นด้วย
ด้าน นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) มองเช่นกันว่า คนที่เปลี่ยนหมุดดังกล่าวต้องการลบประวัติศาสตร์วันที่ 24 มิ.ย.2475 ซึ่งคงไม่สามารถลบได้สำเร็จ เพราะเรื่องนี้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์โลกแล้ว
ขณะที่เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความรับผิดชอบต่อภารกิจในการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยและปกปักรักษาสมบัติสาธารณะ พร้อมชวนให้พี่น้องประชาชนร่วมกันเรียกร้องให้นำหมุดดังกล่าวไปติดตั้งดังเดิม
ด้าน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีมีผู้แจ้งความเรื่องหมุดดังกล่าวว่า ต้องถามว่าหมุดดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของตนหรือของบุคคลใด และเป็นผู้เสียหายหรือไม่ จึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ และว่า บริเวณดังกล่าวเป็นสถานที่ของตนเองหรือไม่ จึงนำหมุดดังกล่าวไปวางไว้ “ฝากเตือนกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องเรื่องนี้ ให้เลี่ยงแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในบริเวณพื้นที่ลานพระราชวังดุสิต เพราะอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.และ พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะได้”
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.กล่าวหลังประชุม ครม.เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ถึงเรื่องหมุดคณะราษฎรว่า ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ติดตามสืบสวนสอบสวน และว่า ไม่อยากให้เรื่องนี้เป็นประเด็น “เราเองเป็นประชาธิปไตยมากว่า 80 ปีแล้ว ผมเองก็ยืนยันว่า ผมก็เป็นประชาธิปไตย ดังนั้นก็อยู่ที่ใจของพวกเราทุกคนว่า เราจะเดินหน้าประเทศไทยกันอย่างไรมากกว่า ที่เหลือก็เป็นเรื่องของกระบวนการสืบสวนสอบสวนที่ต้องว่ากันไป ถ้าพูดกันไปมา ก็ไม่มีวันจบ ก็ขอให้ดำเนินการไปตามขั้นตอน”
ด้าน พ.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.ยืนยันว่า ไม่รู้เรื่องการเปลี่ยนหมุดคณะราษฎร และไม่ได้เป็นผู้สั่งให้เปลี่ยน และว่า ตนเกิดไม่ทันปี 2475 จึงตอบไม่ได้ว่าหมุดหายไปไหน
ทั้งนี้ เมื่อคืนวันที่ 18 เม.ย. เพจเฟซบุ๊ก กลุ่มเผยแพร่กรมศิลปากร ได้เผยแพร่ข้อความเกี่ยวกับการตีความหมุดคณะราษฎรที่หายไปว่า กรมศิลปากรพิจารณาแล้วเห็นว่า หมุดคณะราษฎร ไม่ใช่โบราณวัตถุตามนัยของ พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 เนื่องจากหมุดคณะราษฎรเป็นวัตถุที่พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ได้นำมาติดตั้งไว้เมื่อปี พ.ศ.2479 เป็นเวลา 4 ปีภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ดังนั้นหมุดคณะราษฎรจึงมิใช่สังหาริมทรัพย์ที่เป็นประโยชน์ในทางประวัติศาสตร์ เพราะหมุดดังกล่าวมีลักษณะเป็นเพียงเครื่องหมายระบุตำแหน่งที่เคยมีการประกาศแถลงการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากมีผู้เข้าไปแสดงความเห็นคัดค้านการตีความดังกล่าว เพจดังกล่าวจึงได้ลบข้อความการตีความเกี่ยวกับหมุดคณะราษฎรออก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ได้มีนิสิตนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ เช่น นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์สภาพันธ์ เข้าแจ้งความกับตำรวจ สน.ดุสิต เมื่อวันที่ 19 เม.ย.กรณีหมุดคณะราษฎรหาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดตามคนร้ายมาดำเนินคดี จากนั้นได้เดินทางไปยังศาลาว่าการ กทม.เพื่อขอดูกล้องโทรทัศน์วงจรปิด(ซีซีทีวี) บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าเพื่อดูว่าหมุดคณะราษฎรหายไปได้อย่างไร ก่อนจะได้คำตอบจาก กทม.ว่า กทม.ได้ปรับปรุงสัญญาณไฟจราจรบริเวณโดยรอบลานพระบรมรูปทรงม้าเมื่อวันที่ 31 มี.ค. ซึ่งกล้องซีซีทีวีจะผูกติดกับสัญญาณไฟจราจรและไม่สามารถใช้การได้ตั้งแต่วันดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน
วันเดียวกัน(19 เม.ย.) พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผยว่า ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(ปอท.) ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีนายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย ฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กรณีโพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กระบุว่าหมุดคณะราษฎรเป็นโบราณวัตถุ และให้คนไทยเรียกร้องทวงคืน ซึ่งเป็นข้อความเท็จ ทำให้ประชาชนบางส่วนเข้าใจผิด ออกมาเคลื่อนไหว อาจเข้าข่ายยุยงปลุกปั่นด้วย คาดว่าจะมีการออกหมายเรียกนายวัฒนามารับทราบข้อกล่าวหาเร็วๆ นี้
ด้านนายวัฒนา รีบเข้ารับทราบข้อกล่าวหาจาก ปอท.ในวันต่อมา(20 เม.ย.) ก่อนยืนยันว่า ตนแสดงความคิดเห็นทางกฎหมาย และจะส่งคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรต่อพนักงานสอบสวนภายใน 30 วัน นายวัฒนายังขู่ด้วยว่า หากส่งคำให้การแล้ว ยังมีการดำเนินคดีตน จะพิจารณาฟ้องกลับทันที
2.ประชาชนเตรียมควักกระเป๋าเพิ่ม หลัง กกพ.ไฟเขียวขึ้นค่าเอฟทีงวด พ.ค.-ส.ค.นี้ 12.52 สต. ด้านนายก ส.อาหารแช่แข็งวอน รบ.ทบทวน!
