xs
xsm
sm
md
lg

นักศึกษาจาก 3 มหาวิทยาลัยในพื้นที่ จชต. ร่วมเสนอผลงานการวิจัย มุ่งพัฒนาชุมชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ปัตตานี - นักศึกษา 3 สถาบันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมเสนอผลงานวินัยจำนวนกว่า 19 เรื่อง ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสดึง 3 สถาบันอุดมศึกษาเปิดรั้วมหาวิทยาลัยฯ ปั้นนักศึกษาสู่งานวิจัยชุมชน

วันนี้ (26 เม.ย.) ที่ตึกอาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี รศ. ดร.คนิตา นิจจรัลกุล รอง ผอ.ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตสถานวิจัยพาหุวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เป็นประธานเปิดงาน “เครือข่ายวิจัยสังคมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ซึ่งเป็นงานแสดงผลการวิจัยของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 3 สถาบันหลัก ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 19 เรื่อง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยอิสลามฟาฏอนี โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสดึงสามสถาบันอุดมศึกษาเปิดรั้วมหาวิทยาลัยฯ ปั้นนักศึกษาสู่งานวิจัยชุมชน

ด้าน นายเกินศักดิ์ ศรีสวย หัวหน้าโครงการวิจัย สสค.ได้กล่าวว่า ครั้งนี้ได้ร่วมกับเครือข่ายอุดมศึกษา 3 มหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้เปิดพื้นที่เรียนรู้ผ่านงานศึกษาวิจัยร่วมกับชุมชน โดยมีงานศึกษาที่น่าสนใจ เช่น งานวิจัยผลกระทบผู้ติดเชื้อเอซไอวีของเด็กในสถานที่สงเคราะห์ของนักศึกษาปี่ที่ 3 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งพบเส้นทางการติดเชื้อของเด็กพบว่า เด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อแม่สู่ลูก โดยมาจากภรรยาติดเชื้อมาจากสามี และมีกรณีติดยาเสพติดชนิดฉีด และใช้เข็มร่วมกัน โดยฝ่ายชายติดติดก่อนแล้วแพร่เชื้อมาสู่ฝ่ายหญิง

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดพื้นที่เรียนรู้ให้เยาวชนในจังหวัดชายแดนใต้ได้ข้ามถิ่นไปศึกษาในพื้นที่อื่น เช่น งานวิจัยการจัดการระบบผลิตอาหารและทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานภูมิปัญญาชนพื้นเมืองกลุ่มชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ย เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล เป็นผลงานนักศึกษาปี 3 ของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ได้ร่วมกันลงพื้นที่

นอกจากนั้น ยังมีผลงานวิจัยเชิงพัฒนาในพื้นที่ “ฟื้นนาร้างด้วยปัญญา พลิกพื้นนาด้วยความรู้” ที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาพลิกพื้นนาขึ้นมาใหม่จากปัญหาดินเปรี้ยว ที่ทำให้พื้นนาถูกทิ้งร้าง ซึ่งเป็นผลงานของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นอกจากนั้น ยังมีผลงานการวิจัย การศึกษากระบวนการเรียนการสอนของมัจลิสอิลมีย์ ต่อการพัฒนาชุมชนกรณีศึกษาชุมชนบ้านบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี การวิจัยการศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ชุมชนกับเด็กกำพร้า ต.ปะโด อ.มายอ จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นผลงานนักศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามฟาฏอนี เป็นต้น ภายในงานยังได้มอบรางวัลผลงานดีเด่น และประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการอีกด้วย


 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น