สุราษฎร์ธานี - ภาครัฐ-เอกชน เดินหน้าจัดงาน “บสย.มหกรรมเข้าถึงแหล่งทุน” ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเร่งกระตุ้นให้สถาบันการเงิน ปล่อยสินเชื่อให้แก่เอสเอ็มอีมากขึ้น
นายคมสัน วัฒนวนาพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า บสย.และองค์กรคู่ความร่วมมือ ประกอบด้วยหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ คณะผู้บริหารงานคลังจังหวัดสุราษฎร์ธานี บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด และสถาบันการเงินภาครัฐ และเอกชน มีความเห็นร่วมกันพร้อมเดินหน้าจัดงาน “บสย.มหกรรมเข้าถึงแหล่งทุน” ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทันที โดยไม่รอให้สิ้นสุดไตรมาส 2 หรือครึ่งปีแรกของปี 2558
ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้มีการปล่อยสินเชื่อให้แก่เอสเอ็มอีมากขึ้น พร้อมให้คำปรึกษาทางการเงิน และด้านบริหารจัดการจากหน่วยงานภาครัฐ และเอชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการเข้าถึงแหล่งทุนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
นายคมสัน กล่าวอีกว่า การปล่อยสินเชื่อไตรมาสแรกของสถาบันการเงินในปีนี้นั้นเริ่มดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งดูจากยอดอนุมัติค้ำประกันที่สูงขึ้นมาก อนุมัติค้ำประกัน จำนวน 10,316 ราย วงเงิน 23,325 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 89 สะท้อนว่าสถานการณ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเริ่มดีขึ้น ทั้งนี้ ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ดูแลเอสเอ็มอี จำเป็นต้องเร่งกระตุ้นให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้แก่เอสเอ็มอีมากขึ้น
สำหรับงาน บสย.มหกรรมเข้าถึงแหล่งทุน ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมไดมอนด์ อ.เมือง ในครั้งนี้ จะเป็นเครื่องมือให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีในรูปของความร่วมมือ โดยที่ผู้ประกอบการสามารถรับทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ และรับฟังการบรรยายพิเศษจากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจโลก ทิศทางเศรษฐกิจไทย” รวมถึงการเข้ารับคำปรึกษาการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งแผนธุรกิจ การจัดทำรูปแบบบัญชี การบริหารจัดการธุรกิจเบื้องต้น ระบบบริหารต้นทุนธุรกิจ การตรวจสุขภาพธุรกิจ การรับคำปรึกษาแผนการขอสินเชื่อ และการขอรับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. เพื่อผู้ประกอบการเสริมทักษะการเรียนรู้ และเข้าใจเรื่องธุรกิจแบบง่ายๆ กับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และอัปเดตสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยนักเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน
นายคมสัน กล่าวในตอนท้ายว่า ตอนนี้สภาพเศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนพบว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในส่วนของ บสย.สาขาสุราษฎร์ธานีนั้น ปัจจุบันมียอดอนุมัติค้ำประกันสะสม จำนวน 9,640 ราย วงเงินค้ำประกัน 25,600 ล้านบาท ขณะที่ยอดอนุมัติในไตรมาสแรกของปี 2558 มีจำนวน 526 ราย วงเงิน 1,260 ล้านบาท ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ขอเข้ารับการค้ำประกันสูงสุด 3 กลุ่ม คือ 1.ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 2.การผลิตสินค้าและบริการ และ 3.ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง เครื่องอุปโภคบริโภค
นายคมสัน วัฒนวนาพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า บสย.และองค์กรคู่ความร่วมมือ ประกอบด้วยหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ คณะผู้บริหารงานคลังจังหวัดสุราษฎร์ธานี บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด และสถาบันการเงินภาครัฐ และเอกชน มีความเห็นร่วมกันพร้อมเดินหน้าจัดงาน “บสย.มหกรรมเข้าถึงแหล่งทุน” ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทันที โดยไม่รอให้สิ้นสุดไตรมาส 2 หรือครึ่งปีแรกของปี 2558
ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้มีการปล่อยสินเชื่อให้แก่เอสเอ็มอีมากขึ้น พร้อมให้คำปรึกษาทางการเงิน และด้านบริหารจัดการจากหน่วยงานภาครัฐ และเอชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการเข้าถึงแหล่งทุนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
นายคมสัน กล่าวอีกว่า การปล่อยสินเชื่อไตรมาสแรกของสถาบันการเงินในปีนี้นั้นเริ่มดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งดูจากยอดอนุมัติค้ำประกันที่สูงขึ้นมาก อนุมัติค้ำประกัน จำนวน 10,316 ราย วงเงิน 23,325 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 89 สะท้อนว่าสถานการณ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเริ่มดีขึ้น ทั้งนี้ ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ดูแลเอสเอ็มอี จำเป็นต้องเร่งกระตุ้นให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้แก่เอสเอ็มอีมากขึ้น
สำหรับงาน บสย.มหกรรมเข้าถึงแหล่งทุน ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมไดมอนด์ อ.เมือง ในครั้งนี้ จะเป็นเครื่องมือให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีในรูปของความร่วมมือ โดยที่ผู้ประกอบการสามารถรับทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ และรับฟังการบรรยายพิเศษจากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจโลก ทิศทางเศรษฐกิจไทย” รวมถึงการเข้ารับคำปรึกษาการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งแผนธุรกิจ การจัดทำรูปแบบบัญชี การบริหารจัดการธุรกิจเบื้องต้น ระบบบริหารต้นทุนธุรกิจ การตรวจสุขภาพธุรกิจ การรับคำปรึกษาแผนการขอสินเชื่อ และการขอรับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. เพื่อผู้ประกอบการเสริมทักษะการเรียนรู้ และเข้าใจเรื่องธุรกิจแบบง่ายๆ กับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และอัปเดตสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยนักเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน
นายคมสัน กล่าวในตอนท้ายว่า ตอนนี้สภาพเศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนพบว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในส่วนของ บสย.สาขาสุราษฎร์ธานีนั้น ปัจจุบันมียอดอนุมัติค้ำประกันสะสม จำนวน 9,640 ราย วงเงินค้ำประกัน 25,600 ล้านบาท ขณะที่ยอดอนุมัติในไตรมาสแรกของปี 2558 มีจำนวน 526 ราย วงเงิน 1,260 ล้านบาท ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ขอเข้ารับการค้ำประกันสูงสุด 3 กลุ่ม คือ 1.ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 2.การผลิตสินค้าและบริการ และ 3.ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง เครื่องอุปโภคบริโภค