ชุมพร - แม่ค้าเจ้าของแผงผลไม้ในกรุงเทพฯ โร่แจ้งความตำรวจถูกเจ้าของสวนที่ชุมพรหลอกขายทุเรียนอ่อนกว่า 1 ตัน เผยแจ้งทางเจ้าของสวนทราบแล้ว แต่ยังโยกโย้ ยืนยันเอาเรื่องถึงที่สุด
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (19 มิ.ย.) น.ส.โสริยา อินทร์พรหม อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1324/2 หมู่ 17 ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ขับรถยนต์กระบะโตโยต้าตอนครึ่งสีดำ ทะเบียน ฒย 9671 กรุงเทพมหานคร บรรทุกทุเรียนหมอนทองอ่อนเต็มคัน เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อ พ.ต.ท.พนัส หมุนวงค์ พนักงานสอบสวน สภ.ท่าแซะ จ.ชุมพร หลังถูกชาวสวนหลอกขายทุเรียนอ่อน แต่เนื่องด้วยปัญหาการขายทุเรียนอ่อนเป็นนโยบายสำคัญของจังหวัด และรัฐบาล พ.ต.อ.ธานี นาคหกวิค ผกก.สภ.ท่าแซะ ได้ประสานไปยัง นายนักรบ ณ ถลาง นายอำเภอท่าแซะ นายสว่าง โกดี เกษตรอำเภอท่าแซะ นายสังคม ชุมสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สนง.เกษตร จ.ชุมพร มาร่วมสอบสวน
น.ส.โสริยา ให้การต่อพนักงานสอบสวน ว่า ตนเองเป็นคนชุมพร แต่ไปเปิดแผงขายทุเรียนอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โดยบิดาอยู่ที่ตำบลรับร่อ อ.ท่าแซะ จะเป็นคนติดต่อซื้อทุเรียนกับชาวสวนให้ตน ต่อมา บิดาได้โทรศัพท์แจ้งแก่ตนว่า นายสิทธิศักดิ์ เกิดเขียว บ้านอยู่หมู่ 17 ตำบลรับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร จะตัดทุเรียนในสวนขาย ตนจึงได้ติดต่อซื้อ จำนวน 1,260 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 53 บาท ต่อมา วันที่ 14 มิถุนายน นายสิทธิศักดิ์ ได้ตัดทุเรียนพร้อมป้ายน้ำยาเร่งสุกให้ด้วย โดยบิดาตนได้ไปขนทุเรียนทั้งหมดมาเก็บไว้ที่บ้าน พร้อมกับแจ้งหมายเลขบัญชีธนาคารของนายสิทธิศักดิ์ ตนจึงได้โอนเงิน จำนวน 66,780 บาท ผ่านธนาคารให้ในวันเดียวกัน ต่อมา วันที่ 15 มิถุนายน ตนพร้อมกับสามีได้ขับรถยนต์กระบะจากกรุงเทพมหานคร มาที่บ้านบิดาเพื่อบรรทุกทุเรียนโดยถึงช่วงค่ำแล้วนำทุเรียนกลับไปขายที่แผงในกรุงเทพมหานคร
น.ส.โสริยา กล่าวต่อว่า เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพมหานครแล้ว ช่วงเช้าได้ทำทุเรียนไปไว้ที่แผงขาย ปรากฏว่า เป็นทุเรียนอ่อน จึงได้โทรศัพท์ไปแจ้งกับเจ้าของสวนให้รู้ แต่ได้รับคำตอบว่าให้ตนคัดส่วนที่ดีขายไปก่อนสวนที่เหลือค่อยมาว่ากัน ซึ่งเมื่อตนตรวจสอบปรากฏว่า เป็นทุเรียนอ่อนทั้งหมดไม่สามารถขายได้ และติดต่อแจ้งเจ้าของสวนให้รู้ แต่ก็พูดจาต่อรองจนยืดเยื้อเรื่อยมา ทำให้ตนต้องตัดสินใจเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อให้ดำเนินคดีต่อ นายสิทธิศักดิ์ ที่ได้ขายทุเรียนอ่อนโดยหลอกลวงให้หลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ อันเป็นเท็จ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
พ.ต.อ.ธานี นาคหกวิค ผกก.สภ.ท่าแซะ กล่าวว่า จากการตรวจสอบนำตัวอย่างเนื้อทุเรียนจำนวนหนึ่งส่งไปที่สวนวิจัยและพัฒนาการเกษตร จ.ชุมพร ตรวจสอบด้วยเครื่องความร้อนอบแห้งวัดหาค่าเปอร์เซ็นต์ความหนัก ความแห้ง และค่าน้ำตาล ปรากฏว่า มีค่าเปอร์เซ็นต์เพียง 18-23 เปอร์เซ็นต์ ถือว่ามีค่าความสุกต่ำกว่ามาตรฐานมาก ซึ่งทุเรียนหมอนทองที่ได้คุณภาพความสุกขอเนื้อจะอยู่ที่ 32% ขึ้นไป ปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนขายนั้นถือเป็นนโยบายสำคัญที่ผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งกำชับให้หน่วยงานเกี่ยวข้องตรวจสอบดำเนินการขั้นเด็ดขาดมาอย่างต่อเนื่อง เพราะจังหวัดชุมพร มีเกษตรกรปลูกทุเรียนมากที่สุดในภาคใต้ หากตัดทุเรียนอ่อนจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรโดยรวม และเศรษฐกิจของประเทศชาติ สำหรับกรณีนี้ทางตำรวจจะเรียกตัวชาวสวนที่ถูกแจ้งความขายทุเรียนอ่อนมารับทราบข้อกล่าวหา และสอบสวนข้อเท็จจริงซึ่งจะมีความผิดทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายอาญาที่ไม่สามารถยอมความกันได้
