ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กสทช. เดินหน้าให้ความรู้ประชาชน คุ้มครองสิทธิผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ “ย้ายค่าย เบอร์เดิม” ค่ายไหนดีเราย้ายไป กับเบอร์คู่ใจ ไปค่ายไหนก็เบอร์เดิม
นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวในโอกาสจัดงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนภูเก็ต ในหัวข้อเรื่อง “การแจ้งสิทธิคุ้มครองประชาชนผู้ใช้เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เกี่ยวกับการแจ้งย้ายเครือข่ายผู้ให้บริการเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเบอร์ใหม่” ซึ่งจัดขึ้นที่ร้าน Tiny Coffee ถ.เทพกระษัตรี ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2558 ที่ผ่านมา เพื่อให้ประชาชนได้เลือกใช้เครือข่ายที่มีบริการเหมาะสมตามความต้องการของตน และส่งเสริมผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พัฒนาคุณภาพการให้บริการ ตลอดจนการกำหนดราคาที่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้งาน โดยมีเจ้าหน้าที่ กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
สำนักงาน กสทช. ได้เร่งประชาสัมพันธ์คำประกาศสิทธิผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้ตระหนักในสิทธิของตนเกี่ยวกับการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งระบบเติมเงิน และระบบรายเดือน ด้วยบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ Mobile Number Portability (MNP) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ย้ายค่ายเบอร์เดิม” ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเปลี่ยนผู้ให้บริการเครือข่ายได้โดยใช้หมายเลขเดิม ด้วยการขอโอนย้ายเลขหมายเดิมที่ใช้งานอยู่ไปยังเครือข่ายอื่นโดยไม่ต้องเปลี่ยนเลขหมายใหม่ และสามารถโอนย้ายได้ทั้งซิมแบบเติมเงิน (prepaid) และแบบรายเดือน (postpaid) ทำให้ผู้ใช้ บริการสามารถเลือกใช้งานเครือข่ายที่ดีกว่า เหมาะต่อการใช้งานของตน และสอดคล้องต่อการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกเครือข่ายมีหน้าที่อำนวยความสะดว กและให้บริการในขั้นตอนที่ถูกต้อง ไม่เอาเปรียบ และหน่วงเหนี่ยวผู้ใช้บริการที่ต้องการย้ายค่ายโดยใช้เบอร์เดิม
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มากถึง 100 ล้านเลขหมาย สำนักงาน กสทช. จึงส่งเสริมให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พัฒนาคุณภาพการให้บริการ รวมถึงการกำหนดราคาค่าบริการที่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการ โดยคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้บริการให้สามารถเลือกใช้เครือข่ายที่ดีกว่า และสามารถเปลี่ยนเครือข่ายได้โดยใช้หมายเลขเดิม โดยไปติดต่อขอโอนย้ายได้ที่จุดให้บริการเครือข่ายใหม่ที่ท่านต้องการโอนย้าย โดยผู้ที่ต้องการย้ายเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปยังเครือข่ายใหม่สามารถเตรียมความพร้อมในเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง
โดยผู้ที่ใช้งานเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบรายเดือนจะต้องไม่มียอดค้างชำระ กับค่ายเดิม และผู้ขอโอนต้องเป็นผู้ที่เคยลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานเลขหมายนั้น ส่วนผู้ใช้งานเลขหมายระบบเติมเงิน จะต้องลงทะเบียนซิมไว้กับค่ายเดิมเรียบร้อยแล้ว และชื่อผู้ขอโอนต้องเป็นชื่อเดียวกับที่เคยลงทะเบียนซิมไว้ สามารถใช้ยอดเงินที่เติมไว้จนหมด โอนให้คนอื่นในค่ายเดียวกัน หรือขอเงินคืนก็สามารถทำได้ นอกจากนี้ เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูลที่จดทะเบียนต่อเครือข่ายเดิมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น กรุณานำใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงินจากเครือข่ายเดิมมาด้วย ส่วนเงินค่าบริการ และวันใช้บริการคงเหลือ และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากค่ายเดิมจะไม่ถูกโอนไปค่ายใหม่