เมื่อวันที่ 19 เม.ย. นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เผยว่า คณะกรรมการ กกพ.ได้พิจารณาปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟฟ้างวดเดือน พ.ค.-ส.ค.2560 เพิ่มขึ้น 12.52 สตางค์ต่อหน่วย เฉลี่ยผู้ใช้ไฟฟ้าต้องจ่ายที่ 3.5079 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากเดิม 3.3827 บาทต่อหน่วย ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นค่าไฟครั้งแรกในรอบ 2 ปี 7 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ย.2557 "จากการคำนวณค่าเอฟทีงวดนี้จริงๆ จะต้องขึ้น 17.83 สตางค์ต่อหน่วย แต่ กกพ.ได้บริหารจัดการเพื่อไม่ให้มีความผันผวน ด้วยการปรับลดค่าเชื้อเพลิงในช่วงที่แหล่งก๊าซยาดานา เมียนมา หยุดซ่อมเมื่อ 25 มี.ค. - 2 เม.ย.ที่ผ่านมา รวมทั้งนำเงินค่าปรับและค่าชดเชยต่างๆ ที่ได้รับจากการบริหารสัญญาจัดหาเชื้อเพลิงและสัญญาซื้อไฟฟ้าต่างๆ ไม่เป็นไปตามแผนราว 3,000 กว่าล้านบาทมาลด ได้อีก 4.26 สตางค์ต่อหน่วย"
นายวีระพล กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ค่าไฟงวดนี้ปรับขึ้น มาจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าปรับราคาสูงขึ้นมาอยู่ที่ 244.58 บาทต่อล้านบีทียู นอกจากนี้ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค.60 เท่ากับ 68,198 ล้านหน่วย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ 5,853 ล้านหน่วย คิดเป็น 9.39% รวมทั้งราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้น 0.09 บาทต่อลิตร และว่า แนวโน้มค่าเอฟทีงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.60 ถัดไป ยังคงมีทิศทางปรับขึ้นอีก เนื่องจากปัจจัยสำคัญคือราคาก๊าซธรรมชาติยังคงเป็นขาขึ้น เพราะราคาก๊าซจะสะท้อนราคาน้ำมันเตาย้อนหลัง 8-12 เดือน ซึ่งในช่วงนี้น้ำมันเป็นช่วงราคาที่ปรับขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนี้
นายวีระพล กล่าวด้วยว่า "ค่าเอฟทีดังกล่าว หากคำนวณผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟประเภทบ้านที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ราว 26.17 ล้านครัวเรือนนั้น พบว่า จะมีค่าใช้จ่ายขึ้นไม่มากนัก โดยครัวเรือนที่ใช้ไฟต่ำกว่า 150 หน่วยต่อเดือน จะต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 4 บาท ส่วนบ้านที่ใช้ไฟเกิน 150 หน่วยต่อเดือนขึ้นไป จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 16.50 บาท"
ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย วอนให้รัฐบาลทบทวนการขึ้นค่าไฟฟ้า เพราะค่าไฟฟ้าเป็นปัจจัยหลักในต้นทุนการผลิตสินค้าทุกอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก เมื่อค่าไฟฟ้าปรับขึ้น ย่อมส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับขึ้นตาม ประกอบกับต้นปีมีการปรับขึ้นค่าแรงงานด้วย และค่าเงินบาทขณะนี้ถือว่าแข็งค่ากว่าเงินของประเทศคู่แข่งหลายประเทศ ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก และทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง
ขณะที่นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มองว่า กลุ่มที่น่าห่วงมากที่สุดจากการขึ้นค่าไฟฟ้าคือ ประชาชน เพราะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขณะที่รายได้คงที่ ขณะที่บางกลุ่มบางอาชีพมีรายได้ลดลง และอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการบริโภคได้ ดังนั้น ต้องติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด
3.ศาลฎีกา พิพากษายืนจำคุก “กี้ร์ อริสมันต์” 12 เดือน ไม่รอลงอาญา คดีปราศรัยหมิ่น “อภิสิทธิ์” !
เมื่อวันที่ 21 เม.ย. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง อดีตแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 11 ต.ค. และ 17 ต.ค. 2552 จำเลยได้ปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านช่องพีเพิลแชนแนล กล่าวหานายอภิสิทธิ์ โจทก์ ทำนองว่า การบริหารงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์กู้ยืมเงินมาเพื่อทุจริตคดโกง มีการหยิบยกเรื่องสถาบันฯ มากล่าวอ้าง และกล่าวหาว่าเป็นผู้หน่วงเหนี่ยวคำร้องฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทำให้ล่าช้า รวมถึงสั่งทหารฆ่าประชาชน ปล้นอำนาจจากประชาชน และไม่ดำเนินการตรวจสอบการทุจริตในโครงการต่างๆ
ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกนายอริสมันต์ รวม 2 กระทงๆ ละ 6 เดือน รวมจำคุก 12 เดือน แต่การกระทำนั้นมีเหตุการณ์ที่กล่าวพาดพิงสถาบันเบื้องสูงด้วย ศาลจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ และให้จำเลยลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์มติชน และเดลินิวส์ ติดต่อกัน 7 วัน โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา ซึ่งนายอริสมันต์ ได้ยื่นฎีกาสู้คดี
ทั้งนี้ ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ถ้อยคำปราศรัยของจำเลยได้กล่าวถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโดยตรง มีคำปราศรัยว่าโจทก์จิตใจเลวทรามต่ำช้า ซึ่งไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เป็นการใส่ความโจทก์โดยนำสถาบันเบื้องสูงมาเกี่ยวข้อง ทั้งยังเป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ยิ่งกว่าถูกใส่ความอย่างอื่น ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่รอลงอาญานั้น ศาลฎีกาเห็นว่าเหมาะสมแล้ว ฎีกาสู้คดีของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ด้านนายศุชัยวุธ ชาวสวนกล้วย ทนายความของนายอริสมันต์ให้สัมภาษณ์ว่า คดีปราศรัยหมิ่นนายอภิสิทธิ์นี้ ศาลจังหวัดพัทยาได้อ่านผลคำพิพากษาให้นายอริสมันต์รับทราบแล้วตั้งแต่ก่อนสงกรานต์ ขณะนี้เจ้าตัวถูกคุมขังที่เรือนจำพัทยา เนื่องจากยังไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการยื่นฎีกาสู้คดีนำผู้ชุมนุมบุกโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา จ.ชลบุรี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาจำคุก 4 ปี ซึ่งนายอริสมันต์จะต้องรับโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมิ่นประมาทนายอภิสิทธิ์ ด้วย
4.ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ลดค่าสินไหมที่เหยื่อจะได้จาก “แพรวา” กรณีซิ่งซีวิคชนรถตู้ดับ 9 ศพ จาก 30 ล้าน เหลือ 19 ล้านเศษ!
