ชุมพร - ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นำทีมหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องตรวจพื้นที่ป่าพรุกะชิง พบถูกบุกรุกแล้วกว่า 1,500 ไร่ ทั้งรายเก่ารายใหม่
วันนี้ (9 ก.ค.) นายวงศศิริ พรหมชนะ ผวจ.ชุมพร นายขจรศักดิ์ ละอองเทพ ผอ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ชุมพร นายอภิชัย เอกวนากุล ผอ.ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 สุราษฎร์ธานี นายอภิชาต ไชยางพาณิช หน.สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 43 นายธนนท์ พรรพีภาส นายอำเภอปะทิว นำกำลังลงพื้นที่ป่าพรุกะชิง ตำบลปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร เพื่อรับทราบปัญหา พร้อมกับกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าพรุกะชิงซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ของ จ.ชุมพร
จากการตรวจสอบป่าพรุกะชิง เป็นป่าพรุน้ำจืดมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ ซึ่งเป็นป่าชายเลนตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.30 และมติ ครม.เมื่อวันที่ 22 ส.ค.43 ให้เป็นป่าอนุรักษ์ทั้งหมด อยู่ในความรับผิดชอบของสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 43 ปะทิว ที่ผ่านมา ปล่อยให้มีชาวบ้าน และนายทุนบุกรุกมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทั้งมีทั้งที่ถูกบุกรุกแผ้วถางเผาป่าสภาพใหม่ๆ และพื้นที่บุกรุกเดิม เพื่อปลูกสวนปาล์มน้ำมัน ทำให้เหลือพื้นที่ป่าพรุอยู่เพียง 1,500 ไร่ ในเขตหมู่ที่ 2, 4 และ 5 ตำบลปากคลอง
นายวงศศิริ พรหมชนะ ผวจ.ชุมพร เปิดเผยว่า ได้เปิดยุทธการยึดคืนป่าพรุกะชิง ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าให้ได้ผลอย่างจริงจัง และเป็นไปตามตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยให้กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมกับหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบดูแลที่ดินของรัฐไปดำเนินการตรวจสอบจับกุมผู้บุกรุกถือครองพื้นที่ดังกล่าวได้ 12 คดี แต่ไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิด เนื้อที่ป่าที่ยึดคืนมาได้รวม 1,393 ไร่ และเรื่องอยู่ระหว่างดำเนินคดี
หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ยังได้จับกุมผู้บุกรุกซ้ำในพื้นที่ดังกล่าวอีกเป็นระยะๆ เนื่องจากชาวบ้านไม่กลัวต่อกฎหมาย และในพื้นที่ไม่หน่วยงานของรัฐเข้าไปดำเนินการอย่างจริงจัง รวมไปถึงไม่มีเจ้าหน้าที่กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งการแก้ปัญหาป่าพรุกะชิงที่มีมาอย่างยาวนาน ขณะนี้แนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องจัดทำข้อมูลของผู้ที่เข้ามาทำกินในพื้นที่ทั้งหมด ระยะเวลาการเข้ามาทำกินว่าถูกหรือผิดอย่างไร และเร่งรัดการดำเนินคดีต่อผู้ที่กระทำความผิด พร้อมทั้งให้ดำเนินการตามแผนแม่บท นอกจากนี้ ปัญหาการบุกรุกซ้ำคือ การลักลอบเข้ามาทำกินในพื้นที่ตรวจยึดคืนแล้ว โดยให้ได้เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปตั้งหน่วยในพื้นที่ เพื่อกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดป้องกันปัญหาดังกล่าวต่อไป
วันนี้ (9 ก.ค.) นายวงศศิริ พรหมชนะ ผวจ.ชุมพร นายขจรศักดิ์ ละอองเทพ ผอ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ชุมพร นายอภิชัย เอกวนากุล ผอ.ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 สุราษฎร์ธานี นายอภิชาต ไชยางพาณิช หน.สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 43 นายธนนท์ พรรพีภาส นายอำเภอปะทิว นำกำลังลงพื้นที่ป่าพรุกะชิง ตำบลปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร เพื่อรับทราบปัญหา พร้อมกับกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าพรุกะชิงซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ของ จ.ชุมพร
จากการตรวจสอบป่าพรุกะชิง เป็นป่าพรุน้ำจืดมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ ซึ่งเป็นป่าชายเลนตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.30 และมติ ครม.เมื่อวันที่ 22 ส.ค.43 ให้เป็นป่าอนุรักษ์ทั้งหมด อยู่ในความรับผิดชอบของสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 43 ปะทิว ที่ผ่านมา ปล่อยให้มีชาวบ้าน และนายทุนบุกรุกมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทั้งมีทั้งที่ถูกบุกรุกแผ้วถางเผาป่าสภาพใหม่ๆ และพื้นที่บุกรุกเดิม เพื่อปลูกสวนปาล์มน้ำมัน ทำให้เหลือพื้นที่ป่าพรุอยู่เพียง 1,500 ไร่ ในเขตหมู่ที่ 2, 4 และ 5 ตำบลปากคลอง
นายวงศศิริ พรหมชนะ ผวจ.ชุมพร เปิดเผยว่า ได้เปิดยุทธการยึดคืนป่าพรุกะชิง ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าให้ได้ผลอย่างจริงจัง และเป็นไปตามตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยให้กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมกับหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบดูแลที่ดินของรัฐไปดำเนินการตรวจสอบจับกุมผู้บุกรุกถือครองพื้นที่ดังกล่าวได้ 12 คดี แต่ไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิด เนื้อที่ป่าที่ยึดคืนมาได้รวม 1,393 ไร่ และเรื่องอยู่ระหว่างดำเนินคดี
หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ยังได้จับกุมผู้บุกรุกซ้ำในพื้นที่ดังกล่าวอีกเป็นระยะๆ เนื่องจากชาวบ้านไม่กลัวต่อกฎหมาย และในพื้นที่ไม่หน่วยงานของรัฐเข้าไปดำเนินการอย่างจริงจัง รวมไปถึงไม่มีเจ้าหน้าที่กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งการแก้ปัญหาป่าพรุกะชิงที่มีมาอย่างยาวนาน ขณะนี้แนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องจัดทำข้อมูลของผู้ที่เข้ามาทำกินในพื้นที่ทั้งหมด ระยะเวลาการเข้ามาทำกินว่าถูกหรือผิดอย่างไร และเร่งรัดการดำเนินคดีต่อผู้ที่กระทำความผิด พร้อมทั้งให้ดำเนินการตามแผนแม่บท นอกจากนี้ ปัญหาการบุกรุกซ้ำคือ การลักลอบเข้ามาทำกินในพื้นที่ตรวจยึดคืนแล้ว โดยให้ได้เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปตั้งหน่วยในพื้นที่ เพื่อกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดป้องกันปัญหาดังกล่าวต่อไป