นายก่อกิจ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับขั้นตอนการโอนย้ายเลขหมายไปยังเครือข่ายใหม่ ผู้ขอโอนย้ายเลขหมายต้องไปติดต่อที่จุดให้บริการเครือข่ายใหม่ที่ท่านต้องการย้ายไป พร้อมบัตรประชาชน หรือบัตรแสดงตนอื่นๆ ที่ออกให้โดยหน่วยงานของราชการ เช่น บัตรประจำตัวข้าราชการ ใบขับขี่ บัตรประจำตัวนิสิต นักศึกษา บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว หนังสือเดินทาง ส่วนนิติบุคคลใช้สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกไม่เกิน 3 เดือน พร้อมประทับตราทุกหน้า และรับรองสำเนาถูกต้อง และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง โดยเครือข่ายใหม่ต้องแจ้งรายละเอียด เงื่อนไขการโอนย้าย ระยะเวลา และค่าธรรมเนียมให้ผู้ใช้บริการทราบอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ผู้ขอโอนย้ายจะต้องกรอกแบบคำขอโอนย้าย พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานที่กำหนด ณ จุดให้บริการของค่ายใหม่ที่จะย้ายไป และชำระค่าธรรมเนียมการโอนย้าย 29 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากนั้นรับซิมของค่ายใหม่ หรือหากค่ายใหม่เสนอให้ผู้ใช้บริการใช้ซิมเดิมจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการเท่านั้น จากนั้นรอรับ SMS แจ้งผลการอนุมัติ ระหว่างนี้ยังคงใช้ซิมของค่ายเดิมได้จนกว่าจะได้รับ SMS ครั้งที่ 2 เป็นข้อความยินดีต้อนรับจากค่ายใหม่ ทั้งนี้ ระยะเวลาการขอย้ายค่ายใช้เวลาประมาณ 3 วันทำการ (วันจันทร์-วันศุกร์ ไม่รวมวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) นับจากวันที่ยื่นเอกสารขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการยื่นเอกสาร และจำนวนคำขอใช้บริการ
นายก่อกิจ กล่าวทิ้งท้ายว่า การบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือบริการ “ย้ายค่าย เบอร์เดิม” จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณสามารถย้ายไปเครือข่ายไหนก็ได้ตามความต้องการ เพื่อเลือกใช้บริการเครือข่ายที่ดีกว่า โดยยังคงเบอร์เดิมคู่ใจ และไม่เกิดอุปสรรคต่อการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน และหากผู้ใช้บริการถูกโอนย้ายไปค่ายใหม่โดยไม่ได้แจ้งความประสงค์ขอโอนย้าย หรือไม่ได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว สามารถแจ้งได้ที่ กสทช. Call Center 1200 ฟรี
นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวในโอกาสจัดงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนภูเก็ต ในหัวข้อเรื่อง “การแจ้งสิทธิคุ้มครองประชาชนผู้ใช้เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เกี่ยวกับการแจ้งย้ายเครือข่ายผู้ให้บริการเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเบอร์ใหม่” ซึ่งจัดขึ้นที่ร้าน Tiny Coffee ถ.เทพกระษัตรี ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2558 ที่ผ่านมา เพื่อให้ประชาชนได้เลือกใช้เครือข่ายที่มีบริการเหมาะสมตามความต้องการของตน และส่งเสริมผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พัฒนาคุณภาพการให้บริการ ตลอดจนการกำหนดราคาที่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้งาน โดยมีเจ้าหน้าที่ กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
สำนักงาน กสทช. ได้เร่งประชาสัมพันธ์คำประกาศสิทธิผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้ตระหนักในสิทธิของตนเกี่ยวกับการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งระบบเติมเงิน และระบบรายเดือน ด้วยบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ Mobile Number Portability (MNP) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ย้ายค่ายเบอร์เดิม” ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเปลี่ยนผู้ให้บริการเครือข่ายได้โดยใช้หมายเลขเดิม ด้วยการขอโอนย้ายเลขหมายเดิมที่ใช้งานอยู่ไปยังเครือข่ายอื่นโดยไม่ต้องเปลี่ยนเลขหมายใหม่ และสามารถโอนย้ายได้ทั้งซิมแบบเติมเงิน (prepaid) และแบบรายเดือน (postpaid) ทำให้ผู้ใช้ บริการสามารถเลือกใช้งานเครือข่ายที่ดีกว่า เหมาะต่อการใช้งานของตน และสอดคล้องต่อการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกเครือข่ายมีหน้าที่อำนวยความสะดว กและให้บริการในขั้นตอนที่ถูกต้อง ไม่เอาเปรียบ และหน่วงเหนี่ยวผู้ใช้บริการที่ต้องการย้ายค่ายโดยใช้เบอร์เดิม