เมื่อวันที่ 19 เม.ย. ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่กลุ่มญาติผู้เสียชีวิต และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ น.ส.แพรวา หรือ อรชร (นามสมมติ) ขับรถยนต์ซีวิค เฉี่ยวชนรถตู้โดยสารพลิกคว่ำ เมื่อคืนวันที่ 27 ธ.ค. 2553 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.แพรวา รวมถึง พ.อ.รัฐชัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา, นางนิลุบล อรุณวงศ์ บิดาและมารดา ของเยาวชน, นายสุพิรัฐ จ้าววัฒนา ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ซีวิค, นายสันฐิติ วรพันธ์, น.ส.วิชชุตา วรขจิต และบริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลย 1-7 เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 54 เรื่องกระทำละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 113,077,510.22 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 โดยเห็นว่า น.ส.แพรวา กระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมถึงทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งเป็นการกระทำละเมิด จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และเมื่อรับฟังได้ว่า น.ส.แพรวา จำเลยที่ 1 กระทำผิด บิดาและมารดา ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 และ 3 ก็ไม่ได้นำสืบถึงความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย พิพากษาให้ น.ส.แพรวา บิดา และมารดาของ น.ส.แพรวา ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ประกอบด้วย ค่าไร้อุปการะ และค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าอื่นๆ ให้กับโจทก์ร่วม รวม 28 คน ซึ่งเป็นครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บแต่ละคน ในจำนวนเงินแตกต่างกัน ตั้งแต่คนละ 4,000 -1,800,000 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 30 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี ต่อมาโจทก์ที่ 5, 11 และจำเลย 1-3 ยื่นอุทธรณ์
ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์จากคำเบิกความของพยานหลักฐานเห็นได้ว่า พฤติการณ์กระทำละเมิดไม่ได้เกิดจากจำเลยที่ 1 เพียงฝ่ายเดียว พฤติการณ์การขับรถของนางนฤมล ปิตาทานัง ผู้ขับรถตู้ที่ได้ขับด้วยความเร็วสูง ซึ่งเป็นการประมาทเช่นเดียวกัน เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังนี้ การเรียกค่าเสียหายจากค่าขาดไร้อุปการะจำเลยที่ 1-3 ที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินควร ตามที่จำเลยที่ 1-3 อุทธรณ์นั้นก็ได้ความว่า นางนฤมล ขับรถตู้ด้วยความเร็วสูง แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้หมายความว่า นางนฤมล ขับตัดหน้า หรือขับเสียหลักชนรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ เพราะหากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงเพื่อแซงคนขับรถตู้โดยสาร ก็จะไม่เกิดการเฉี่ยวชนกัน จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงมากกว่านางนฤมล กรณีไม่ใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1 หรือนางนฤมล มีความประมาทเลินเล่อไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ตามที่จำเลยที่ 1-3 อุทธรณ์
และเมื่อพิจารณาค่าขาดไร้อุปการะตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์แต่ละราย เห็นว่าเป็นอัตราที่เหมาะสมแล้ว แต่เมื่อฟังว่า นางนฤมล มีส่วนประมาทอยู่บ้าง ย่อมถือว่ามีส่วนทำผิด ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย แต่ไม่ได้เป็นผลโดยตรง ค่าสินไหมทดแทนที่ต้องชดใช้จึงต้องพิจารณาลดหย่อนตามพฤติการณ์ เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1-3 รับผิดชอบค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์แต่ละราย 4 ใน 5 ส่วน
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1-3 ร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1-5, 9-19, 21-22, 25-28 รวมเป็นเงิน 19,826,925 บาท โดยมีจำนวนเงินตั้งแต่ 80,000-1,440,000 บาท และให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1-3 ต่อโจทก์ที่ 5 และที่ 11 ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
สำหรับคดีอาญาที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเยาวชน และครอบครัว 1 ยื่นฟ้อง น.ส.แพรวา อายุ 17 ปี (ขณะเกิดเหตุ) ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท จนเป็นเหตุในผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส และถึงแก่ความตาย และทรัพย์สินเสียหายนั้น คดีได้ถึงที่สุดแล้ว ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำคุก น.ส.แพรวา 3 ปี แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 4 ปี บำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมงต่อปี และห้ามขับรถจนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปี ซึ่ง น.ส.แพรวา ได้ยื่นฎีกาสู้คดี แต่ศาลไม่รับฎีกา จึงทำให้คดีสิ้นสุดตามคำพิพากษาดังกล่าว
ด้านนางทองพูล พานทอง มารดาของนางนฤมล คนขับรถตู้ ซึ่งเป็น 1 ในโจทก์ร่วม กล่าวว่า ในส่วนของลูกสาวตนที่ศาลอุทธรณ์มองว่ามีความผิดฐานขับรถเร็วด้วย ส่วนเงินค่าเสียหายเดิมนั้น ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายแก่ตนประมาณ 150,000 บาท แต่พอมาถึงชั้นอุทธรณ์ศาลพิพากษาแก้ค่าเสียหายให้ตนเหลือ 120,000 บาท ซึ่งลดจำนวนเงิน รวมถึงผู้เสียหายรายอื่นด้วย ส่วนเรื่องจะยื่นฎีกาหรือไม่นั้น ต้องขอประชุมร่วมกับผู้เสียหายคนอื่นก่อนว่าจะมีความเห็นอย่างไร
5.สรุปสถิติ 7 วันอันตรายสงกรานต์ ดับ 390 ราย ลดลงจากปีที่แล้ว 52 ราย แต่ผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้น!
