ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT ภูเก็ต จัดการเสวนา ในหัวข้อ “เส้นทางนักเขียน” เพื่อสร้างแรงบันใจในการเขียนบทประพันธ์ให้แก่เยาวชน โดยเชิญ จีริหทัย เจ้าของผลงาน “เรือนกาแล” และ “วันเสาร์ เชิงศรี” นักเขียนชาวภูเก็ต เจ้าของรางวัลจากหลายเวทีการประกวดมาถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กภูเก็ต
ที่ศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT ภูเก็ต น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีเทศบาลนครภูเก็ต และ ดร.จิรวัฒน์ แท่นทอง ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT ภูเก็ต เป็นประธานเปิดการเสวนาในหัวข้อ “เส้นทางนักเขียน” ซึ่งศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT ภูเก็ต จัดขึ้น โดยเชิญ จีริหทัย เจ้าของผลงาน “เรือนกาแล” และ “วันเสาร์ เชิงศรี” นักเขียนชาวภูเก็ต มาร่วมให้ความรู้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนในการพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นนักเขียนอาชีพ โดยให้แนวคิดการคิดเค้าโครงเรื่องในบทประพันธ์ และแนวคิดในการสะสมองค์ความรู้สำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานของหนังสือแต่ละเล่ม รวมทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เยาวชนอักด้วย โดยมีนักเรียนในสังกัดเทศบาลนครภูเก็ต เข้าร่วมรับฟังการเสวนาประมาณ 120 คน
น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา กล่าวว่า เทศบาลนครภูเก็ต มีแนวคิดในการสร้างแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อในเยาวชน และประชาชน ซึ่งศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICTภูเก็ต เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีการจัดโครงการทั้งใน และนอกสถานที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันอาชีพนักเขียนได้รับความสนใจจากเยาวชนมากขึ้น เนื่องจากสามารถมีช่องทางการเผยแพร่บทประพันธ์มากขึ้น ทั้งการนำไปดัดแปลงเป็นบทภาพยนต์ และบทละครโทรทัศน์ หรือการเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์
ขณะที่ วันเสาร์ เชิงศรี กล่าวว่า นักเขียนทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านหนังสือ เพราะทำให้เราได้เปิดโลกทัศน์ในแง่มุมที่มีความหลากหลาย และสามารถเข้าใจลักษณะการบรรยายอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร ส่วนคุณสมบัติประการต่อมาคือ ต้องฝึกการบรรยายเหตุการณ์ และภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว
ส่วน จีรหทัย กล่าวว่า แรงบันดาลใจในการสร้างเค้าโครงบทประพันธ์ เป็นสิ่งที่อธิบายเป็นคำพูดได้ยาก เพราะประสบการณ์ในชีวิต และความชอบอุปนิสัยของนักเขียนแต่ละคนแตกต่างกัน แต่โดยรวมนักเขียนมักสังเกตหยิบเอาอุปนิสัยของคนรอบข้างมาสร้างตัวละคร และต้องสร้างปมปัญหาขึ้นเพื่อเป็นตัวดำเนินเรื่องราว โดยบรรยายฉากด้านประสาทสัมผัส 2 อย่าง เช่น ภาพ-เสียง หรือ สัมผัส-กลิ่น เป็นต้น
ด้าน ดร.ชัยรัตน์ ศรีลาวรรณ ผู้จัดการศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT ภูเก็ต กล่าวว่า ศูนย์ฯ ต้องขอบคุณสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า ที่สนับสนุนของที่ระสึกสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สำหรับกิจกรรมในเดือนนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ ศูนย์ฯ จะเพิ่มการอบรม และกิจกรรมต่างๆ ให้มีความหลากหลาย และสอดคล้องต่อความต้องการของเยาวชน และชุมชนให้มากขึ้น ซึ่งสามารถติดต่อกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ได้ที่ เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/phuket.ict
ที่ศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT ภูเก็ต น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีเทศบาลนครภูเก็ต และ ดร.จิรวัฒน์ แท่นทอง ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT ภูเก็ต เป็นประธานเปิดการเสวนาในหัวข้อ “เส้นทางนักเขียน” ซึ่งศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT ภูเก็ต จัดขึ้น โดยเชิญ จีริหทัย เจ้าของผลงาน “เรือนกาแล” และ “วันเสาร์ เชิงศรี” นักเขียนชาวภูเก็ต มาร่วมให้ความรู้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนในการพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นนักเขียนอาชีพ โดยให้แนวคิดการคิดเค้าโครงเรื่องในบทประพันธ์ และแนวคิดในการสะสมองค์ความรู้สำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานของหนังสือแต่ละเล่ม รวมทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เยาวชนอักด้วย โดยมีนักเรียนในสังกัดเทศบาลนครภูเก็ต เข้าร่วมรับฟังการเสวนาประมาณ 120 คน
น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา กล่าวว่า เทศบาลนครภูเก็ต มีแนวคิดในการสร้างแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อในเยาวชน และประชาชน ซึ่งศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICTภูเก็ต เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีการจัดโครงการทั้งใน และนอกสถานที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันอาชีพนักเขียนได้รับความสนใจจากเยาวชนมากขึ้น เนื่องจากสามารถมีช่องทางการเผยแพร่บทประพันธ์มากขึ้น ทั้งการนำไปดัดแปลงเป็นบทภาพยนต์ และบทละครโทรทัศน์ หรือการเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์
ขณะที่ วันเสาร์ เชิงศรี กล่าวว่า นักเขียนทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านหนังสือ เพราะทำให้เราได้เปิดโลกทัศน์ในแง่มุมที่มีความหลากหลาย และสามารถเข้าใจลักษณะการบรรยายอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร ส่วนคุณสมบัติประการต่อมาคือ ต้องฝึกการบรรยายเหตุการณ์ และภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว
ส่วน จีรหทัย กล่าวว่า แรงบันดาลใจในการสร้างเค้าโครงบทประพันธ์ เป็นสิ่งที่อธิบายเป็นคำพูดได้ยาก เพราะประสบการณ์ในชีวิต และความชอบอุปนิสัยของนักเขียนแต่ละคนแตกต่างกัน แต่โดยรวมนักเขียนมักสังเกตหยิบเอาอุปนิสัยของคนรอบข้างมาสร้างตัวละคร และต้องสร้างปมปัญหาขึ้นเพื่อเป็นตัวดำเนินเรื่องราว โดยบรรยายฉากด้านประสาทสัมผัส 2 อย่าง เช่น ภาพ-เสียง หรือ สัมผัส-กลิ่น เป็นต้น
ด้าน ดร.ชัยรัตน์ ศรีลาวรรณ ผู้จัดการศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT ภูเก็ต กล่าวว่า ศูนย์ฯ ต้องขอบคุณสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า ที่สนับสนุนของที่ระสึกสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สำหรับกิจกรรมในเดือนนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ ศูนย์ฯ จะเพิ่มการอบรม และกิจกรรมต่างๆ ให้มีความหลากหลาย และสอดคล้องต่อความต้องการของเยาวชน และชุมชนให้มากขึ้น ซึ่งสามารถติดต่อกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ได้ที่ เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/phuket.ict