สุราษฎร์ธานี - ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ฯ เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเพิ่มความระมัดระวังในการเลี้ยง จากปัญหาหลายอย่าง ทั้งภัยธรรมชาติ และราคาตกต่ำ
นายสมชาย ฤกษ์โภคี ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งในปี 2557 ของประเทศไทยนั้นมีอุปสรรคค่อนข้างมาก จากภาวะภัยธรรมชาติ และปัญหาราคาตกต่ำ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต่างชะลอตัวในการเลี้ยง ซึ่งจะส่งผลให้ตัวเลขผลผลิตกุ้งลดลงและกระทบตลาดการค้ากุ้งของประเทศไทยในอนาคต กระทั่งอาจถึงขั้นที่ประเทศไทยจะต้องกลายเป็นผู้นำเข้ากุ้งอย่างถาวร
ทั้งนี้ อุปสรรคจากสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้น้ำมีความเค็มสูงขึ้นเร็วมาก ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเลี้ยงมากพอสมควร ขณะเดียวกัน แม้บางพื้นที่อาจจะพอเลี้ยงกุ้งได้บ้าง แต่ก็ต้องประสบปัญหาราคาตกต่ำลง ตั้งแต่หลังเทศกาลสงกรานต์เป็นต้นมา ซึ่งลดต่ำลงมากกว่ากิโลกรัมละ 50 บาท สวนทางต้นทุนการผลิตในการเลี้ยงกุ้งยุคปัจจุบันที่สูงมาก เป็นปัจจัยให้เกษตรกรตัดสินใจชะลอการลงกุ้ง เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุน
“ทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ นักวิชาการ และผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งต่างพยายามแก้ไขปัญหาอย่างมีแนวคิดที่ดีมากกว่าปี 56 แต่ก็ยังไม่ถือว่าดีมากพอที่จะทำให้อุตสาหกรรมนี้เดินไปได้อย่างราบรื่น ดังนั้น ทุกฟาร์มควรเพิ่มความระมัดระวัง และวางแผนการเลี้ยงให้ดี เช่น ควรเลือกพื้นที่บ่อเลี้ยงให้เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน บ่อไหนที่เลี้ยงแล้วมีปัญหาประจำควรหยุดพักไว้ก่อน และเลือกบ่อที่ดีที่สุดมาลงกุ้งเลี้ยง ภายใต้การดูแลอย่างดีตามหลักการ รวมถึงต้องวางแผนระยะยาวถึงช่วงที่สถานการณ์การเลี้ยงกลับมาเป็นปกติด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องเงินทุนหมุนเวียน” นายสมชายกล่าวและย้ำว่า
ขอให้พื้นที่ที่เลี้ยงกุ้งได้ทำการเลี้ยงต่อไป แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น เพื่อให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยอยู่รอดปลอดภัย
นายสมชาย ฤกษ์โภคี ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งในปี 2557 ของประเทศไทยนั้นมีอุปสรรคค่อนข้างมาก จากภาวะภัยธรรมชาติ และปัญหาราคาตกต่ำ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต่างชะลอตัวในการเลี้ยง ซึ่งจะส่งผลให้ตัวเลขผลผลิตกุ้งลดลงและกระทบตลาดการค้ากุ้งของประเทศไทยในอนาคต กระทั่งอาจถึงขั้นที่ประเทศไทยจะต้องกลายเป็นผู้นำเข้ากุ้งอย่างถาวร
ทั้งนี้ อุปสรรคจากสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้น้ำมีความเค็มสูงขึ้นเร็วมาก ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเลี้ยงมากพอสมควร ขณะเดียวกัน แม้บางพื้นที่อาจจะพอเลี้ยงกุ้งได้บ้าง แต่ก็ต้องประสบปัญหาราคาตกต่ำลง ตั้งแต่หลังเทศกาลสงกรานต์เป็นต้นมา ซึ่งลดต่ำลงมากกว่ากิโลกรัมละ 50 บาท สวนทางต้นทุนการผลิตในการเลี้ยงกุ้งยุคปัจจุบันที่สูงมาก เป็นปัจจัยให้เกษตรกรตัดสินใจชะลอการลงกุ้ง เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุน
“ทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ นักวิชาการ และผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งต่างพยายามแก้ไขปัญหาอย่างมีแนวคิดที่ดีมากกว่าปี 56 แต่ก็ยังไม่ถือว่าดีมากพอที่จะทำให้อุตสาหกรรมนี้เดินไปได้อย่างราบรื่น ดังนั้น ทุกฟาร์มควรเพิ่มความระมัดระวัง และวางแผนการเลี้ยงให้ดี เช่น ควรเลือกพื้นที่บ่อเลี้ยงให้เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน บ่อไหนที่เลี้ยงแล้วมีปัญหาประจำควรหยุดพักไว้ก่อน และเลือกบ่อที่ดีที่สุดมาลงกุ้งเลี้ยง ภายใต้การดูแลอย่างดีตามหลักการ รวมถึงต้องวางแผนระยะยาวถึงช่วงที่สถานการณ์การเลี้ยงกลับมาเป็นปกติด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องเงินทุนหมุนเวียน” นายสมชายกล่าวและย้ำว่า
ขอให้พื้นที่ที่เลี้ยงกุ้งได้ทำการเลี้ยงต่อไป แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น เพื่อให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยอยู่รอดปลอดภัย