เมื่อวันที่ 18 เม.ย. นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรองประธานกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน(ศปถ.) ได้เป็นประธานแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2560 โดยสรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 11-17 เม.ย.ว่า เกิดอุบัติเหตุรวม 3,690 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 390 ราย น้อยกว่าปีที่แล้ว ที่มีผู้เสียชีวิต 442 ราย ส่วนยอดผู้บาดเจ็บปีนี้อยู่ที่ 3,808 ราย มากกว่าปีที่แล้ว ซึ่งมีผู้บาดเจ็บ 3,656 ราย สาเหตุของอุบัติเหตุเกิดจากเมาแล้วขับ รองลงมาคือ ขับรถเร็ว และขับตัดหน้ากระชั้นชิด พาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากสุดคือ รถจักรยานยนต์ รองลงมาคือ รถปิกอัพ พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เสียชีวิตและบาดเจ็บคือ ไม่สวมหมวกนิรภัย รองลงมาคือ เมาแล้วขับ ขับรถเร็ว ตัดหน้ากระชั้นชิด
สำหรับจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด คือ นครราชสีมา 17 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตมี 4 จังหวัด คือ กระบี่ นราธิวาส แม่ฮ่องสอน และสมุทรสงคราม ส่วนจังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บเลย มีจังหวัดเดียว คือ ชัยภูมิ
นายกฤษฎา กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตในปีนี้ น้อยกว่าปี 2559 ถึงร้อยละ 20 แต่จำนวนอุบัติเหตุยังสูง และผู้ได้รับบาดเจ็บมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุราร้อยละ 47 รองลงมาคือการไม่ปฏิบัติตามกฏจราจร โดยอุบัติเหตุส่วนใหญ่ยังเกิดจากรถจักรยานยนต์กว่าร้อยละ 60 ขณะที่รถยนต์ส่วนบุคคลเกิดอุบัติเหตุมากกว่ารถสาธารณะ
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้มีโอกาสถาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ว่า พอใจสถิติตัวเลขผู้เสียชีวิตช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ลดลงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ตอบด้วยสีหน้าเคร่งเครียดว่า “ไม่พอใจ เพราะยังมีคนตายอยู่”
ด้านนายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหากรณี พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 บังคับห้ามนั่งโดยสารบริเวณกระบะท้ายและแค็บรถกระบะว่า ได้เข้าพบนายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อหารือเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 เม.ย. นายพิชิตแจ้งว่า ขณะนี้ผู้บริหารระดับนโยบายในรัฐบาลทุกหน่วยงานมีความเห็นตรงกันแล้วว่า จำเป็นจะต้องผ่อนผันและผ่อนคลายกฏจราจร เพื่อให้การใช้รถสอดคล้องกับการประกอบอาชีพและวิถีชีวิตของคนไทย เบื้องต้นกระทรวงคมนาคมจะเสนอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายจราจร ออกข้อบังคับผ่อนผันเรื่องการบรรทุก ซึ่งตามกฎหมายให้อำนาจพนักงานจราจรสามารถออกข้อบังคับและประกาศบังคับใช้ได้ทันที
ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเรื่องการผ่อนปรนข้อกำหนดการโดยสารรถกระบะเมื่อวันที่ 21 เม.ย. โดยมีตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กรมสรรพสามิต กรมการขนส่งทางบก เข้าหารือ หลังหารือ นายวิษณุเผยว่า มาตรการที่จะกำหนดจากนี้ให้คำนึงถึง 2 ประเด็นหลัก คือ ความปลอดภัยควบคู่ไปกับความสะดวกของประชาชน โดยให้โจทย์แต่ละหน่วยงานกลับไปพิจารณาหามาตรการด้วยความรอบรอบ ซึ่งมีมาตรการที่พบว่าสามารถทำได้ โดยไม่ใช่การแก้ไข พ.ร.บ. รถยนต์ หรือใช้คำสั่งตามมาตรา 44 เพิ่ม แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียดในขณะนี้ และว่า คำสั่งหัวหน้า คสช. ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายจราจรของรถยนต์ส่วนบุคคล และรถสาธารณะ ที่ยังมีข้อห้ามนั่งท้ายกระบะเกินจำนวน ยังมีผลอยู่ อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนสบายใจได้ว่า รัฐจะดูแลความปลอดภัยและความสะดวกของประชาชน โดยไม่ทำให้เป็นภาระกับประชาชน หรือเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่กดขี่ข่มเหง หรือเจ้าหน้าที่เกิดความลำบากใจในการปฏิบัติหน้าที่
1.นักศึกษา-ทายาท แจ้งความ “หมุดคณะราษฎร” หายจากลานพระรูป ด้าน “บิ๊กตู่” ปรามอย่าทำให้เป็นประเด็น ให้ฝ่ายความมั่นคงสืบสวนแล้ว!
