ชุมพร - เจ้าหน้าที่ป่าไม้สนธิกำลังบุกยึดป่าสงวนถูกนายทุนใหญ่ยึดครองปลูกยางพาราร่วมหมื่นต้น กว่า 200 ไร่ รัฐเสียหายกว่า 16 ล้านบาท
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (15 มิ.ย.) นายสมชาย เลขาวิวัฒน์ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 11 (สุราษฎร์ธานี) นายธนิต สังขนิตย์ ผอ.ส่วนป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า นายนิวัฒน์ สังข์มาลา สายตรวจปราบปรามทรัพยากรป่าไม้สายที่ 2 ชุมพร นายสมใจ ระมัด หัวหน้าป้องกันรักษาป่าที่ ชพ.11 นายจำเริญ คงไพฑูรย์ ปลัดฝ่ายปกครองอำเภอปะทิว นายธนารัตน์ วงค์ติณชาติ กำนันตำบลเขาไชยราช พร้อมรถยนต์โฟร์วีล 5 คัน สนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อส. ทหารชุด ร.25 พัน 1 จังหวัดทหารบกชุมพร เจ้าหน้าที่ กอ.รมน.ชุมพร หน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ 45 ชุมพร กว่า 50 นาย เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่ารับร่อ-สลุย บริเวณเทือกเขาช่องจำปา บ้านพละ หมู่ 3 ตำบลเขาไชยราช อ.ปะทิว จ.ชุมพร ใกล้ชายแดนไทย-พม่า
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือ GPS ตรวจวัดพิกัดจากสัญญาณดาวเทียม จุดแรกพบมีเนื้อที่ถูกบุกรุกก่นสร้างแผ้วถางยึดครองปลูกยางพารา จำนวน 170 ไร่ จุดที่ 2 อยู่ใกล้กันพบมีพื้นที่บุกรุกยึดครองปลูกยางพารา จำนวน 72 ไร่ รวมพื้นที่ 2 แปลง จำนวน 242 ไร่ มีการบุกรุกปลูกยางพาราอายุประมาณ 2-6 ปี จำนวนกว่า 8,000 ต้น ทำให้รัฐได้รับความเสียหายกว่า 16,500,000 บาท ขณะตรวจยึดไม่พบบุคคล หรือผู้กระทำผิดอยู่ในที่เกิดเหตุ จาการสอบสวนในเชิงลึกพบว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นของนายทุนผู้มีอิทธิพลกลุ่มหนึ่งเข้าไปดำเนินการในนามของบริษัทที่มีอักษรย่อว่า “ช” ซึ่งมีความสนิทสนมกับนักการเมืองใหญ่หลายพรรคการเมือง
ไม่มีความเกรงกลัวกฎหมายโดยว่าจ้างแรงงาน และคนในพื้นที่คอยดูแล และติดตามความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ไหวตัวได้อย่างรวดเร็ว ยากต่อการจับกุมตัวมาดำเนินคดี หลังเจ้าหน้าที่ถอนกำลังออกก็จะจ้างชาวบ้านเข้าไปดูแลยึดครองกลับมาเหมือนเดิม
โดยใช้เส้นสายทางการเมืองวิ่งเต้นกดดันเจ้าหน้าที่
นายธนิต สังขนิตย์ ผอ.ส่วนป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กล่าวว่า พื้นที่ป่าสงวนที่ตรวจยึดทั้ง 2 แปลงดังกล่าว ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 30,31 มกราคม 2552 สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 11 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สนธิกำลังใช้มาตรการตามกฎหมายมาตรา 25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เข้าตรวจตัดทำลายต้นยางพารายึดพื้นที่กลับคืนมาเป็นของรัฐไปแล้วทั้ง 2 แปลง โดยแปลงแรก จำนวน 70 ไร่ แปลงที่ 2 จำนวน 63 ไร่ รวมพื้นที่ 133 ไร่ ซึ่งจากการตรวจยึดพื้นที่ในวันนี้แสดงให้เห็นว่า นายทุนผู้บุกรุกไม่มีความเกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ยังกลับเข้ามาปลูกยางพารา และบุกรุกขยายพื้นที่มากกว่าเดิมถึง 242 ไร่
นายธนิต กล่าวต่อว่า การตรวจยึดครั้งนี้ถือเป็นนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาล โดยเน้นการกวาดล้างตรวจยึดจับกุมการบุกรุกยึดครองพื้นที่ป่าของพวกนายทุน กลุ่มทุนทุกราย ส่วนพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหากพบว่า ปลูกยางพารามาแล้วไม่เกิน 7 ปี จะถูกจับกุม และตัดทำลายต้นยางพาราทั้งหมด ส่วนชาวบ้านที่ปลูกมานานเกินกว่า 7 ปี ก็จะมีการชะลอการจับกุมโดยใช้มาตรการทางปกครองไปก่อน ส่วนพื้นที่บุกรุกถ้าเป็นของกลุ่มทุน หรือนายทุนจะไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น
สำหรับการตรวจยึดพื้นที่บุกรุกปลูกยางพาราของกลุ่มนายทุนทั้ง 2 แปลงในวันนี้ ได้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.มาบอำมฤต อ.ปะทิว ท้องที่เกิดเหตุ เพื่อสอบสวนขยายผลจับกุมนายทุน และประกาศใช้มาตรการตามมาตรา 25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เข้าดำเนินการยึด ตัดโค่น ทำลาย รื้อถอน กลับคืนมาเป็นของรัฐต่อไป