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (19 มิ.ย.) น.ส.โสริยา อินทร์พรหม อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1324/2 หมู่ 17 ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ขับรถยนต์กระบะโตโยต้าตอนครึ่งสีดำ ทะเบียน ฒย 9671 กรุงเทพมหานคร บรรทุกทุเรียนหมอนทองอ่อนเต็มคัน เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อ พ.ต.ท.พนัส หมุนวงค์ พนักงานสอบสวน สภ.ท่าแซะ จ.ชุมพร หลังถูกชาวสวนหลอกขายทุเรียนอ่อน แต่เนื่องด้วยปัญหาการขายทุเรียนอ่อนเป็นนโยบายสำคัญของจังหวัด และรัฐบาล พ.ต.อ.ธานี นาคหกวิค ผกก.สภ.ท่าแซะ ได้ประสานไปยัง นายนักรบ ณ ถลาง นายอำเภอท่าแซะ นายสว่าง โกดี เกษตรอำเภอท่าแซะ นายสังคม ชุมสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สนง.เกษตร จ.ชุมพร มาร่วมสอบสวน
น.ส.โสริยา ให้การต่อพนักงานสอบสวน ว่า ตนเองเป็นคนชุมพร แต่ไปเปิดแผงขายทุเรียนอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โดยบิดาอยู่ที่ตำบลรับร่อ อ.ท่าแซะ จะเป็นคนติดต่อซื้อทุเรียนกับชาวสวนให้ตน ต่อมา บิดาได้โทรศัพท์แจ้งแก่ตนว่า นายสิทธิศักดิ์ เกิดเขียว บ้านอยู่หมู่ 17 ตำบลรับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร จะตัดทุเรียนในสวนขาย ตนจึงได้ติดต่อซื้อ จำนวน 1,260 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 53 บาท ต่อมา วันที่ 14 มิถุนายน นายสิทธิศักดิ์ ได้ตัดทุเรียนพร้อมป้ายน้ำยาเร่งสุกให้ด้วย โดยบิดาตนได้ไปขนทุเรียนทั้งหมดมาเก็บไว้ที่บ้าน พร้อมกับแจ้งหมายเลขบัญชีธนาคารของนายสิทธิศักดิ์ ตนจึงได้โอนเงิน จำนวน 66,780 บาท ผ่านธนาคารให้ในวันเดียวกัน ต่อมา วันที่ 15 มิถุนายน ตนพร้อมกับสามีได้ขับรถยนต์กระบะจากกรุงเทพมหานคร มาที่บ้านบิดาเพื่อบรรทุกทุเรียนโดยถึงช่วงค่ำแล้วนำทุเรียนกลับไปขายที่แผงในกรุงเทพมหานคร
น.ส.โสริยา กล่าวต่อว่า เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพมหานครแล้ว ช่วงเช้าได้ทำทุเรียนไปไว้ที่แผงขาย ปรากฏว่า เป็นทุเรียนอ่อน จึงได้โทรศัพท์ไปแจ้งกับเจ้าของสวนให้รู้ แต่ได้รับคำตอบว่าให้ตนคัดส่วนที่ดีขายไปก่อนสวนที่เหลือค่อยมาว่ากัน ซึ่งเมื่อตนตรวจสอบปรากฏว่า เป็นทุเรียนอ่อนทั้งหมดไม่สามารถขายได้ และติดต่อแจ้งเจ้าของสวนให้รู้ แต่ก็พูดจาต่อรองจนยืดเยื้อเรื่อยมา ทำให้ตนต้องตัดสินใจเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อให้ดำเนินคดีต่อ นายสิทธิศักดิ์ ที่ได้ขายทุเรียนอ่อนโดยหลอกลวงให้หลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ อันเป็นเท็จ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
พ.ต.อ.ธานี นาคหกวิค ผกก.สภ.ท่าแซะ กล่าวว่า จากการตรวจสอบนำตัวอย่างเนื้อทุเรียนจำนวนหนึ่งส่งไปที่สวนวิจัยและพัฒนาการเกษตร จ.ชุมพร ตรวจสอบด้วยเครื่องความร้อนอบแห้งวัดหาค่าเปอร์เซ็นต์ความหนัก ความแห้ง และค่าน้ำตาล ปรากฏว่า มีค่าเปอร์เซ็นต์เพียง 18-23 เปอร์เซ็นต์ ถือว่ามีค่าความสุกต่ำกว่ามาตรฐานมาก ซึ่งทุเรียนหมอนทองที่ได้คุณภาพความสุกขอเนื้อจะอยู่ที่ 32% ขึ้นไป ปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนขายนั้นถือเป็นนโยบายสำคัญที่ผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งกำชับให้หน่วยงานเกี่ยวข้องตรวจสอบดำเนินการขั้นเด็ดขาดมาอย่างต่อเนื่อง เพราะจังหวัดชุมพร มีเกษตรกรปลูกทุเรียนมากที่สุดในภาคใต้ หากตัดทุเรียนอ่อนจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรโดยรวม และเศรษฐกิจของประเทศชาติ สำหรับกรณีนี้ทางตำรวจจะเรียกตัวชาวสวนที่ถูกแจ้งความขายทุเรียนอ่อนมารับทราบข้อกล่าวหา และสอบสวนข้อเท็จจริงซึ่งจะมีความผิดทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายอาญาที่ไม่สามารถยอมความกันได้