เมื่อวันที่ 16 เม.ย. นายพริษฐ์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อายุ 30 ปี พนักงานราชการแห่งหนึ่ง และเป็นหลานชายของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ 1 ในคณะราษฎร พร้อมด้วยนิสิตนักศึกษาอีก 3 คน ได้เข้าพบตำรวจ สน.ดุสิต เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานและให้ช่วยติดตามหมุดคณะราษฎร สัญลักษณ์เหตุการณ์อภิวัฒน์สยาม 2475 ที่อยู่บริเวณลานหน้าพระบรมรูปทรงม้าที่หายไป นายพริษฐ์ กล่าวว่า หมุดนั้นเป็นสิ่งที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ได้มีการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
วันเดียวกัน นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กกรณีหมุดคณะราษฎรถูกเปลี่ยนหายไปจากที่เดิมว่า หมุดของคณะราษฎรเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการอภิวัฒน์สยาม เมื่อ 24 มิ.ย.2475 การที่มีบุคคลถอดหมุดของคณะราษฎรออก สะท้อนว่าต้องการลบประวัติศาสตร์ที่คณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และว่า สถานที่ฝังหมุดคณะราษฎรแวดล้อมด้วยสถานที่ราชการด้านความมั่นคง ได้แก่ กองทัพภาคที่ 1 กองบัญชาการตำรวจนครบาล และทำเนียบรัฐบาล มีเจ้าหน้าที่รักษาการณ์ตลอดเวลา การถอดและเปลี่ยนหมุดจึงไม่อาจทำได้ หากภาครัฐไม่รู้เห็นด้วย
ด้าน นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) มองเช่นกันว่า คนที่เปลี่ยนหมุดดังกล่าวต้องการลบประวัติศาสตร์วันที่ 24 มิ.ย.2475 ซึ่งคงไม่สามารถลบได้สำเร็จ เพราะเรื่องนี้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์โลกแล้ว
ขณะที่เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความรับผิดชอบต่อภารกิจในการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยและปกปักรักษาสมบัติสาธารณะ พร้อมชวนให้พี่น้องประชาชนร่วมกันเรียกร้องให้นำหมุดดังกล่าวไปติดตั้งดังเดิม
ด้าน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีมีผู้แจ้งความเรื่องหมุดดังกล่าวว่า ต้องถามว่าหมุดดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของตนหรือของบุคคลใด และเป็นผู้เสียหายหรือไม่ จึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ และว่า บริเวณดังกล่าวเป็นสถานที่ของตนเองหรือไม่ จึงนำหมุดดังกล่าวไปวางไว้ “ฝากเตือนกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องเรื่องนี้ ให้เลี่ยงแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในบริเวณพื้นที่ลานพระราชวังดุสิต เพราะอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.และ พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะได้”
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.กล่าวหลังประชุม ครม.เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ถึงเรื่องหมุดคณะราษฎรว่า ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ติดตามสืบสวนสอบสวน และว่า ไม่อยากให้เรื่องนี้เป็นประเด็น “เราเองเป็นประชาธิปไตยมากว่า 80 ปีแล้ว ผมเองก็ยืนยันว่า ผมก็เป็นประชาธิปไตย ดังนั้นก็อยู่ที่ใจของพวกเราทุกคนว่า เราจะเดินหน้าประเทศไทยกันอย่างไรมากกว่า ที่เหลือก็เป็นเรื่องของกระบวนการสืบสวนสอบสวนที่ต้องว่ากันไป ถ้าพูดกันไปมา ก็ไม่มีวันจบ ก็ขอให้ดำเนินการไปตามขั้นตอน”
ด้าน พ.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.ยืนยันว่า ไม่รู้เรื่องการเปลี่ยนหมุดคณะราษฎร และไม่ได้เป็นผู้สั่งให้เปลี่ยน และว่า ตนเกิดไม่ทันปี 2475 จึงตอบไม่ได้ว่าหมุดหายไปไหน
ทั้งนี้ เมื่อคืนวันที่ 18 เม.ย. เพจเฟซบุ๊ก กลุ่มเผยแพร่กรมศิลปากร ได้เผยแพร่ข้อความเกี่ยวกับการตีความหมุดคณะราษฎรที่หายไปว่า กรมศิลปากรพิจารณาแล้วเห็นว่า หมุดคณะราษฎร ไม่ใช่โบราณวัตถุตามนัยของ พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 เนื่องจากหมุดคณะราษฎรเป็นวัตถุที่พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ได้นำมาติดตั้งไว้เมื่อปี พ.ศ.2479 เป็นเวลา 4 ปีภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ดังนั้นหมุดคณะราษฎรจึงมิใช่สังหาริมทรัพย์ที่เป็นประโยชน์ในทางประวัติศาสตร์ เพราะหมุดดังกล่าวมีลักษณะเป็นเพียงเครื่องหมายระบุตำแหน่งที่เคยมีการประกาศแถลงการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากมีผู้เข้าไปแสดงความเห็นคัดค้านการตีความดังกล่าว เพจดังกล่าวจึงได้ลบข้อความการตีความเกี่ยวกับหมุดคณะราษฎรออก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ได้มีนิสิตนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ เช่น นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์สภาพันธ์ เข้าแจ้งความกับตำรวจ สน.ดุสิต เมื่อวันที่ 19 เม.ย.กรณีหมุดคณะราษฎรหาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดตามคนร้ายมาดำเนินคดี จากนั้นได้เดินทางไปยังศาลาว่าการ กทม.เพื่อขอดูกล้องโทรทัศน์วงจรปิด(ซีซีทีวี) บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าเพื่อดูว่าหมุดคณะราษฎรหายไปได้อย่างไร ก่อนจะได้คำตอบจาก กทม.ว่า กทม.ได้ปรับปรุงสัญญาณไฟจราจรบริเวณโดยรอบลานพระบรมรูปทรงม้าเมื่อวันที่ 31 มี.ค. ซึ่งกล้องซีซีทีวีจะผูกติดกับสัญญาณไฟจราจรและไม่สามารถใช้การได้ตั้งแต่วันดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน
วันเดียวกัน(19 เม.ย.) พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผยว่า ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(ปอท.) ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีนายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย ฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กรณีโพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กระบุว่าหมุดคณะราษฎรเป็นโบราณวัตถุ และให้คนไทยเรียกร้องทวงคืน ซึ่งเป็นข้อความเท็จ ทำให้ประชาชนบางส่วนเข้าใจผิด ออกมาเคลื่อนไหว อาจเข้าข่ายยุยงปลุกปั่นด้วย คาดว่าจะมีการออกหมายเรียกนายวัฒนามารับทราบข้อกล่าวหาเร็วๆ นี้
ด้านนายวัฒนา รีบเข้ารับทราบข้อกล่าวหาจาก ปอท.ในวันต่อมา(20 เม.ย.) ก่อนยืนยันว่า ตนแสดงความคิดเห็นทางกฎหมาย และจะส่งคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรต่อพนักงานสอบสวนภายใน 30 วัน นายวัฒนายังขู่ด้วยว่า หากส่งคำให้การแล้ว ยังมีการดำเนินคดีตน จะพิจารณาฟ้องกลับทันที
2.ประชาชนเตรียมควักกระเป๋าเพิ่ม หลัง กกพ.ไฟเขียวขึ้นค่าเอฟทีงวด พ.ค.-ส.ค.นี้ 12.52 สต. ด้านนายก ส.อาหารแช่แข็งวอน รบ.ทบทวน!
