สุราษฎร์ธานี - จังหวัดสุราษฎร์ฯ สำรวจพื้นที่ทำนาข้าวทั้งจังหวัดเหลือเพียง 7 พันไร่ จากที่เคยมีมากกว่า 263,000 ไร่ ในปี 2547 เหตุพิษเศรษฐกิจ รวมถึงคนรุ่นใหม่ไม่ชอบประกอบอาชีพทำนา หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน
นายวัชรินทร์ ทองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ได้ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าข้าว เพื่อหารือ และติดตามสถานการณ์การผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งปัจจุบันนี้พบว่าพื้นที่ทำนาข้าวทั้งจังหวัดเหลือเพียง 7,000 กว่าไร่ จากที่เคยมีมากกว่า 263,000 ไร่ ในปี 2547 สาเหตุหลักเนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจทำให้ชาวนาต้องขายนาให้นายทุน และคนรุ่นใหม่ไม่ชอบประกอบอาชีพทำนา เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องอดทนสูง หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงต่อการความเสียหายจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง โรค แมลงต่างๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในปัจจุบันชาวนาไทยต้องประสบกับปัญหาในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะค่าครองชีพที่สูงขึ้น การประกอบอาชีพมีความเสี่ยงสูงทั้งด้านราคาผลผลิตที่แปรปรวนตลอดเวลา รวมทั้งความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติ ทำให้รายได้ไม่แน่นอน และมีแนวโน้มลดลง
ด้วยเหตุนี้ ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประมวลข้อมูลทางวิชาการ แนวคิด และวิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแนวทางการบริหารจัดการสินค้าข้าวของจังหวัดอย่างยั่งยืนให้แก่จังหวัดต่างๆ ในการดำเนินการพัฒนาส่งเสริมและแนะนำแก่เกษตรกร หน่วยงาน และภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันดำเนินงานอย่างบูรณาการตั้งแต่รอบการผลิตที่จะถึงนี้ และการผลิตในระยะต่อไป โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวเพิ่มมากยิ่งขึ้น
นายวัชรินทร์ ทองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ได้ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าข้าว เพื่อหารือ และติดตามสถานการณ์การผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งปัจจุบันนี้พบว่าพื้นที่ทำนาข้าวทั้งจังหวัดเหลือเพียง 7,000 กว่าไร่ จากที่เคยมีมากกว่า 263,000 ไร่ ในปี 2547 สาเหตุหลักเนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจทำให้ชาวนาต้องขายนาให้นายทุน และคนรุ่นใหม่ไม่ชอบประกอบอาชีพทำนา เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องอดทนสูง หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงต่อการความเสียหายจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง โรค แมลงต่างๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในปัจจุบันชาวนาไทยต้องประสบกับปัญหาในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะค่าครองชีพที่สูงขึ้น การประกอบอาชีพมีความเสี่ยงสูงทั้งด้านราคาผลผลิตที่แปรปรวนตลอดเวลา รวมทั้งความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติ ทำให้รายได้ไม่แน่นอน และมีแนวโน้มลดลง
ด้วยเหตุนี้ ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประมวลข้อมูลทางวิชาการ แนวคิด และวิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแนวทางการบริหารจัดการสินค้าข้าวของจังหวัดอย่างยั่งยืนให้แก่จังหวัดต่างๆ ในการดำเนินการพัฒนาส่งเสริมและแนะนำแก่เกษตรกร หน่วยงาน และภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันดำเนินงานอย่างบูรณาการตั้งแต่รอบการผลิตที่จะถึงนี้ และการผลิตในระยะต่อไป โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวเพิ่มมากยิ่งขึ้น