ศูนย์ข่าวภูเก็ต - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ภูเก็ต ตรวจติดตามความก้าวหน้าในการนำร่องทดสอบระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง ย้ำ พ.ค.นี้ ต้องครบทั้ง 22 จังหวัด เชิญชวนเรือประมงขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป เข้าร่วมขจัด IUU ฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศ
วันนี้ (19 เม.ย.) ที่ห้องประชุมองค์การสะพานปลา จ.ภูเก็ต นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ท่าเทียบเรือประมง อ.เมือง จ.ภูเก็ต เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการนำร่องทดสอบระบบควบคุมการเข้า-ออกเรือประมง (Port in- Port out) โดยมี นายสุธี ทองแย้ม รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พล.ร.ต.สมชาย ณ บางช้าง เสนาธิการทัพเรือภาค 3 หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต ตำรวจน้ำภูเก็ต จัดหางานจังหวัดภูเก็ต สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต ร่วมให้การต้อนรับ
นายปีติพงศ์ กล่าวในการประชุมรับฟังการบรรยาสรุปถึงความคืบหน้าในการควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ว่า กรมประมงได้เริ่มทดลองใช้ระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออกของเรือประมง ใน 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ ภูเก็ต ระนอง ชุมพร และสงขลา มาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา เพื่อให้เรือประมงที่มีขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป ก่อนจะออกไปทำการประมง และกลับเข้าเทียบท่าต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการเข้า-ออกของเรือประมงที่กำหนดทั้ง 26 ศูนย์ เพื่อให้มีการรายงานข้อมูลการทำประมง รวมถึงแรงงานบนเรือประมง เช่น ทะเบียนเรือ เครื่องมือทำการประมง ใบอนุญาตทำการประมง ผลจับสัตว์น้ำจากสมุดบันทึกการทำประมง (logbook) ตลอดจนบุคคลทำการประมงประจำเรือ (กัปตัน เจ้าของเรือ แรงงานบนเรือ)
โดยข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ที่เรือประมงแจ้งจะถูกนำไปใช้ตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งถือเป็นการสร้างกติกาใหม่ภายใต้ระบบสากลให้ชาวประมงถือเป็นแนวทางปฎิบัติที่ต้องดำเนินการโดยเฉพาะเมื่อ พ.ร.บ.การประมงฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ จึงชี้ให้เห็นว่า ระบบ Port in -Port out สามารถควบคุมการทำประมง มีการใช้แรงงานที่ถูกต้อง มีสัญญาจ้าง ถือเป็นการควบคุมกำกับของหน่วยงานรัฐที่เบ็ดเสร็จที่จะแก้ไขปัญหา ทั้งเรื่องประมง IUU ได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยข้อกำหนดที่เรือและเครื่องมือต้องถูกต้องมีใบอนุญาตทำประมง มีการใช้แรงงานที่ถูกต้อง มีสัญญาจ้าง ถือเป็นการควบคุมของหน่วยงานรัฐแบบเบ็ดเสร็จที่จะแก้ปัญหา ทั้งเรื่อประมง IUU และการค้ามนุษย์ในภาคแรงงานประมงด้วย สำหรับผลการทดลองนำร่อง 10 วัน ใน 4 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 18 เมษายน 2558) ปรากฏว่า เบื้องต้น มีจำนวนเรือประมงขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป มาแจ้งออกจากท่า จำนวน 223 ครั้ง และแจ้งเท่าเข้า จำนวน 143 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้กรมประมงดำเนินการประชาสัมพันธ์อย่างเร่งด่วนเพื่อเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเรือประมง ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป รวมถึงแพปลา และท่าเทียบเรือทั้ง 297 แห่ง ให้ความร่วมมือในการเข้าสู่ระบบแจ้งเข้า-ออก และให้เร่งดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งหมด 22 จังหวัดชายทะเล ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เพราะระบบ Port in -Port out เป็นระบบที่เป็นสากลสามารถควบคุมการทำประมงให้เป็น IUU ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ด้าน นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลจากการนำร่องทดลองระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออก พบว่า การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะเรือใหม่ๆ ที่ไม่เคยรับรู้และเข้าใจการทำงานระบบนี้ จึงไม่ได้ให้ความสนใจที่จะมาเข้าสู่ระบบ นอกจากนี้ ชาวประมง และผู้ประกอบการบางส่วนยังได้ให้ข้อเสนอแนะ และร้องขอมาว่า อยากให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการแจ้งข้อมูลต่างๆ ในจุดเดียวกันแบบ One Stop Service และเพิ่มศูนย์ควบคุม Port in - Port out ให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งกรมประมง จะนำผลสรุปเหล่านี้ไปปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานก่อนที่จะใช้ระบบดังกล่าวทั่วทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับ พ.ร.บ.การประมงฉบับใหม่ ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน หรือกรกฎาคม2558
อย่างไรก็ตาม นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังรับทราบข้อมูลด้านต่างๆ จากหน่วยงานเกี่ยวข้องในพื้นที่ จ.ภูเก็ต ว่า วันนี้เป็นการมาติดตามความก้าวหน้าในการนำร่องทดสอบระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง ซึ่งเราเพิ่งเริ่มทำเรื่องนี้เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ปรากฏว่า ชาวประมงส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ยังมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ เช่น เรื่องกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย ระบบการเก็บข้อมูล และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศที่เป็นเจ้าของเรือ และเป็นประเทศที่มีน่านน้ำที่เราไปจับสัตว์น้ำ และยังมีปัญหาข้อมูลภายในประเทศของเราอีกในระดับหนึ่ง
วันนี้ ตนได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางทัพเรือภาคที่ 3 กรมเจ้าท่า ตำรวจน้ำ และหน่วยงานด้านแรงงาน มาช่วยกันกำหนดแนวทางเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งจะต้องมีการกำหนดเวลาชัดเจนว่าจะทำเรื่องอะไร เมื่อไหร่ เช่น จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลเรือที่มีทั้งหมดหลายพันลำ ให้เข้ามาอยู่ในระบบได้แล้วเสร็จเมื่อไหร่ อย่างไร เป็นต้น ส่วนที่ 2 ปัญหาช่องว่างระหว่างกฎหมายจะหมดเมื่อไหร่ รวมถึงความก้าวหน้าในการนำร่องทดสอบระบบควบคุม การรับทราบข้อมูลด้านต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย จากการพูดคุยหลายฝ่ายเห็นว่า บางส่วนของกฎหมายน่าจะมีการออกกฎหมายเพิ่มเติมหลังจาก พ.ร.บ.การประมง ได้ผ่านการลงพระปรมาภิไธยไปแล้ว ส่วนอื่นก็คงจะต้องเร่งที่จะออกกฎหมายลูกซึ่งมีหลายสิบฉบับ อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะต้องออกกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับกฎหมายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฎหมายประมง กฎหมายแรงงาน กฎหมายเรื่องของเจ้าท่า แล้วก็ส่วนที่สำคัญมากที่สุดในขณะนี้ก็ คือ กฎหมายรวมเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing ที่ทางอียู เขาพยายามกฎดันให้เราแก้ไขให้ได้ กฎหมายรวมที่ว่าก็อาจจะออกมาในรูปพระราชกำหนด หรือว่าให้มาตราตามรัฐธรรมนูญ ก็แล้วแต่ความเร่งด่วนของงาน กฎหมายรวมที่ว่าจะมีหน้าที่โดยเฉพาะเพื่อแก้ปัญหาเรื่อง IUU โดยตรง แล้วก็พยายามบูรณาการกฎหมายต่างๆ เข้ามาให้สอดคล้องต่อความต้องการของประเทศที่เราส่งออก
สุดท้ายที่พยายามชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่ คือ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่มีการควบคุม หรือมีการควบคุมน้อยมานานแล้ว การที่จะบังคับใช้กฎหมายอะไรก็ต้องดูสภาพเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงาน หรือสภาพวิถีปฏิบัติให้เกษตรกร หรือชาวประมงให้สามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็มาบังคับใช้กันโดยเด็ดขาดในวันเดียว ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้ ต้องดูสภาพ คิดว่าประมาณสัปดาห์หน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งปฏิบัติงานจริง ไม่ว่าจะเป็นที่นี่ หรือว่าอีก 3-4 แห่ง จะต้องมานั่งคุยกันว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ แผนงานเป็นอย่างไร แล้วก็จะแก้ไขช่องว่าทางกฎหมายกันอย่างไร
ภาพรวมทั่วประเทศมีหลายเรื่อง มีเรื่องการจดทะเบียนเรือ ดำเนินการไปเยอะ แต่ในเรื่องของการจดทะเบียนอาญาบัตรก็มีส่วนหนึ่งซึ่งยังไม่สามารถจดทะเบียนได้ประมาณ 2-3 พันกว่าลำ ในเรื่องของการติดเครื่องติดตามเฉพาะเรือที่เกิน 60 ตันกรอส เป็นเรือที่ไปทำงานต่างประเทศมีคนที่ยอมที่จะติดอยู่จำนวนหนึ่งกลับติดไม่ได้เรากำลังมองดูว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ว่าติดกับไม่ติดขณะนี้กฎหมายที่บังคับให้ติดทันที แต่ว่าความเร่งด่วนมีแค่ไหนต้องไปดูอีกครั้ง สามส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวระบบการติดตามของกรมประมงเองจะเสร็จในเดือนพฤษภาคม คือระบบตรวจสอบปรับเริ่ม 1 เมษายน 2558 กำลังประเมินว่าทำได้แค่ไหนอย่างไร
กรณีตรวจจับด้วยเรดาร์เชื่อมกับของกรมประมง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตรงส่วนนี้สามารถทำได้หมดเพราะเราต้องการเชื่อมกับทุกระบบอยู่แล้ว ขณะนี้ที่ทำอยู่เรื่องการจดทะเบียนแรงงานเรือ ของเจ้าท่า ฝ่ายประมง ต้องเชื่อมโยงแล้วต่อไปต้องเชื่อมโยงไปถึงประเทศที่เป็นเจ้าของเรือ แล้วก็น่านน้ำของประเทศที่เราไปจับ หรือเขามาจับสัตว์น้ำน่านน้ำบ้านเรา ขณะนี้เราแก้ 2 เรื่องควบคู่กันไป เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่อง IUU ก็เป็นปัญหาเรื่องการจับสัตว์น้ำมากเกินไป การใช้เครื่องมือผิดประเภท เป็นต้น ส่วนเรื่องด้านมนุษยธรรม เราใช้แรงงานผิดประเภท แต่บังเอิญเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน เลยเอามาพูดกันก็พยายามแก้ไข เป็นครั้งแรกที่ทั้งชาวประมง และหน่วยราชการเห็นว่าเป็นความจำเป็นของชาติที่จะต้องช่วยกันแก้ไข เพราะฉะนั้นเราจะเสียโอกาสไปเยอะมาก
คิดว่าในเดือนพฤษภาคม เรื่องของการจดทะเบียนคิดว่าไปได้ไกลแล้ว แต่ว่าระบบของการรายงานแหล่งกำเนิดต่างๆ เหล่านี้ หรือระบบการติดตั้งติดตามคงต้องใช้เวลาอีกนิดหน่อย แต่คาดว่าในเดือนพฤษภาคม เราคงจะต้องรู้แล้วว่าเราจะต้องทำอะไรบ้าง กฎหมายลูก เขาร่างไว้เสร็จหมดแล้ว รอว่ากฎหมายแม่จะออกเมื่อไหร่ ตอนนี้ก็ใกล้เวลาแล้ว ถ้าลงพระปรมาภิไธยเมื่อไหร่ก็จะเอากฎหมายลูกผ่านตามขั้นตอน
วันนี้ (19 เม.ย.) ที่ห้องประชุมองค์การสะพานปลา จ.ภูเก็ต นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ท่าเทียบเรือประมง อ.เมือง จ.ภูเก็ต เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการนำร่องทดสอบระบบควบคุมการเข้า-ออกเรือประมง (Port in- Port out) โดยมี นายสุธี ทองแย้ม รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พล.ร.ต.สมชาย ณ บางช้าง เสนาธิการทัพเรือภาค 3 หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต ตำรวจน้ำภูเก็ต จัดหางานจังหวัดภูเก็ต สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต ร่วมให้การต้อนรับ
นายปีติพงศ์ กล่าวในการประชุมรับฟังการบรรยาสรุปถึงความคืบหน้าในการควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ว่า กรมประมงได้เริ่มทดลองใช้ระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออกของเรือประมง ใน 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ ภูเก็ต ระนอง ชุมพร และสงขลา มาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา เพื่อให้เรือประมงที่มีขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป ก่อนจะออกไปทำการประมง และกลับเข้าเทียบท่าต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการเข้า-ออกของเรือประมงที่กำหนดทั้ง 26 ศูนย์ เพื่อให้มีการรายงานข้อมูลการทำประมง รวมถึงแรงงานบนเรือประมง เช่น ทะเบียนเรือ เครื่องมือทำการประมง ใบอนุญาตทำการประมง ผลจับสัตว์น้ำจากสมุดบันทึกการทำประมง (logbook) ตลอดจนบุคคลทำการประมงประจำเรือ (กัปตัน เจ้าของเรือ แรงงานบนเรือ)
โดยข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ที่เรือประมงแจ้งจะถูกนำไปใช้ตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งถือเป็นการสร้างกติกาใหม่ภายใต้ระบบสากลให้ชาวประมงถือเป็นแนวทางปฎิบัติที่ต้องดำเนินการโดยเฉพาะเมื่อ พ.ร.บ.การประมงฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ จึงชี้ให้เห็นว่า ระบบ Port in -Port out สามารถควบคุมการทำประมง มีการใช้แรงงานที่ถูกต้อง มีสัญญาจ้าง ถือเป็นการควบคุมกำกับของหน่วยงานรัฐที่เบ็ดเสร็จที่จะแก้ไขปัญหา ทั้งเรื่องประมง IUU ได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยข้อกำหนดที่เรือและเครื่องมือต้องถูกต้องมีใบอนุญาตทำประมง มีการใช้แรงงานที่ถูกต้อง มีสัญญาจ้าง ถือเป็นการควบคุมของหน่วยงานรัฐแบบเบ็ดเสร็จที่จะแก้ปัญหา ทั้งเรื่อประมง IUU และการค้ามนุษย์ในภาคแรงงานประมงด้วย สำหรับผลการทดลองนำร่อง 10 วัน ใน 4 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 18 เมษายน 2558) ปรากฏว่า เบื้องต้น มีจำนวนเรือประมงขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป มาแจ้งออกจากท่า จำนวน 223 ครั้ง และแจ้งเท่าเข้า จำนวน 143 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้กรมประมงดำเนินการประชาสัมพันธ์อย่างเร่งด่วนเพื่อเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเรือประมง ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป รวมถึงแพปลา และท่าเทียบเรือทั้ง 297 แห่ง ให้ความร่วมมือในการเข้าสู่ระบบแจ้งเข้า-ออก และให้เร่งดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งหมด 22 จังหวัดชายทะเล ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เพราะระบบ Port in -Port out เป็นระบบที่เป็นสากลสามารถควบคุมการทำประมงให้เป็น IUU ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ด้าน นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลจากการนำร่องทดลองระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออก พบว่า การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะเรือใหม่ๆ ที่ไม่เคยรับรู้และเข้าใจการทำงานระบบนี้ จึงไม่ได้ให้ความสนใจที่จะมาเข้าสู่ระบบ นอกจากนี้ ชาวประมง และผู้ประกอบการบางส่วนยังได้ให้ข้อเสนอแนะ และร้องขอมาว่า อยากให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการแจ้งข้อมูลต่างๆ ในจุดเดียวกันแบบ One Stop Service และเพิ่มศูนย์ควบคุม Port in - Port out ให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งกรมประมง จะนำผลสรุปเหล่านี้ไปปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานก่อนที่จะใช้ระบบดังกล่าวทั่วทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับ พ.ร.บ.การประมงฉบับใหม่ ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน หรือกรกฎาคม2558
อย่างไรก็ตาม นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังรับทราบข้อมูลด้านต่างๆ จากหน่วยงานเกี่ยวข้องในพื้นที่ จ.ภูเก็ต ว่า วันนี้เป็นการมาติดตามความก้าวหน้าในการนำร่องทดสอบระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง ซึ่งเราเพิ่งเริ่มทำเรื่องนี้เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ปรากฏว่า ชาวประมงส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ยังมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ เช่น เรื่องกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย ระบบการเก็บข้อมูล และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศที่เป็นเจ้าของเรือ และเป็นประเทศที่มีน่านน้ำที่เราไปจับสัตว์น้ำ และยังมีปัญหาข้อมูลภายในประเทศของเราอีกในระดับหนึ่ง
วันนี้ ตนได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางทัพเรือภาคที่ 3 กรมเจ้าท่า ตำรวจน้ำ และหน่วยงานด้านแรงงาน มาช่วยกันกำหนดแนวทางเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งจะต้องมีการกำหนดเวลาชัดเจนว่าจะทำเรื่องอะไร เมื่อไหร่ เช่น จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลเรือที่มีทั้งหมดหลายพันลำ ให้เข้ามาอยู่ในระบบได้แล้วเสร็จเมื่อไหร่ อย่างไร เป็นต้น ส่วนที่ 2 ปัญหาช่องว่างระหว่างกฎหมายจะหมดเมื่อไหร่ รวมถึงความก้าวหน้าในการนำร่องทดสอบระบบควบคุม การรับทราบข้อมูลด้านต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย จากการพูดคุยหลายฝ่ายเห็นว่า บางส่วนของกฎหมายน่าจะมีการออกกฎหมายเพิ่มเติมหลังจาก พ.ร.บ.การประมง ได้ผ่านการลงพระปรมาภิไธยไปแล้ว ส่วนอื่นก็คงจะต้องเร่งที่จะออกกฎหมายลูกซึ่งมีหลายสิบฉบับ อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะต้องออกกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับกฎหมายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฎหมายประมง กฎหมายแรงงาน กฎหมายเรื่องของเจ้าท่า แล้วก็ส่วนที่สำคัญมากที่สุดในขณะนี้ก็ คือ กฎหมายรวมเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing ที่ทางอียู เขาพยายามกฎดันให้เราแก้ไขให้ได้ กฎหมายรวมที่ว่าก็อาจจะออกมาในรูปพระราชกำหนด หรือว่าให้มาตราตามรัฐธรรมนูญ ก็แล้วแต่ความเร่งด่วนของงาน กฎหมายรวมที่ว่าจะมีหน้าที่โดยเฉพาะเพื่อแก้ปัญหาเรื่อง IUU โดยตรง แล้วก็พยายามบูรณาการกฎหมายต่างๆ เข้ามาให้สอดคล้องต่อความต้องการของประเทศที่เราส่งออก
สุดท้ายที่พยายามชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่ คือ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่มีการควบคุม หรือมีการควบคุมน้อยมานานแล้ว การที่จะบังคับใช้กฎหมายอะไรก็ต้องดูสภาพเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงาน หรือสภาพวิถีปฏิบัติให้เกษตรกร หรือชาวประมงให้สามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็มาบังคับใช้กันโดยเด็ดขาดในวันเดียว ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้ ต้องดูสภาพ คิดว่าประมาณสัปดาห์หน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งปฏิบัติงานจริง ไม่ว่าจะเป็นที่นี่ หรือว่าอีก 3-4 แห่ง จะต้องมานั่งคุยกันว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ แผนงานเป็นอย่างไร แล้วก็จะแก้ไขช่องว่าทางกฎหมายกันอย่างไร
ภาพรวมทั่วประเทศมีหลายเรื่อง มีเรื่องการจดทะเบียนเรือ ดำเนินการไปเยอะ แต่ในเรื่องของการจดทะเบียนอาญาบัตรก็มีส่วนหนึ่งซึ่งยังไม่สามารถจดทะเบียนได้ประมาณ 2-3 พันกว่าลำ ในเรื่องของการติดเครื่องติดตามเฉพาะเรือที่เกิน 60 ตันกรอส เป็นเรือที่ไปทำงานต่างประเทศมีคนที่ยอมที่จะติดอยู่จำนวนหนึ่งกลับติดไม่ได้เรากำลังมองดูว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ว่าติดกับไม่ติดขณะนี้กฎหมายที่บังคับให้ติดทันที แต่ว่าความเร่งด่วนมีแค่ไหนต้องไปดูอีกครั้ง สามส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวระบบการติดตามของกรมประมงเองจะเสร็จในเดือนพฤษภาคม คือระบบตรวจสอบปรับเริ่ม 1 เมษายน 2558 กำลังประเมินว่าทำได้แค่ไหนอย่างไร
กรณีตรวจจับด้วยเรดาร์เชื่อมกับของกรมประมง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตรงส่วนนี้สามารถทำได้หมดเพราะเราต้องการเชื่อมกับทุกระบบอยู่แล้ว ขณะนี้ที่ทำอยู่เรื่องการจดทะเบียนแรงงานเรือ ของเจ้าท่า ฝ่ายประมง ต้องเชื่อมโยงแล้วต่อไปต้องเชื่อมโยงไปถึงประเทศที่เป็นเจ้าของเรือ แล้วก็น่านน้ำของประเทศที่เราไปจับ หรือเขามาจับสัตว์น้ำน่านน้ำบ้านเรา ขณะนี้เราแก้ 2 เรื่องควบคู่กันไป เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่อง IUU ก็เป็นปัญหาเรื่องการจับสัตว์น้ำมากเกินไป การใช้เครื่องมือผิดประเภท เป็นต้น ส่วนเรื่องด้านมนุษยธรรม เราใช้แรงงานผิดประเภท แต่บังเอิญเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน เลยเอามาพูดกันก็พยายามแก้ไข เป็นครั้งแรกที่ทั้งชาวประมง และหน่วยราชการเห็นว่าเป็นความจำเป็นของชาติที่จะต้องช่วยกันแก้ไข เพราะฉะนั้นเราจะเสียโอกาสไปเยอะมาก
คิดว่าในเดือนพฤษภาคม เรื่องของการจดทะเบียนคิดว่าไปได้ไกลแล้ว แต่ว่าระบบของการรายงานแหล่งกำเนิดต่างๆ เหล่านี้ หรือระบบการติดตั้งติดตามคงต้องใช้เวลาอีกนิดหน่อย แต่คาดว่าในเดือนพฤษภาคม เราคงจะต้องรู้แล้วว่าเราจะต้องทำอะไรบ้าง กฎหมายลูก เขาร่างไว้เสร็จหมดแล้ว รอว่ากฎหมายแม่จะออกเมื่อไหร่ ตอนนี้ก็ใกล้เวลาแล้ว ถ้าลงพระปรมาภิไธยเมื่อไหร่ก็จะเอากฎหมายลูกผ่านตามขั้นตอน