เมื่อวันที่ 19 เม.ย. นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เผยว่า คณะกรรมการ กกพ.ได้พิจารณาปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟฟ้างวดเดือน พ.ค.-ส.ค.2560 เพิ่มขึ้น 12.52 สตางค์ต่อหน่วย เฉลี่ยผู้ใช้ไฟฟ้าต้องจ่ายที่ 3.5079 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากเดิม 3.3827 บาทต่อหน่วย ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นค่าไฟครั้งแรกในรอบ 2 ปี 7 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ย.2557 "จากการคำนวณค่าเอฟทีงวดนี้จริงๆ จะต้องขึ้น 17.83 สตางค์ต่อหน่วย แต่ กกพ.ได้บริหารจัดการเพื่อไม่ให้มีความผันผวน ด้วยการปรับลดค่าเชื้อเพลิงในช่วงที่แหล่งก๊าซยาดานา เมียนมา หยุดซ่อมเมื่อ 25 มี.ค. - 2 เม.ย.ที่ผ่านมา รวมทั้งนำเงินค่าปรับและค่าชดเชยต่างๆ ที่ได้รับจากการบริหารสัญญาจัดหาเชื้อเพลิงและสัญญาซื้อไฟฟ้าต่างๆ ไม่เป็นไปตามแผนราว 3,000 กว่าล้านบาทมาลด ได้อีก 4.26 สตางค์ต่อหน่วย"
นายวีระพล กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ค่าไฟงวดนี้ปรับขึ้น มาจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าปรับราคาสูงขึ้นมาอยู่ที่ 244.58 บาทต่อล้านบีทียู นอกจากนี้ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค.60 เท่ากับ 68,198 ล้านหน่วย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ 5,853 ล้านหน่วย คิดเป็น 9.39% รวมทั้งราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้น 0.09 บาทต่อลิตร และว่า แนวโน้มค่าเอฟทีงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.60 ถัดไป ยังคงมีทิศทางปรับขึ้นอีก เนื่องจากปัจจัยสำคัญคือราคาก๊าซธรรมชาติยังคงเป็นขาขึ้น เพราะราคาก๊าซจะสะท้อนราคาน้ำมันเตาย้อนหลัง 8-12 เดือน ซึ่งในช่วงนี้น้ำมันเป็นช่วงราคาที่ปรับขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนี้
นายวีระพล กล่าวด้วยว่า "ค่าเอฟทีดังกล่าว หากคำนวณผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟประเภทบ้านที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ราว 26.17 ล้านครัวเรือนนั้น พบว่า จะมีค่าใช้จ่ายขึ้นไม่มากนัก โดยครัวเรือนที่ใช้ไฟต่ำกว่า 150 หน่วยต่อเดือน จะต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 4 บาท ส่วนบ้านที่ใช้ไฟเกิน 150 หน่วยต่อเดือนขึ้นไป จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 16.50 บาท"
ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย วอนให้รัฐบาลทบทวนการขึ้นค่าไฟฟ้า เพราะค่าไฟฟ้าเป็นปัจจัยหลักในต้นทุนการผลิตสินค้าทุกอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก เมื่อค่าไฟฟ้าปรับขึ้น ย่อมส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับขึ้นตาม ประกอบกับต้นปีมีการปรับขึ้นค่าแรงงานด้วย และค่าเงินบาทขณะนี้ถือว่าแข็งค่ากว่าเงินของประเทศคู่แข่งหลายประเทศ ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก และทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง
ขณะที่นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มองว่า กลุ่มที่น่าห่วงมากที่สุดจากการขึ้นค่าไฟฟ้าคือ ประชาชน เพราะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขณะที่รายได้คงที่ ขณะที่บางกลุ่มบางอาชีพมีรายได้ลดลง และอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการบริโภคได้ ดังนั้น ต้องติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด
3.ศาลฎีกา พิพากษายืนจำคุก “กี้ร์ อริสมันต์” 12 เดือน ไม่รอลงอาญา คดีปราศรัยหมิ่น “อภิสิทธิ์” !