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มากถึง 100 ล้านเลขหมาย สำนักงาน กสทช. จึงส่งเสริมให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พัฒนาคุณภาพการให้บริการ รวมถึงการกำหนดราคาค่าบริการที่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการ โดยคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้บริการให้สามารถเลือกใช้เครือข่ายที่ดีกว่า และสามารถเปลี่ยนเครือข่ายได้โดยใช้หมายเลขเดิม โดยไปติดต่อขอโอนย้ายได้ที่จุดให้บริการเครือข่ายใหม่ที่ท่านต้องการโอนย้าย โดยผู้ที่ต้องการย้ายเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปยังเครือข่ายใหม่สามารถเตรียมความพร้อมในเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง
โดยผู้ที่ใช้งานเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบรายเดือนจะต้องไม่มียอดค้างชำระ กับค่ายเดิม และผู้ขอโอนต้องเป็นผู้ที่เคยลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานเลขหมายนั้น ส่วนผู้ใช้งานเลขหมายระบบเติมเงิน จะต้องลงทะเบียนซิมไว้กับค่ายเดิมเรียบร้อยแล้ว และชื่อผู้ขอโอนต้องเป็นชื่อเดียวกับที่เคยลงทะเบียนซิมไว้ สามารถใช้ยอดเงินที่เติมไว้จนหมด โอนให้คนอื่นในค่ายเดียวกัน หรือขอเงินคืนก็สามารถทำได้ นอกจากนี้ เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูลที่จดทะเบียนต่อเครือข่ายเดิมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น กรุณานำใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงินจากเครือข่ายเดิมมาด้วย ส่วนเงินค่าบริการ และวันใช้บริการคงเหลือ และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากค่ายเดิมจะไม่ถูกโอนไปค่ายใหม่
นายก่อกิจ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับขั้นตอนการโอนย้ายเลขหมายไปยังเครือข่ายใหม่ ผู้ขอโอนย้ายเลขหมายต้องไปติดต่อที่จุดให้บริการเครือข่ายใหม่ที่ท่านต้องการย้ายไป พร้อมบัตรประชาชน หรือบัตรแสดงตนอื่นๆ ที่ออกให้โดยหน่วยงานของราชการ เช่น บัตรประจำตัวข้าราชการ ใบขับขี่ บัตรประจำตัวนิสิต นักศึกษา บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว หนังสือเดินทาง ส่วนนิติบุคคลใช้สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกไม่เกิน 3 เดือน พร้อมประทับตราทุกหน้า และรับรองสำเนาถูกต้อง และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง โดยเครือข่ายใหม่ต้องแจ้งรายละเอียด เงื่อนไขการโอนย้าย ระยะเวลา และค่าธรรมเนียมให้ผู้ใช้บริการทราบอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ผู้ขอโอนย้ายจะต้องกรอกแบบคำขอโอนย้าย พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานที่กำหนด ณ จุดให้บริการของค่ายใหม่ที่จะย้ายไป และชำระค่าธรรมเนียมการโอนย้าย 29 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากนั้นรับซิมของค่ายใหม่ หรือหากค่ายใหม่เสนอให้ผู้ใช้บริการใช้ซิมเดิมจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการเท่านั้น จากนั้นรอรับ SMS แจ้งผลการอนุมัติ ระหว่างนี้ยังคงใช้ซิมของค่ายเดิมได้จนกว่าจะได้รับ SMS ครั้งที่ 2 เป็นข้อความยินดีต้อนรับจากค่ายใหม่ ทั้งนี้ ระยะเวลาการขอย้ายค่ายใช้เวลาประมาณ 3 วันทำการ (วันจันทร์-วันศุกร์ ไม่รวมวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) นับจากวันที่ยื่นเอกสารขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการยื่นเอกสาร และจำนวนคำขอใช้บริการ
นายก่อกิจ กล่าวทิ้งท้ายว่า การบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือบริการ “ย้ายค่าย เบอร์เดิม” จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณสามารถย้ายไปเครือข่ายไหนก็ได้ตามความต้องการ เพื่อเลือกใช้บริการเครือข่ายที่ดีกว่า โดยยังคงเบอร์เดิมคู่ใจ และไม่เกิดอุปสรรคต่อการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน และหากผู้ใช้บริการถูกโอนย้ายไปค่ายใหม่โดยไม่ได้แจ้งความประสงค์ขอโอนย้าย หรือไม่ได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว สามารถแจ้งได้ที่ กสทช. Call Center 1200 ฟรี