ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต สั่งเตรียมพร้อมเฝ้าระวังเชื้อไวรัสโคโรน่า 2012 (MERS-CoV) หลังพบชาวมาเลเซียเสียชีวิต 1 ราย และพบผู้ติดเชื้อชาวฟิลิปปินส์ 1 ราย เน้นการเฝ้าระวังเข้มข้นทั้งในโรงพยาบาล และชุมชน รวมทั้งเตรียมความพร้อมของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วตลอด 24 ชั่วโมง
นายแพทย์กฤษณ์ สกุลแพทย์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงกรณีพบชาวมาเลเซียเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโคโรน่า 2012 (MERS-CoV : Middle East Respiratory Syndrome) 1 ราย เป็นชายวัย 54 ปี หลังเดินทางไปที่เมืองเจดดาห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 15-28 มีนาคม 2557 มีอาการป่วยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2557 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2557 ซึ่งนับเป็นรายแรกของเอเชียนอกแถบตะวันออกกลาง และยังมีรายงานพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2012 ในชาวฟิลิปปินส์ จำนวน 1 ราย (ไม่มีอาการ) เป็นเพศชาย อาชีพพยาบาล มีประวัติไปทำงานในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์ข่าวกรอง สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2557 ทั่วโลกมียืนยันผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2012 ทั้งหมด 243 ราย เสียชีวิต 9 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 38.27
โดยพบรายงานทั้งหมดจาก 13 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทย ยังไม่พบรายงานผู้ป่วย
แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงเนื่องจากมีประชาชนชาวไทยเดินทางไปประกอบพิธีอุมเราะห์ และมีนักท่องเที่ยวจากประเทศแถบตะวันออกกลางที่เดินทางเข้ามาเพื่อท่องเที่ยว ตลอดจนแรงงานที่เดินทางไปทำงานในประเทศแถบตะวันออกกลาง
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือการระบาด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ได้มีมาตรการสำคัญโดยเน้นการเฝ้าระวังผู้ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ และมีอาการรุนแรง ได้แก่ โรคปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง รวมถึงให้เฝ้าระวังกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่อาจติดเชื้อจากผู้ป่วย เพื่อตรวจจับสัญญาณการระบาดได้ทันท่วงที หากพบผู้ป่วยอาการดังกล่าวต้องรีบรายงาน และเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ให้การรักษาตามแนวทางกรมการแพทย์ ใช้ระบบการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ รวมทั้งได้มีการซักซ้อมแผนสร้างความรู้ความเข้าใจ เตรียมความพร้อมบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล และทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ทุกระดับตลอด 24 ชั่วโมง
นายแพทย์กฤษณ์ สกุลแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อคัดกรองผู้เดินทางที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง แต่ขอให้ผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศควรสังเกตอาการผิดปกติ หากมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ ไอ ให้ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น หากอาการไม่ดีขึ้นเกิน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์
นายแพทย์กฤษณ์ สกุลแพทย์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงกรณีพบชาวมาเลเซียเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโคโรน่า 2012 (MERS-CoV : Middle East Respiratory Syndrome) 1 ราย เป็นชายวัย 54 ปี หลังเดินทางไปที่เมืองเจดดาห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 15-28 มีนาคม 2557 มีอาการป่วยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2557 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2557 ซึ่งนับเป็นรายแรกของเอเชียนอกแถบตะวันออกกลาง และยังมีรายงานพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2012 ในชาวฟิลิปปินส์ จำนวน 1 ราย (ไม่มีอาการ) เป็นเพศชาย อาชีพพยาบาล มีประวัติไปทำงานในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์ข่าวกรอง สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2557 ทั่วโลกมียืนยันผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2012 ทั้งหมด 243 ราย เสียชีวิต 9 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 38.27
โดยพบรายงานทั้งหมดจาก 13 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทย ยังไม่พบรายงานผู้ป่วย
แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงเนื่องจากมีประชาชนชาวไทยเดินทางไปประกอบพิธีอุมเราะห์ และมีนักท่องเที่ยวจากประเทศแถบตะวันออกกลางที่เดินทางเข้ามาเพื่อท่องเที่ยว ตลอดจนแรงงานที่เดินทางไปทำงานในประเทศแถบตะวันออกกลาง
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือการระบาด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ได้มีมาตรการสำคัญโดยเน้นการเฝ้าระวังผู้ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ และมีอาการรุนแรง ได้แก่ โรคปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง รวมถึงให้เฝ้าระวังกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่อาจติดเชื้อจากผู้ป่วย เพื่อตรวจจับสัญญาณการระบาดได้ทันท่วงที หากพบผู้ป่วยอาการดังกล่าวต้องรีบรายงาน และเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ให้การรักษาตามแนวทางกรมการแพทย์ ใช้ระบบการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ รวมทั้งได้มีการซักซ้อมแผนสร้างความรู้ความเข้าใจ เตรียมความพร้อมบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล และทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ทุกระดับตลอด 24 ชั่วโมง
นายแพทย์กฤษณ์ สกุลแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อคัดกรองผู้เดินทางที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง แต่ขอให้ผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศควรสังเกตอาการผิดปกติ หากมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ ไอ ให้ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น หากอาการไม่ดีขึ้นเกิน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์