เมื่อวันที่ 21 เม.ย. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง อดีตแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 11 ต.ค. และ 17 ต.ค. 2552 จำเลยได้ปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านช่องพีเพิลแชนแนล กล่าวหานายอภิสิทธิ์ โจทก์ ทำนองว่า การบริหารงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์กู้ยืมเงินมาเพื่อทุจริตคดโกง มีการหยิบยกเรื่องสถาบันฯ มากล่าวอ้าง และกล่าวหาว่าเป็นผู้หน่วงเหนี่ยวคำร้องฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทำให้ล่าช้า รวมถึงสั่งทหารฆ่าประชาชน ปล้นอำนาจจากประชาชน และไม่ดำเนินการตรวจสอบการทุจริตในโครงการต่างๆ
ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกนายอริสมันต์ รวม 2 กระทงๆ ละ 6 เดือน รวมจำคุก 12 เดือน แต่การกระทำนั้นมีเหตุการณ์ที่กล่าวพาดพิงสถาบันเบื้องสูงด้วย ศาลจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ และให้จำเลยลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์มติชน และเดลินิวส์ ติดต่อกัน 7 วัน โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา ซึ่งนายอริสมันต์ ได้ยื่นฎีกาสู้คดี
ทั้งนี้ ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ถ้อยคำปราศรัยของจำเลยได้กล่าวถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโดยตรง มีคำปราศรัยว่าโจทก์จิตใจเลวทรามต่ำช้า ซึ่งไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เป็นการใส่ความโจทก์โดยนำสถาบันเบื้องสูงมาเกี่ยวข้อง ทั้งยังเป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ยิ่งกว่าถูกใส่ความอย่างอื่น ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่รอลงอาญานั้น ศาลฎีกาเห็นว่าเหมาะสมแล้ว ฎีกาสู้คดีของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ด้านนายศุชัยวุธ ชาวสวนกล้วย ทนายความของนายอริสมันต์ให้สัมภาษณ์ว่า คดีปราศรัยหมิ่นนายอภิสิทธิ์นี้ ศาลจังหวัดพัทยาได้อ่านผลคำพิพากษาให้นายอริสมันต์รับทราบแล้วตั้งแต่ก่อนสงกรานต์ ขณะนี้เจ้าตัวถูกคุมขังที่เรือนจำพัทยา เนื่องจากยังไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการยื่นฎีกาสู้คดีนำผู้ชุมนุมบุกโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา จ.ชลบุรี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาจำคุก 4 ปี ซึ่งนายอริสมันต์จะต้องรับโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมิ่นประมาทนายอภิสิทธิ์ ด้วย
4.ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ลดค่าสินไหมที่เหยื่อจะได้จาก “แพรวา” กรณีซิ่งซีวิคชนรถตู้ดับ 9 ศพ จาก 30 ล้าน เหลือ 19 ล้านเศษ!
เมื่อวันที่ 19 เม.ย. ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่กลุ่มญาติผู้เสียชีวิต และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ น.ส.แพรวา หรือ อรชร (นามสมมติ) ขับรถยนต์ซีวิค เฉี่ยวชนรถตู้โดยสารพลิกคว่ำ เมื่อคืนวันที่ 27 ธ.ค. 2553 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.แพรวา รวมถึง พ.อ.รัฐชัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา, นางนิลุบล อรุณวงศ์ บิดาและมารดา ของเยาวชน, นายสุพิรัฐ จ้าววัฒนา ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ซีวิค, นายสันฐิติ วรพันธ์, น.ส.วิชชุตา วรขจิต และบริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลย 1-7 เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 54 เรื่องกระทำละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 113,077,510.22 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 โดยเห็นว่า น.ส.แพรวา กระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมถึงทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งเป็นการกระทำละเมิด จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และเมื่อรับฟังได้ว่า น.ส.แพรวา จำเลยที่ 1 กระทำผิด บิดาและมารดา ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 และ 3 ก็ไม่ได้นำสืบถึงความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย พิพากษาให้ น.ส.แพรวา บิดา และมารดาของ น.ส.แพรวา ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ประกอบด้วย ค่าไร้อุปการะ และค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าอื่นๆ ให้กับโจทก์ร่วม รวม 28 คน ซึ่งเป็นครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บแต่ละคน ในจำนวนเงินแตกต่างกัน ตั้งแต่คนละ 4,000 -1,800,000 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 30 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี ต่อมาโจทก์ที่ 5, 11 และจำเลย 1-3 ยื่นอุทธรณ์
ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์จากคำเบิกความของพยานหลักฐานเห็นได้ว่า พฤติการณ์กระทำละเมิดไม่ได้เกิดจากจำเลยที่ 1 เพียงฝ่ายเดียว พฤติการณ์การขับรถของนางนฤมล ปิตาทานัง ผู้ขับรถตู้ที่ได้ขับด้วยความเร็วสูง ซึ่งเป็นการประมาทเช่นเดียวกัน เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังนี้ การเรียกค่าเสียหายจากค่าขาดไร้อุปการะจำเลยที่ 1-3 ที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินควร ตามที่จำเลยที่ 1-3 อุทธรณ์นั้นก็ได้ความว่า นางนฤมล ขับรถตู้ด้วยความเร็วสูง แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้หมายความว่า นางนฤมล ขับตัดหน้า หรือขับเสียหลักชนรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ เพราะหากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงเพื่อแซงคนขับรถตู้โดยสาร ก็จะไม่เกิดการเฉี่ยวชนกัน จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงมากกว่านางนฤมล กรณีไม่ใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1 หรือนางนฤมล มีความประมาทเลินเล่อไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ตามที่จำเลยที่ 1-3 อุทธรณ์
และเมื่อพิจารณาค่าขาดไร้อุปการะตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์แต่ละราย เห็นว่าเป็นอัตราที่เหมาะสมแล้ว แต่เมื่อฟังว่า นางนฤมล มีส่วนประมาทอยู่บ้าง ย่อมถือว่ามีส่วนทำผิด ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย แต่ไม่ได้เป็นผลโดยตรง ค่าสินไหมทดแทนที่ต้องชดใช้จึงต้องพิจารณาลดหย่อนตามพฤติการณ์ เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1-3 รับผิดชอบค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์แต่ละราย 4 ใน 5 ส่วน
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1-3 ร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1-5, 9-19, 21-22, 25-28 รวมเป็นเงิน 19,826,925 บาท โดยมีจำนวนเงินตั้งแต่ 80,000-1,440,000 บาท และให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1-3 ต่อโจทก์ที่ 5 และที่ 11 ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
สำหรับคดีอาญาที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเยาวชน และครอบครัว 1 ยื่นฟ้อง น.ส.แพรวา อายุ 17 ปี (ขณะเกิดเหตุ) ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท จนเป็นเหตุในผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส และถึงแก่ความตาย และทรัพย์สินเสียหายนั้น คดีได้ถึงที่สุดแล้ว ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำคุก น.ส.แพรวา 3 ปี แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 4 ปี บำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมงต่อปี และห้ามขับรถจนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปี ซึ่ง น.ส.แพรวา ได้ยื่นฎีกาสู้คดี แต่ศาลไม่รับฎีกา จึงทำให้คดีสิ้นสุดตามคำพิพากษาดังกล่าว
ด้านนางทองพูล พานทอง มารดาของนางนฤมล คนขับรถตู้ ซึ่งเป็น 1 ในโจทก์ร่วม กล่าวว่า ในส่วนของลูกสาวตนที่ศาลอุทธรณ์มองว่ามีความผิดฐานขับรถเร็วด้วย ส่วนเงินค่าเสียหายเดิมนั้น ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายแก่ตนประมาณ 150,000 บาท แต่พอมาถึงชั้นอุทธรณ์ศาลพิพากษาแก้ค่าเสียหายให้ตนเหลือ 120,000 บาท ซึ่งลดจำนวนเงิน รวมถึงผู้เสียหายรายอื่นด้วย ส่วนเรื่องจะยื่นฎีกาหรือไม่นั้น ต้องขอประชุมร่วมกับผู้เสียหายคนอื่นก่อนว่าจะมีความเห็นอย่างไร
5.สรุปสถิติ 7 วันอันตรายสงกรานต์ ดับ 390 ราย ลดลงจากปีที่แล้ว 52 ราย แต่ผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้น!
