นครศรีธรรมราช - มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) จัดประชุมวิชาการระดับชาติ วลัยลักษณ์วิจัย ครั้งที่ 6 ชูแนวคิด Research for Green Living ให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิชาการจาก 46 สถาบันทั่วประเทศร่วมนำเสนอผลงาน
ที่ จ.นครศรีธรรมราช รองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและเครือข่ายสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดให้มีการประชุมวลัยลักษณ์วิจัยมาอย่างต่อเนื่อง ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 6 แล้ว ภายใต้แนวคิด Research for Green Living ให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักวิจัย และนักวิชาการ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและทั่วทั้งประเทศได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีโอกาสพบปะกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดเครือข่ายวิจัยร่วมกันต่อไปในอนาคต
โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การวิจัยเพื่อการสร้างองค์ความรู้นั้น เป็นนโยบายหลักที่สำคัญ ขณะเดียวกัน การสร้างโจทย์วิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้ตั้งอยู่ในภูมิภาค และกำหนดวิสัยทัศน์ไว้อย่างชัดเจนในการเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล ดังนั้น การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และการวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของพื้นที่ต้องทำคู่ขนานกันไป
ทั้งนี้ ในปัจจุบันการบริการวิชาการจากผลงานวิจัยสร้างองค์ความรู้ สถาบันอุดมศึกษาจะเป็นผู้ให้ ชุมชนเป็นผู้รับ แต่ในอนาคตต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในลักษณะที่ชุมชน ภาครัฐ เอกชนมีการแลกเปลี่ยนได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ที่เรียกว่า University Community Engagement ซึ่งเชื่อว่ากระแสของสถาบันอุดมศึกษาจะมุ่งเน้นไปในทางนี้มากขึ้น และในส่วนของ ม.วลัยลักษณ์พยายามทำให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
“การประชุมครั้งนี้มีบทความที่ร่วมนำเสนอจำนวนทั้งสิ้น 254 บทความ แบ่งเป็นภาคบรรยาย จำนวน 150 บทความ และภาคโปสเตอร์ จำนวน 104 บทความ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ รวม 46 สถาบัน ครอบคลุมใน 8 กลุ่มสาขาวิชา และ 3 หัวข้อพิเศษ ประกอบด้วย หัวข้อพิเศษ การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยส่วนส่งเสริมวิชาการ The 1st International Symposium on Sustainable Agriculture and Agro-Industry โดยสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และ Special Session on Asian Studies โดยสำนักวิชาศิลปศาสตร์”
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและเครือข่ายสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระบุว่า นอกจากนั้น ยังมีการจัดกิจกรรมจุดประกายความคิดสร้างธุรกิจงานวิจัย (R2M) การเสวนาชุมชนคนวิจัย การจัดนิทรรศการ การออกร้านแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชนอันสืบเนื่องมาจากงานวิจัย การนำเสนอผลงานวิจัย โดยมีหน่วยงานที่ร่วมจัดในครั้งนี้ ได้แก่ หน่วยประสานงานสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.ภูมิภาค ภาคใต้) โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ศูนย์บริการการศึกษา หน่วยวิจัยเทคโนโลยีโมเลกุล สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยวิจัยชีวเวชศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรม โดยสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ เป็นต้น
ที่ จ.นครศรีธรรมราช รองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและเครือข่ายสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดให้มีการประชุมวลัยลักษณ์วิจัยมาอย่างต่อเนื่อง ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 6 แล้ว ภายใต้แนวคิด Research for Green Living ให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักวิจัย และนักวิชาการ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและทั่วทั้งประเทศได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีโอกาสพบปะกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดเครือข่ายวิจัยร่วมกันต่อไปในอนาคต
โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การวิจัยเพื่อการสร้างองค์ความรู้นั้น เป็นนโยบายหลักที่สำคัญ ขณะเดียวกัน การสร้างโจทย์วิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้ตั้งอยู่ในภูมิภาค และกำหนดวิสัยทัศน์ไว้อย่างชัดเจนในการเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล ดังนั้น การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และการวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของพื้นที่ต้องทำคู่ขนานกันไป
ทั้งนี้ ในปัจจุบันการบริการวิชาการจากผลงานวิจัยสร้างองค์ความรู้ สถาบันอุดมศึกษาจะเป็นผู้ให้ ชุมชนเป็นผู้รับ แต่ในอนาคตต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในลักษณะที่ชุมชน ภาครัฐ เอกชนมีการแลกเปลี่ยนได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ที่เรียกว่า University Community Engagement ซึ่งเชื่อว่ากระแสของสถาบันอุดมศึกษาจะมุ่งเน้นไปในทางนี้มากขึ้น และในส่วนของ ม.วลัยลักษณ์พยายามทำให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
“การประชุมครั้งนี้มีบทความที่ร่วมนำเสนอจำนวนทั้งสิ้น 254 บทความ แบ่งเป็นภาคบรรยาย จำนวน 150 บทความ และภาคโปสเตอร์ จำนวน 104 บทความ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ รวม 46 สถาบัน ครอบคลุมใน 8 กลุ่มสาขาวิชา และ 3 หัวข้อพิเศษ ประกอบด้วย หัวข้อพิเศษ การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยส่วนส่งเสริมวิชาการ The 1st International Symposium on Sustainable Agriculture and Agro-Industry โดยสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และ Special Session on Asian Studies โดยสำนักวิชาศิลปศาสตร์”
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและเครือข่ายสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระบุว่า นอกจากนั้น ยังมีการจัดกิจกรรมจุดประกายความคิดสร้างธุรกิจงานวิจัย (R2M) การเสวนาชุมชนคนวิจัย การจัดนิทรรศการ การออกร้านแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชนอันสืบเนื่องมาจากงานวิจัย การนำเสนอผลงานวิจัย โดยมีหน่วยงานที่ร่วมจัดในครั้งนี้ ได้แก่ หน่วยประสานงานสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.ภูมิภาค ภาคใต้) โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ศูนย์บริการการศึกษา หน่วยวิจัยเทคโนโลยีโมเลกุล สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยวิจัยชีวเวชศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรม โดยสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ เป็นต้น