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (15 มิ.ย.) นายสมชาย เลขาวิวัฒน์ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 11 (สุราษฎร์ธานี) นายธนิต สังขนิตย์ ผอ.ส่วนป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า นายนิวัฒน์ สังข์มาลา สายตรวจปราบปรามทรัพยากรป่าไม้สายที่ 2 ชุมพร นายสมใจ ระมัด หัวหน้าป้องกันรักษาป่าที่ ชพ.11 นายจำเริญ คงไพฑูรย์ ปลัดฝ่ายปกครองอำเภอปะทิว นายธนารัตน์ วงค์ติณชาติ กำนันตำบลเขาไชยราช พร้อมรถยนต์โฟร์วีล 5 คัน สนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อส. ทหารชุด ร.25 พัน 1 จังหวัดทหารบกชุมพร เจ้าหน้าที่ กอ.รมน.ชุมพร หน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ 45 ชุมพร กว่า 50 นาย เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่ารับร่อ-สลุย บริเวณเทือกเขาช่องจำปา บ้านพละ หมู่ 3 ตำบลเขาไชยราช อ.ปะทิว จ.ชุมพร ใกล้ชายแดนไทย-พม่า
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือ GPS ตรวจวัดพิกัดจากสัญญาณดาวเทียม จุดแรกพบมีเนื้อที่ถูกบุกรุกก่นสร้างแผ้วถางยึดครองปลูกยางพารา จำนวน 170 ไร่ จุดที่ 2 อยู่ใกล้กันพบมีพื้นที่บุกรุกยึดครองปลูกยางพารา จำนวน 72 ไร่ รวมพื้นที่ 2 แปลง จำนวน 242 ไร่ มีการบุกรุกปลูกยางพาราอายุประมาณ 2-6 ปี จำนวนกว่า 8,000 ต้น ทำให้รัฐได้รับความเสียหายกว่า 16,500,000 บาท ขณะตรวจยึดไม่พบบุคคล หรือผู้กระทำผิดอยู่ในที่เกิดเหตุ จาการสอบสวนในเชิงลึกพบว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นของนายทุนผู้มีอิทธิพลกลุ่มหนึ่งเข้าไปดำเนินการในนามของบริษัทที่มีอักษรย่อว่า “ช” ซึ่งมีความสนิทสนมกับนักการเมืองใหญ่หลายพรรคการเมือง
ไม่มีความเกรงกลัวกฎหมายโดยว่าจ้างแรงงาน และคนในพื้นที่คอยดูแล และติดตามความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ไหวตัวได้อย่างรวดเร็ว ยากต่อการจับกุมตัวมาดำเนินคดี หลังเจ้าหน้าที่ถอนกำลังออกก็จะจ้างชาวบ้านเข้าไปดูแลยึดครองกลับมาเหมือนเดิม
โดยใช้เส้นสายทางการเมืองวิ่งเต้นกดดันเจ้าหน้าที่
นายธนิต สังขนิตย์ ผอ.ส่วนป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กล่าวว่า พื้นที่ป่าสงวนที่ตรวจยึดทั้ง 2 แปลงดังกล่าว ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 30,31 มกราคม 2552 สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 11 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สนธิกำลังใช้มาตรการตามกฎหมายมาตรา 25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เข้าตรวจตัดทำลายต้นยางพารายึดพื้นที่กลับคืนมาเป็นของรัฐไปแล้วทั้ง 2 แปลง โดยแปลงแรก จำนวน 70 ไร่ แปลงที่ 2 จำนวน 63 ไร่ รวมพื้นที่ 133 ไร่ ซึ่งจากการตรวจยึดพื้นที่ในวันนี้แสดงให้เห็นว่า นายทุนผู้บุกรุกไม่มีความเกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ยังกลับเข้ามาปลูกยางพารา และบุกรุกขยายพื้นที่มากกว่าเดิมถึง 242 ไร่
นายธนิต กล่าวต่อว่า การตรวจยึดครั้งนี้ถือเป็นนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาล โดยเน้นการกวาดล้างตรวจยึดจับกุมการบุกรุกยึดครองพื้นที่ป่าของพวกนายทุน กลุ่มทุนทุกราย ส่วนพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหากพบว่า ปลูกยางพารามาแล้วไม่เกิน 7 ปี จะถูกจับกุม และตัดทำลายต้นยางพาราทั้งหมด ส่วนชาวบ้านที่ปลูกมานานเกินกว่า 7 ปี ก็จะมีการชะลอการจับกุมโดยใช้มาตรการทางปกครองไปก่อน ส่วนพื้นที่บุกรุกถ้าเป็นของกลุ่มทุน หรือนายทุนจะไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น
สำหรับการตรวจยึดพื้นที่บุกรุกปลูกยางพาราของกลุ่มนายทุนทั้ง 2 แปลงในวันนี้ ได้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.มาบอำมฤต อ.ปะทิว ท้องที่เกิดเหตุ เพื่อสอบสวนขยายผลจับกุมนายทุน และประกาศใช้มาตรการตามมาตรา 25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เข้าดำเนินการยึด ตัดโค่น ทำลาย รื้อถอน กลับคืนมาเป็นของรัฐต่อไป