เมื่อวันที่ 18 เม.ย. นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรองประธานกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน(ศปถ.) ได้เป็นประธานแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2560 โดยสรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 11-17 เม.ย.ว่า เกิดอุบัติเหตุรวม 3,690 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 390 ราย น้อยกว่าปีที่แล้ว ที่มีผู้เสียชีวิต 442 ราย ส่วนยอดผู้บาดเจ็บปีนี้อยู่ที่ 3,808 ราย มากกว่าปีที่แล้ว ซึ่งมีผู้บาดเจ็บ 3,656 ราย สาเหตุของอุบัติเหตุเกิดจากเมาแล้วขับ รองลงมาคือ ขับรถเร็ว และขับตัดหน้ากระชั้นชิด พาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากสุดคือ รถจักรยานยนต์ รองลงมาคือ รถปิกอัพ พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เสียชีวิตและบาดเจ็บคือ ไม่สวมหมวกนิรภัย รองลงมาคือ เมาแล้วขับ ขับรถเร็ว ตัดหน้ากระชั้นชิด
สำหรับจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด คือ นครราชสีมา 17 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตมี 4 จังหวัด คือ กระบี่ นราธิวาส แม่ฮ่องสอน และสมุทรสงคราม ส่วนจังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บเลย มีจังหวัดเดียว คือ ชัยภูมิ
นายกฤษฎา กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตในปีนี้ น้อยกว่าปี 2559 ถึงร้อยละ 20 แต่จำนวนอุบัติเหตุยังสูง และผู้ได้รับบาดเจ็บมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุราร้อยละ 47 รองลงมาคือการไม่ปฏิบัติตามกฏจราจร โดยอุบัติเหตุส่วนใหญ่ยังเกิดจากรถจักรยานยนต์กว่าร้อยละ 60 ขณะที่รถยนต์ส่วนบุคคลเกิดอุบัติเหตุมากกว่ารถสาธารณะ
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้มีโอกาสถาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ว่า พอใจสถิติตัวเลขผู้เสียชีวิตช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ลดลงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ตอบด้วยสีหน้าเคร่งเครียดว่า “ไม่พอใจ เพราะยังมีคนตายอยู่”
ด้านนายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหากรณี พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 บังคับห้ามนั่งโดยสารบริเวณกระบะท้ายและแค็บรถกระบะว่า ได้เข้าพบนายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อหารือเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 เม.ย. นายพิชิตแจ้งว่า ขณะนี้ผู้บริหารระดับนโยบายในรัฐบาลทุกหน่วยงานมีความเห็นตรงกันแล้วว่า จำเป็นจะต้องผ่อนผันและผ่อนคลายกฏจราจร เพื่อให้การใช้รถสอดคล้องกับการประกอบอาชีพและวิถีชีวิตของคนไทย เบื้องต้นกระทรวงคมนาคมจะเสนอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายจราจร ออกข้อบังคับผ่อนผันเรื่องการบรรทุก ซึ่งตามกฎหมายให้อำนาจพนักงานจราจรสามารถออกข้อบังคับและประกาศบังคับใช้ได้ทันที
ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเรื่องการผ่อนปรนข้อกำหนดการโดยสารรถกระบะเมื่อวันที่ 21 เม.ย. โดยมีตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กรมสรรพสามิต กรมการขนส่งทางบก เข้าหารือ หลังหารือ นายวิษณุเผยว่า มาตรการที่จะกำหนดจากนี้ให้คำนึงถึง 2 ประเด็นหลัก คือ ความปลอดภัยควบคู่ไปกับความสะดวกของประชาชน โดยให้โจทย์แต่ละหน่วยงานกลับไปพิจารณาหามาตรการด้วยความรอบรอบ ซึ่งมีมาตรการที่พบว่าสามารถทำได้ โดยไม่ใช่การแก้ไข พ.ร.บ. รถยนต์ หรือใช้คำสั่งตามมาตรา 44 เพิ่ม แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียดในขณะนี้ และว่า คำสั่งหัวหน้า คสช. ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายจราจรของรถยนต์ส่วนบุคคล และรถสาธารณะ ที่ยังมีข้อห้ามนั่งท้ายกระบะเกินจำนวน ยังมีผลอยู่ อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนสบายใจได้ว่า รัฐจะดูแลความปลอดภัยและความสะดวกของประชาชน โดยไม่ทำให้เป็นภาระกับประชาชน หรือเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่กดขี่ข่มเหง หรือเจ้าหน้าที่เกิดความลำบากใจในการปฏิบัติหน้าที่