ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ไทยเจ้าภาพประชุมระบบบริการจัดการน้ำของอาเซียน ที่ภูเก็ต เดินหน้าร่วมมืออาเซียน ตั้งคณะทำงานพัฒนาข้อมูลน้ำเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และป้องกันภัยพิบัติ
วันนี้ (24 พ.ค.) นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงวิชาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เรื่อง ระบบการบริหารจัดการน้ำของอาเซียน ในการประชุมคณะกรรมาธิการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technilogy หรือ ASEAN) ครั้งที่ 69 ซึ่งประเทศไทย มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 21-29 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมโมเวนพิค ต.กะรน อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต
นายพิเชฐ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลายเป็นเรื่องสำคัญที่นานาประเทศต่างมุ่งมั่นที่จะเตรียมตัวเพื่อรับมือต่อภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะภัยด้านน้ำ หากสามารถรู้ข้อมูลสภาพภูมิอากาศก่อน เพื่อนำไปใช้ติดตาม และคาดการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือต่อเหตุการณ์ หรือภัยธรรมชาติที่จะมาถึงจะช่วยลดหรือบรรเทาภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ซึ่งปัจจุบันประเทศในอาเซียนต่างได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ เช่น ในปี 2557 มีพายุ 30 ลูก เกิดขึ้นในฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน มูลค่าความเสียหายมากกว่า 8.38 พันล้านดอลลาร์ และรวมทั้งในประเทศไทย เป็นปีที่น้ำเค็มรุกมากที่สุด ประกอบกับปริมาณน้ำของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์มีน้อยมาก ทำให้เกิดผลกระทบน้ำเค็มรุกเข้าพื้นที่การเกษตร และการผลิตน้ำประปา
ขณะที่ นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. กล่าวว่า สสนก. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักของไทย ในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ภายใต้ 1 ใน 8 ของข้อริเริ่มกระบี่ ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องระบบการบริหารจัดการน้ำของอาเซียน หรือ Asean Water Management System หรือในครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ร่วมมือกันเป็นคณะทำงานเพื่อพัฒนาข้อมูลน้ำ และสภาพภูมิอากาศ อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง จนกลายเป็นวาระเร่งด่วนของหลายประเทศในอาเซียน
ให้หันมาเริ่มให้ความสนใจอย่างจริงจังต่อการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ จึงได้ร่วมมืออาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาข้อมูลน้ำเพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงแบ่งปันข้อมูลในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของแต่ละประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อม และรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และป้องกันภัยพิบัติในภูมิภาคอาเซียนต่อไป
วันนี้ (24 พ.ค.) นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงวิชาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เรื่อง ระบบการบริหารจัดการน้ำของอาเซียน ในการประชุมคณะกรรมาธิการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technilogy หรือ ASEAN) ครั้งที่ 69 ซึ่งประเทศไทย มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 21-29 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมโมเวนพิค ต.กะรน อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต
นายพิเชฐ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลายเป็นเรื่องสำคัญที่นานาประเทศต่างมุ่งมั่นที่จะเตรียมตัวเพื่อรับมือต่อภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะภัยด้านน้ำ หากสามารถรู้ข้อมูลสภาพภูมิอากาศก่อน เพื่อนำไปใช้ติดตาม และคาดการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือต่อเหตุการณ์ หรือภัยธรรมชาติที่จะมาถึงจะช่วยลดหรือบรรเทาภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ซึ่งปัจจุบันประเทศในอาเซียนต่างได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ เช่น ในปี 2557 มีพายุ 30 ลูก เกิดขึ้นในฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน มูลค่าความเสียหายมากกว่า 8.38 พันล้านดอลลาร์ และรวมทั้งในประเทศไทย เป็นปีที่น้ำเค็มรุกมากที่สุด ประกอบกับปริมาณน้ำของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์มีน้อยมาก ทำให้เกิดผลกระทบน้ำเค็มรุกเข้าพื้นที่การเกษตร และการผลิตน้ำประปา
ขณะที่ นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. กล่าวว่า สสนก. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักของไทย ในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ภายใต้ 1 ใน 8 ของข้อริเริ่มกระบี่ ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องระบบการบริหารจัดการน้ำของอาเซียน หรือ Asean Water Management System หรือในครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ร่วมมือกันเป็นคณะทำงานเพื่อพัฒนาข้อมูลน้ำ และสภาพภูมิอากาศ อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง จนกลายเป็นวาระเร่งด่วนของหลายประเทศในอาเซียน
ให้หันมาเริ่มให้ความสนใจอย่างจริงจังต่อการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ จึงได้ร่วมมืออาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาข้อมูลน้ำเพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงแบ่งปันข้อมูลในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของแต่ละประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อม และรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และป้องกันภัยพิบัติในภูมิภาคอาเซียนต่อไป