ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กระทรวงคมนาคม ออกประกาศให้เรือสำราญ และกีฬาขนาดใหญ่ (Super Yacht) ที่ไม่ใช่เรือไทย สามารถให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศในการท่องเที่ยวทางน้ำในประเทศไทยได้แล้ว หวังส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวทางน้ำของประเทศ
นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคม ได้มีการประกาศคมนาคม เรื่อง กำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้เรือสำราญและกีฬาขนาดใหญ่ (Super Yacht) ของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทยทำการค้าในน่านน้ำไทย ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2558 เป็นต้นมา ซึ่งการออกประกาศดังกล่าวเพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวทางน้ำของประเทศไทย โดยการให้เรือสำราญ และกีฬาขนาดใหญ่ (Super Yacht) ที่มิใช่เรือไทยให้สามารถให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศในการท่องเที่ยวทางน้ำในประเทศไทยได้ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 47 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 162 ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พุทธศักราช 2515
สำหรับเงื่อนไขการอนุญาตให้เรือสำราญ และกีฬาขนาดใหญ่ของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทย ทำการค้าในน่านน้ำไทยนั้น กำหนดไว้ว่า เรือของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทย หมายถึง เรือที่มิได้เป็นเรือของบุคคลตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 เป็นเรือสำราญ และกีฬาที่มีขนาดความยาวตั้งแต่ 30 เมตรขึ้นไป บรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกิน 12 คน ซึ่งผู้ประสงค์จะนำเรือดังกล่าวเข้ามาทำการค้าในน่านน้ำไทยต้องแต่งตั้งบุคคลผู้มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือนั้น และเป็นผู้ขออนุญาตตามประกาศฉบับนี้ และในการขออนุญาตนั้นจะต้องยื่นคำขอแบบ กท.1 ณ สำนักมาตรฐานทะเบียนเรือ หรือสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา กรมเจ้าท่า โดยต้องกำหนดระยะเวลาที่ประสงค์จะนำเรือเข้ามาทำการค้าในน่านน้ำไทยด้วย
ในการยื่นขออนุญาตนั้นจะต้องมีเอกสาร และหลักฐาน ได้แก่ กรณีบุคคลธรรมดา มีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน กรณีนิติบุคคล สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลซึ่งได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่เกิน 6 เดือน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นๆ หนังสือหรือสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทนเจ้าของเรือที่ได้รับการรับรองจากโนตารีพับลิค (Notary Public) หรือบุคคลหรือหน่วยงานที่มีอำนาจในการรับรองเอกสารตามกฎหมายท้องถิ่น หรือจากสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทย สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเรือ สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเรือ
ทั้งนี้ เมื่อรัฐมนตรีอนุญาตให้เรือสำราญ และกีฬาขนาดใหญ่ของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทย ทำการค้าในน่านน้ำไทยแล้ว ให้อธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดงการอนุญาตตามแบบ กท.1-1 ตามแนบท้ายประกาศฉบับนี้ และให้สำนักมาตรฐานทะเบียนเรือ หรือสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา กรมเจ้าท่า เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้เรือของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทย ทำการค้าในน่านน้ำไทยตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง การอนุญาตให้ทำการค้าในน่านน้ำไทยนั้นได้ไม่เกิน 1 ปี และผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด และเมื่อรัฐมนตรีกำหนดเงื่อนไขขึ้นใหม่ภายหลังไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเพิ่มเติม หรือกำหนดขึ้นใช้แทนเงื่อนไขเดิมทั้งหมด หรือบางส่วน ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้กรมเจ้าท่าแจ้งผู้ยื่นขออนุญาตทราบ ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป
นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคม ได้มีการประกาศคมนาคม เรื่อง กำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้เรือสำราญและกีฬาขนาดใหญ่ (Super Yacht) ของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทยทำการค้าในน่านน้ำไทย ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2558 เป็นต้นมา ซึ่งการออกประกาศดังกล่าวเพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวทางน้ำของประเทศไทย โดยการให้เรือสำราญ และกีฬาขนาดใหญ่ (Super Yacht) ที่มิใช่เรือไทยให้สามารถให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศในการท่องเที่ยวทางน้ำในประเทศไทยได้ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 47 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 162 ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พุทธศักราช 2515
สำหรับเงื่อนไขการอนุญาตให้เรือสำราญ และกีฬาขนาดใหญ่ของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทย ทำการค้าในน่านน้ำไทยนั้น กำหนดไว้ว่า เรือของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทย หมายถึง เรือที่มิได้เป็นเรือของบุคคลตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 เป็นเรือสำราญ และกีฬาที่มีขนาดความยาวตั้งแต่ 30 เมตรขึ้นไป บรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกิน 12 คน ซึ่งผู้ประสงค์จะนำเรือดังกล่าวเข้ามาทำการค้าในน่านน้ำไทยต้องแต่งตั้งบุคคลผู้มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือนั้น และเป็นผู้ขออนุญาตตามประกาศฉบับนี้ และในการขออนุญาตนั้นจะต้องยื่นคำขอแบบ กท.1 ณ สำนักมาตรฐานทะเบียนเรือ หรือสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา กรมเจ้าท่า โดยต้องกำหนดระยะเวลาที่ประสงค์จะนำเรือเข้ามาทำการค้าในน่านน้ำไทยด้วย
ในการยื่นขออนุญาตนั้นจะต้องมีเอกสาร และหลักฐาน ได้แก่ กรณีบุคคลธรรมดา มีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน กรณีนิติบุคคล สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลซึ่งได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่เกิน 6 เดือน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นๆ หนังสือหรือสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทนเจ้าของเรือที่ได้รับการรับรองจากโนตารีพับลิค (Notary Public) หรือบุคคลหรือหน่วยงานที่มีอำนาจในการรับรองเอกสารตามกฎหมายท้องถิ่น หรือจากสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทย สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเรือ สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเรือ
ทั้งนี้ เมื่อรัฐมนตรีอนุญาตให้เรือสำราญ และกีฬาขนาดใหญ่ของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทย ทำการค้าในน่านน้ำไทยแล้ว ให้อธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดงการอนุญาตตามแบบ กท.1-1 ตามแนบท้ายประกาศฉบับนี้ และให้สำนักมาตรฐานทะเบียนเรือ หรือสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา กรมเจ้าท่า เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้เรือของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทย ทำการค้าในน่านน้ำไทยตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง การอนุญาตให้ทำการค้าในน่านน้ำไทยนั้นได้ไม่เกิน 1 ปี และผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด และเมื่อรัฐมนตรีกำหนดเงื่อนไขขึ้นใหม่ภายหลังไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเพิ่มเติม หรือกำหนดขึ้นใช้แทนเงื่อนไขเดิมทั้งหมด หรือบางส่วน ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้กรมเจ้าท่าแจ้งผู้ยื่นขออนุญาตทราบ ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป