ระนอง - ทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย นายลุตฟี ราอุฟ นำคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์ ฝ่ายการศึกษา และวัฒนธรรม ลงพื้นที่จังหวัดระนอง เล็งขยายการลงทุน การค้า การขนส่ง การท่องเที่ยวในจังหวัดระนอง และจังหวัดฝั่งอันดามัน รับเปิดอาเซียน
นายลุตฟี ราอุฟ เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เปิดเผยในระหว่างการเดินทางลงพื้นที่จังหวัดระนอง ว่า ได้นำคณะซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์ ฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรม เดินทางลงพื้นที่จังหวัดระนอง ตามแผนการเยือน 4 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ประกอบด้วย ระนอง พังงา ชุมพร และสุราษฏร์ธานี เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน การขนส่ง การท่องเที่ยว การประมง การศึกษา และวัฒนธรรม ที่จะมีความร่วมมือเพิ่มมากขึ้นหลังการเปิดเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งทางอินโดนีเซีย มีแผนที่จะเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การขนส่งทางทะเล การท่องเที่ยวระหว่างไทย และอินโดนีเซียเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงสู่กลุ่มจังหวัดในฝั่งทะเลอันดามันของไทย
โดยนายลุตฟี ราอุฟ ได้นำคณะเข้าพบ นายสุริยันต์ กาญจนศิลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง และร่วมปรึกษาหารือข้อราชการกับส่วนราชการและหน่วยงานภาคเอกชนใน จ.ระนองด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การเกษตร การประมง การท่องเที่ยว เพื่อรับทราบข้อมูลในด้านต่างๆ จากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมชมท่าเรือระนอง และบรรยากาศการค้าชายแดนไทย-พม่าด้าน จ.ระนอง-เกาะสอง ก่อนเดินทางต่อไปยัง จ.ชุมพร
นายลุตฟี ราอุฟ กล่าวว่า ลู่ทางการพัฒนาการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศจะเป็นไปด้วยดี เพราะในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้อยู่ในเขตพื้นที่พัฒนา 3 ฝ่าย IMGT (อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย) จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการเชื่อมโยงด้านการลงทุนภายใต้กรอบความสัมพันธ์ด้านการพัฒนาที่มีอยู่แล้ว ที่สำคัญขณะนี้อินโดนีเซียมีกฎหมายใหม่ที่เอื้อต่อนักลงทุนทั้งใน และนอกประเทศซึ่งมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ทั้งสองประเทศจะพัฒนาการลงทุนร่วมกัน “เมื่อดูตัวเลขการค้า การลงทุนของนักลงทุนในเขต 14 จังหวัดภาคใต้ หรือตัวเลขการค้าขายระหว่างกัน ถือว่ายังเป็นตัวเลขที่น้อยมาก ดังนั้น ทางอินโดฯจึงมีนโยบายที่จะเพิ่มสัดส่วนการค้า การลงทุนกับภาคเอกชนในเขตพื้นที่จังหวัดในภาคใต้ของไทยให้มากขึ้น”
ปัจจุบัน อินโดนีเซียมีศักยภาพในด้านการค้า การลงทุนมาก และพร้อมในทุกๆ ด้าน โดยมีประชาชนกว่า 200 ล้านคน เป็นประเทศที่ผลิตแร่ดีบุก และลิกไนต์สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นแหล่งผลิตทองคำอันดับ 7 แหล่งถ่านหินอันดับ 8 ของโลก ผลิตก๊าซธรรมชาติใหญ่ติดอันดับโลก ที่สำคัญอินโดนีเซีย เป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มสูงสุดอันดับ 1 ของโลก มีกำลังการผลิตกว่า 15 ล้านตันต่อปี ที่ผ่านมา อินโดนีเซีย ถือเป็นประเทศหลักอีกประเทศหนึ่งที่นำเข้าวัตถุดิบจากไทย เช่น วัสดุก่อสร้าง ปิโตรเลียม โดยขณะนี้มีบริษัทใหญ่ของไทยที่เข้าไปลงทุนแล้วหลายบริษัท เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ สยามซีเมนต์ รวมทั้งการเข้าไปทำประมงของผู้ประกอบการประมงของไทยแต่เกิดปัญหาขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทั้งสองประเทศกำลังเร่งแก้ไขคาดจะสามารถเปิดให้เรือประมงของไทยสามารถเข้าไปทำประมงได้อีกครั้งในเร็วๆ นี้
แต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ให้ถูกต้องมากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเช่นที่ผ่านมา และผลจากการที่อินโดนีเซียมีกฎหมายลงทุนใหม่ที่มีความเสมอภาคกันระหว่างนักลงทุนทั้งใน และนอกประเทศ เชื่อว่าจะเป็นโอกาสที่ดีมากที่นักลงทุนไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคใต้จะฉกฉวยโอกาสนี้เข้าไปร่วมลงทุนในอินโดนีเซีย โดยเฉพาะใน 10 จังหวัดในเกาะสุมาตรา ก็เป็นอีกพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในด้านการค้า การลงทุน เนื่องจากเกาะสุมาตราเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย มีประชากรอยู่อาศัยรวมกันกว่า 50 ล้านคน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ประมง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ป่าไม้ โดยปัญหาและอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในย่านนี้ คือ การคมนาคม
นายลุตฟี ราอุฟ เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เปิดเผยในระหว่างการเดินทางลงพื้นที่จังหวัดระนอง ว่า ได้นำคณะซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์ ฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรม เดินทางลงพื้นที่จังหวัดระนอง ตามแผนการเยือน 4 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ประกอบด้วย ระนอง พังงา ชุมพร และสุราษฏร์ธานี เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน การขนส่ง การท่องเที่ยว การประมง การศึกษา และวัฒนธรรม ที่จะมีความร่วมมือเพิ่มมากขึ้นหลังการเปิดเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งทางอินโดนีเซีย มีแผนที่จะเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การขนส่งทางทะเล การท่องเที่ยวระหว่างไทย และอินโดนีเซียเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงสู่กลุ่มจังหวัดในฝั่งทะเลอันดามันของไทย
โดยนายลุตฟี ราอุฟ ได้นำคณะเข้าพบ นายสุริยันต์ กาญจนศิลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง และร่วมปรึกษาหารือข้อราชการกับส่วนราชการและหน่วยงานภาคเอกชนใน จ.ระนองด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การเกษตร การประมง การท่องเที่ยว เพื่อรับทราบข้อมูลในด้านต่างๆ จากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมชมท่าเรือระนอง และบรรยากาศการค้าชายแดนไทย-พม่าด้าน จ.ระนอง-เกาะสอง ก่อนเดินทางต่อไปยัง จ.ชุมพร
นายลุตฟี ราอุฟ กล่าวว่า ลู่ทางการพัฒนาการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศจะเป็นไปด้วยดี เพราะในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้อยู่ในเขตพื้นที่พัฒนา 3 ฝ่าย IMGT (อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย) จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการเชื่อมโยงด้านการลงทุนภายใต้กรอบความสัมพันธ์ด้านการพัฒนาที่มีอยู่แล้ว ที่สำคัญขณะนี้อินโดนีเซียมีกฎหมายใหม่ที่เอื้อต่อนักลงทุนทั้งใน และนอกประเทศซึ่งมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ทั้งสองประเทศจะพัฒนาการลงทุนร่วมกัน “เมื่อดูตัวเลขการค้า การลงทุนของนักลงทุนในเขต 14 จังหวัดภาคใต้ หรือตัวเลขการค้าขายระหว่างกัน ถือว่ายังเป็นตัวเลขที่น้อยมาก ดังนั้น ทางอินโดฯจึงมีนโยบายที่จะเพิ่มสัดส่วนการค้า การลงทุนกับภาคเอกชนในเขตพื้นที่จังหวัดในภาคใต้ของไทยให้มากขึ้น”
ปัจจุบัน อินโดนีเซียมีศักยภาพในด้านการค้า การลงทุนมาก และพร้อมในทุกๆ ด้าน โดยมีประชาชนกว่า 200 ล้านคน เป็นประเทศที่ผลิตแร่ดีบุก และลิกไนต์สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นแหล่งผลิตทองคำอันดับ 7 แหล่งถ่านหินอันดับ 8 ของโลก ผลิตก๊าซธรรมชาติใหญ่ติดอันดับโลก ที่สำคัญอินโดนีเซีย เป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มสูงสุดอันดับ 1 ของโลก มีกำลังการผลิตกว่า 15 ล้านตันต่อปี ที่ผ่านมา อินโดนีเซีย ถือเป็นประเทศหลักอีกประเทศหนึ่งที่นำเข้าวัตถุดิบจากไทย เช่น วัสดุก่อสร้าง ปิโตรเลียม โดยขณะนี้มีบริษัทใหญ่ของไทยที่เข้าไปลงทุนแล้วหลายบริษัท เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ สยามซีเมนต์ รวมทั้งการเข้าไปทำประมงของผู้ประกอบการประมงของไทยแต่เกิดปัญหาขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทั้งสองประเทศกำลังเร่งแก้ไขคาดจะสามารถเปิดให้เรือประมงของไทยสามารถเข้าไปทำประมงได้อีกครั้งในเร็วๆ นี้
แต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ให้ถูกต้องมากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเช่นที่ผ่านมา และผลจากการที่อินโดนีเซียมีกฎหมายลงทุนใหม่ที่มีความเสมอภาคกันระหว่างนักลงทุนทั้งใน และนอกประเทศ เชื่อว่าจะเป็นโอกาสที่ดีมากที่นักลงทุนไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคใต้จะฉกฉวยโอกาสนี้เข้าไปร่วมลงทุนในอินโดนีเซีย โดยเฉพาะใน 10 จังหวัดในเกาะสุมาตรา ก็เป็นอีกพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในด้านการค้า การลงทุน เนื่องจากเกาะสุมาตราเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย มีประชากรอยู่อาศัยรวมกันกว่า 50 ล้านคน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ประมง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ป่าไม้ โดยปัญหาและอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในย่านนี้ คือ การคมนาคม