ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต ให้ความสำคัญการผลิตสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เดินหน้าจัดสัมมนาเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต และตลาดอาหารปลอดภัย หวังสร้างศักยภาพให้ผู้ผลิต
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (24 มิ.ย.) ที่ห้องจามจุรี 2 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายพัลลภ สิงหเสนี รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและตลาดอาหารปลอดภัย ซึ่งทางสำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต จัดขึ้น โดยมี นายปารเมศ ทองปรีชา เกษตรจังหวัดภูเก็ต นายสมพงษ์ แป้นทอง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดภูเก็ต นายธีระ เจี่ยสกุล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนเครือข่ายการผลิตและการตลาด โรงแรม ร้านค้า เกษตรกรผู้ผลิต และผู้ประกอบการอาหารปลอดภัยในจังหวัดภูเก็ต
นายปารเมศ ทองปรีชา เกษตรจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินงานขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยตามนโยบายรัฐบาลมาตั้งแต่ปี 2547 เพื่อผลักดันให้เกษตรกร และผู้ประกอบการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งในปีงบประมาณ 2558 จังหวัดภูเก็ตได้สนับสนุนงบประมาณ 2,088,800 บาท เพื่อให้สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการผลิตอาหารปลอดภัย โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งจำหน่ายอาหารปลอดภัย สัมมนาเชิงปฏิบัติการอาหารปลอดภัย และงานมหกรรมอาหารปลอดภัยจังหวัดภูเก็ต
สำหรับการสัมมนาเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและตลาดอาหารปลอดภัยนั้น เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนในจังหวัดภูเก็ต ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทาง และยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาอาหารปลอดภัยที่สอดคล้องต่อศักยภาพของจังหวัดภูเก็ต และนโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองแห่งความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตในระดับโลกตามวิสัยทัศน์ของจังหวัดด้วย
ขณะที่ นายพัลลภ สิงหาเสนี รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า นโยบายอาหารปลอดภัยของรัฐบาลเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องต่อศักยภาพของประเทศ ทำให้สามารถแข่งขันได้ และในส่วนของจังหวัดภูเก็ต นโยบายดังกล่าวยังเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัด สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค ทั้งประชาชน และนักท่องเที่ยว
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยตลอดเส้นทางห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ฟาร์มผู้ผลิต จนถึงโต๊ะอาหาร การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยจะต้องดำเนินการในลักษณะบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และเกษตรกร โดยกำหนดยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ การควบคุมกระบวนการผลิตให้มีความปลอดภัย การสร้างเครือข่ายการจัดการผลผลิตและการตลาด รวมทั้งด้านการควบคุมตรวจสอบความปลอดภัยของผลลิต และอาหารก่อนถึงมือผู้บริโภค
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (24 มิ.ย.) ที่ห้องจามจุรี 2 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายพัลลภ สิงหเสนี รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและตลาดอาหารปลอดภัย ซึ่งทางสำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต จัดขึ้น โดยมี นายปารเมศ ทองปรีชา เกษตรจังหวัดภูเก็ต นายสมพงษ์ แป้นทอง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดภูเก็ต นายธีระ เจี่ยสกุล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนเครือข่ายการผลิตและการตลาด โรงแรม ร้านค้า เกษตรกรผู้ผลิต และผู้ประกอบการอาหารปลอดภัยในจังหวัดภูเก็ต
นายปารเมศ ทองปรีชา เกษตรจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินงานขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยตามนโยบายรัฐบาลมาตั้งแต่ปี 2547 เพื่อผลักดันให้เกษตรกร และผู้ประกอบการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งในปีงบประมาณ 2558 จังหวัดภูเก็ตได้สนับสนุนงบประมาณ 2,088,800 บาท เพื่อให้สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการผลิตอาหารปลอดภัย โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งจำหน่ายอาหารปลอดภัย สัมมนาเชิงปฏิบัติการอาหารปลอดภัย และงานมหกรรมอาหารปลอดภัยจังหวัดภูเก็ต
สำหรับการสัมมนาเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและตลาดอาหารปลอดภัยนั้น เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนในจังหวัดภูเก็ต ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทาง และยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาอาหารปลอดภัยที่สอดคล้องต่อศักยภาพของจังหวัดภูเก็ต และนโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองแห่งความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตในระดับโลกตามวิสัยทัศน์ของจังหวัดด้วย
ขณะที่ นายพัลลภ สิงหาเสนี รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า นโยบายอาหารปลอดภัยของรัฐบาลเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องต่อศักยภาพของประเทศ ทำให้สามารถแข่งขันได้ และในส่วนของจังหวัดภูเก็ต นโยบายดังกล่าวยังเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัด สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค ทั้งประชาชน และนักท่องเที่ยว
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยตลอดเส้นทางห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ฟาร์มผู้ผลิต จนถึงโต๊ะอาหาร การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยจะต้องดำเนินการในลักษณะบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และเกษตรกร โดยกำหนดยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ การควบคุมกระบวนการผลิตให้มีความปลอดภัย การสร้างเครือข่ายการจัดการผลผลิตและการตลาด รวมทั้งด้านการควบคุมตรวจสอบความปลอดภัยของผลลิต และอาหารก่อนถึงมือผู้บริโภค